16-17 ก.พ.56 ? อบรมดนตรีปรับพลังชีวิต หลักสูตรต่อยอด ปรับสมดุลพลัง 5 ธาตุ รุ่น 4 (ห้องประชุมสมาคมนักเรียนเก่า รร.เตรียมอุดมศึกษา)

16-17 ก.พ.56 ? อบรมดนตรีปรับพลังชีวิต หลักสูตรต่อยอด ปรับสมดุลพลัง 5 ธาตุ รุ่น 4 (ห้องประชุมสมาคมนักเรียนเก่า รร.เตรียมอุดมศึกษา) (เปลี่ยนห้องอบรมเป็นห้องที่ ตึก 8 ชั้น 2)

ดาวน์โหลด
ใบสมัคร อบรมดนตรีปรับชีวภาพ-หลักสูตรปรับธาตุ
แผนที่ไปห้องอบรมดนตรีปรับพลังชีวิต ตึก8 ชั้น2

26-27 ม.ค. 56 – อบรมดนตรีปรับพลังชีวิต หลักสูตรพื้นฐาน รุ่น 24 (ห้องกิจกรรม ชั้น 4 อาคาร Portico ถ.หลังสวน)

26-27 ม.ค. 56 – อบรมดนตรีปรับพลังชีวิต หลักสูตรพื้นฐาน รุ่น 24
(ห้องกิจกรรม ชั้น 4 อาคาร Portico ถ.หลังสวน)
ดูรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่หน้า อบรมดนตรีปรับพลังชีวิต

ดาวน์โหลดใบสมัคร อบรมดนตรีปรับพลังชีวิต หลักสูตรพื้นฐาน ปี’56

ระบบเกษตรกรรมยั่งยืน


สารบัญ

ดาวน์โหลด PDF

————————————————————————————————

ระบบเกษตรกรรมยั่งยืน

กลับสู่ด้านบน

ระบบเกษตรกรรมยั่งยืน (Sustainable Agriculture) หรือ ระบบเกษตรกรรมทางเลือก (Alternative Agriculture) หรือ ระบบเกษตรกรรมถาวร (Permanent Agriculture หรือ Permacutlure) ล้วนเป็นระบบเกษตรกรรมที่มีหลักการใหญ่ๆ คล้ายคลึงกัน มีผู้ให้คำจำกัดความและความหมายของแนวทางเกษตรกรรมทางเลือก-เกษตรกรรมยั่งยืนไว้มากมาย แต่ส่วนใหญ่จะใกล้เคียงกัน โดยให้ความสำคัญกับสมดุลของระบบนิเวศ ผลผลิต คุณภาพที่ดี และเพียงพอต่อเกษตรกรและผู้บริโภค การพึ่งพาตนเอง รวมทั้งการให้ความสำคัญกับชุมชนท้องถิ่น หลัการสำคัญที่สุดที่มีร่วมกันของเกษตรกรรมทางเลือก-เกษตรกรรมยั่งยืน คือ มีจุดมุ่งหมายเพื่อการผลิตอาหารและปัจจัยที่จำเป็นต่อการดำรงชีวิตมากกว่าผลิตเพื่อการส่งออก (เกษตรกรจึงไม่ต้องวิ่งไปตามกระแสของตลาด) มีการใช้ทรัพยากรธรรมชาติให้เกิดประโยชน์สูงสุดโดยไม่เกิดผลเสียต่อสิ่งแวดล้อม ระบบการผลิต การบริโภค และการใช้ทรัพยากรในท้องถิ่นมีความสมดุล อาหารที่ผลิตได้เป็นอาหารที่มีคุณภาพปลอดภัยจากสารพิษตกค้าง และเปิดโอกาสให้สมาชิกในครอบครัวสามารถทำงานร่วมกันได้อย่างมีความสุข สามารถใช้ชีวิตอยู่ร่วมกับธรรมชาติได้อย่างกลมกลืน ทำให้ระบบเกษตรกรรมเหล่านี้ดำเนินต่อเนื่องไปได้นานที่สุด โดยไม่มีผลกระทบด้านลบต่อระบบนิเวศวิทยา และไม่เกิดปัญหาทั้งด้านสุขภาพ สังคม และเศรษฐกิจ

ความหมายของเกษตรกรรมยั่งยืน

กลับสู่ด้านบน

องค์การสหประชาชาติได้ให้ความหมายของเกษตรกรรมยั่งยืนว่า เป็นระบบเกษตรกรรมที่เกี่ยวข้อกับการผสมผสานและเชื่อมโยงระหว่างดิน การเพาะปลูก และการเลี้ยงสัตว์ การเลิกหรือลดการใช้ทรัพยากรจากภายนอกระบบที่อาจเป็นอันตรายต่อสิ่งแวดล้อมและ/หรือสุขภาพของเกษตรกรและผู้บริโภค ตลอดจนเน้นการใช้เทคนิคที่เป็นหรือปรับให้เป็นส่วนหนึ่งของกระบวนการธรรมชาติของท้องถิ่นนั้นๆ ซึ่งมีหลักการพื้นฐาน 3 ประการคือ:

  • ความยั่งยืนด้านเศรษฐกิจ ด้วยการพัฒนาการจัดการดินและการหมุนเวียนการปลูกพืชที่ช่วยเพิ่มผลผลิต ลดการพึ่งพาเครื่องจักรและสารเคมีเพื่อการเกษตร ทั้งปุ๋ยและสารป้องกันกำจัดวัชพืชและศัตรูพืช
  • ความยั่งยืนด้านสิ่งแวดล้อม ด้วยการปกป้องและรักษาทรัพยากรธรรมชาติ และหาสิ่งทดแทนตบอดจนนำทรัพยากรธรรมชาติกลับมาเวียนใช้ใหม่ เช่น ที่ดิน (ดิน) น้ำ และสิ่งมีชีวิตในป่า หลีกเลี่ยงการใช้สารเคมีสังเคราะห์ที่เป็นอันตรายต่อสิ่งแวดล้อม โครงสร้างของดิน และความหลากหลายทางชีวภาพ
  • ความยั่งยืนด้านสังคม ด้วยการใช้แรงงานที่มีอยู่ให้มากขึ้น อย่างน้อยสำหรับเทคนิคการเกษตรบางประเภท เพื่อให้เกิดความยุติธรรมและความเป็นปึกแผ่นในสังคม

สำหรับในประเทศไทย ขบวนการเกษตรกรรมทางเลือก-เกษตรกรรมยั่งยืนได้เกิดขึ้นมาเกือบ 3 ทศวรรษ โดยเริ่มต้นจากการรวมตัวกันของภาคประชาชนครั้งแรกเมื่อปลายทศวรรษ 2520 มีผู้เกี่ยวข้องทั้งนักพัฒนาจากองค์กรภาคเอกชน นักวิชาการ นักวางแผน และข้าราชการที่ทำหน้าที่ส่งเสริมการเกษตร ได้ให้คำจำกัดความและความหมายของแนวทางเกษตรกรรมยั่งยืนไว้มากมาย ซึ่งคณะทำงานวิชาการ สมัชชาเกษตรกรรมทางเลือกครั้งที่ 1 ปี 2535 ได้นำมาประมวลเป็นนิยามของเกษตรกรรมยั่งยืนไว้ว่า ?เป็นวิถีเกษตรกรรมที่ฟื้นฟูทรัพยากรธรรมชาติและดำรงรักษาไว้ซึ่งความสมดุลของระบบนิเวศ สามารถผลิตอาหารที่มีคุณภาพและพอเพียงตามความจำเป็นพื้นฐานเพื่อคุณภาพชีวิตที่ดีของเกษตรกรและผู้บริโภค พึ่งพาตนเองได้ในทางเศรษฐกิจ รวมทั้งเอื้ออำนวยให้เกษตรกรและชุมชนท้องถิ่นสามารถพัฒนาได้อย่างเป็นอิสระ ทั้งนี้เพื่อความผาสุกและความอยู่รอดของมวลมนุษย์ชาติโดยรวม? 1

ท่ามกลางกระแสการผลักดันของหน่วยงานภาครัฐและเอกชน ที่ต้องการส่งเสริมเกษตรกรรมยั่งยืนเพื่อตอบสนองการส่งออก รวมทั้งการเข้ามาควบคุมนโยบายการเกษตร โดยไม่ให้ความสำคัญกับเกษตรกรและชุมชนท้องถิ่นที่เป็นหัวใจสำคัญของการพัฒนาเกษตรกรรมยั่งยืนตามที่ควรจะเป็น คณะทำงานวิชาการ สมัชชาเกษตรกรรมทางเลือกครั้งที่ 3 ปี 2547 จึงได้เพิ่มเติมนัยความหมายที่ให้ความสำคัญมากขึ้นกับเป้าหมายการผลิตอาหารให้พอเพียงต่อครอบครัวและชุมชนเป็นเบื้องต้น และได้ขยายความเพื่อให้เข้าใจความหมายและแนวทางปฏิบัติเกี่ยวกับเกษตรกรรมยั่งยืนได้ชัดเจนยิ่งขึ้น โดยกำหนดเป็นหลักการ 10 ประการของเกษตรกรรมยั่งยืนไว้ อันได้แก่2

  1. ใช้ประโยชน์และพัฒนาภูมิปัญญาพื้นบ้านเพื่อใช้ในระบบเกษตรกรรม
  2. ส่งเสริมให้เกษตรกรมีบทบาทหลักในการพัฒนาความรู้และการวิจัยทางการเกษตร
  3. ใช้ทรัพยากรจากภายใน(พื้นที่/ระบบ)และลดการใช้ปัจจัยการผลิตจากภายนอก(พื้นที่/ระบบ)
  4. หลีกเลี่ยงและปฏิเสธการใช้สารเคมีเพื่อการเกษตร และผลิตภัณฑ์ที่ได้จากเชื้อเพลิงฟอสซิล
  5. ให้ความสำคัญสูงสุดในการปรับปรุงบำรุงดินให้ดำรงอยู่ได้อย่างยั่งยืน
  6. ใช้ประโยชน์จากความหลากหลายทางชีวภาพ สร้างความหลากหลายของกิจกรรมการผลิตทางการเกษตรในไร่นา และผสมผสานกิจกรรมการผลิตให้เกื้อกูลประโยชน์ต่อกันอย่างสูงสุดควบคุมศัตรูพืชโดยวิธีธรรมชาติ และวิธีการซึ่งไม่ใช้สารเคมีรูปแบบต่างๆ
  7. ควบคุมศัตรูพืชโดยวิธีธรรมชาติ และวิธีการซึ่งไม่ใช้สารเคมีรูปแบบต่างๆ
  8. ปฏิบัติต่อธรรมชาติและสิ่งมีชีวิตอื่นด้วยความเคารพ
  9. ผลิตอาหารที่มีคุณภาพทางโภชนาการ มีธาตุอาหารครบถ้วนในปริมาณที่เพียงพอแก่ความต้องการที่จำเป็นในการดำรงชีวิต โดยตอบสนองต่อความต้องการอาหารและปัจจัยในการดำเนินชีวิตภายในครอบครัวและชุมชนก่อนเป็นเบื้องต้น
  10. เอื้ออำนวยให้เกษตรกรและชุมชนสามารถพัฒนาตนเองได้โดยปราศจากการครอบงำจากภายนอก

รูปแบบการทำเกษตรกรรมยั่งยืน

กลับสู่ด้านบน

ระบบการทำเกษตรกรรมยั่งยืนที่สำคัญๆ และเป็นที่รู้จักกันทั่วไป รวมถึง

1. ระบบไร่หมุนเวียน

ระบบไร่หมุนเวียนเป็นระบบเกษตรกรรมพื้นบ้านที่ทำกันในหลายวัฒนธรรมในอดีต แต่ปัจจุบันพอจะหลงเหลือให้เห็นได้ในหมู่ชาวปะเกอญอ บนพื้นที่สูงทางภาคเหนือและภาคตะวันตกของประเทศไทย เป็นวิธีการเพาะปลูกพืชในพื้นที่หนึ่งในช่วงเวลาหนึ่ง โดยจะปลูกพืชแบบผสมผสาน ทั้งข้าว ผัก และพืชใช้สอยต่างๆ รวมกันในบริเวณพื้นที่เดียวกัน เมื่อทำการเพาะปลูกไประยะหนึ่งจนดินลดความอุดมสมบูรณ์ลง ก็จะย้ายไปทำการเพาะปลูกในพื้นที่ใหม่ และปล่อยให้ดินในพื้นที่เดิมได้ฟื้นความอุดมสมบูรณ์ตามธรรมชาติ แล้วจึงหมุนเวียนกลับมาใช้ประโยชน์ในพื้นที่เดิมนั้นอีกครั้ง จึงเป็นรูปแบบเกษตรกรรมยั่งยืนที่สามารถรักษาความหลากหลายทางชีวภาพและความอุดมสมบูรณ์ของดินไว้ได้มากที่สุดระบบหนึ่ง แต่ในปัจจุบัน มีการทำไร่หมุนเวียนกันอย่างผิดวิธีจนทำให้ระบบเกษตรกรรมวิธีนี้ถูกเข้าใจผิดว่าเป็นการทำเกษตรกรรมแบบ ?ไร่เลื่อนลอย? ที่ไปตัดไม้ทำลายป่าต้นน้ำบนที่สูง

ถึงแม้ระบบไร่หมุนเวียนจะต้องมีพื้นที่เพื่อทำการเกษตรหลายแห่งให้หมุนเวียนไปใช้ก็ตาม แต่ถ้าเกษตรกรที่ทำการเกษตรด้วยระบบนี้มีเกณฑ์คุณค่าและวิถีวัฒนธรรมการดำรงชีวิตที่เคารพและนอบน้อมต่อธรรมชาติแล้ว ระบบไร่หมุนเวียนจะเป็นระบบการฟื้นฟูดินเพื่อให้สามารถตอบสนองต่อการผลิตอาหาร พร้อมไปกับการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติในเวลาเดียวกัน ระบบไร่หมุนเวียนที่ถูกหลักการจึงจัดเป็นวิธีทำการเกษตรที่อนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติ ความหลากหลายทางชีวภาพ และเคารพธรรมชาติอย่างมากวิธีหนึ่ง และไร่หมุนเวียนที่ทำกันอยู่โดยชุมชนชาวไทยบนภูเขาทางภาคเหนือ ก็ได้พิสูจน์ตัวเองได้ระดับหนึ่ง ว่าสามารถเป็นระบบการเกษตรแบบยั่งยืนได้?”ถ้าดำเนินไปตามภูมิปัญญาท้องถิ่นที่ถ่ายทอดกันมา”

2. ระบบเกษตรผสมผสาน (Integrated farming)

ระบบเกษตรผสมผสานหมายถึงระบบการเกษตรที่มีการปลูกพืชและเลี้ยงสัตว์หลายชนิดในพื้นที่เดียวกัน โดยที่กิจการรมการผลิตแต่ละชนิดเอื้อประโยชน์กันและกัน และเกื้อกูลกันอย่างมีประสิทธิภาพ โดยอาศัยหลักการอยู่รวมกันระหว่างพืช สัตว์ และสิ่งแวดล้อม การอยู่รวมกันอาจจะอยู่ในรูปความสัมพันธ์ระหว่างพืชกับพืช ?พืชกับสัตว์ หรือสัตว์กับสัตว์ก็ได้ ระบบเกษตรผสมผสานจะประสบผลสำเร็จได้ จะต้องมีการวางรูปแบบ และดำเนินการ โดยให้ความสำคัญต่อกิจกรรมแต่ละชนิดอย่างเหมาะสมกับสภาพแวดล้อมทางกายภาพ เศรษฐกิจ สังคม มีการใช้แรงงาน เงินทุน ที่ดิน ปัจจัย การผลิตและทรัพยากรธรรมชาติอย่างมีประสิทธิภาพ ตลอดจนรู้จักนำวัสดุเหลือใช้จากการผลิตชนิดหนึ่งมาหมุนเวียนใช้ประโยชน์กับการผลิตอีกชนิดหนึ่งหรือหลายชนิดภายในไร่นาแบบครบวงจร เน้นการใช้ทรัพยากรที่มีอยู่ในพื้นที่อย่างเหมาะสมและให้เกิดประโยชน์สูงสุด มีความสมดุลด้านสิ่งแวดล้อมอย่างต่อเนื่อง ตลอดจนมีการเพิ่มพูนความอุดมสมบูรณ์ของทรัพยากรธรรมชาติ มีการประสานเกื้อกูลกันระหว่างพืชและสัตว์ เศษซากและผลพลอยได้จากทั้งพืชและสัตว์สามารถเป็นประโยชน์ต่อกิจกรรมของอีกฝ่ายหนึ่งได้ เช่น การเลี้ยงปลาในนาข้าวที่ได้ผลผลิตทั้งข้าวและปลาโดยไม่ต้องใช้สารเคมี การเลี้ยงไก่หรือสุกรบนบ่อปลาทำให้ได้อาหารปลาจากเล้าไก่หรือสุกร หรือการเลี้ยงผึ้งในสวนผลไม้ที่ได้ทั้งน้ำผึ้งและมีผึ้งช่วยผสมเกษรดอกไม้ เป็นต้น นอกจากมีการผสมผสานการปลูกพืชและเลี้ยงสัตว์อย่างหลากหลายแล้ว ยังมีการจัดการผลผลิตการเกษตรที่คำนึงถึงการตลาดด้วย

3. ระบบไร่นาสวนผสม (Mixed/Diversefied/Polyculture Farming)

ระบบไร่นาสวนผสมเป็นระบบเกษตรกรรมที่มีกิจกรรมการผลิตหลายๆ ชนิดเพื่อตอบสนองการบริโภคหรือลดความเสี่ยงจากราคาตลาดของผลผลิตที่มีความไม่แน่นอน โดยไม่มีการจัดการให้กิจกรรมการผลิตเหล่านั้นมีการผสมผสานเกื้อกูลกันเพื่อลดต้นทุนการผลิต ตลอดจนไม่ได้คำนึงถึงสภาพแวดล้อมเหมือนเกษตรผสมผสาน การทำไร่นาสวนผสมในระยะแรกๆ อาจมีการเกื้อกูลกันจากกิจกรรมการผลิตบ้าง แต่กลไกการเกิดขึ้นเป็นแบบ ?เป็นไปเอง? ไม่ได้เกิดจากการตั้งใจจัดการด้วย ?ความรู้ ความเข้าใจ? แต่ในระยะหลังๆ เมื่อเกษตรกรเริ่มมีความรู้ความเข้าใจมากขึ้น ก็เริ่มมีการวางแผนการใช้พื้นที่และเลือกพืชที่จะปลูกเพื่อหวังผลทางเศรษฐกิจมากขึ้น รวมทั้งเกิดผลพลอยได้ มีจุดขายให้เป็นเป้าหมายของการท่องเที่ยวเชิงนิเวศอีกด้วย

4. ระบบไร่นาป่าผสมหรือวนเกษตร (Agro Forestry)

ระบบไร่นาป่าผสมหรือวนเกษตรเป็นระบบเกษตรกรรมที่นำเอาหลักการความยั่งยืนถาวรภาพของระบบป่าธรรมชาติมาเป็นแนวทางในการทำการเกษตร และมีการจัดองค์ประกอบการผลิตทางการเกษตรให้รวมหลากหลายชนิดของพืชและสัตว์อย่างเหมาะสมและสมดุล คำว่า ?วนเกษตร? มาจากคำว่า??วน? ที่หมายถึง ป่าที่มีความหลากหลายของทรัพยากรที่มีชีวิตและไม่มีชีวิต และคำว่า ?เกษตร? ที่หมายถึง การใช้ที่ดินในการผลิตพืชหรือสัตว์ เช่นการเพาะปลูกพืช การทำป่าไม้ ประมง ปศุสัตว์ต่างๆ ดังนั้น วนเกษตร จึงหมายถึงการใช้ที่ดินในการผลิตพืช และสัตว์ให้มากชนิด หรือมีความซับซ้อนและหลากหลายทางชีวภาพใกล้เคียงธรรมชาติมากที่สุด หรือกล่าวอีกนัยหนึ่งได้ว่า เป็นการทำเกษตรร่วมกับการอนุรักษ์ป่าไม้ โดยมีรากฐานหรือปัจจัยการผลิตที่มาจากท้องถิ่นเอง ทั้งนี้การทำวนเกษตรจะมีลักษณะแตกต่างหรือผันแปรไปตามสภาพท้นที่ รวมถึงทัศนคติ ความเชื้อ วัฒนธรรม ประเพณี และความรู้ ความสามารถในการจัดการของแต่ละท้องถิ่นเอง

ระบบวนเกษตรที่ดีควรสามารถเพิ่มการซึมซับน้ำ รักษาน้ำใต้ดินลดการสูญเสียดิน โดยให้ความสำคัญอย่างสูงกับการปลูกไม้ยืนต้น ไม้ผล และไม้ใช้สอยต่างๆ ให้เป็นองค์ประกอบหลักของพื้นที่ปลูก และผสมผสานกับการปลูกพืชที่ไม่ต้องการแสงแดดมากในชั้นถัดลงมา ซึ่งจะได้อาศัยร่มเงาและความชื้นจากการที่มีพืชชั้นบนขึ้นปกคลุม ลักษณะพันธุ์พืชที่ใช้ควรเป็นทรงพุ่มเพื่อลดความรุนแรงของเม็ดฝนที่ตกกระทบผิวดิน สามารถรักษาสภาพสมดุลของสภาวะแวดล้อมให้เหมาะสมกับพืชที่ปลูกร่วม เช่น บังร่มเงา พายุ ฝน รวมทั้งควบคุมสภาพความชุ่มชื้นและอุณหภูมิ เป็นต้น พันธุ์ไม้ที่ปลูกควรมีรากลึกพอที่สามารถหมุนเวียนธาตุอาหารในระดับที่ลึกขึ้นมาสู่บริเวณผิวดิน เป็นประโยชน์ต่อพืชรากตื้นที่ปลูกร่วม โดยรวมทั้งระบบควรให้ผลตอบแทนแก่เกษตรกรหลายด้าน เช่น ผลผลิตในรูปอาหาร ยารักษา โรค ไม้ฟืน ไม้สร้างบ้านและรายได้ สิ่งสำคัญที่สุดควรเป็นระบบที่อนุรักษ์ดินและน้ำได้ดี ปลูกได้หลายสภาพแวดล้อม และง่ายต่อการปฏิบัติในสภาพของเกษตรกร วนเกษตรที่พอประยุกต์ใช้ในประเทศไทยมีอยู่ 3 ระบบใหญ่ คือ ระบบป่าไม้-ไร่นา ระบบป่าไม้-เลี้ยงสัตว์ และระบบเลี้ยงสัตว์-ไร่นา-ป่าไม้ ซึ่งวีธีการนำแต่ละระบบไปประยุกต์ใช้ย่อมขึ้นอยู่กับสภาพแวดล้อมของแต่ละพื้นที่เป็นเกณฑ์

ในอดีต นักวิชาการและหน่วยงานด้านป่าไม้เคยใช้คำว่า ?วนเกษตร? ในความหมายของการทำป่าไม้ผสมผสานร่วมกับการปลูกพืชและเลี้ยงสัตว์ เป็นการจัดการป่าไม้เป็นหลักร่วมกับการเกษตรทุกแขนง อาจเป็นการปลูกพืชเกษตรในสวนป่า หรือการปลูกพืชเกษตรร่วมกับการเลี้ยงสัตว์ในสวนป่า และถือเป็นทางออกที่ประณีประนอมสำหรับความขัดแย้งระหว่างความต้องการที่ดินเพื่อการเกษตรกรรมและความต้องการป่าไม้เพื่อควบคุมสิ่งแวดล้อม ทำให้วิถีของคนและป่าสามารถดำเนินควบคู่กันไปโดยคำนึงถึงสภาพทางสังคมเศรษฐกิจและวัฒนธรรมประเพณี ?รวมทั้งช่วยพัฒนาความเป็นอยู่ของราษฎรที่เกี่ยวข้อง แต่แนวคิดและการดำเนินการตามรูปแบบดังกล่าวไม่เป็นที่นิยมและแพร่หลายนัก เพราะข้อจำกัดของระบบราชการและกรอบคิดที่พ่วงกับการจัดการป่าไม้แบบตะวันตก มาภายหลังระบบวนเกษตรตามที่เข้าใจกันในปัจจุบันได้เป็นที่รู้จักกว้างขวางในสังคมไทยจากการริเริ่มบุกเบิกแนวคิดโดยผู้ใหญ่วิบูลย์ เข็มเฉลิม เมื่อปลายทศวรรษ 2520 ซึ่งตัดสินใจขายที่ดินส่วนใหญ่เพื่อปลดแอกหนี้สินที่ท่วมตัวจากการทำเกษตรกรรมเชิงเดี่ยวเพื่อการขาย แล้วแปรสภาพที่ดินที่เหลือไม่ถึง 10 ไร่ ซึ่งเป็นไร่มันสำปะหลังให้เป็นระบบวนเกษตร ปลูกไม้ยืนต้น ไม้ผล และพืชสมุนไพรผสมผสานกัน โดยดำเนินชีวิตตามวิถีที่พึ่งพาตัวเองจากผลผลิตในที่ดิน

5. เกษตรธรรมชาติ (Natural farming)

เกษตรธรรมชาติเป็นระบบเกษตรกรรมที่คำนึงถึงระบบนิเวศและสภาพแวดล้อมเป็นสำคัญ และพยายามเข้าใจกระบวนการทำงานของธรรมชาติอย่างแท้จริง โดยมองว่าธรรมชาติได้จัดทุกสิ่งทุกอย่างไว้อย่างสมดุลดีแล้ว เราจึงควรให้ความสำคัญกับธรรมชาติและใช้ประโยชน์จากธรรมชาติอย่างเต็มที่โดยรบกวนธรรมชาติให้น้อยที่สุด พร้อมไปกับหาทางอนุรักษ์ธรรมชาตินั้นไว้ให้คงอยู่ตลอดไป

แนวคิดการทำเกษตรธรรมชาติที่รู้จักกันอย่างแพร่หลาย รวมถึงแนวคิดของมาซาโนบุ ฟูกูโอกะ ที่เป็นผู้เขียนหนังสือ ปฏิวัติด้วยฟางเส้นเดียว หรือแนวคิดเกษตรธรรมชาติของโมกิจิ โอกาดะ ผู้ให้กำเนิดกลุ่มเกษตรธรรมชาติเอ็มโอเอ (MOA) และแนวคิดเกษตรธรรมชาติคิวเซ ที่แยกออกมาจากกลุ่มเอ็มโอเอ ตลอดจนแนวคิดเกษตรธรรมชาติเกาหลีของ ฮาน คิว โช เป็นต้น แต่ส่วนใหญ่แนวคิดของเกษตรธรรมชาติจะมีหลักการสำคัญที่คล้ายคลึงกัน คือ การเลียนแบบธรรมชาติของป่าที่สมบูรณ์ และใช้พลังจากสิ่งต่างๆ ในธรรมชาติตามที่เป็น โดยจะรบกวนหรือแทรกแซงการทำงานของธรรมชาติให้น้อยที่สุดเท่าที่จำเป็น มีการให้ความสำคัญกับดินเป็นอันดับแรก และเน้นการปรับปรุงดินให้มีพลังมำหรับการเพาะปลูก เหมือนดินในป่าที่มีความอุดมสมบูรณ์ตามธรรมชาติ เป็นการนำทรัพยากรธรรมชาติที่มีอยู่อย่างจำกัดมาใช้ให้เกิดประโยชน์สูงสุด และเป็นวิธีการที่ไม่ก่อให้เกิดผลเสียต่อสภาพแวดล้อม ไม่เป็นอันตรายต่อเกษตรกรและผู้บริโภค สามารถให้ผลผลิตที่มีทั้งปริมาณและคุณภาพ หรือเป็นระบบเกษตรกรรมที่มีความยั่งยืนมั่นคงในระยะยาว

ในการทำเกษตรกรรมธรรมชาติ จะมีการจัดระบบการปลูกพืชและเลี้ยงสัตว์ที่สอดประสานกับธรรมชาติอย่างเกื้อกูลซึ่งกันและกัน งดเว้นกิจกรรมที่ไม่จำเป็นหลักๆ ได้แก่ ไม่มีการพรวนดิน ไม่กำจัดวัชพืช ไม่ใช้ปุ๋ยเคมีและสารเคมีกำจัดศัตรูพืช เป็นปฏิบัติการทางการเกษตรที่คำนึงถึง ดิน พืช และแมลง ไปพร้อมๆ กัน คือ มีการปรับปรุงดินให้มีความอุดมสมบูรณ์ ปลูกพืชตระกูลถั่วหรือใช้เศษซากพืชคลุมดิน ปลูกพืชหลากหลายชนิด และอาศัยการควบคุมโรคแมลงศัตรูพืชด้วยกลไกการควบคุมกันเองของสิ่งมีชีวิตตามธรรมชาติ ทำให้มีการอนุรักษ์แมลงที่มีประโยชน์พร้อมไปด้วยกัน จึงเป็นการปลูกพืชในสภาพแวดล้อมที่มีความสมดุลทางนิเวศวิทยา

ปรัชญาและมุมมองของเกษตรธรรมชาติได้ตั้งคำถามเกี่ยวกับวิธีการทำการเกษตรในปัจจุบันว่าได้ไปไกลเกินขอบเขตธรรมชาติมากน้อยเพียงใด ระบบการทำเกษตรกรรมของมนุษย์ที่มุ่งเน้นการผลิตสินค้าเพื่อตอบสนองต่อระบบตลาด ได้เข้าไปแทรกแซงธรรมชาติมากจนเกินควร เช่น การใช้จุลินทรีย์ต่างถิ่นมาปรับปรุงบำรุงดินเพื่อเพิ่มผลผลิต การนำแมลงต่างถิ่นมาควบคุมแมลงศัตรูพืช และการใส่ปุ๋ยหมักอย่างเกินความจำแป็น เป็นต้น ซึ่งวิธีการเหล่านี้ได้ไปทำลายสมดุลของระบบธรรมชาติ ทั้งที่มีวิธีการทำการเกษตรที่เป็นมิตรและใกล้ชิดกับธรรมชาติมากกว่า แต่ไม่ได้รับการส่งเสริมพัฒนาให้เจริญก้าวหน้าในยุคสมัยที่เกษตรกรรมเป็นเพียงเครื่องมือของระบบตลาดที่ไม่คำนึงถึงผลพวงที่ตามมา ไม่ใช่วิถีการดำเนินชีวิตที่เป็นส่วนหนึ่งของธรรมชาติ

6. เกษตรทฤษฏีใหม่

ระบบเกษตรทฤษฎีใหม่เป็นแนวทางการทำการเกษตรแบบพึ่งตนเองที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลฯ ได้พระราชทานให้เมื่อวันที่ 4 ธันวาคม 2540 ซึ่งเป็นช่วงที่ประเทศไทยกำลังได้รับผลกระทบอย่างรุนแรงจากวิกฤตเศรษฐกิจฟองสบู่แตก

แนวทางเกษตรทฤษฎีใหม่เป็นวิธีทำการเกษตรที่ทำได้ง่ายไม่ยุ่งยากซับซ้อน สอดคล้องกับสภาพความเป็นอยู่และระบบนิเวศโดยรวมของธรรมชาติ มีการหมุนเวียนการใช้ประโยชน์ของทรัพยากรให้เกิดประโยชน์สูงสุด ได้แก่ ที่ดิน แรงงาน ทุน ปัจจัยการผลิต หรือเศษเหลือใช้จากพื้นที่หนึ่งไปยังอีกพื้นที่หนึ่ง เพื่อให้เกษตรกรมีอาหารที่ผลิตเองไว้บริโภคอย่างพอเพียงตามอัตภาพ พอมีพอกิน ไม่อดอยาก เหมาะสำหรับพื้นที่ขนาดเล็กประมาณ 10-20 ไร่ เน้นให้เกษตรกรสามารถทำการเกษตรเพื่อเลี้ยงตนเองได้แบบค่อยเป็นค่อยไปตามกำลัง ทำกิจกรรมการเกษตรหลายอย่างเพื่อให้มีการใช้ทรัพยากรอย่างเต็มที่ เพิ่มประสิทธิภาพการผลิต เพิ่มความอุดมสมบูรณ์ของดิน และสร้างสมดุลให้กับระบบนิเวศ สามารถปรับใช้กับพื้นที่ขนาดใหญ่ได้ โดยจะเน้นการจัดการแหล่งน้ำและจัดสรรแบ่งส่วนพื้นที่ทำการเกษตรอย่างเหมาะสม มีการแบ่งพื้นที่ระหว่าง แหล่งน้ำ/นาข้าว/พืชผสมผสาน/โครงสร้างพื้นฐานและที่พักอาศัย ในสัดส่วน 30/30/30/10

วิธีการของเกษตรทฤษฎีใหม่นี้เป็นวิธีการปฏิบัติที่เป็นรูปธรรม และเป็นฐานรากของหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงของพระองค์ท่าน การปลูกป่า 3 อย่างเพื่อประโยชน์ 4 อย่าง คือ ป่าไม้ใช้สอยที่เป็นไม้โตเร็วสำหรับใช้ในครัวเรือนเพื่อสร้างสิ่งต่างๆ และเป็นพลังงานหรือไม้ฟืน ป่าไม้กินได้พวกไม้ผลและพืชผักต่างๆ ที่เป็นอาหารและสมุนไพรรักษาโรค ป่าไม้เศรษฐกิจหรือไม้ใหญ่ที่ปลูกไว้เพื่อขายเมื่อโต ซึ่งให้ประโยชน์ พออยู่ พอกิน พอใช้ และพอร่มเย็น หรือเป็นประโยชน์ต่อระบบนิเวศและช่วยอนุรักษ์ดินและน้ำ? การปลูกพืชที่หลากหลายอย่างเป็นระบบจะช่วยสร้างสมดุลของระบบนิเวศในบริเวณพื้นที่เพาะปลูก? ช่วยปกป้องผิวดินให้ชุ่มชื้น ดูดซับน้ำฝน และค่อยๆ ปลดปล่อยความชื้นให้กับพืชและบริเวณโดยรอบ สร้างความสมบูรณ์และก่อให้เกิดความหลากหลายทางชีวภาพภายในบริเวณพื้นที่ป่าปลูก และหากทำทั้งหมดนี้จะสามารถช่วยแก้ปัญหาความเป็นอยู่ที่ยากจนของเกษตรกร ที่จะส่งผลเป็นความมั่นคงทางเศรษฐกิจของประเทศโดยรวม หากสามารถสร้างระบบเศรษฐกิจที่พึ่งพาตนเองได้แม้เพียงหนึ่งในสี่ของระบบเศรษฐกิจทั้งหมด ก็จะสามารถทำให้ประเทศชาติมีความมั่นคงมากกว่าระบบเศรษฐกิจที่ต้องพึ่งพาภาคอุตสาหกรรมและการส่งออกอย่างที่เป็นอยู่ในปัจจุบัน3

ทั้งนี้ ต้องเข้าใจว่าแนวทางเกษตรทฤษฏีใหม่เป็นส่วนหนึ่งของปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง ที่ให้ความสำคัญกับการผลิตเพื่อตอบสนองความต้องการอาหารในครัวเรือน และทำให้ชุมชนสามารถพึ่งพาตัวเองได้โดยไม่ต้องพึ่งปัจจัยการผลิตจากภายนอก ดังนั้น การส่งเสริมการทำเกษตรทฤษฏีใหม่ที่ดำเนินพร้อมไปกับการส่งเสริมการใช้ปุ๋ยเคมีและสารเคมีการเกษตร หรือนำทฤษฏีใหม่ไปใช้แค่เพียงรูปแบบโดยไม่เข้าใจเนื้อหาและปรัชญาที่อยู่เบื้องหลังเกษตรทฤษฏีใหม่นี้ จะนำไปสู่แนวทางการดำเนินงานที่ไม่จัดเป็นเกษตรกรรมยั่งยืนตามความหมายและหลักการที่วางไว้

7. เกษตรกรรมประณีต

เกษตรกรรมประณีตเป็นรูปแบบเกษตรกรรมทางรอดที่เกิดจากการการระดมความคิดของปราชญ์ชาวบ้านภาคอีสาน 12 ท่าน4 ร่วมกับนักวิจัยระดับชาวบ้านท่านอื่นๆ เพื่อตอบคำถามว่าต้องมีพื้นที่เท่าไรจึงจะทำเกษตรกรรมเลี้ยงชีวิตได้อย่างพออยู่พอกิน สามารถเลี้ยงตนเองและคนในครอบครัวได้??และต้องจัดการพื้นที่อย่างไรให้สามารถเลี้ยงตัวเองและปลดภาระหนี้ที่มีอยู่ได้? คำตอบที่ได้จากการระดมสมอง คือ มีพื้นที่ 1 ไร่ก็สามารถจะอยู่ได้อย่างพอเพียง? การทำเกษตรประณีตจึงเป็นการใช้ประโยชน์จากที่ดิน 1 ไร่ให้เกิดความคุ้มค่าสูงสุด โดยมีจุดมุ่งหมายเพื่อแก้ปัญหาให้เกษตรกรมีชีวิตความเป็นอยู่ที่ดีขึ้น?พอมีพอกิน?ปลดภาระหนี้สิน?ปลูกไม้ยืนต้นเพื่อเป็นบำนาญชีวิตโดยมีหลักการสำคัญได้แก่ การออมน้ำ?ออมดิน?ออมต้นไม้?ออมสัตว์?ซึ่งเป็นปัจจัยสำคัญสำหรับการทำเกษตรในพื้นที่ 1 ไร่อย่างมีความยั่งยืนและเกิดการเชื่อมโยงเป็นระบบนิเวศที่เกื้อกูล? นอกจากนี้ ยังต้องมีอิทธิบาท 4 เป็นปัจจัยพื้นฐานด้านจิตใจที่สำคัญยิ่งอีกด้วย คือ ต้องมีฉันทะ หรือความพอใจรักในการทำการเกษตรกรรม ต้องมีวิริยะ หรือความพากเพียรในการทำงานตามแผน?ซึ่งรวมถึงแรงงาน?การลงทุนแหล่งน้ำ?การปรับปรุงดิน?การจัดหาพันธุ์พืชเพื่อปลูก?การจัดหาพันธุ์สัตว์เพื่อเลี้ยง และการใช้คืนทุนที่เป็นเงินยืมมาช่วยเสริม ต้องมีจิตตะ หรือความตั้งใจใส่ใจในงานที่ทำด้วยศรัทธา ใฝ่ศึกษาสังเกตุเรียนรู้เพื่อพัฒนาปรับปรุงสิ่งที่ทำอยู่ให้มีปริทธิภาพและเกิดประสิทธิผลเพิ่มขึ้น และสุดท้าย ต้องมีวิมังสา หรือรู้จักตรวจสอบประเมินผลโดยใช้ปัญญา สำหรับการพิจารณาว่าจะปลูกอะไรหรือเลี้ยงอะไรในพื้นที่ 1 ไร่นั้น ความแตกต่างของพื้นที่จะเป็นตัวกำหนดพืชและสัตว์ที่มีความเหมาะสม?รวมทั้งความชอบของผู้ปลูกด้วย

การทำเกษตรประณีตเพื่อการพึ่งพาตนเองและปลดหนี้ จะแบ่งออกเป็นส่วนที่ทำเพื่อบริโภคเอง?และส่วนที่ทำเพื่อจำหน่ายทั้งระยะสั้นและระยะยาว? พื้นที่เกษตรประณีตจะมีการปลูกผักไว้กินเองและเพื่อขาย?โดยมากราคาผักจะไม่สูง?จำหน่ายเป็นช่วงๆ ตามฤดูกาล?ใช้ระยะเวลาสั้น? ส่วนการเลี้ยงสัตว์มีทั้งในส่วนบริโภคเองและจำหน่ายเช่นกัน?เช่น ไก่เนื้อ ไก่ไข่ หมู วัว? ซึ่งจะช่วยให้ออมเงินได้มากกว่าการขายผักเพียงอย่างเดียว? นอกจากนี้ยังมีไม้ยืนต้นที่ให้ผลผลิตต่อเนื่องและในระยะยาวและสามารถนำมาแปรรูปได้? สิ่งเหล่านี้จะสร้างรายได้?ช่วยปลดหนี้อย่างค่อยเป็นค่อยไป? และลดหรือเลิกรายจ่ายที่ไม่จำ? สิ่งที่สำคัญคือ ต้องทำหลายอย่างในพื้นที่ 1 ไร่?ไม่ทำเชิงเดี่ยว?ทำปุ๋ยใช้เอง?ไม่ใช้ปุ๋ยเคมีหรือสารเคมี?ใช้วิธีธรรมชาติในการไล่แมลง?เก็บเมล็ดพันธุ์เอง ไม่ซื้อ ฯลฯ? ผสมผสานความรู้ในการทำเกษตรกรรม 1 ไร่? ออกแบบผังการวางกิจกรรมต่างๆ ให้สอดคล้องและมีการเกื้อกูลกันในระบบ?ซึ่งรูปแบบจะไม่ตายตัว แต่จะอิงหลักการออมข้างต้น?และพัฒนาเทคนิคความรู้กิจกรรมการเกษตรในพื้นที่อยู่ตลอด? ต้องมีหลักคิดในการพึ่งพาตนเองอย่างยั่งยืน?ลดรายจ่าย?สร้างปัจจัยการดำรงชีวิตในพื้นที่ของตนเองให้ได้? เพื่อลดการพึ่งพิงจากปัจจัยภายนอกที่ทำให้มีค่าใช้จ่ายหรือส่งผลให้กลับไปสร้างหนี้

8. เกษตรอินทรีย์ (Organic farming)

เกษตรอินทรีย์เป็นระบบการเกษตรที่ผลิตอาหารด้วยความยั่งยืนทางสิ่งแวดล้อม สังคม และเศรษฐกิจ โดยเน้นหลักการปรับปรุงบำรุงดิน เคารพต่อศักยภาพทางธรรมชาติของพืช สัตว์ และระบบนิเวศ ลดการใช้ปัจจัยการผลิตจากภายนอก และไม่ใช้สารเคมีเพื่อการเกษตร ทั้งปุ๋ยเคมี ยากำจัดวัชพืชและศัตรูพืช รวมทั้งฮอร์โมนสังเคราะห์ที่กระตุ้นการเจริญเติบโตของพืชและสัตว์ ตลอดจนสิ่งมีชีวิตดัดแปลงพันธุ์กรรม ในขณะเดียวกันก็พยายามประยุกต์ใช้ธรรมชาติเพื่อช่วยเพิ่มผลผลิตและพัฒนาความต้านทานศัตรูพืช เกษตรอินทรีย์ให้ความสำคัญสูงสุดในการปรับปรุงดิน โดยเชื่อว่าดินที่สมบูรณ์ย่อมทำให้พืชและสัตว์ที่เจริญเติบโตจากผืนดินนั้นมีความอุดมสมบูรณ์ตามไปด้วย ผู้บริโภคผลผลิตเกษตรอินทรีย์ก็จะได้รับอาหารที่มีคุณภาพดีและปลอดภัย วิธีการปรับปรุงบำรุงดินจะมีทั้งการใช้ปุ๋ยพืชสด ปลูกพืชหมุนเวียน ใช้ประโยชน์จากเศษซากพืชและมูลสัตว์ทำปุ๋ยหมักและปุ๋ยชีวภาพ ตลอดจนใช้ธาตุอาหารเสริมจากหินแร่ต่างๆ มีการควบคุมศัตรูพืชโดยวิธีชีวภาพหรือใช้สารสกัดจากพืชที่ไม่เป็นอันตรายต่อมนุษย์ หรือไม่มีผลกระทบต่อตัวห่ำตัวเบียนที่เป็นประโยชน์ ใช้เมล็ดพันธุ์ที่ไม่มีการตัดแต่งพันธุ์กรรม และมีการป้องกันการปนเปื้อนจากสารเคมี

เมื่อปี 2551 เจ้าหน้าที่ขององค์การอาหารโลกแห่งองค์การสหประชาชาติ (FAO) ได้กล่าวไว้ว่า ?เกษตรอินทรีย์แบบยั่งยืนเป็นระบบการบริหารจัดการการผลิตแบบองค์รวม ที่หลีกเลี่ยงการใช้ปุ๋ยเคมีและสารกำจัดศัตรูพืช สิ่งมีชีวิตที่มีการตัดแต่งพันธุ์กรรม (จีเอ็มโอ) ลดการสร้างมลพิษในอากาศ ดิน และแหล่งน้ำ ตลอดจนเพิ่มความแข็งแรงของสุขภาพให้กับพืช สัตว์ และมนุษย์? ประโยชน์ของการทำเกษตรกรรมวิธีนี้อย่างเต็มรูป คือ การลดการพึ่งพาพลังงานที่ใช้เชื้อเพลิงจากฟอสซิล ใช้ทรัพยากรที่มีอยู่ในท้องถิ่น ซึ่งมีผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมน้อยและมีต้นทุนต่ำ5 เกษตรอินทรีย์เต็มรูปจึงถือเป็นก้าวแรกของการทำเกษตรกรรมเพื่อความยั่งยืน

ในปัจุบัน ระบบเกษตรอินทรีย์ได้แพร่หลายเป็นที่รู้จักกันทั่วโลก และกลายเป็นส่วนหนึ่งของระบบผลิตทางการเกษตรที่มีการพัฒนาระบบตลาด และมาตรฐานการผลิตที่มีการรับรองเป็นการเฉพาะและหลากหลายลักษณะ สำหรับประเทศไทย การบุกเบิ่กพัฒนาและเผยแพร่ระบบเกษตรกรรมอินทรีย์และมาตรฐานเกษตรอินทรีย์ เริ่มจากการผลักดันขององค์กรพัฒนาเอกชนเป็นส่วนใหญ่ โดยร่วมมือกับกลุ่มเกษตรกรในหลายจังหวัด จนสามารถพัฒนาการตลาดอินทรีย์ให้ขยายไปทั้งในและต่างประเทศ ทำให้เป็นที่สนใจของพรรคการเมืองจนถูกนำไปใช้เป็นนโยบายในการหาเสียง และในที่สุดนโยบายเกษตรกรรมอินทรีย์ได้ถูกบรรจุไว้เป็นวาระแห่งชาติในยุคของรัฐบาลทักษิณ 1 แต่หน่วยงานภาครัฐหลายแห่งยังไม่เข้าใจหลักการและเนื้อหาของระบบเกษตรอินทรีย์ อีกทั้งขาดความร่วมมือระหว่างหน่วยงานภาครัฐ ทำให้การพัฒนาเกษตรกรรมอินทรีย์ในฐานะนโยบายระดับประเทศของไทยยังไม่ประสบผลสำเร็จเท่าที่ควร

อย่างไรก็ตาม ความสนใจพัฒนาเกษตรกรรมอินทรีย์โดยเอาตลาดเป็นตัวนำ มุ่งเน้นการผลิตพืชเชิงเดี่ยวในพื้นที่ขนาดใหญ่เพื่อการค้าอุตสาหกรรมและ/หรือการส่งออกเป็นหลัก พึ่งพาเครื่องจักรการเกษตรแทนแรงงานคน และอยู่ภายใต้ระบบและการควบคุมของบริษัทขนาดใหญ่ แทนที่จะมุ่งเพื่อความมั่นคงด้านอาหารอย่างยั่งยืน ถือเป็นเกษตรอินทรีย์ที่ไม่ยั่งยืน ซึ่งให้ผลที่แตกต่างอย่างมากกับวิธีการทำเกษตรอินทรีย์แบบยั่งยืน ที่คำนึงถึงความสมดุลขององค์ประกอบทั้งหมดในกระบวนการผลิตแบบองค์รวม เพื่อความยั่งยืนทั้งด้านสิ่งแวดล้อม สังคม สุขภาพ และเศรษฐกิจ การนำรูปแบบวิธีการเกษตรอินทรีย์ไปใช้เพียงบางส่วนเพื่อให้ได้ชื่อว่าเป็นเกษตรกรรมอินทรีย์ และผ่านระบบการรับรองมาตรฐานการผลิตเพื่อผลด้านการตลาด อาจเป็นการทำลายหลักการและเป้าหมายที่แท้จริงของระบบเกษตรกรรมอินทรีย์ในบั้นปลาย เพราะการทำเกษตรกรรมอินทรีย์ลักษณะดังกล่าวไม่ถือเป็นเกษตรกรรมอินทรีย์ที่แท้จริง และผิดหลักการของเกษตรกรรมยั่งยืนโดยสิ้นเชิง

9. เกษตรกรรมที่เป็นมากกว่าเกษตรอินทรีย์ (Beyond Organic farming)

เกษตรกรรมที่เป็นมากกว่าเกษตรอินทรีย์ มักหมายถึงการทำเกษตรอินทรีย์เต็มรูปที่ให้ความสำคัญกับคุณภาพของผลผลิตมากกว่าเกษตรอินทรีย์ทั่วไป หรือเน้นจำนวนชนิดและปริมาณของสารอาหารธรรมชาติที่เป็นประโยชน์กับร่างกายในผลผลิต

เนื่องจากระบบการรับรองเกษตรอินทรีย์ในปัจจุบัน เป็นการรับรองมาตรฐานของกระบวนการผลิตเท่านั้น ไม่ได้รับรองมาตรฐานคุณภาพของผลิต เพราะเมื่อ 30 ปีก่อนตอนที่มีการกำหนดมาตรฐานเกษตรอินทรีย์ ยังไม่มีวิธีการและเทคโนโลยีที่จะสามารถตรวจวัดคุณภาพของผลผลิตได้ ดังนั้นเพื่อป้องกันผู้ผลิตเกษตรอินทรีย์และผู้ขายใช้การรับรองมาตรฐานผลผลิตอินทรีย์เป็นเครื่องมือการตลาด โฆษณาคุณสมบัติของสินค้าอินทรีย์เกินความเป็นจริง ทำให้ผู้บริโภคที่ไม่รู้ข้อมูลที่แท้จริงเกิดความเข้าใจที่ผิด หน่วยงานรับรองมาตรฐานเกษตรอินทรีย์ทั้วโลกจึงได้ตกลงกำหนดเป็นข้อห้าม ไม่ให้ผู้ที่ได้รับการรับรองเกษตรอินทรีย์อ้างข้อมูลด้านคุณภาพของผลผลิตเพื่อผลด้านการตลาดหรือการขายสินค้า

แต่เมื่อเวลาผ่านไป จนถึงปัจจุบันที่วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีได้พัฒนาไปไกลกว่าเมื่อ 30 ปีก่อนมาก วิทยาศาสตร์ได้หันมาสนใจเรื่องคุณภาพของผลผลิตการเกษตรที่อาหาร เพราะปัญหาด้านสุขภาพได้กลายเป็นปัญหาวิกฤตของสังคม จึงมีการคิดหาวิธีการและเทคโนโลยีที่ไม่ซับซ้อนในการตรวจวัดคุณภาพของผลผลิตการเกษตร ทำให้สามารถกลับไปปรับปรุงระบบและวิธีการทำเกษตรกรรมอินทรีย์ให้ได้ผลผลิตที่มีคุณภาพและรักษาระดับคุณภาพของผลผลิตอินทรีย์ให้สม่ำเสมอต่อเนื่องได้ จึงเป็นที่มาของระบบเกษตรกรรมที่เป็นมากกว่าเกษตรอินทรีย์ ในปัจจุบันยังไม่มีระบบการรับรองมาตรฐานด้านคุณภาพผลผลิตเกษตรอินทรีย์ แต่มีหลายหน่วยงานที่กำลังพยายามริเริ่มทำมาตรฐานด้านคุณภาพสำหรับผลผลิตการเกษตรแต่ละชนิด6

ถึงแม้โดยทั่วไป ผลผลิตจากระบบเกษตรอินทรีย์ที่แท้จริงจะมีปริมาณสารอาหารที่มากกว่าผลผลิตเกษตรเคมีก็ตาม แต่เมื่อคำว่า ?เกษตรอินทรีย์? เริ่มถูกนำมาใช้เป็นเครื่องมือการตลาด การทำเกษตรอินทรีย์ โดยเฉพาะของบริษัทการเกษตรอุตสาหกรรม จึงเริ่มเปลี่ยนวิธีการผลิตจากการใช้สารเคมีมาใช้สารสกัดจากอินทรีย์วัตถุแทน โดยไม่มีการเปลี่ยนวิธีคิดและระบบการทำเกษตรอินทรีย์อย่างเป็นระบบที่ครบวงจร หรือเป็นระบบเกษตรอินทรีย์เต็มรูป ทำให้มีผลกับคุณภาพผลผลิตด้วย ในปัจจุบัน มีระบบวิธีการเกษตรอินทรีย์เต็มรูปและเกษตรธรรมชาติเข้มข้นที่คำนึงถึงคุณภาพผลผลิตเป็นสำคัญ พอจัดรวมเป็นระบบเกษตรกรรมที่เป็นมากกว่าเกษตรอินทรีย์ทั่วไปได้ เช่น เกษตรชีวพลวัต (Bio-Dynamic) เกษตรชีวภาพเข้มข้น (Bio-Intensive) เกษตรอินทรีย์พลังชีวภาพ (Bio-Energetic) เกษตรสารอาหารเข้มข้น (Nutrient Dense Farming) และเกษตรธรรมชาติแบบเอ็มโอเอ เป็นต้น

สรุป

กลับสู่ด้านบน

โดยสรุป ระบบเกษตรกรรมที่ยั่งยืนควรจะสามารถ

  • ให้ผลผลิตที่มีคุณค่าสารอาหารด้านโภชนาครบถ้วน และสามารถสร้างรายได้ในระดับที่เพีให้ผลผลิตหลากหลายชนิด เพื่อความหลากหลายทางชีวภาพและความมั่นคงด้านอาหาร
  • ยังพอต่อการดำรงชีวิตให้กับเกษตรกร
  • ใช้พื้นที่เพื่อการเพาะปลูกน้อยที่สุดเท่าที่จะเป็นไปได้ ใช้ประโยชน์จากความมีประสิทธิภาพของระบบการผลิตในที่ดินแปลงเล็กหรือของเกษตรกรรายย่อย
  • ใช้เมล็ดพันธุ์ที่ได้จากการผสมเกษรตามธรรมชาติ (open pollination) เพื่อให้ความเป็นเจ้าของเมล็ดพันธุ์กลับมาอยู่ในมือของเกษตรกรและชุมชน และส่งเสริมการปรับปรุงพันธุ์พื้นเมืองเพื่อความเหมาะสมกับท้องถิ่นที่เพาะปลูก
  • ใช้เครื่องมือการเกษตรที่อาศัยแรงงานคนเป็นหลัก ไม่มีความซับซ้อน เพื่อลดต้นทุนด้านเศรษฐกิจและลดการใช้ต้นทุนด้านทรัพยากรธรรมชาติ เช่น ทรัพยากรในดิน
  • ปรับเข้าได้กับวัฒนธรรมการผลิตของท้องถิ่น และสามารถตกทอดสู่รุ่นลูกหลานต่อไปได้
  • เป็นวิธีที่ทำได้โดยเกษตรกรรายย่อยที่มีที่ดินแปลงเล็ก ขนาดราว 10 ไร่ ไม่ว่าเกษตรกรผู้ผลิตจะมีฐานะทางเศรษฐกิจระดับใดก็ตาม
  • วิธีการทำเกษตรกรรมที่ยั่งยืน ไม่ควรจะ:
  • พึ่งพาเครื่องจักรการเกษตรขนาดใหญ่
  • พึ่งพิงการใช้ปุ๋ยหรือใส่สิ่งเพิ่มเติมจำนวนมากลงในดิน (รวมทั้งปุ๋ยคอกและปุ๋ยหมัก) ที่ไม่สามารถผลิตได้เองจากในพื้นที่ที่ทำการเกษตร
  • ต้องใช้ทรัพยากรหรือผลผลิตจากทรัพยากรที่ไม่สามารถหามาทดแทนได้ เช่น น้ำมันปิโตรเลียม
  • ทำให้ทรัพยากรธรรมชาติที่มีอยู่เพื่อเกษตรกร ชุมชนท้องถิ่น และชุมชนโลก ต้องลดน้อยถอยลง แต่ในทางกลับกันทำให้มีเพิ่มขึ้น รวมทั้งมีความอุดมสมบูรณ์มากขึ้นเท่าที่จะทำได้7

?ความมั่นคงด้านอาหารของโลกขึ้นอยู่กับการ ?กลับสู่พื้นฐาน? เพื่อสนับสนุนเกษตรกรรมนยชนบท… …การทำการเกษตรและการผลิตที่ฉลาดขึ้น จะต้องเป็นส่วนหนึ่งของทางแก้ปัญหา?

เฮเลน คลาร์ก ? ผู้อำนวยการบริหาร UNDP

รวบรวมและเรียบเรียง – ทัศนีย์ เศรษฐ์บุญสร้าง
tatsanee@NawaChiOne.org
? สงวนลิขสิทธิ์
อนุญาตให้ใช้เพื่อการศึกษาที่ไม่เป็นธุรกิจ แต่ขอให้อ้างอิงแหล่งที่มาด้วย

กลับสู่ด้านบน

————————————————————————————————

เชิงอรรถ

1คณะทำงานวิชาการ สมัชชาเกษตรกรรมยั่งยืนครั้งที่ 3, เกษตรกรรมยั่งยืน: วิถีเกษตรกรรมเพื่อความเป็นไท ความเรียงว่าด้วยความเหมาย หลักการ และนโยบายเกษตรกรรมยั่งยืน, มูลนิธิเกษตรกรรมยั่งยืน (ประเทศไทย), 2547
2Ibid.
3สุนัย เศรษฐ์บุญสร้าง การเรียนรู้ร่วมกันแบบมีเข็มมุ่งสู่วิถีเศรษฐกิจพอเพียง บริษัท ฟ้าอภัย จำกัด 2551
4ปราชญ์ชาวบ้านภาคอีสานทั้ง 12 ท่าน ได้แก่ 1) พ่อคำเดื่อง ภาษี? 2) พ่อผาย สร้อยสระกลาง? 3) พ่อสุทธินันท์ ปรัชญพฤทธิ์ 4) พ่อมหาอยู่ สุนทรชัย? 5) พ่อชาลี มาระแสง 6) พ่อเชียง ไทยดี?7) พ่อทัศน์ กระยอม?8) พ่อผอง เกตพิบูลย์?9) พ่อบุญเต็ม ชัยลา 10) พ่อจันทร์ที ประทุมภา? 11) พ่อสนั่น ปริสาวงศ์? และ 12) พ่อทองใบ ต้นโลห์
5ISIS Report: FAO Promotes Organic Agriculture.
www.i-sis.org.uk/FAOPromotesOrganicAgriculture.php
6 Bionutrient Food Association, 2011 Orgnaizational Plan + Proposal: Remineralize the Earth, USA. (2011).
7 Perspectives from Ecology Action, Biointensive Agriculture: A Greener Revolution, Willits CA, 2010.

พลังธรรมชาติกับการเพิ่มผลผลิต: งมงายหรือวิทยาศาสตร์

ดาวน์โหลด PDF

————————————————————————————————

คัมภีร์อี้จิงโบราณของจีน (1122 ปีก่อนคริสต์กาล) กล่าวไว้ว่า ?สรรพสิ่งในจักรวาลนี้ ไม่มีอะไรหยุดนิ่ง ไม่มีอะไรไม่เปลี่ยนแปลง ไม่มีอะไรไม่เชื่อมโยงกัน และไม่มีอะไรไม่เกี่ยวข้องสัมพันธ์กัน? ชาวจีนโบราณเชื่อในเรื่องความสมดุลของสรรพสิ่งในธรรมชาติ โดยมี ?พลังธรรมชาติ? หรือ ?พลังชีวิต? ที่ภาษาจีนกลางเรียกว่า ?ชี่? จีนแต้จิ๋วออกเสียงว่า ?ขี่? คนญี่ปุ่นเรียกว่า ?กิ? (Ki) ซึ่งหมายถึงสิ่งเดียวกับ ?ปราณ? (Prana) ในภาษาสันสกฤต หรือ ?นูมา? (Pneuma) ในภาษากรีก พลังธรรมชาติในความหมายนี้จะมีอยู่ทุกหนทุกแห่ง ทั้งในร่างกายมนุษย์และทุกสรรพสิ่งในจักรวาล อารยธรรมโบราณทั่วโลกตั้งแต่อียิปต์ บาบีโลน เปอร์เซีย กรีก โรมัน จีน และอินเดีย ล้วนมีการกล่าวถึงการใช้พลังธรรมชาติและสมดุลของธรรมชาติทั้งสิ้น คนโบราณมองว่าทุกสรรพสิ่งในจักรวาลล้วนมีชีวิต คือ มีพลังชีวิตหรือปราณของตัวเอง แม้แต่วัตถุธาตุต่างๆ ที่เราจัดว่าเป็นสิ่งไม่มีชีวิต ในนัยยะนี้ก็ถือว่าล้วนเป็นสิ่งมีชีวิตและมีพลังธรรมชาติไหลเวียนอยู่ในตัวเองทั้งสิ้น รวมถึงดวงดาวทั้งหลาย ภูเขา ก้อนหิน แม่น้ำ ก้อนเมฆ วัตถุสิ่งของต่างๆ และอะตอมทุกอะตอม และแน่นอนว่าต้องรวมถึง มนุษย์ทุกคน สัตว์ และ พืชทุกชนิดด้วย ดังที่กล่าวไว้ในคัมภีร์อี้จิงว่า ?ไม่มีสิ่งใดในจักรวาลนี้สามารถแยกขาดเป็นปัจเจกอย่างสมบูรณ์โดยไม่เกี่ยวข้องสัมพันธ์กันเลย และไม่มีชี่ของสิ่งใดไม่เคลื่อนไหวแลกเปลี่ยนกับชี่ของสิ่งอื่น?

วงการวิทยาศาสตร์โดยเฉพาะนักวิทยาศาสตร์สายเมตาฟิสิกส์ได้พยายามศึกษาค้นคว้าเพื่อพิสูจน์ถึงความมีอยู่ของพลังธรรมชาติตามนัยยะนี้ จนทำให้มีความเข้าใจและยอมรับในความมีอยู่จริงของพลังธรรมชาติที่มองไม่เห็นเหล่านี้ นักวิทยาศาสตร์ได้พบว่า พลังธรรมชาติหรือพลังชีวิตตามนัยยะนี้มีคุณสมบัติเป็นแม่เหล็กไฟฟ้าที่ละเอียด บางส่วนมีความถี่ในช่วงของคลื่นความร้อนหรือรังสีอินฟาเรด และบางส่วนก็ละเอียดมากจนเครื่องมือในปัจจุบันไม่สามารถตรวจจับได้ แต่สามารถเห็นผลจากการกระทำของพลังธรรมชาติที่ละเอียดนี้ได้ และได้อธิบายว่า พลังธรรมชาติที่ว่านี้ ก็คือพลังงานรอบๆ ตัวเราที่มีการเคลื่อนไหวอยู่ตลอดเวลา เป็นองค์ประกอบพื้นฐานที่สุดในการก่อรูปและประคองรักษาความมีอยู่ของสรรพสิ่ง ทุกสรรพสิ่งในจักวาลจะมีการถ่ายโอนแลกเปลี่ยนพลังธรรมชาติระหว่างกันอยู่เสมอ และการเปลี่ยนแปลงของพลังธรรมชาตินี้เองที่ก่อให้เกิดสรรพสิ่งในจักรวาลและปรากฏการณ์ธรรมชาติทั้งหลาย ฤดูกาลต่างๆ ก็เป็นผลจากการเปลี่ยนแปลงของพลังธรรมชาติตามนัยยะนี้ และโดยธรรมชาติแล้ว ถ้าพลังชีวิตของสิ่งหนึ่งสมดุล ก็จะทำให้พลังชีวิตของสิ่งอื่นๆ ดีไปด้วย แต่ถ้าพลังชีวิตของสิ่งหนึ่งไม่สมดุล ก็จะส่งผลต่อพลังชีวิตของสิ่งอื่นๆ ด้วยเช่นกัน ถ้าสรรพสิ่งมีความสมดุล พืชพันธุ์ไม้ก็เจริญงอกงาม ฝนฟ้าก็ตกตามฤดูกาล ผู้คนก็จะไม่เจ็บป่วย ดังนั้นความมีสุขภาพดีของทุกชีวิตในจักรวาล จึงขึ้นอยู่กับความสมดุล ความผสมผสานกลมกลืน และการแลกเปลี่ยนกันอย่างพอดี ระหว่างพลังชีวิตของตัวเองกับพลังชีวิตของสิ่งแวดล้อมนั่นเอง

คลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า

กลับสู่ด้านบน

จากการค้นพบทฤษฏีสัมพันธ์ภาพ (E=mc2 ) ของไอนสไตน์ และการหาคำตอบต่อคำถามที่เขาทิ้งไว้ให้กับวงการวิทยาศาสตร์ยุคใหม่ของโลกตะวันตกก่อนที่จะจากโลกนี้ไป ซึ่งก็คือความขัดแย้งระหว่างทฤษฏีหลักทางฟิสิกส์ที่เป็นที่ยอมรับโดยทั่วไป 3 ทฤษฎี ที่เป็นพื้นฐานสำคัญของวิทยาศาสตร์ยุคใหม่ทุกสาขา ซึ่งได้แก่ ?ทฤษฏีสัมพันธภาพทั่วไป? ของไอนสไตน์ที่ศึกษาจักรวาลเพื่อเข้าใจจุดกำเนิดของเอกภพ ?ทฤษฎีควอนตัม? ของบอฮ์รที่ศึกษาอนุภาคที่เล็กที่สุดของอะตอมเพื่อเข้าใจธรรมชาติของชีวิตและสรรพสิ่ง และ ?ทฤษฏีแรงโน้นถ่วง? ของนิวตันที่ศึกษาผลของแรงดึงดูดเพื่อเข้าใจธรรมชาติตามสภาพความเป็นจริง ได้นำวิทยาศาสตร์ฟิสิกส์ยุคใหม่1 (Meta-Physic) ไปสู่การค้นพบทฤษฏีสตริงหรือทฤษฎีเส้นเชือก (Strings Theory) เมื่อปลายศตวรรษที่ 19 ต่อต้นศตวรรษที่ 20 ซึ่งต่อมาได้พัฒนาเป็น ทฤษฏีซุปเปอร์สตริง (Superstrings Theory หรือ Supersymmetrics String Theory) ที่อธิบายว่าทุกสรรพสิ่งในจักรวาลล้วนถือกำเนิดและดำเนินอยู่ต่อไปตามธรรมชาติด้วยพลังการสั่นไหว (Vibration) ที่ต่อเนื่องของอนุภาคที่เล็กที่สุดในลักษณะเป็นคลื่นที่เชื่อมโยงและสอดประสานกัน เหมือนเป็นสายเสียงของเครื่องดนตรีชิ้นใหญ่แห่งจักรวาล

ทฤษฏีนี้เป็นที่ยอมรับในหมู่นักวิทยาศาสตร์ฟิสิกส์ยุคใหม่ เพราะสามารถผ่าทางตัน (breakthrough) ให้คำอธิบายปัญหาข้อขัดแย้งและประสานช่องว่างที่เกิดจากข้อจำกัดของทฤษฏีหลักทางฟิสิกส์ทั้งสามให้เป็นหนึ่งเดียว ทั้งยังได้เปิดมุมมองใหม่ในการทำความเข้าใจความเป็นจริงของธรรมชาติ ซึ่งทำให้วิทยาศาสตร์ทุกสาขาสามารถพัฒนาต่อไปได้อย่างก้าวกระโดดครั้งยิ่งใหญ่ (quantum leap) อีกครั้งหนึ่งหลังจากการค้นพบทฤษฏีสัมพันธ์ภาพและทฤษฎีควอนตัม

ทฤษฏีซุปเปอร์สตริงอธิบายว่า ทุกสรรพสิ่งในจักรวาลล้วนประกอบด้วยอนุภาคที่เล็กที่สุดที่มีการสั่นอยู่ตลอดเวลา และก่อให้เกิดพลังงานในรูปของคลื่นซึ่งมีได้หลายลักษณะและที่ระดับความถี่แตกต่างกัน คลื่นที่เรารู้จักกันทั่วไปก็คือคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า แต่ก็ยังมีคลื่นลักษณะอื่นอีกหลายลักษณะด้วย โดยคลื่นเหล่านี้จะมีปฏิสัมพันธ์ระหว่างกัน และมีอิทธิพลซึ่งกันและกันตลอดเวลา มากน้อยแตกต่างกันไปตามลักษณะและกำลังของคลื่น เมื่อคลื่นเหล่านี้มาพบกันก็จะมีการปรับสมดุลคลื่นทั้งความถี่และกำลังคลื่น โดยคลื่นที่แรงกว่าสามารถมีอิทธิพลเหนือคลื่นที่อ่อนกว่า การปรับสมดุลของคลื่นจึงมีทั้งการเสริมหรือประสาน และการหักล้างกันเอง เพื่อสร้างสมดุลขององค์รวมอยู่ตลอดเวลา ซึ่งคุณสมบัติเหล่านี้คล้ายกันมากกับลักษณะของพลังธรรมชาติที่กล่าวไว้ในคัมภีร์อี้จิงโบราณอายุกว่า 3,000 ปีของจีน

นักวิทยาศาสตร์พบว่า ร่างกายของสิ่งมีชีวิตทุกชนิด รวมทั้งในต้นพืช สามารถผลิตคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าชีวภาพขึ้นเองได้และเป็นแหล่งพลังงานสำคัญของเซลล์ เนื่องจากเซลต่างๆ ในร่างกายหรือต้นพืชต้องมีการติดต่อสื่อสารส่งผ่านสาสน์สำคัญต่างๆ รวมทั้งพลังงานไปหล่อเลี้ยงเซลล์ในส่วนต่างๆ เปรียบเหมือนมีสายโทรศัพท์หรือเส้นลวดไฟฟ้าที่เซลล์ใช้ส่งผ่านข้อมูลเป็นโครงข่ายซับซ้อนอยู่ทั่วร่างกายและลำต้น เซลล์ส่งผ่านข้อมูลถึงกันและกันโดยอาศัยปฏิกิริยาเคมีที่เกิดขึ้นระหว่างจุดเชื่อมต่อเซลล์ ซึ่งปฏิกิริยาเคมีหล่านี้จะทำให้เกิดประจุไฟฟ้า เป็นผลทำให้มีกระแสไฟฟ้าวิ่งจากเซลล์หนึ่งไปยังอีกเซลล์หนึ่ง เซลล์ต่างๆ ยังมีการสื่อสารผ่านฮอร์โมนและเอ็นไซม์ด้วย โดยเซลล์ที่ผลิตฮอร์โมนหรือเอ็นไซม์ (อย่างต่อมไร้ท่อต่างๆ ในคน) จะส่งฮอร์โมนหรือข้อมูลไปสู่เซลล์เป้าหมายในส่วนต่างๆ ผ่านทางกระแสเลือดในคนและสัตว์ และผ่านท่อลำเลียงอาหารในพืช และเนื่องจากโดยธรรมชาติของคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า เมื่อคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าต่างชนิดกันเข้าใกล้กันก็จะส่งผลต่อกันและกัน เหมือนคลื่นโทรศัพท์มือถือที่อยู่ใกล้วิทยุจะสามารถไปรบกวนคลื่นวิทยุได้ ในทำนองเดียวกัน คลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าต่างๆ มากมายในสภาพแวดล้อมก็ส่งผลบางอย่างกับต้นไม่พืชผักในบริเวณนั้นเช่นเดียวกัน เพียงแต่เราไม่สามารถมองเห็นผลที่เกิดขึ้นด้วยตาเปล่าเท่านั้น

นักวิทยาศาสตร์ทั่วโลกรู้ว่า น้ำ (H2O) มีความอ่อนไหวมากเป็นพิเศษต่อพลังงานแม่เหล็กไฟฟ้าภายนอก2 และเนื่องจากน้ำเป็นองค์ประกอบพื้นฐานสำคัญของสิ่งมีชีวิตทั้งหลาย จึงนิยมใช้น้ำเป็นตัวทดสอบผลกระทบจากคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าภายนอก

นักวิทยาศาสตร์ด้านน้ำชาวญี่ปุ่นชื่อ ดร.มาซารุ เอะโมโตะ ได้สนใจศึกษาถึงผลของพลังธรรมชาติทั้งพลังธรรมชาติด้านบวกและด้านลบ หรือคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าลักษณะต่างๆ ที่มีต่อน้ำ เขาได้อาศัยข้อเท็จจริงของธรรมชาติที่ว่า เกร็ดหิมะ (snow flake) แต่ละเกร็ดที่ตกลงมาจากฟ้าเป็นล้านๆ เกร็ดนั้น แต่ละเกร็ดจะไม่มีลวดลายที่ซ้ำกันเลย และได้ทดลองนำน้ำไปแช่แข็งแล้วถ่ายภาพผลึกของน้ำ ซึ่งก็พบว่าน้ำจากแหล่งที่ต่างกันจะมีลวดลายของผลึกน้ำที่ไม่เหมือนกัน เขาจึงเริ่มเก็บตัวอย่างน้ำจากที่ต่างๆ และทดลองนำน้ำผ่านคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าหรือพลังธรมมชาติชนิดต่างๆ ทั้งด้านบวกและด้านลบ ทั้งจากธรรมชาติแวดล้อมและอุปกรณ์เครื่อมมือต่างๆ เพื่อดูลักษณะที่แตกต่างของผลึกน้ำเหล่านั้น และเปรียบเทียบผลึกของน้ำก่อนและหลังได้รับพลังธรรมชาติลักษณะต่างๆ เช่น เสียงดนตรีประเภทต่างๆ (แสง สี เสียง เป็นคลื่อนแม่เหล็กไฟฟ้าประเภทหนึ่ง) นำเสียงของคำพูดที่มีอารมณ์และความหมายแตกต่างกัน หรือรูปภาพลักษณะต่างๆ และแม้แต่ประเภทภาชนะบรรจุที่แตกต่างกัน ฯลฯ ผลจากการทดลองของเขาทำให้เขาต้องตะลึงและมหัศจรรย์ใจกับผลของพลังธรรมชาติที่มีกับน้ำ ซึ่งปรากฏให้เห็นจากการเปลี่ยนแปลงของผลึกน้ำในแต่ละกรณี

เขาพบว่า ผลึกของน้ำจากธรรมชาติที่แวดล้อมด้วยพลังธรรมชาติด้านบวก (เช่น น้ำจากต้นน้ำลำธาร จากบ่อน้ำพุธรรมชาติในวัด หรือหิมะจากยอดเขาสูง ฯลฯ) หรือน้ำที่ได้รับพลังธรรมชาติด้านบวก (เช่น เสียงสวดมนต์ คำพูดเชิงบวก หรือภาพทิวทัศน์ธรรมชาติ ฯลฯ) จะมีรูปทรงเป็น 6 เหลี่ยม (hexagonal structure) และมีลวดลายสวยงามที่มีความสมมาตรกัน (symmetry) คล้ายกับลักษณะและลวดลายของเกร็ดหิมะในธรรมชาติ ส่วนน้ำที่สัมผัสหรือแวดล้อมด้วยพลังธรรมชาติด้านลบ (เช่น น้ำจากปลายหรือปากแม่น้ำที่ไหลผ่านแหล่งชุมชนและโรงงานอุตศาหกรรม หรือ น้ำจากบ่อน้ำเสีย ฯลฯ) หรือที่ได้รับพลังธรรมชาติด้านลบ (เช่น เสียงเพลงเฮวีเม็ทเทอล์ คำหยาบคาย หรือภาพน่าเกลียดน่ากลัว ฯลฯ) จะมีลักษณะไม่เป็นรูปเป็นร่าง ไม่มีรูปทรง หรือมีลวดลายที่ไม่น่าดูนัก

ดร.เอะโมโตะ ได้สรุปผลการทดลองของเขาว่า น้ำมีพลังชีวิตและความจำของตัวเอง และพลังธรรมชาติทุกชนิดมีผลกับน้ำ ซึ่งสามารถเห็นผลความเปลี่ยนแปลงได้อย่างชัดเจนเพียงข้ามคืน (ช่วงเวลาที่ใช้ทำการทดลอง) น้ำที่มีพลังธรรมชาติด้านบวกหรือมีภูมิต้านทานที่ดีจะมีโครงสร้างเป็นทรง 6 เหลี่ยมที่มีความสมมาตร ซึ่งเป็นรูปทรงพื้นฐานที่น้ำทุกประเภทพยายามจะปรับตัวเองไปสู่ หรือให้เป็นเมื่อได้รับพลังธรรมชาติด้านบวก น้ำที่ยิ่งได้รับพลังธรรมชาติด้านลบมาก ก็ยิ่งไม่เป็นรูปทรงหรือยิ่งไม่สมมาตร และดูน่าเกลียด (ดูรูปภาพถ่ายผลึกน้ำลักษณะต่างๆ และภาพเปรียบเทียบน้ำก่อนและหลังได้รับพลังเสียงสวดมนต์ ?ฮาโดะ? ของญี่ปุ่น รวมทั้งภาพน้ำที่ได้รับพลังธรรมชาติลักษณะต่างๆ ได้ที่ www.hadousa.com)

พวกเราคงเคยได้ยินเรื่องการทดลองเปิดเพลงให้ต้นไม้ฟังมาบ้าง ถ้าเปิดเพลงเย็นๆ เบาๆ ต้นไม้จะโตเร็วและแข็งแรงไม่มีโรคพืชหรือแมลงมารบกวน แต่ถ้าเปิดเพลงร้อนแรง ต้นไม้จะโตช้าและมีโรคมากกว่าต้นที่ไม่ได้ฟังเพลงเลย ก่อนหน้านี้ไม่ใครอธิบายได้ว่าผลที่ปรากฏมีสาเหตุจากอะไร แต่หากใช้ผลการทดลองของ ดร.เอะโมโตะ ก็พอจะอธิบายได้ว่า อาจเป็นเพราะผลจากพลังของคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าในรูปของเสียงเพลงที่เปิดให้ต้นไม้ฟัง ได้ไปเปลี่ยนโครงสร้างรูปทรงของน้ำภายในต้นพืช และส่งผลต่อสุขภาพและการเติบโตของต้นพืชนั้นเอง

ธรรมชาติของน้ำอีกข้อหนึ่งที่มีผลต่อการเจริญโตของพืช คือ การจับรวมตัวกันเป็นกลุ่มโมเลกุลของน้ำ โดยปกติธรรมชาติ น้ำจะมีการรวมตัวกันเป็นกลุ่มโมเลกุลขนาดต่างๆ ตามแต่อิทธิพลของพลังแม่เหล็กไฟฟ้ารอบๆ ตัว ถ้ากลุ่มโมเลกุลของน้ำยิ่งเล็กก็จะทำให้น้ำสามารถเคลื่อนผ่านเยื่อหุ้มเซลล์ได้ดียิ่งขึ้น น้ำที่ได้รับคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้ามากหรือนานเกินไปจะมีโครงสร้างกลุ่มโมเลกุลที่ใหญ่ขึ้น ตัวอย่างเช่น โดยทั่วไปน้ำประปาจะจับตัวเป็นกลุ่มละประมาณ 14 โมเลกุล แต่เมื่อได้รับคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้ามากถึงขั้นเป็นอันตรายต่อร่างกาย น้ำจะปรับการจับตัวเป็นกลุ่มละ 30 โมเลกุล ซึ่งทำให้ผ่านเข้าออกเซลล์ได้ยากขึ้น จึงนำสารอาหารต่างๆ ไปหล่อเลี้ยงเซลล์ได้ไม่เต็มที่ ขณะเดียวกันก็ไม่สามารถนำของเสียจากภายในเซลล์ออกมาทิ้งภายนอกได้โดยสะดวก เกิดการหมักหมมและเป็นพิษอยู่ภายใน ทำให้เซลล์อ่อนแอลงและเสื่อมคุณภาพ เป็นผลให้ภูมิคุ้มกันเชื้อโรคบกพร่อง และเกิดโรคต่างๆ ตามมาได้ง่าย

ดังนั้น หนึ่งในหลักสำคัญของการทำเกษตรอินทรีย์องค์รวม จึงคำนึงถึงการป้องกันอันตรายที่มองไม่เห็นในสภาพแวดล้อมแต่มีอิทธิพลกับพืช เช่น หลีกเลี่ยงการปลูกพืชใกล้เสาส่งไฟฟ้าแรงสูง เป็นต้น และในทางกลับกันก็มีการนำพลังธรรมชาติด้านบวกมาช่วยเสริมการเจริญเติบโตและเพิ่มผลผลิตของพืชที่ปลูก เช่น การใช้เสียงเพลงหรือเสียงสวดมนต์ หรือพลังการการแผ่เมตตา หรือการให้น้ำที่ใช้รดต้นพืชผ่านแท่งแม่เหล็กเพื่อเปลี่ยนโครงสร้างและขนาดโมเลกุลของน้ำ ฯลฯ เป็นต้น

แรงดึงดูดของดวงจันทร์และโลก

กลับสู่ด้านบน

บางคนอาจเคยได้อ่านหนังสือหรือได้ยินคนรุ่นปู่ย่าตายายพูดถึงวิธีการปลูกพืชของคนสมัยก่อนที่จะรอวันข้างขึ้นข้างแรมที่เหมาะสม และหลายคนก็คงอาจคิดว่าเป็นความงมงายล้าหลังของคนรุ่นเก่าที่ไม่ได้เรียนวิทยาศาสตร์หรือวิชาการเกษตรสมัยใหม่ก็เป็นได้ แต่ในปัจจุบัน คนที่ไม่เข้าใจถึงผลของข้างขึ้นข้างแรมต่อการปลูกพืชอาจเป็นคนที่ล้าสมัยยิ่งกว่าคนโบราณเสียอีก เพราะปัจจุบันได้มีการนำความรู้วิทยาศาสตร์มาทำความเข้าใจหลักการทำเกษตรของคนโบราณ จนทำให้นักวิทยาศาสตร์และนักการเกษตรที่มีใจเปิดกว้างต้องทึ่งกับความรู้และความเข้าใจธรรมชาติของคนโบราณ

การปลูกพืชโดยเข้าใจอิทธิพลของข้ามขึ้นข้ามแรมที่มีต่อพืช ก็คือการเข้าใจอิทธิพลของแรงดึงดูดของดวงดาวตามทฤษฎีแรงดึงดูดของนิวตันนั่นเอง เนื่องจากดวงจันทร์อยู่ใกล้โลกมากที่สุด โลกจึงได้รับอิทธิพลของแรงดึงดูดจากดวงจันทร์อย่างชัดเจน และเห็นได้เป็นประจำทุกวันจากปรากฏการณ์น้ำขึ้นน้ำลงบนโลกในแต่ละวันนั่นเอง พืชก็มีน้ำเป็นส่วนประกอบไม่น้อย จึงไม่ใช่เรื่องแปลกที่น้ำในต้นพืชหรือในเมล็ดพืชที่เพาะเอาไว้จะได้รับอิทธิพลจากแรงดึงดูดของดวงจันทร์ด้วย

เนื่องจากแรงดึงดูดของดวงจันทร์มีการเพิ่มและลดเป็นวัฏจักรที่แน่นอนในหนึ่งรอบข้างขึ้นข้างแรม ประกอบกับปริมาณของแสงจันทร์ที่แตกต่างกันในช่วงข้างขึ้นและข้างแรม จึงทำให้พืชมีพฤติกรรมการเจริญเติบโตที่สอดคล้องกับวงจรธรรมชาติของแรงดึงดูดและปริมาณแสงของดวงจันทร์ วิธีการเกษตรอินทรีย์องค์รวมแนะนำให้เพาะเมล็ดและย้ายกล้าลงแปลงตามระยะของข้างขึ้นข้างแรมดังนี้

สำหรับการเพาะเมล็ด เมล็ดพืชที่งอกเร็วและเมล็ดที่งอกช้ามากเป็นพิเศษ (ใช้เวลาประมาณ 1 เดือนในการเพาะเมล็ด) ซึ่งส่วนใหญ่จะเป็นพืชประเภทผักและสมุนไพร ให้เริ่มเพาะลงดินราว 2 วันก่อนที่ดวงจันทร์จะขึ้นรอบใหม่หรือวันขึ้น 1 ค่ำ ซึ่งเป็นช่วงที่แรงดึงดูดของดวงจันทร์สูงที่สุดและมีแสงจันทร์น้อยที่สุด คือให้เริ่มเพาะเมล็ดในวันแรม 13 หรือ 14 ค่ำ ความจริงแล้ววันที่แน่นอนในการลงมือเพาะเมล็ดจะไม่สำคัญเท่ากับการใช้ประโยชน์จากพลังของธรรมชาติ การเพาะเมล็ดที่งอกเร็วสองวันก่อนที่แรงดึงดูดของดวงจันทร์จะแรงที่สุด ทำให้เมล็ดพืชมีเวลาที่จะดูดน้ำเข้าไปและทำให้เมล็ดพืชเริ่มพองตัว แรงดึงดูดของดวงจันทร์จะมาช่วยหนุนเสริมดึงดูดน้ำในเมล็ดพืชทำให้เปลือกหุ้มเมล็ดแตกออกได้ง่ายขึ้น

หลังจากวันขึ้น 1 ค่ำ แรงดึงดูดของดวงจันทร์จะค่อยๆ ลดลงโดยใช้เวลา 7 วันไปถึงจุดต่ำสุดในวันขึ้น 7 ค่ำ และจะค่อยๆ เพิ่มขึ้นโดยใช้เวลาอีก 7 วันไปถึงจุดสูงสุดอีกครั้งในวันขึ้น 15 ค่ำ ขณะที่ปริมาณแสงจันทร์จะค่อยๆ สว่างขึ้นต่อเนื่องไปจนสว่างที่สุดในวันขึ้น 15 ค่ำ ในช่วง 7 วันแรก (จากขึ้น 1 ค่ำถึงขึ้น 7 ค่ำ) แรงดึงดูดของดวงจันทร์จะค่อยๆ ลดลง ขณะที่ปริมาณของแสงค่อยๆ เพิ่มมากขึ้น พืชจะมีการเติบโตที่สมดุล แรงดึงดูดที่ลดลงของดวงจันทร์ (ซึ่งหมายถึงการเพิ่มขึ้นของอิทธิพลจากแรงดึงดูดของโลกในทิศทางตรงข้าม) จะกระตุ้นการเติบโตของส่วนราก (ส่วนใต้ดินที่โตเข้าหาแรงดึงดูดของโลก) ในขณะที่การเพิ่มของแสงจันทร์จะช่วยกระตุ้นการเติบโตของส่วนใบและลำต้น (ส่วนเหนือดิน)

ในช่วง 7 วันที่สอง (จากขึ้น 7 ค่ำถึงขึ้น 15 ค่ำ) แรงดึงดูดของดวงจันทร์จะค่อยๆ เพิ่มขึ้น ซึ่งแรงดึงดูดของดวงจันทร์ที่เพิ่มขึ้น (จนมากกว่าแรงดึงดูดของโลก) จะไปชลอการเติบโตของราก (ซึ่งโตไปในทิศทางตรงข้ามกับแรงดึงดูดของดวงจันทร์) ส่วนแสงจันทร์ที่ยิ่งสว่างมากขึ้นเรื่อยๆ จะช่วยกระตุ้นให้ใบโตและลำต้นมากขึ้น ถ้าหากส่วนรากมีการเจริญเติบโตได้ดีในช่วง 7 วันแรก จะทำให้รากสามารถดูดน้ำและสารอาหารมาเลี้ยงใบและลำต้นได้อย่างดีในช่วง 7 วันที่ 2 นี้ ทำให้เกิดความสมดุลและพืชสามารถเติบโตได้อย่างราบลื่นต่อเนื่อง ในช่วงนี้ที่แรงดึงดูดของดวงจันทร์เพิ่มสูงขึ้นและแสงจันทร์สว่างขึ้น จะสามารถช่วยส่งแรงกระตุ้นให้เมล็ดพืชที่ยังไม่งอกในช่วงขึ้น 1 ค่ำ มางอกในช่วงที่พระจันทร์เต็มดวง ซึ่งเป็นช่วงที่เปลือกของเมล็ดพืชไม่อาจต้านการงอกจากเมล็ดได้ ซึ่งอาจสังเกตเห็นได้ว่าเห็ดต่างๆ จะปรากฏให้เห็นในชั่วข้ามคืนในช่วงนี้

ระหว่างช่วง 7 วันถัดไป หรือ 7 วันที่ 3 ของวัฎจักรข้างขึ้นข้างแรม จะเข้าสู่ช่วงข้างแรมที่แสงจันทร์จะค่อยๆ ลดความสว่างลง และแรงดึงดูดของดวงจันทร์ก็จะค่อยๆ ลดลงโดยใช้เวลา 7 วันไปถึงจุดต่ำสุดในวันแรม 7 ค่ำ เมื่อแสงจันทร์ค่อยๆ ลดลง การเติบโตของใบและลำต้นก็จะเริ่มช้าลง ขณะที่รากได้รับการกระตุ้นอีกครั้งจากแรงดึงดูดของโลก ช่วงนี้จะเป็นช่วงที่เหมาะสำหรับการย้ายกล้าลงแปลง เพราะเป็นช่วงที่รากเจริญเติบโตได้ดี ซึ่งสามารถช่วยให้รากฟื้นตัวจากความบอบช้ำระหว่างการย้ายกล้าได้เร็วขึ้น และมีเวลาให้รากได้เติบโตพัฒนาระบบรากที่ดีขณะที่ใบและลำต้นเริ่มชลอการเติบโต เพื่อให้ในอีก 21 วันข้างหน้าเมื่อใบและลำต้นมีการเจริญเติบโตสูงที่สุด ต้นพืชจะมีระบบรากที่พร้อมจะดูดน้ำและธาตุอาหารไปช่วยการเจริญเติบโตของใบและลำต้นได้อย่างเต็มที่ ช่วงเวลานี้ก็เป็นเวลาสำหรับการเพาะเมล็ดพืชที่งอกช้าหรือใช้เวลาในการงอกประมาณ 2 สัปดาห์ เมล็ดพืชเหล่านี้จะพร้อมที่จะใช้ประโยชน์จากแรงกระตุ้นของดวงจันทร์ในวันขึ้น 1 ค่ำพอดี

ระหว่างช่วง 7 วันสุดท้าย (แรม 7 ค่ำถึงแรม 14 หรือ 15 ค่ำ) แรงดึงดูดของดวงจันทร์จะค่อยๆ เพิ่มขึ้นอีกครั้ง ทำให้รากชลอการเติบโต ขณะที่แสงจันทร์ค่อยๆ หายไป ทำให้ใบและลำต้นชลอการเติบโตด้วย ช่วงนี้จึงถือเป็นช่วงที่พืชมีความสมดุลในการชลอการเติบโต เป็นช่วง 7 วันที่พืชจะพักตัวและเตรียมพร้อมที่จะเข้าสู่ช่วงความสมดุลในการเจริญเติบโตเมื่อเริ่มรอบใหม่ของข้างขึ้นข้างแรม

และนี้ก็คือวัฏจักรการเจริญเติบโตของพืชที่เกิดขึ้นทุกรอบ 28 วัน สอดคล้องกับวัฏจักรของดวงจันทร์ ด้วยเหตุนี้ การปลูกพืชตามรอบข้างขึ้นข้างแรมจึงสามารถช่วยเพิ่มความแข็งแรงและคุณภาพของพืชที่ปลูกได้ ในการทำเกษตรอินทรีย์องค์รวม เมื่อคุณภาพดินมีการฟื้นตัวดีมากขึ้นเรื่อยๆ และผู้ปลูกมีความชำนาญมากขึ้น ประเด็นรายละเอียดเล็กๆ น้อยๆ จะเริ่มมีความสำคัญมากขึ้น และจะส่งผลกระทบสูงขึ้นกับผลผลิต วิธีการปลูกพืชตามรอบข้างขึ้นข้างแรมจึงอาจเป็นอีกหนึ่งวิธีที่จะช่วยเพิ่มผลผลิตของระบบองค์รวมได้

รวบรวมและเรียบเรียง – ทัศนีย์ เศรษฐ์บุญสร้าง
tatsanee@NawaChiOne.org
? สงวนลิขสิทธิ์
อนุญาตให้ใช้เพื่อการศึกษาที่ไม่เป็นธุรกิจ แต่ขอให้อ้างอิงแหล่งที่มาด้วย

กลับสู่ด้านบน

————————————————————————————————

เชิงอรรถ

1 ฟิสิกส์ยุคใหม่ (Meta-Physic) เป็นสาขาวิทยาศาสตร์ที่มีเป้าหมายเพื่อทำความเข้าใจใน 3 เรื่อง คือ เข้าใจธรรมชาติของสภาพความเป็นจริง เข้าใจธรรมชาติของชีวิต และเข้าใจจุดกำเนิดของเอกภพ
2 สาเหตุที่น้ำ (H2O) มีความอ่อนไหวต่อคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าเป็นพิเศษ เพราะในนิวเคลียสของอ๊อกซิเจนอะตอม (O) มีความเป็นกลางทางประจุไฟฟ้า คือไม่มีปฎิกิริยาต่อแม่เหล็ก จึงไม่ตอบสนองต่อแรงแม่เหล็กภายนอก เป็นผลให้โปรตอนตัวเดียวในนิวเคลียสของไฮโดนเจนอะตอม (H) ที่มีอยู่ถึง 2 ตัวในโมเลกุลของน้ำ สามารถคล้อยตามแรงแม่เหล็กภายนอกได้อย่างง่ายดาย

พลังชีวิตกับสุขภาพ ? ปิดท้าย


บทความ: พลังชีวิตกับสุขภาพ

ดาวน์โหลด PDF

————————————————————————————————

ข้อมูลความรู้ทั้งหมดนี้ คงพอช่วยทำให้ผู้อ่านเข้าใจว่าพลังชีวิตหรือชี่มีผลต่อสุขภาพของเราอย่างไร และหวังว่าเมื่อได้ทราบแล้ว จะได้หยุดคิดทบทวนพฤติกรรมการดำเนินชีวิตประจำวันของตัวเอง ดูว่ามีอะไรที่ต้องลงมือปรับเปลี่ยนเพื่อยกระดับสุขภาวะให้มีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น หากคิดว่ามีเรื่องที่ต้องทำมากมายจนไม่รู้จะเริ่มต้นที่ไหน ก็ขอแนะนำว่าสิ่งแรกที่ควรทำก่อนก็คือ ?หย่อนคลาย? ให้จำไว้เสมอว่า ความเครียดนำไปสู่ความเจ็บป่วย การผ่อนคลายในระดับที่ทำให้กล้ามเนื้อทุกส่วนหย่อนและคลายตัวเท่านั้น ที่จะสามารถขับเคลื่อนพลังชีวิตของร่างกายให้เลื่อนไหลไปทั่วร่างกายได้อย่างเต็มประสิทธิภาพ

ในยุคปัจจุบันของโลกแห่งข้อมูลและการเรียนรู้ พวกเราควรรู้จักศึกษาและฉลาดเลือกในการบริโภค ไม่ปล่อยตัวเองให้ตกเป็นเหยื่อของการตลาด หรือปล่อยตัวเองไปตามยถากรรม หรือปล่อยให้เวลาของชีวิตไปอยู่ในกำมือของผู้อื่น การจะมีสุขภาพที่ดีได้ต้องเน้นที่การป้องกันและฟื้นฟูก่อนที่อาการป่วยจะปรากฏและมีโรคเกิดขึ้น ปัจจุบันมีความเจ็บป่วยและโรคใหม่ๆ เพิ่มมากขึ้นจนยากจะวินิจฉัยได้ชัดเจนว่าสาเหตุการป่วยมาจากอาการและโรคใด ตัวเราเองจึงต้องมีบทบาทและหาวิธีการพึ่งตนเอง เพื่อทำให้ตัวเองและคนที่เรารักมีสุขภาพและคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น เราจึงควรแสวงหาเรียนรู้และเลือกสรรวิธีที่สามารถช่วยให้เราดูแลรักษาสุขภาพของเราเองได้ด้วยตัวของเราเองอย่างดีที่สุด เรียนรู้วิธีการสร้างเสริมหรือวิธีการฟื้นฟูสุขภาพสู่ภาวะปกติ ที่ง่าย ประหยัด ปลอดภัย รวดเร็ว และสามารถทำได้เสมอๆ ไม่จำกัดเพศ และวัย ไม่ว่าภาวะสุขภาพ ณ ขณะนี้เป็นเช่นไรก็ตาม

เราทุกคนสามารถเป็น ?หมอที่เก่งที่สุด? และ ?หมอที่ดีที่สุด? ของตัวเองได้ ถ้าได้รู้จักและเข้าใจพลังชี่ รวมทั้งรู้วิธีการฝึกชี่ที่ถูกต้อง หากได้เรียนรู้และลงมือฝึกชี่ด้วยตัวเอง โดยเฉพาะด้วยวิชาดนตรีปรับพลังชีวิต ก็จะสามารถประจักษ์ด้วยตัวเองได้ไม่ยากว่า ภายในตัวเราเองนี้มีหมอที่เก่งที่สุดอยู่แล้ว หมอที่รู้จักสภาพร่างกายและภาวะสุขภาพของตัวเราดีที่สุด และพร้อมที่จะบำบัดรักษาปัญหาสุขภาพให้กับเราตลอดเวลา ก่อนที่อาการของโรคจะปรากฏ หากแต่เราต้องรู้จักและเข้าใจในสิ่งที่หมอที่เก่งที่สุดภายในตัวเรากำลังสื่อสารเตือนเรา หรือขอความร่วมมือจากเราในการรักษาปัญหาสุขภาพให้กับเรา และให้ความร่วมมือกับหมอหรือชี่ภายในตัวเราอย่างเต็มที่ พร้อมกับคอยเพิ่มเติ่มพละกำลังให้กับหมอประจำตัวของเราอย่างเพียงพอ ด้วยการฝึกเพิ่มพูนชี่ให้กับตัวเองอย่างสม่ำเสมอ

หากได้ฝึกชี่จนคุ้นเคยกับพลังชี่ของตัวเอง จนสามารถควบคุมชี่ของตัวเองได้ ก็ถือว่าคุณได้พบวิธีที่จะใช้ประโยชน์จากของขวัญที่ล้ำค่าที่สุดที่ธรรมชาติได้มอบให้ นั่นก็คือ พลังชีวิตหรือชี่ของคุณเอง จงใช้ประโยชน์จากมรดกทางปัญญาอันเก่าแก่กว่าห้าพันปี ฝึกใส่ใจกับการ ?ฟังชี่? หรือสิ่งที่พลังชีวิตในร่างกายของคุณกำลังพยายามสื่อสารบอกคุณ การจะเป็นหมอที่ดีที่สุดให้กับตัวเองต้องศึกษาอย่างสุขุมรอบคอบ อดทนกับตัวเอง แล้วเราจะสามารถรักษา ?โรคที่ยังไม่เกิดขึ้น? ได้ด้วยตัวของเราเอง และจะได้เข้าใจความหมายแท้จริงที่แฝงอยู่อย่างลึกซื้งในคำกล่าวของจีนโบราณที่ว่า ?หมอที่เก่งที่สุด รักษาโรคที่ยังไม่เกิดขึ้น หมอที่ดีที่สุด คือตัวเราเอง การรักษาที่ดีที่สุด คือการรักษาด้วยตัวของเราเอง?

ชื่อเสียงกับตัวเอง อย่างไหนน่าหวงแหนมากกว่ากัน
ตัวเองกับทรัพย์สมบัติ อย่างไหนมีค่ามากกว่ากัน
รักษาทุกสิ่งไว้ได้ แต่สิ้นชีวิต อย่างไหนน่าเศร้าและเจ็บปวดมากกว่ากัน
ความจริงมีอยู่ว่า…ผู้พึงใจในชื่อเสียง ย่อมไม่ใยดีกับความยิ่งใหญ่
ผู้พึงใจจะมีมาก ย่อมละทิ้งความร่ำรวย
ผู้รู้จักเพียงพอ จะไม่พบความอัปยศ
ผู้รู้จักหยุดในเวลาอันเหมาะสม จะไม่ตกอยู่ในอันตราย
…เขาจึงมีชีวิตที่ยืนยาว
— เต๋า เต็ก เก็ง ?

รวบรวมและเรียบเรียง – ทัศนีย์ เศรษฐ์บุญสร้าง
tatsanee@NawaChiOne.org
??สงวนลิขสิทธิ์

กลับสู่ด้านบน

????????????????????????????????

เชิงอรรถ

  1. กลุ่มงานคุ้มครองผู้บริโภค และเภสัชสาธารสุข, พลังชีวิตรักษาตนเอง, หนังสือชุดสุขภาพองค์รวม สนับสนุนโดย สถาบันการแพทย์แผนไทย
  2. เทอดศักดิ์ คงเดช, ชี่กงวิถีแห่งพลังเพื่อการบำบัดโรค, สำนักพิมพ์ หมอชาวบ้าน (2541)
  3. ประเวศ วะสี ศ.นพ.พระไพศาล วิสาโล พญ.ลดาวัลย์ สุวรรณกิตติ วิทิตวัณนาวิบูล, องค์รวมแห่งสุขภาพ: ทัศนะใหม่เพื่อดุลยภาพแห่งชีวิตและการบำบัดรักษา, นสพ.มูลนิธิโกมลคีมทอง (2536)
  4. ปิซง กัว และ แอนดรู แกวเอ็ล เขียน, ประชา หุตานุวัตร และ สุรชัย ทรงถาวรทวี แปล เต๋าแห่งสุขภาพ: ปาฏิหาริย์แห่งการฟังร่างกายอยู่เสมอ, มูลนิธิเด็ก (2548)
  5. ภูมิปัญญาตะวันออกกับภาวะสุขภาพ, ชี่กง: เส้นทางการบรรลุสุดยอดแห่งชีวิต, www.pharm.chula.ac.th/physiopharm/2548_sem2/group17-1-4.html
  6. มานพ ประภาษานนท์, พลังธรรมชาติ: สร้างเสริมสุขภาพ, สนพ.เรือนบุญ (2542)
  7. วิจิตร บุญยะโหตระ, ศ.นพ.ดพ., พลังชีวิต, พิมพ์ครั้งที่สอง, สนพ.ดอกแก้ว
  8. ศรีสุดา ชมพันธ์, อธิษฐาน์ คงทรัพย์, เพียงพร ลาภคล้อยมา เรียบเรียง, ธรรมชาติบำบัด: ศิลปะการเยียวยาร่างกายและจิตใจเพื่อสมดุลของชีวิต, สนพ.สวนเงินมีมา (2547)
  9. ศูนย์ชี่กงเพื่อสุขภาพ, ชี่กงศาสตร์เพื่อการพึ่งตนเอง, 18 มกราคม 2551, www.qigongthai.com/index.php?name=knowledge&file=readknowledge&id=32
  10. สุขจันทร์ พงษ์ประไพ (พญ.), ชี่กงเพื่อการส่งเสริมและฟื้นฟูสุขภาพ, www.rehabmed.or.th/assoc/as_thai/download/Qi.doc
  11. สถาบันวิจัยสมุนไพรและการแพทย์จีน เอินเวย์ ประเทศจีน, บทความต่างๆ ในหนังสือมติชนรายวัน (2551 – 52) www.enwei.co.th
  12. สมพร พึ่งอุดม, ชี่กับชีวิต, www.semsikkha.org/review/content/category/6/19/138/
  13. หมอไพร, ชีวิตสมดุลแบบแพทย์แผนจีน, สำนักพิมพ์ปาเจรา (2550)
  14. หม่า ซิน เจี๋ยน เรียบเรียง, ดนตรีปรับชีวภาพร่างกาย, เอกสารประกอบการอบรมดนตรีปรับพลังชีวิต โดย อ.เจียม สุจริตวิศาล
  15. หยาง เผย เซิน, ชี่กง พลังแห่งจิตบำบัด (ตอนที่ 1 – 3), www.qigongthai.com/index.php?name=knowledge&file=readknowledge&id=37/39/40
  16. หลี่ กั๋ว ตัง, ศ.นพ., บทความต่างๆ ในคอลัมภ์ ธรรมะกับชีวิต, หนังสือพิมพ์ผู้จัดการรายวัน (2546 – 47)
  17. Admin, ชี่กง บำบัดโรค, มูลนิธิสุขภาพไทย, 19/12/2008, http://thaihof.log.in.th/exercise/
  18. Daniel Reid, The Complete Book of Chinese Health & Healingb, Barnes & Noble Books, (1994)
  19. Elizabeth Scott, Music and Your Body: How Music Affects Us and Why Music Therapy Promotes Health, http://stress.about.com/od/tensiontamers/a/music_therapy.htm
  20. Henry C. Lu, Chinese natural Cures: Traditional Methods for Remedies and Preventions, Black Dog & Leventhal Publishers, Inc. (1999)
  21. Hulda Regehr Clark, Ph.D., N.D., The Cure for all Diseases, New Century Press (2005)
  22. Masaru Emoto, The Message from Water, HADO Kyoikusha (1999), http://www.hadousa.com/ and http://www.kabirkadre.com/study/world/emoto.water/emoto.htm
  23. Shen Wu, Basic of Musical Qi-Gong, http://joltv.us/english/basicofmusicqigong.htm
  24. Simon Heather, Why is Music Healing, www.simonheather.co.uk/pages/articles/whyismusichealing.pdf
  25. Spirit of Nature, What is Vibrational Healing or Energy Medicine?, www.spiritofnature.org/vibrationart.htm
  26. Victor Beasley PhD., Your Electro-Vibratory Body: A Study of the Life Force as Electro-Vibratory Phenomena, 3rd edition, University of the Trees Press (1979).

พลังชีวิตกับสุขภาพ ? บทที่ 6: วิทยาศาสตร์กับพลังบำบัดของเสียง


บทความ: พลังชีวิตกับสุขภาพ

ดาวน์โหลด PDF

————————————————————————————————

วิทยาศาสตร์กับพลังบำบัดของเสียง

วิทยาศาสตร์สาขาเมตาฟิสิกส์ (metaphysic) ได้พยายามศึกษาทำความเข้าใจความเป็นไปของสรรพสิ่งและจักรวาล จนมีการคิดค้นทฤษฏีเส้นเชือก (String Theory) ที่อธิบายว่าทุกสรรพสิ่งในจักรวาลเกิดขึ้นและเป็นอยู่ได้ด้วยการสั่นไหว (vibrate) ตลอดเวลาของเส้นบางๆ ขนาดเล็กเป็นหลายล้านส่วนของอะตอม โดยการสั่นไหวจะเกิดเป็นเสียงตัวโน๊ต ที่โน๊ตแต่ละตัวที่ออกมาจะแทนอนุภาคแต่ละอนุภาค

จากพื้นฐานนี้ ศาสตร์การแพทย์ตะวันตกได้ค้นพบว่า เซลล์ของอวัยวะแต่ละส่วนในร่างกายจะมีการสั่นไหวที่ความถี่คลื่นเฉพาะของตัวเอง ในร่างกายคนที่มีสุขภาพสมบูรณ์ คลื่นความถี่ของแต่ละอวัยวะในร่างกายจะทำงานสอดประสานกันเป็นคลื่นความถี่รวมของร่างกาย เหมือนการบรรเลงเพลงของวงดนตรีวงใหญ่ ที่มีเสียงที่แตกต่างกันของเครื่องดนตรีหลากหลายชนิด แต่ประสานกลมกลืนรวมเป็นเสียงเพลงที่ไพเราะได้ แต่หากมีเครื่องดนตรีชิ้นใดบรรเลงผิดพี้ยนหรือตั้งระดับเสียงผิดไป ก็จะทำให้เสียงเพลงที่บรรเลงออกมาผิดเพี้ยนไม่ไพเราะเท่าที่ควร เช่นเดียวกับการสั่นไหวของเซลล์ของแต่ละอวัยวะ หากเซลล์ของอวัยวะใดมีการสั่นในระดับความถี่ที่ผิดเพี้ยนไปจากความถี่ปกติตามธรรมชาติ ก็หมายถึงมีความผิดปกติในการทำงานของอวัยวะส่วนนั้นๆ ซึ่งจะมีผลทำให้ระบบของอวัยวะนั้นทำงานไม่ปกติ ส่งผลให้ระบบอวัยวะส่วนอื่นๆ เสียกระบวนตามไปด้วย และนำไปสู่ความเจ็บป่วยของร่างกายในที่สุด

นักวิทยาศาสตร์พบว่า คนที่ร่างกายมีสุขภาพปกติ เซลล์ของอวัยวะต่างๆ โดยรวมจะมีระดับความถี่คลื่นระหว่าง 60-90 รอบต่อวินาที หรือ เฮิร์ตซ์ (Hz) คนที่สุขภาพไม่แข็งแรงจะมีความถี่ของร่างกายโดยเฉลี่ยต่ำกว่า 60 เฮิร์ตซ์ เช่น การติดเชื้อไวรัสจะมีความถี่ที่ 55 เฮิร์ตซ์ ไข้หวัดจะมีความถี่ 58 เฮิร์ตซ์ และโรคมะเร็งมีความถี่ที่ 42 เฮิร์ตซ์ เป็นต้น หรือหากเซลล์สมองส่วนหนึ่งส่วนใดเกิดสั่นด้วยความถี่ที่ต่างจากช่วงปกติไป 3-10 เฮิร์ตซ์ ก็จะปรากฏความผิดปกติให้เห็นที่ร่างกายเป็นอาการปวดศรีษะ

เป็นที่ทราบกันแล้วว่า เสียงเป็นคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้ารูปแบบหนึ่ง ด้วยคุณสมบัติตามธรรมชาติของคลื่นโดยทั่วไปที่สามารถเหนี่ยวนำหรือประสานคลื่นกันได้ และสามารถใช้คลื่นสั่นพ้อง (resonance) ที่มีกำลังสูงกว่าช่วยเหนี่ยวนำคลื่นที่มีกำลังอ่อนกว่าให้สั่นในระดับความถี่และความยาวคลื่นที่ต้องการได้ ซึ่งรวมไปถึงคลื่นสมองที่มีผลในการปรับปลี่ยนภาวะการทำงานของร่างกายและต่อมไร้ท่อต่างๆ ในร่างกาย จึงมีการใช้คลื่นสั่นพ้องมาเป็นตัวเหนี่ยวนำการสั่นของเซลล์อวัยวะร่างกายที่ทำงานผิดปกติ ให้กลับสู่การสั่นที่ระดับความถี่ตามธรรมชาติที่ควรจะเป็นเพื่อบำบัดอาการเจ็บป่วยของร่างกาย เช่น มีการใช้คลื่นความถี่ช่วง 25-50 เฮิร์ตซ์ในการรักษาโรคกระดูก หรือใช้คลื่นเสียงแบบสองจังหวะ (binaural beats) ไปเหนี่ยวนำคลื่นสมองให้เข้าสู่ช่วงความถี่คลื่นที่ต้องการ เพื่อให้เกิดผลต่อการทำงานของระบบร่างกาย การทดลองยังพบอีกว่า คลื่นเสียงระหว่างช่วงโน๊ตเสียงลา หรือ โน๊ตตัวเอ (A) ที่ความถี่ 440 เฮิร์ตซ์ และโน๊ตเสียงที หรือโน๊ตตัวบี (B) ที่ความถี่ 493 เฮิร์ตซ์ จะสามารถทำลายเซลล์มะเร็งได้ เพราะเสียงในช่วงนี้สามารถเปลี่ยนโครงสร้างภายในของเซลล์มะเร็งได้อย่างสิ้นเชิง ทำให้เซลล์ไม่สามารถดำรงชีวิตอยู่ได้ และหากเพิ่มความถี่ให้สูงขึ้น เซลล์มะเร็งก็จะระเบิดแตกตายในที่สุด ทำนองเดียวกับเสียงร้องโซปราโนที่แหลมและสูงมากๆ จนสามารถทำให้แก้วแตกได้นั้นเอง

โดยธรรมชาติ หูของมนุษย์สามารถได้ยินเสียงในช่วงความถี่ 20-22,000 เฮิร์ตซ์เท่านั้น แต่เสียงที่หูคนไม่สามารถได้ยินก็มีผลทั้งด้านบวกและลบต่อร่างกายของเราด้วย ปัจจุบันมีการบำบัดอาการป่วยที่แพทย์แผนปัจจุบันรักษาไม่ได้ โดยให้ผู้ป่วยไปว่ายน้ำกับปลาโลมา อาการป่วยก็ดีขึ้นหรือปัญหาการเจ็บป่วยหายไปได้

รวบรวมและเรียบเรียง – ทัศนีย์ เศรษฐ์บุญสร้าง
tatsanee@NawaChiOne.org
??สงวนลิขสิทธิ์

กลับสู่ด้านบน

พลังชีวิตกับสุขภาพ ? บทที่ 5: ชี่กงกับดนตรี 5 เสียง


บทความ: พลังชีวิตกับสุขภาพ

ดาวน์โหลด PDF

————————————————————————————————

ชี่กง กับ ดนตรี 5 เสียง

ชี่กงเป็นวิชาโบราณของจีนที่มีวิธีการและชื่อเรียกแตกต่างกัน ในช่วงแรกรู้จักกันในชื่อ เต้าหยิ่น (ชักนำพลัง+หายใจ)?ทู่น่า (หายใจ)?อั้นเชียว(นวด)?และสิงชี่ (จิต) ฝ่ายสำนักพุทธจะเรียกว่า?จื่อกวน?ซันฉัน หรือ?ฉันติ้ง?ปัจจุบันยังไม่สามารถหาหลักฐานมายืนยันว่าชี่กงเริ่มมีตั้งแต่เมื่อใด?แต่เชื่อกันว่าชี่กงน่าจะเป็นการต่อสู้กับธรรมชาติของคนโบราณโดยซึมซับจากประสบการณ์?แล้วสรุปเป็นวิธีฝึกฝนเพื่อให้สุขภาพแข็งแรงและบำบัดโรควิธีหนึ่ง แต่ละสำนักต่างมีการพัฒนาวิธีการฝึกเพื่อหวังผลเฉพาะทางของตนเอง จนเกิดเป็นวิธีการฝึกชี่ที่หลากหลายและมุ่งผลที่แต่กต่างกันไป จากหลักฐานทางโบราณคดีประมาณ 5,000 กว่าปีก่อน?พบอ่างเคลือบมีรูปวาดกลุ่มคนกำลังจับกลุ่มจับมือกันฟ้อนรำ?การฟ้อนรำเป็นการเลียนแบบการเต้นของสัตว์ ที่มีการพัฒนามาเป็นการชี่กงแบบเต้าหยิ่น และพบบนอ่างเครื่องเคลือบมีรูปนูนเป็นลักษณะท่าทางการฝึกชี่วิชาจั้นจวาง ทู่น่า เป็นต้น

ชี่กง ?บ่อเก๊ก? เป็นวิชาชี่กงที่ทำให้ร่างกายสามารถเคลื่อนไหวได้เองอย่างอิสระภายใต้จิตที่เป็นสมาธิ ซึ่งถือเป็นวิชาชี่กงที่สูงกว่าไทเก๊กอีกระดับหนึ่ง จิตที่สงบเป็นสมาธิระหว่างการฝึกจะประสานพลังชี่ภายในเข้ากับพลังชี่ภายนอก สั่งสมพลังชี่ในร่างกายจนถึงขั้นทำให้ร่างกายเกิดการขยับเคลื่อนไหวได้เองอย่างอิสระ โดยไม่ต้องนึกคิดหรือใช้สมองสั่งการ ตามคำภาษาจีน 8 คำที่เป็นหัวใจของการฝึกชี่ที่แท้จริง คือ เถียน-ตั้น-ชิว-อู๋ เจิน-ชี่-ฉง-จือ

  • เถียน แปลว่า เบาบาง หมายถึงการทำจิตใจสงบ ตัดลดความคิดสับสนทั้งปวงให้เบาบางลง เพื่อให้ร่างกายทุกส่วนเกิดความหย่อน-คลาย ที่ไม่ใช่แค่ผ่อนคลาย มาจากค่ำภาษาจีนว่า ฟ่านซง
  • ตั้น แปลว่า จืดจาง หมายถึงการทำความคิดที่มีอยู่ให้จืดให้จางลง จนปราศจากความคิดใดๆ
  • ชิว แปลว่า กลวงว่าง หมายถึงเมื่อร่ายกายหย่อนคลายอย่างเต็มที่ และปราศจากความคิดใดๆ จะเข้าสู่สภาพของกายและจิตที่กลวงว่าง
  • อู๋ แปลว่า ความไร้ หมายถึงการเข้าสู่ภาวะ ?ความไร้? ซึ่งสิ่งใดๆ แม้กระทั่งความกลวงว่างก็ไม่มี (ความกลวง หมายถึงยังมีรูปทรงภายนอกแต่ภายในกลวงว่างไม่มีอะไร ต่อเมื่อรูปทรงภายนอกหมดไปเท่านั้นจึงจะเกิดภาวะ ?ความไร้? ไม่มีรูป)
  • เจิน แปลว่า แท้จริง เจิน-ชี่ หมายถึง พลังชี่แท้ในร่างกายของเรา
  • ฉง-จือ แปลว่า ปรากฏออกมาเอง

สรุปรวมความได้ว่า การให้ทำร่างกายให้หย่อนคลาย ตัดลดข้อสงสัยต่างๆ ที่สร้างความสับสนในจิตใจให้เบาบางลง และทำความคิดที่มีอยู่ให้จืดและจางลง จนร่างกายและความคิดกลวงว่าง กระทั้งตัวตนที่กลวงว่างก็หายหมดไปด้วย กลายเป็นความไร้ซึ่งตัวตน และเมื่อนั้น ชี่แท้ในร่างกายก็จะปรากฏออกมาเอง

พลังชี่แท้ที่ปรากฏออกมาให้เห็นเป็นการเคลื่อนไหวร่างกาย เป็นผลจากการเลื่อนไหลของพลังชี่ไปตามเส้นชี่หรือเส้นลมปราณทั่วร่างกาย เมื่อไปถึงส่วนที่ติดขัดหรืออุดตัน พลังชี่ก็จะจัดการแก้ไข ทำการขุดลอกทะลวงจุดตีบตันเหล่านั้น เกิดเป็นอาการขยับเคลื่อนแต่ละส่วนของร่างกาย ในท่วงท่าที่เป็นการยืด เหยียด งอ เหวี่ยง หมุน บิด ดัด กด ทุบ บีบ นวด หรือลักษณะต่างๆ ตามแต่ภาวะสุขภาพของร่างกาย ซึ่งทั้งหมดเป็นการคลายกล้ามเนื้อ ปรับเส้นเอ็น และจัดกระดูก ปรับสมดุลของพลังชี่ และพลังอิน-หยาง ในร่างกาย เพื่อแก้ปัญหาสุขภาพของผู้ฝึกแต่ละคน ขณะที่ทำการฝึก ผู้ฝึกจะมีสติรู้ตัวเองอยู่ตลอดเวลา สามารถรับรู้การเคลื่อนไหวที่เกิดขึ้นเองจากพลังชี่ได้ทุกขณะ รู้ว่าร่างกายตัวเองกำลังเคลื่อนไหวไปอย่างไร และสามารถรับรู้ได้ถึงการบำบัดรักษาปัญหาสุขภาพของตัวเองอย่างได้ผลของพลังชี่ในตัว ผู้ฝึกยังคงสามารถควบคุมการเคลื่อนไหวร่างกายของตัวเองได้ทุกขณะ จะหยุดการเคลื่อนไหวเมื่อใดก็ได้ตามที่ต้องการ เพราะไม่ได้ถูกสะกดจิต แต่เป็นการจงใจปล่อยให้ร่างกายเคลื่อนไหวไปตามพลังชี่แท้ในร่างกาย เปรียบร่างกายเป็นต้นหลิวที่ปล่อยให้กิ่งใบลู่ไปตามลมโดยไม่ขัดขืน ปล่อยให้พลังชี่ทำงานเพื่อบำบัดรักษาสุขภาพตามธรรมชาติของชี่นั่นเอง

พลังชี่ที่เลื่อนไหลไปตามร่างกายจะไปแทนที่ชี่เสียด้วยชี่ดี เป็นการบำรุงกระแสชี่ในร่างกายให้แข็งแรงสมบูรณ์ ทำให้ระบบไหลเวียนของเลือดและน้ำเหลืองมีประสิทธิภาพมากขึ้น ซึ่งเป็นการแก้ไขปัญหาสุขภาพที่มูลเหตุพื้นฐานที่สุด คือที่ระดับเซลล์ และยังเป็นการรักษาในลักษณะองค์รวมอีกด้วย เพราะมีการปรับสมดุลของทั้งระบบและทุกระบบในร่างกายพร้อมๆ กันไปในเวลาเดียวกัน

หากเปรียบการฝึกชี่เหมือนเป็นเสื้อผ้า การฝึกชี่ทั่วๆ ไปที่มีการกำหนดท่ามาตรฐานเป็นขั้นตอนแน่นอนสำหรับทุกคน ก็เหมือนเสื้อผ้าสำเร็จรูปที่ทุกคนใส่ได้แบบ one size fit all ส่วนการชี่กงบ่อเก๊กจะเหมือนมีดีไซเนอร์ส่วนตัว ที่คอยออกแบบตัดเย็บเสื้อผ้าที่เหมาะสมเฉพาะสำหรับผู้ฝึกแต่ละคน ดังนั้นท่วงท่าการเคลื่อนไหวของผู้ฝึกแต่ละคนจะไม่เหมือนกัน และเป็นลักษณะเฉพาะที่เลื่อนไหลต่อเนื่องไปเองตามภาวะสุขภาพและระดับพลังชี่ของผู้ฝึกแต่ละคน จึงย่อมแหมาะสมเข้ากับสภาพร่างกายและปัญหาสุขภาพของผู้ฝึกได้ดีกว่าท่าทางที่ถูกกำหนดไว้แน่นอน หรือเป็นมาตรฐานเหมือนกันสำหรับผู้ฝึกทุกคน บางท่านอาจจะเคยได้ยินหรือได้ฝึกวิชาชี่กง เบญจลีลา หรือ ปัญจลีลา ที่ถึงแม้จะไม่ได้กำหนดท่าทางที่แน่นอนตายตัว แต่ก็ยังกำหนดขั้นตอนไว้เป็น 5 ลีลา ส่วนในชี่กงบ่อเก๊ก ทุกท่วงท่าที่เกิดขึ้นจะเป็นไปอย่างอิสระโดยแท้จริง เป็นการขับเคลื่อนร่างกายด้วยพลังชี่ภายในของเราเองในทุกขณะตลอดการฝึก ผู้ฝึกชี่วิธีการนี้บางคนที่ปกติมีปัญหาในการขยับเคลื่อนไหวบางส่วนของร่างกาย เมื่ออยู่ในสมาธิขณะฝึกจะสามารถขยับร่างกายส่วนที่มีปัญหาได้ หรือบางคนวาดรูปไม่ได้ ก็สามารถวาดรูปได้สวยงามในสมาธิขณะฝึก เป็นต้น

อย่างไรก็ตาม พบว่ามีคนเพียงราว 5% เท่านั้นที่สามารถฝึกวิชาชี่กงบ่อเก๊กถึงขั้นที่ร่างกายสามารถเคลื่อนไหวเองได้ ปราชญ์จีนโบราณจึงได้คิดค้นศาสตร์อีกแขนงหนึ่ง ที่ใช้พลังของเสียงดนตรี (พลังชี่ภายนอก) มาช่วยขับเคลื่อนพลังชี่ภายในร่างกาย ให้ไหลเลื่อนไปตามเส้นชี่ และมีการขยับเคลื่อนร่างกายเหมือนการฝึกชี่แบบบ่อเก๊ก โดยเน้นผลด้านสุขภาพเป็นสำคัญ มีการศึกษาความสัมพันธ์ของเสียงดนตรีกับพลังธาตุพื้นฐาน 5 ธาตุ (ดิน ทอง / โลหะ น้ำ ไม้ และ ไฟ) ซึ่งมีผลต่อการทำงานของระบบอวัยวะหลักต่างๆ ของร่างกาย และพบว่าพลังของเสียงดนตรีทั้ง 5 ลักษณะเสียง (กง ซัง อวี๋ เจี่ยว และ เจิง) มีความสัมพันธ์เชื่อมโยงกับพลังธาตุทั้ง 5 รวมทั้งพลังอินและหยางภายในร่างกายด้วย

ดนตรีของจีนเป็นระบบบันไดเสียง 5 ขั้น หรือมี 5 เสียง คือ กง ซัง อวี๋ เจี่ยว และเจิง ในขณะที่ดนตรีตะวันตกเป็นระบบบันไดเสียง 7 ขั้น คือ โด เร มี ฟา ซอล ลา และ ที แต่ในวิชาดนตรี 5 เสียงของการฝึกชี่ แต่ละเสียงยังมีลักษณะเฉพาะที่เชื่อมโยงได้กับลักษณะของแต่ละธาตุอีกด้วย ซึ่งจะอธิบายลงละเอียดเรื่องนี้มากขึ้นในเรื่องการปรับสมดุลพลัง 5 ธาตุ

การแพทย์พื้นฐานของจีนโบราณ มีการใช้เสียงดนตรีเป็นยาเพื่อบำบัดรักษาสุขภาพ ก่อนที่จะรู้จักการใช้ยาสมุนไพรเพื่อการรักษา มีหลักฐานทางโบราณคดีพบเครื่องดนตรีที่เก่าแก่ที่สุดในโลกในประเทศจีนมีอายุราว 100,000 ปี และนับตั้งแต่ประเทศจีนมีตัวอักษรบันทึกเรื่องราว?ได้มีการบรรยายถึงทฤษฎีและวิธีการฝึกชี่อย่างละเอียด?มีการบันทึกเรื่องของชี่กงในเอกสารโบราณอันเป็นหนังสือประวัติศาสตร์ยุคแรกสุดของจีนที่ชื่อว่า ?ช่างชูว? (4,000 ปีก่อน) และหนังสือบันทึกประวัติศาสตร์จีน ?เสี่ยจี้? มีการระบุการเต้นรำ กระโดดเพื่อบรรเทาอาการปวดข้อและรักษาสุขภาพยามอากาศชื้น อักษรภาษาจีนคำว่า ?ดนตรี? ??จะประกอบด้วยคำ 3 คำ คือคำว่า ?สีขาว? ??ซึ่งหมายถึงโลหะ คำว่า ?ไม้? ??และคำว่า ?เส้นไหม? ??ซึ่งก็คืออุปกรณ์พื้นฐานของเครื่องดนตรีจีนโบราณ และอักษรภาษาจีนคำว่า ?ยา? คือ ?เอี้ยว? ??จะประกอบด้วยคำสองคำ คือ คำว่า ?ดนตรี? ??และคำว่า ?หญ้า? ?ซึ่งหมายถึงสมุนไพร เมื่อรวมคำทั้งสองเข้าด้วยกันจึงสามารถแปลความได้ว่า พลังเสียงดนตรีที่ดีเป็นพลังส่วนสำคัญในการขับเคลื่อนตัวยาไปรักษาซ่อมแซมสุขภาพให้แข็งแรงขึ้นได้

อาจารย์ชี่กงสมัยโบราณจึงได้นำวิชาดนตรี 5 เสียง มาเสริมการฝึกชี่แบบเคลื่อนไหว โดยประสานรวมพลังของเสียงจากดนตรี 5 เสียง (ชี่ภายนอก) มาช่วยขับเคลื่อนพลังชี่ภายใน ทำให้ร่างกายสามารถขยับเคลื่อนไหวได้เองอย่างอิสระเช่นเดียวกับการฝึกชี่แบบบ่อเก๊ก โดยไม่ต้องอาศัยภาวะจิตที่เป็นสมาธิลึกซึ้ง และมุ่งผลด้านสุขภาพเป็นสำคัญ พลังของดนตรี 5 เสียงจะขับเคลื่อนกระแสชี่ในร่างกายให้ไหลเวียนไปทั่วร่างอย่างคล่องตัว และทำงานประสานกับพลัง 5 ธาตุ ในการปรับสมดุลพลังธาตุทั้ง 5 และสมดุลพลังอิน-หยางของระบบต่างๆ ในร่างกาย เปรียบได้กับเป็นการฝังเข็มคราวละหมื่นๆ เล่มด้วยพลังชี่จากเสียงดนตรี ทำให้เป็นการฟื้นฟู เสริมสร้าง และดูแลสุขภาพโดยไม่ต้องฝังเข็มจริงๆ และไม่ต้องใช้ยาที่อาจมีผลข้างเคียง จึงปลอดภัยกับสุขภาพร่างกายและมีประสิทธิภาพในการบำบัดดีที่สุด

ความรู้วิชาชี่กงกับดนตรี หรือ ดนตรีปรับพลังชีวิต ได้สูญหายขาดช่วงไปเมื่อมีการเผาทำลายตำราวิชาการของจีนในสมัยของจักรพรรดิ์จิ๋นซีเมื่อราว 2,000 ปีก่อน แต่คงมีคนแอบเก็บตำราโบราณไว้หรือมีการแอบถ่ายทอดวิชาจากรุ่นสู่รุ่นต่อกันมาจนถึงสมัยราชวงศ์ถัง ซึ่งมีการฟื้นฟูศิลปวิทยาการของจีนอย่างกว้างขวาง ดนตรี 5 เสียงเพื่อการขับเคลื่อนพลังชี่จึงได้รับการฟื้นฟูขึ้นใหม่อีกครั้ง แต่มีการสงวนใช้อยู่เฉพาะภายในราชสำนักสำหรับเชื้อพระวงศ์เท่านั้น มาจนถึงยุคปฏิวัติวัฒนธรรมซึ่งเป็นจุดจบของราชสำนักและราชวงศ์จีน ระบอบคอมมิวนิสมีการห้ามใช้วิชาโบราณต่างๆ เพราะถือเป็นปฏิปักษ์กับการพัฒนาชาติให้ก้าวหน้า เมื่อประเทศจีนเปลี่ยนมาดำเนินนโยบายปฏิรูปเปิดประเทศเมื่อไม่กี่ทศวรรษที่ผ่านมานี้เท่านั้น ที่วิชาชี่กงแขนงนี้ได้รับการฟื้นฟูกลับเผยแพร่มาอีกครั้ง ปัจจุบันถึงแม้จะมีการสอนวิชาดนตรีเพื่อขับเคลื่อนพลังชี่นี้ให้คนทั่วไปในประเทศจีนแล้วก็ตาม แต่ก็ยังไม่เป็นที่รู้จักกว้างขวางนัก มีมหาวิทยาลัยการแพทย์ของจีนเพียงไม่กี่แห่งที่ทำการศึกษารวบรวมและเรียบเรียงเพลงตามหลักดนตรี 5 เสียงเพื่อการขับเคลื่อนพลังชี่แต่โบราณ อาทิ วิทยาลัยการแพทย์ในเทียนจิน เซี่ยงไฮ้ และปักกิ่ง เป็นต้น

ดนตรีที่ทำขึ้นเพื่อใช้ในการขับเคลื่อนพลังชี่ที่มีอยู่ในปัจจุบัน จะเน้นการปรับสมดุลของพลังธาตุทั้ง 5 ที่สัมพันธ์กับอวัยวะภายในที่สำคัญ และสมดุลพลังอิน-หยางในร่างกาย รวมทั้งปรับสมดุลของอารมณ์หรือจิตใจซึ่งเป็นสาเหตุของปัญหาสุขภาพเช่นกัน ถึงแม้หลักของการฝึกชี่จะถือว่า ?จิตคุมกาย? แต่เนื่องจากปฏิสัมพันธ์ระหว่างร่างกาย (ธาตุ) และจิตใจ (อารมณ์) เป็นความสัมพันธ์ 2 ทาง คือ ปัญหาสุขภาพสามารถเริ่มจากร่างกายและส่งผลถึงจิตใจ หรือในทางกลับกัน อาจเริ่มจากจิตใจและส่งผลถึงร่างกายก็ได้ ทั้งนี้เพราะพลังชี่ของร่างกายและจิตใจมีความสัมพันธ์กันอย่างใกล้ชิดจนแยกกันไม่ออก ยิ่งในสภาพวิถีการดำเนินชีวิตของคนยุคปัจจุบันด้วยแล้ว ยิ่งยากที่จะแยกได้อย่างชัดเจนว่าร่างกายหรือจิตใจกันแน่ที่เป็นต้นเหตุของปัญหาบั่นทอนสุขภาพของเรา ดังนั้นไม่ว่าจะเริ่มแก้ไขหรือเสริมสร้างพลังชี่ให้กับส่วนใด ก็จะส่งผลถึงอีกส่วนหนึ่งด้วยเช่นกัน

หมายเหตุ ในประเทศไทย คุณเจียม สุจริตวิศาล ผู้ซึ่งได้ศึกษาวิชาแพทย์แผนจีนจากประเทศจีน ได้นำวิชาชี่กงดนตรี หรือดนตรีปรับพลังชีวิต เข้ามาเผยแพร่ในประเทศไทยเป็นท่านแรก ท่านได้ไปพบกับอาจารย์ผู้ถ่ายทอดวิชานี้ให้ท่านโดยบังเอิญขณะที่ศึกษาวิชาการแพทย์แผนจีนอยู่ ณ ประเทศจีน ด้วยที่กำลังศึกษาวิชาแพทย์อยู่และได้มาพบกับวิชาที่สามารถรักษาสุขภาพได้โดยไม่ต้องฝังเข็มและไม่ต้องใช้ยา ท่านจึงสนใจเป็นอย่างยิ่ง และหลังจากที่ได้รับการถ่ายทอดวิชา ท่านก็ได้ฝึกปฏิบัติอย่างสม่ำเสมอมาตลอด และด้วยเพราะที่มีพื้นฐานความรู้ด้านการแพทย์จีน ท่านจึงสามารถเข้าใจถึงการบำบัดและผลต่อสุขภาพของพลังชี่ที่เกิดขึ้นขณะที่ทำการฝึกชี่ได้อย่างชัดเจน และสามารถรับรู้ได้ถึงพลังของเสียงดนตรีจากเพลงที่นำมาใช้ฝึกได้อย่างลึกซึ้ง จึงวิเคราะห์ได้ว่าท่าทางที่เกิดขึ้นเป็นผลจากการที่พลังชี่กำลังบำบัดรักษาอวัยวะส่วนใด หรือกำลังขุดลอกเส้นชี่หรือเส้นลมปราณเส้นใด ซึ่งมีผลเกี่ยวข้องกับอวัยวะส่วนใด หรืออาการป่วยลักษณะไหน เป็นต้น ผู้ใดสนใจฝึกวิชาดนตรีปรับพลังชีวิต สามารถติดต่อสอบถามข้อมูลและกำหนดการอบรมได้ที่: ชุมชนสุขภาพนวชีวัน มูลนิธินวชีวัน www.NawaChiOne.org หรือ Email: info@NawaChiOne.org, Facebook: ชุมชนสุขภาพนวชีวัน และ มูลนิธินวชีวัน

รวบรวมและเรียบเรียง – ทัศนีย์ เศรษฐ์บุญสร้าง
tatsanee@NawaChiOne.org
??สงวนลิขสิทธิ์

กลับสู่ด้านบน

พลังชีวิตกับสุขภาพ ? บทที่ 4: การฝึกฝนบ่มเพาะพลังชีวิต


บทความ: พลังชีวิตกับสุขภาพ

สารบัญ

ดาวน์โหลด PDF

————————————————————————————————


การฝึกฝนบ่มเพาะพลังชีวิต

การฝึกฝนบ่มเพาะพลังชีวิต หรือการฝึกชี่ หรือชี่กง เพื่อให้ได้ผลด้านสุขภาพอย่างแท้จริง จะมีองค์ประกอบหลักที่ขาดไม่ได้อยู่ 3 ประการ คือ

  1. การปรับร่างกาย (ธาตุพื้นฐานทั้ง 5 ตามหลักแพทย์แผนจีนโบราณ คือ ดิน ทองหรือโลหะ น้ำ ไม้ และไฟ) จะเป็นการหย่อนคลายร่างกาย และเคลื่อนไหวร่างกายอย่างเป็นธรรมชาติ เคลื่อนไปอย่างสบายๆ สม่ำเสมอ ไม่เกร็ง ไม่ตึงเครียด
  2. การปรับลมหายใจ จะเป็นการหายใจให้ยาวและลึกถึงท้องน้อย ซึ่งเป็นวิธีหายใจที่เป็นรากฐานของสุขภาพ เมื่อฝึกจนชำนาญ จะสามารถหายใจเข้า-ออกได้อย่างยาวๆ ช้าๆ เบาๆ และสม่ำเสมอเป็นธรรมชาติ โดยไม่อึดอัดหรือฝืน
  3. การปรับจิตใจ ซึ่งถือเป็นส่วนสำคัญที่สุด ?จิต? จะต้องเป็นสมาธิ ไม่คุย ไม่วอกแวก และอาจสร้างจินตภาพหรือจินตนาการควบคู่ไปกับการฝึก

การฝึกชี่ที่ถูกต้องจะต้องมีครบทั้ง 3 ส่วน เมื่อมีองค์ประกอบทั้ง 3 ส่วนครบถ้วนและเกิดพลังชี่ขึ้นโดยพลังชี่ที่เกิดมีความพอเหมาะ ก็จะส่งผลให้ร่างกายแข็งแรงขึ้น เราจึงต้องบ่มเพาะและสร้างเสริมพลังชี่ เพื่อให้มีความพอเหมาะสำหรับการบำบัดอาการป่วยและขจัดโรคต่างๆ แต่ทุกสรรพสิ่งในโลกย่อมเป็นไปตามทางสายกลาง พลังชี่ที่มากเกินไปจึงสามารถให้ผลลบกับร่างกายได้เช่นกัน บางลักษณะก็ปรากฏเป็นอาการข้างเคียงที่รุนแรงหลังการฝึกชี่ได้ (อย่างในหนังจีนกำลังภายในที่มีการฝึกพลังจนเสียสมดุล เกิดอาการกระอักเลือดจากภาวะธาตุไฟตีกลับ เป็นต้น) การฝึกชี่จึงต้องระมัดระวัง และควรเริ่มฝึกฝนกับผู้ที่รู้จริง เพื่อความปลอดภัยกับตัวเอง และให้ได้รับผลดีจากการฝึกอย่างเต็มที่

ในการฝึกชี่โดยทั่วไป การปรับร่างกายและลมหายใจมีความสำคัญอย่างละราว 10-15% สำหรับการปรับจิตใจ (การกำหนดจิต) มีความสำคัญถึง 70-80% ถ้าทำได้ไม่ถูกต้อง ก็จะมีผลเป็นเพียงการออกกำลังกายธรรมดาๆ เท่านั้น คือไม่ได้ชี่ ซึ่งเป็นหัวใจและเป้าหมายของการฝึก ดังเช่นการฝึกรำมวยไทเก๊กส่วนใหญ่ในสมัยนี้ที่มักเห็นได้ว่าเป็นการออกกำลังกายเท่านั้น ทั้งนี้อาจเป็นเพราะการถ่ายทอดวิชาความรู้จากรุ่นสู่รุ่นไม่ได้สอนหลักวิธีการฝึกที่ถูกต้อง ทำให้การฝึกกลายเป็นเพียงการออกกำลังกายธรรมดา ไม่ได้รับผลดีจากพลังของชี่ เพราะไม่มีพลังชี่เกิดขึ้นจากการฝึก บางครั้งก็ไม่ได้แม้แต่ประโยชน์ที่ควรได้จากการออกกำลังกายธรรมดาด้วยซ้ำ ซึ่งเป็นเรื่องที่น่าเสียดายอย่างยิ่ง


ประโยชน์ของการฝึกฝนบ่มเพาะพลังชีวิต

กลับสู่ด้านบน

วิทยาศาสตร์สมัยใหม่ได้ศึกษาวิจัยเกี่ยวกับผลที่เกิดจากการฝึกพลังชี่ หรือชี่กง ทั้งในหลอดทดลองและกับผู้ป่วยโรคต่างๆ จนสามารถสรุปโดยสังเขปได้ว่า การฝึกพลังชี่มีประโยชน์ทั้งในด้านการเสริมสุขภาพและการบำบัดโรคหลายชนิด ดังนี้

  1. เพิ่มความยืดหยุ่น ความทนทาน และผ่อนคลายของกล้ามเนื้อ เป็นการบริหารร่างกาย ทำให้ข้อต่อและเส้นเอ็นคลายตัวมีความยืดหยุ่นมากขึ้น กระดูกและกล้ามเนื้อแข็งแรงขึ้น ลดอาการปวดจากความตึงของกล้ามเนื้อ ป้องกันการปวดคอ ปวดหลัง ปวดเข่า และปวดข้ออื่นๆ ช่วยให้ทรงตัวได้ดี ไม่หกล้มง่าย
  2. ปรับสภาพและสมดุลของการทำงานของสมองส่วนหน้า วิทยาศาสตร์การแพทย์ปัจจุบันพบว่า การเสียสมดุลของสมองส่วนหน้าเป็นสาเหตุของโรคประเภทที่ไม่ติดต่อ หรือโรคไร้เชื้อแต่เรื้อรังส่วนใหญ่ เช่น ความดันโลหิต แผลในกระเพาะอาหาร ต่อมไทรอยด์บวมโต มะเร็ง ท้องผูก ท้องเดิน นอนไม่หลับ ปวดศรีษะ อัมพาต เป็นต้น
  3. เสริมความแข็งแกร่งของกระบวนการเปลี่ยนถ่ายแทนที่ของระบบต่างๆ ในร่างกาย เพิ่มพละกำลังของระบบเอ็มไซม์ ทำให้กระบวนการเปลี่ยนถ่ายของเสียแทนที่ด้วยของใหม่ในระดับเซลล์ดำเนินไปได้อย่างสมบูรณ์มากขึ้น และเนื่องจากกระบวนการสังเคราะห์ทางเคมีของเซลล์ถูกเสริมให้แข็งแกร่งขึ้น จึงเป็นการเพิ่มกำลังความสามารถในการเผาผลาญอาหารและไขมัน ทำให้คนผอมแห้งแข็งแรงยิ่งขึ้น และคนอ้วนสามารถลดความอ้วนลงได้
  4. ปรับเสริมประสิทธิภาพของระบบการหลั่งสารฮอร์โมนจากต่อมไร้ท่อต่างๆ ในร่างกาย ทำให้ระดับฮอร์โมนในร่างกายสมดุลมากขึ้น ฮอร์โมนชนิดต่างๆ มีผลต่อความแข็งแรงของร่างกาย อุปนิสัย และรูปร่างหน้าตา โดยเฉพาะอย่างยิ่งผิวพรรณของเรา ปัญหาคลอเลสเตอรอล น้ำตาลในเลือดสูง / ต่ำเกินไป ประจำเดือนผิดปกติ ไม่ตั้งครรภ์ หลังคลอดไม่มีน้ำนม ไร้สมรรถภาพทางเพศ ล้วนมีส่วนเกี่ยวข้องกับประสิทธิภาพที่ไม่สมดุลของต่อมไร้ท่อต่างๆ ทั้งสิ้น การฝึกชี่สามารถลดการใช้ยาในผู้ป่วยโรคเบาหวาน รวมทั้งช่วยรักษาอาการทางร่างกายและอารมณ์ที่เกิดในวัยทองได้
  5. ระบบไหลเวียนเลือด (Micro Circulation) ดีขึ้น ภายหลังการฝึกมักพบว่าอุณหภูมิผิวหนังของผู้ฝึกจะสูงขึ้น (อมรรัตน์ ภิราษร 2541 และ นวลทิพย์ ทวิรัตน์ 2544) ลดปัญหาความดันเลือดโดยไม่ต้องใช้ยา คนที่ความดันโลหิตสูง ความดันจะลดลง คนที่ความดันโลหิตต่ำก็กลับเป็นปกติ
  6. เสริมความสามารถในการดูดซึมแคลเซียมของร่างกายไปสร้างกระดูก จึงสามารถช่วยป้องกันกระดูกเปราะบาง หรือโรคกระดูกพรุน ได้ เพราะไตที่แข็งแรงจะผลิตสารจำเป็นที่คนจีนเรียกว่า ?จิง? เทียบได้กับฮอร์โมน เป็นตัวสร้างไขกระดูกเพื่อไปหล่อเลี้ยงซ่อมเสริมกระดูก ทำให้กระดูกและฟันแข็งแรง
  7. สร้างสมดุลของระบบประสาทอัตโนมัติ ทำให้ทำงานสมดุลและมีประสิทธิภาพมากขึ้น มีประโยชน์มากในผู้ที่มีความเครียดสูง สามารถช่วยลดความวิตกกังวล อาการหายใจไม่โล่ง ใจสั่น กระวนกระวายใจ นอนไม่หลับ ตกใจง่าย และท้องผูก
  8. ช่วยให้จิตใจสงบ เพราะเป็นการทำสมาธิอย่างหนึ่ง ถึงจะเป็นสมาธิระดับต้นๆ ก็สามารถช่วยให้ร่างกายผ่อนคลาย ลดการทำงานของหัวใจได้
  9. เพิ่มประสิทธิภาพการหายใจ หายใจได้ลึกและยาวขึ้น ทำให้ปอดแข็งแรง เพราะได้รับออกซิเจน และขับคาร์บอนไดออกไซด์ออกได้อย่างเต็มที่
  10. ทำให้ภูมิคุ้มกันของร่างกายแข็งแรงและสมดุลมากขึ้น เพิ่มความสามารถของร่างกายในการต่อสู้กับสารภูมิแพ้ (Ryu, H และคณะ 1996) จึงสามารถใช้บำบัดอาการภูมิแพ้อย่างได้ผล ลดอาการภูมิแพ้ต่างๆ เช่น น้ำมูกไหลตอนเช้า ไอ จาม คัดจมูก ฯลฯ อาการเหล่านี้จะหายไปได้ถ้าฝึกชี่อย่างสม่ำเสมอ
  11. เสริมภูมิต้านทานโรค ทำให้ระบบน้ำเหลือง (Lymphatic System) ทำงานสม่ำเสมอ ไหลเวียนดีขึ้น ทำให้สามารถกำจัดของเสียของร่างกายได้เร็วขึ้น ภูมิคุ้มกันทั้งจากน้ำเหลืองและเม็ดเลือดขาวเพิ่มขีดความสามารถสูงขึ้น สามารถเพิ่มเม็ดเลือดขาว CD4 ในกระแสเลือดในอาสาสมัครที่ฝึกชี่ติดต่อกันนานเกิน 5 เดือนขึ้นไป (Tyu, H และคณะ 1994) ภูมิต้านทานโรคที่ต่ำทำให้เชื้อโรคทั้งจุลินทรีย์และไวรัสที่เป็นสาเหตุของอาการเจ็บป่วยแพร่ขยายในร่างกายได้ การเพิ่มความสามารถในการฆ่าเชื้อโรคของพลาสมาและจำนวนเม็ดเลือดขาวในกระแสเลือด สามารถจำกัดการแพร่ขยายของเชื้อจุลินทรีย์ ไวรัส และสิ่งแปลกปลอมต่างๆ โดยตับ ปอด และต่อมตับอ่อน ได้อย่างมีประสิทธิภาพ โดยเฉพาะสามารถรักษาโรคหวัดได้ดี
  12. ป้องกันโรคเส้นเลือดสมองและเส้นเลือดหัวใจตีบตันเร็ว ได้ผลดีมากกับคนที่มีปัญหาเกี่ยวกับสมอง เช่น อัมพฤกษ์ อัมพาต
  13. รักษาโรคมะเร็ง โดยเฉพาะมะเร็งเม็ดเลือด มะเร็งเต้านม มีการวิจัยโดยให้อาจารย์ชี่กงส่งพลังชี่ใส่จานเพาะเชื้อมะเร็ง โดยมุ่งพยายามจะทำลายเซลล์มะเร็ง ปรากฎว่าเซลล์มะเร็งนั้นตาย อีกการทดลองหนึ่งเป็นมะเร็งปากมดลูก เซลมะเร็งตายไป 60% หลังให้พลังชี่ราว 20 นาที ทดลองซ้ำหลายครั้งก็ได้ผลใกล้เคียงกัน แต่มะเร็งกระเพาะอาหารจะดื้อกว่ามะเร็งปากมดลูก ส่วนมะเร็งเต้านมมีการตอบสนองที่ดีกว่า และพบอีกว่า การฝึกชี่ยังสามารถช่วยลดระดับความเครียดในผู้ป่วยมะเร็งปากมดลูกด้วย (น้ำทิพย์ ด่อนแผ้ว 2545)
  14. ฟื้นตัวจากการผ่าตัด การฉายแสง และอาการเจ็บไข้เร็วขึ้น ช่วยยืดอายุของผู้ป่วยมะเร็งและโรคเอดส์ เพราะการฝึกชี่สามารถเพิ่มภูมิต้านทานให้สูงขึ้น ช่วยปรับปรุงคุณภาพชีวิตของผู้ป่วยให้ดีขึ้นได้
  15. ลดความตึงของกล้ามเนื้อศีรษะในผู้ป่วยโรคปวดศีรษะ ซึ่งสามารถใช้บำบัดผู้ที่มีอาการปวดศีรษะที่เกิดจากกล้ามเนื้อตึง (อัญรัช นิตุธร 2543) รวมทั้งโรคปวดศรีษะไมเกรนได้
  16. ส่งเสริมบุคลิกภาพและหน้าตาอ่อนกว่าอายุ สมาธิและความจำดี ช่วยลดระดับฮอร์โมนคอร์ติโซนในกระแสเลือด ซึ่งมีมากในผู้ที่มีความเครียดสูง มีผลลดการทำงานของเม็ดลือดขาว รวมทั้งเพิ่มประสิทธิภาพสมองส่วนความจำระยะสั้น (เทอดศักดิ์ เดชคง 2541)

การฝึกชี่เพื่อช่วยบำบัดโรคร้ายแรงต่างๆ มีข้อควรเข้าใจว่าต้องใช้ควบคู่ไปกับการรักษาโดยแพทย์ผู้เชี่ยวชาญ ผู้ป่วยที่ได้รับยารักษาอยู่ ขณะที่ใช้การฝึกชี่เพื่อเสริมการบำบัดให้มีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น ก็ควรติดตามการรักษากับแพทย์อย่างต่อเนื่องด้วย


อาการข้างเคียงของการฝึกดนตรีปรับพลังชีวิต

กลับสู่ด้านบน

ผู้ฝึกชี่บางรายจะเกิดอาการข้างเคียงจากการฝึก ซึ่งมักไม่รุนแรงและไม่เป็นอันตราย สาเหตุหลักของอาการข้างเคียงจะเป็นเพราะร่างกายยังปรับตัวไม่ได้ หรือปรับตัวได้ไม่ทัน อาการข้างเคียงทั้งหลายที่เกิดขึ้น มักจะหายได้เองหลังจากได้พัก และ/หรือ ฝึกครั้งต่อๆ ไป ขึ้นกับลักษณะของอาการ ซึ่งรวมถึง

  1. เกิดความร้อนสะสมภายในร่างกาย อาจร้อนวูวาบตามตัวหรือเฉพาะที่ อาการมักไม่รุนแรงและจะค่อยๆหายไปในการฝึกครั้งต่อๆ ไป บางรายอาจมีไข้ขึ้น แต่เมื่อได้พัก ไข้ก็จะลดและหายไปเอง
  2. นอนไม่หลับ ฝันร้าย เป็นอาการของพลังชี่คั่งค้าง การผ่อนคลายและนั่งสมาธิจะช่วยให้ดีขึ้นได้
  3. ปวดศีรษะ เกิดจากพลังชี่ที่คั่งค้างในบางตำแหน่งโดยเฉพาะที่ศีรษะ มักเกิดจากการเกร็งและหายใจไม่ถูกต้อง จึงควรผ่อนคลายขณะฝึกและเรียนรู้วิธีที่ถูกต้องตามครูฝึก
  4. คลื่นไส้อาเจียน ท้องปั่นป่วน เรอ เป็นปัญหาที่เกิดจากการคั่งค้างของชี่เช่นกัน ถ้ามีอาการรุนแรงต้องหยุดพัก และในการฝึกครั้งต่อๆ ไปควรผ่อนคลาย และมีสมาธิในการฝึก
  5. แน่นหน้าอก แน่นท้อง เป็นอาการพลังชี่ค้างแบบไม่กระจายตัว แก้โดยการสูดหายใจลึกๆ ช้าๆ ยกแขนขึ้นเหนือศรีษะตอนหายใจเข้า และยกแขนลงตอนหายใจออก ใช้ฝ่ามือลูบคลึงบริเวณที่รู้สึกแน่น และใช้การนึกคิดให้พลังที่แน่นอยู่กระจายตัวออกไปรอบๆ ก็จะช่วยขจัดอาการอัดแน่นได้
  6. ปวดเมื่อยตามตัวและเท้า เป็นอาการของคนที่ไม่เคยออกกำลังกาย ในการฝึกครั้งต่อๆ ไป 4-6 ครั้งอาการดังกล่าวจะหายไป
  7. ฝึกมากๆ บางครั้งอาจมีอาการถ่ายท้องหรือท้องเสียได้ เพราะร่างกายปรับตัวไม่ทันกับการขับพิษตกค้างของระบบในร่างกาย แต่ก็จะหายได้เองเช่นกัน


ควรหวังผลจากการฝึกดนตรีปรับพลังชีวิตอย่างไร

กลับสู่ด้านบน

การฝึก ควรจะฝึกก่อนหรือหลังอาหารอย่างน้อย 1-2 ชั่วโมง และควรฝึกตอนเช้าจะเหมาะที่สุดสำหรับการออกกำลังกาย เพราะจะได้รับอากาศที่บริสุทธิ์กว่าช่วงเวลาอื่นของวัน และเป็นเวลาที่ชี่หยางในร่างกายตื่นขึ้นด้วย แต่จะฝึกตอนไหนของวันก็ได้ เพียงให้เลี่ยงช่วงเที่ยงวันตั้งแต่ 11 โมงถึงบ่ายโมง และช่วงเที่ยงคืน ตั้งแต่ 5 ทุ่มถึงตีหนึ่ง ขณะฝึกไม่ควรสวมรองเท้าเพราะอาจทำให้ปวดเท้าได้ เนื่องจากชี่หรือประจุไฟฟ้าวิ่งผ่านลงสู่พื้นไม่ได้และค้างอยู่ที่เท้า ถ้าพื้นที่ยืนฝึกเป็นพื้นปูนหรือหินที่เย็นมากก็ไม่ดี ควรใช้พรมหรือผ้าปูรองเท้าไว้ เวลาที่อารมณ์ไม่ดี โกรธ หงุดหงิด ก็ไม่ควรฝึก ถ้ากำลังเครียดอยู่ ต้องฝึกการหายใจและหย่อนคลายจนความเครียดลดลงระดับหนึ่งก่อน สำหรับคนที่ป่วยด้วยโรคร้ายแรงมากๆ ต้องรักษาด้วยวิธีการแพทย์ปัจจุบันเพื่อให้สภาพร่างกายแข็งแรงขึ้นเสียก่อน

ระยะเวลาในการฝึกชี่ จะแตกต่างกันไปตามวัตถุประสงค์ของการฝึก และสภาพร่างกายของผู้ฝึก ถ้าเป็นการฝึกเพื่อสุขภาพและร่างกายไม่ได้เป็นโรคอะไร สามารถฝึกวันละครั้ง ครั้งละ 10-20 นาทีก็เพียงพอ คนที่เป็นภูมิแพ้ ความดันโลหิตสูง สามารถฝึกมากครั้งขึ้นในแต่ละวัน อย่างน้อยครั้งละ 15 นาที ส่วนโรคอื่นๆ ก็มากขึ้นไปตามลำดับตามอาการของโรคและสภาวะร่างกายของผู้ฝึก เวลาฝึกสูงสุดคือมะเร็ง ซึ่งมะเร็งแต่ละอย่างก็จะแตกต่างกันไป บางคนก็ 1 ชั่วโมง บางคนก็มากกว่านั้น ถ้าใช้ดนตรีชุด 5 ธาตุ (Five Elements) หรือชุด 5 เสียง (5 Tones) ให้อย่างน้อยฝึกครั้งละเพลง (1 track) แต่ละเพลงจะมีความยาว 20-30 นาที การฝึกควรคำนึงเสมอว่า ร่างกายของเราแต่ละคนไม่เหมือนกัน วิธีที่ดีคือควร ?ฟังชี่? ของเราเองจะดีที่สุด เพราะหากฝึกมากเกินไปก็อาจหักโหมร่างกายเกินไป และเกิดผลเสียกับร่างกายได้

สรุปโดยรวม การฝึกควรให้เวลาวันละ 10-60 นาที ฝึกทุกวัน อาจฝึกในตอนเช้าหรือค่ำๆ ก็ได้ ขึ้นกับความสะดวกและความพร้อมของผู้ฝึก ถ้าฝึกซ้ำที่และซ้ำเวลาได้จะเกิดประสิทธิผลมากขึ้น เกณฑ์ในการติดตามดูผลการฝึกคร่าวๆ คือ ควรเห็นผลบางอย่างเมื่อฝึกติดต่อกัน 2 สัปดาห์ และต้องชัดเจนว่ามีอะไรเกิดในทางที่ดีขึ้นเมื่อฝึกติดต่อกัน 1 เดือน หากยังไม่เห็นผลที่ดีขึ้น ควรต้องตรวจดูว่าวิธีการฝึกได้ถูกต้องหรือไม่ หรือจะเป็นเพราะสาเหตุอื่น เพื่อจะได้หาวิธีแก้ไขปรับเปลี่ยนหรือหาวิธีการอื่นต่อไป ดังนั้นสำหรับผู้ที่เริ่มฝึกใหม่ ระยะแรกๆ จึงควรหาโอกาสฝึกพร้อมกับอาจารย์ผู้สอนหรือผู้เชี่ยวชาญอย่างใกล้ชิดและบ่อยครั้ง เพื่อให้อาจารย์ผู้สอนตรวจสอบความคืบหน้าของการฝึก และควรซักถามข้อสงสัยในการฝึกให้เข้าใจ เพื่อให้แน่ใจว่าวิธีการที่ตนฝึกอยู่นั้นถูกต้อง เพราะคนที่เริ่มฝึกใหม่จะยังไม่คุ้นเคยกับพลังชี่ภายใน และมักใช้ความนึกคิดขยับร่างกายให้เคลื่อนไปตามความอยาก แทนที่จะปล่อยให้ร่างกายเคลื่อนไหวไปด้วยพลังชี่ของตัวเองอย่างเป็นธรรมชาติ

และหากสามารถฝึกชี่ตามวิชาดนตรีปรับพลังชีวิตได้อย่างถูกต้องแล้ว ก็จะสามารถประจักษ์ถึงความหมายที่แท้จริงของคำกล่าวที่ว่า ?การรักษาที่ดีที่สุด คือการรักษาด้วยตัวของเราเอง?

รวบรวมและเรียบเรียง – ทัศนีย์ เศรษฐ์บุญสร้าง
tatsanee@NawaChiOne.org
? สงวนลิขสิทธิ์

กลับสู่ด้านบน

พลังชีวิตกับสุขภาพ ? บทที่ 3: พลังชีวิตมีผลกับสุขภาพอย่างไร


บทความ: พลังชีวิตกับสุขภาพ

สารบัญ

ดาวน์โหลด PDF

————————————————————————————————


พลังชีวิตมีผลกับสุขภาพอย่างไร

เรื่องของสุขภาพเป็นเรื่องสำคัญ และในปัจจุบันพวกเราส่วนใหญ่ยังมีความเข้าใจคำว่าสุขภาพคลาดเคลื่อน ทำให้มีการกำหนดวิธีการดูแลรักษาสุขภาพอย่างคับแคบและแยกส่วน หากมองในความหมายที่แท้จริงของคำว่าสุขภาพ สุขภาพคือเป้าหมายของชีวิตและสังคม คำจำกัดความที่องค์การอนามัยโลกได้ให้ไว้ สุขภาพจะหมายถึง สุขภาวะโดยสมบูรณ์ทั้งทางกาย ทางจิต และทางสังคม โดยสรุปคือความสุขหรือคุณภาพชีวิตที่มีความเกี่ยวข้องกันทั้งทางกาย ทางจิตใจ จิตวิญญาณ และในทางสังคมด้วย หรือก็คือ วิถีการดำเนินชีวิตของเราภายใต้สภาพสังคมและสิ่งแวดล้อมรอบตัวทั้งหมด ที่การแพยท์ตะวันตกรุ่นใหม่เรียกว่า สุขภาพองค์รวม (holistic health) ซึ่งก็เป็นไปตามหลักการของศาสตร์การแพทย์จีนโบราณ ที่มองความเกี่ยวข้องเชื่อมโยงอย่างแยกกันไม่ออกของพลังชีวิตส่วนต่างๆ ดังที่ได้อธิบายมาแล้วก่อนหน้านี้

หากจะมองสุขภาพในทางร่างกาย ตามศาสตร์การแพทย์ตะวันตกจะเชื่อว่าอาการเจ็บป่วยเกิดขึ้นจากเชื้อโรค คือเชื้อจุลินทรีย์หรือเชื้อไวรัส การรักษาโรคซึ่งเกิดจากการติดเชื้อหรืออาการอักเสบต่างๆ จึงเป็นการใช้ยาไปฆ่าเชื้อจุลินทรีย์หรือเชื้อไวรัสโดยตรง หากเป็นพวกโรคไม่มีเชื้อ เช่น หลอดเลือดอุดตัน หรือความดัน ก็ใช้เทคโนโลยีทางการแพทย์ตะวันตกในการจัดการรักษา แต่เอกสารของสำนักงานคณะกรรมการประเมินเทคโนโลยี (Technology Assessment Board) ของรัฐสภาสหรัฐอเมริกาได้ระบุว่า สาเหตุของการหายจากโรคที่เกิดจากเทคโนโลยีทางการแพทย์ มีไม่ถึง 20% นอกนั้นหายเพราะสาเหตุอื่น เช่น หายเอง หายเพราะความเชื่อหรือศรัทธา หรือเพราะได้รับความสนใจมีคนเอาใจใส่ดูแล ซึ่งเป็นสาเหตุทางจิตใจเสียส่วนใหญ่ แต่แน่นอนว่าถ้าอาการป่วยรุนแรงหรือฉุกเฉินแบบที่เป็นอันตรายถึงชีวิตหากรักษาไม่ทันท่วงที อย่างเช่นไส้ติ่งอับเสบหรือกระเพาะทะลุ การผ่าตัดย่อมเป็นการรักษาที่ดีที่สุด ซึ่งถือเป็นส่วนที่อยู่ใน 20% ที่เทคโนโลยีทางการแพทย์สามารถช่วยรักษาได้ แต่ก็เป็นลักษณะการรักษาเฉพาะจุด หรือแบบแยกส่วน

ในศาสตร์การแพทย์ของจีน การรักษาโรคติดเชื้อหรืออาการอักเสบจะเป็นการระดมพลังชีวิตหรือพลังชี่ ซึ่งเป็นพละกำลังที่ซ่อนอยู่ในร่างกาย ให้ไปปรับสมดุลการทำงานของระบบอวัยวะต่างๆ ในร่างกาย โดยเฉพาะระบบภูมิต้านทานที่เสียสมดุลไปจนปรากฏเป็นความป่วยไข้ขึ้นมา เพื่อนำไปต่อสู้เอาชนะเชื้อโรคเหล่านั้น ดังจะเห็นได้ว่าศูนย์พลังของชี่ในร่างกายก็เกี่ยวข้องกับตำแหน่งของต่อมไร้ท่อสำคัญๆ ที่ผลิตฮอร์โมนที่จำเป็นสำหรับการดูแลรักษาสุขภาพของร่างกายด้วยเช่นกัน

เนื่องจากโดยธรรมชาติ ชี่ของสิ่งหนึ่งจะถูกดึงและถูกดูดจากชี่ของสิ่งอื่นๆ รอบตัวอยู่เสมอ ชี่ทุกชนิดจึงต้องพยายามรักษาและปรับสมดุลของตัวเองอยู่ตลอดเวลาตามธรรมชาติ เนื่องจากจักรวาลและโลกเคลื่อนไหวอยู่ตลอดเวลา ทำให้กระแสชี่ของทุกสิ่งทุกอย่างมีการเปลี่ยนถ่ายจากที่หนึ่งไปสู่อีกที่หนึ่งตลอดเวลาด้วย ตรงไหนพร่อง ชี่อื่นก็จะไหลเข้ามาแทนที่ ตรงไหนล้น ชี่ส่วนที่เกินก็จะกระจายตัวออกไปแทรกรวมกับชี่อื่นที่อยู่รอบๆ เมื่อใดที่ชี่ในธรรมชาติเกิดเสียสมดุล ธรรมชาติก็จะหาวิธีการปรับเพื่อให้ชี่กลับสู่สมดุล ปรากฎเป็นการเปลี่ยนแปลงของฤดูกาล ฝนตก ฟ้าร้อง ฯลฯ หากเกิดการเสียสมดุลของธรรมชาติยิ่งมาก อย่างการที่มนุษย์ได้เผาเชื้อเพลิงจากฟอสซิลอย่างมหาศาลเพื่อใช้เป็นพลังงานขับเคลื่อนสังคมอุตสาหกรรม จนทำให้เกิดภาวะโลกร้อนอย่างที่เป็นอยู่ ธรรมชาติก็จะหาวิธีการปรับเพื่อให้ชี่กลับสู่สมดุล เกิดผลเป็นความแปรปรวนของสภาพภูมิอากาศทั่วโลก เมื่อมีการเสียสมดุลยิ่งมาก ระดับการเปลี่ยนแปลงก็จะยิ่งมากขึ้นตามไปด้วย จึงปรากฏเป็นพิบัติภัยทางธรรมชาติที่รุนแรงมากขึ้นทั่วโลกอย่างที่เป็นอยู่

ชีวิตมนุษย์ก็เป็นส่วนหนึ่งในปรากฏการณ์ปรับสมดุลของธรรมชาตินี้ กระแสชี่ที่ไหลเวียนในเส้นชี่ทั่วร่างกายมีการแปรเปลี่ยนตามพลังแปรเปลี่ยนของดวงอาทิตย์ ดวงจันทร์ และดวงดาวต่างๆ เช่นกัน ดังที่แรงดึงดูดของดวงจันทร์สามารถมีอิทธิพลก่อให้เกิดน้ำขึ้นน้ำลงบนโลก ร่างกายของคนเราซึ่งประกอบด้วยน้ำถึง 70% ก็ย่อมต้องได้รับอิทธิพลในทำนองเดียวกันด้วย แรงดึงดูดของดวงจันทร์ทำให้ชี่ในเส้นชี่เพิ่มขึ้น มีผลไปกระตุ้นให้ระบบต่างๆ ในร่างกายทำงานมากขึ้น ร่างกายก็ต้องพยายามปรับให้ระบบต่างๆ กลับสู่สมดุล เวลาที่พายุรังสีสุริยะจากดวงอาทิตย์มีความรุนแรง จะรบกวนสัญญาณวิทยุโทรทัศน์บนโลก คลื่นสัญญาณเหล่านี้เป็นคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าคล้ายคลื่นของพลังชี่ รังสีสุริยะจึงมีผลกับชี่ในร่างกายเช่นกัน การเปลี่ยนฤดูกาลก็มีผลกับการทำงานของชี่ด้วย คนเราจึงมักเป็นหวัดไม่สบายในช่วงที่มีการเปลี่ยนฤดูกาล เพราะชี่ภายในร่างกายเสียสมดุลจากการแปรเปลี่ยนของชี่ธรรมชาติภายนอก หรือแม้แต่อารมณ์ของคนเราก็มีผลต่อความสมดุลของชี่ในร่างกายด้วย


ผลของพลังชี่ที่เห็นได้ผ่านผลึกน้ำ

กลับสู่ด้านบน

เป็นที่ยอมรับกันในหมู่นักวิทยาศาสตร์ทั่วโลกว่า น้ำ (H2O) ที่มีโครงสร้างโมเลกุลประกอบด้วยไฮโดรเจน 2 อะตอมและอ๊อกซิเจน 1 อะตอม มีความอ่อนไหวมากเป็นพิเศษต่อพลังงานแม่เหล็กจากภายนอก เพราะในนิวเคลียสของออกซิเจนอะตอมมีความเป็นกลางไม่มีปฎิกิริยาแม่เหล็ก จึงไม่ตอบสนองต่อแรงแม่เหล็กภายนอก เป็นผลให้โปรตอนตัวเดียวในนิวเคลียสของไฮโดนเจนทั้ง 2 อะตอมสามารถคล้อยตามแรงแม่เหล็กภายนอกได้อย่างง่ายดาย เนื่องจากพลังชี่ก็มีคุณสมบัติเป็นคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า ดร.มาซารุ อิโมโตะ (Dr. Masaru Emoto) นักวิทยาศาสตร์ด้านน้ำชาวญี่ปุ่น จึงสนใจศึกษาถึงผลของพลังชี่ หรือที่เรียกในภาษาญี่ปุ่นว่า ฮาโดะ (Hado) ที่มีต่อน้ำ ซึ่งเป็นองค์ประกอบพื้นฐานสำคัญของร่างกาย เขาได้ถ่ายภาพผลึกของน้ำจากที่ต่างๆ ซึ่งได้รับพลังชี่จากธรรมชาติแวดล้อม รวมทั้งผลึกของน้ำก่อนและหลังได้รับพลังชี่ลักษณะต่างๆ ผลการทดลองทำให้เขาต้องตะลึงและมหัศจรรย์ใจกับพลังการบำบัดของชี่ที่ปรากฏให้เห็นในผลึกของน้ำ ผลึกของน้ำที่ได้รับพลังชี่ด้านบวกจะมีรูปทรงเป็นลวดลายสมมาตรสวยงามคล้ายลวดลายของเกร็ดหิมะ (snow flake) ส่วนน้ำที่ได้รับพลังชี่ด้านลบจะมีลวดลายที่ไม่สมส่วนไม่เป็นรูปร่างและไม่น่าดูนัก ในการศึกษาได้มีการทดลองใช้พลังชี่ลักษณะต่างๆ เช่น ชี่จากเสียงดนตรีประเภทต่างๆ ชี่ของอารมณ์ที่ออกมากับคำพูดที่มีความหมายทั้งด้านบวกและลบ หรือกระทั้งเขียนคำที่มีความหมายทั้งบวกและลบไปปะไว้บนขวดน้ำ หรือใช้รูปภาพต่างๆ โดยนำขวดน้ำตั้งไว้บนภาพ เป็นต้น ผลจากการทดลองพบว่า ฮาโดะหรือชี่ทุกลักษณะมีผลกับน้ำ และสามารถเห็นผลความเปลี่ยนแปลงได้ในช่วงเวลาข้ามคืน (เพราะการทดลองจะปล่อยน้ำไว้ภายใต้สภาพเงื่อนไขที่ทดลองข้ามคืน)

ดร.อิโมโตะ ได้สรุปผลจากการทดลองของเขาว่า น้ำมีพลังชีวิต หรือพลังชี่ และน้ำที่มีพลังชี่ด้านบวกหรือมีภูมิต้านทานที่ดี จะมีโครงสร้างเป็นทรง 6 เหลี่ยม (hexagonal structure) ที่มีความสมมาตร ซึ่งเป็นรูปทรงพื้นฐานที่น้ำทุกประเภทพยายามจะปรับตัวให้เป็นหรือให้เกิดขึ้นเมื่อได้รับพลังชี่ด้านบวก น้ำที่ได้รับพลังชี่ด้านลบยิ่งมาก ก็จะยิ่งไม่เป็นรูปทรง หรือยิ่งไม่สมมาตร และไม่น่าดู หรือดูน่าเกลียด

หากพลังชี่ลักษณะต่างๆ แม้แต่น้ำเสียงจากคำพูดที่เราใช้ในชีวิตประจำวันโดยไม่ได้คิดเป็นประจำ ก็สามารถทำให้เกิดความเปลี่ยนแปลงกับน้ำได้มากมายและแจ่มชัด ตามที่เห็นจากผลการศึกษาทดลองกับผลึกน้ำเหล่านี้ และในเมื่อร่างกายของคนเราประกอบด้วยน้ำถึง 70% หรือไข่ที่ปฏิสนธิแล้วและเริ่มแบ่งตัวเจริญเติบโตพัฒนาเป็นทารกในครรภ์ประกอบด้วยน้ำถึง 95% ก็ลองคิดดูกันเอาเองว่าพลังชี่ต่างๆ ที่อยู่รอบและในตัวของเราจะมีผลต่อสุขภาพของเรา หรือต่อการเจริญเติบโตของทารกในครรภ์ ได้อย่างไรบ้างและมากน้อยขนาดไหน พวกเราคงเคยได้ยินเรื่องการทดลองเปิดเพลงให้ต้นไม้ฟัง ถ้าเปิดเพลงเย็นๆ เบาๆ ฟังสบายๆ ต้นไม้จะโตเร็วและแข็งแรง ไม่มีโรคพืชหรือแมลงมารบกวน แต่ถ้าเปิดเพลงที่เร็วและร้อนแรงมากๆ ต้นไม้ก็จะโตช้าและมีโรคมากกว่าต้นไม้ที่ไม่ได้ฟังเพลง ก่อนหน้านี้ไม่มีใครรู้สาเหตุว่าเพราะอะไรจึงเป็นเช่นนั้น แต่การทดลองของ ดร.อิโมโตะ ได้ช่วยให้คำตอบว่าคงเป็นเพราะผลจากพลังชี่ของเสียงเพลงที่เปิดให้ต้นไม้ฟัง ที่เป็นทั้งชี่ด้านบวกและด้านลบสำหรับต้นไม้ ได้ไปเปลี่ยนโครงสร้างรูปทรงของน้ำภายในต้นพืช และส่งผลต่อสุขภาพของต้นพืชนั้นเอง


พลังและเลือด

กลับสู่ด้านบน

ตามศาสตร์การแพทย์แผนจีน พลังชี่ในร่างกายมีความสัมพันธ์อย่างใกล้ชิดกับการไหลเวียนของเลือดในร่างกาย เลือดที่ไหลเวียนไปตามเส้นเลือดในร่างกายจะทำหน้าที่นำอ๊อกซิเจนและสารอาหารไปหล่อเลี้ยงเซลล์ของอัยวะต่างๆ พร้อมกับรับเอาคาร์บอนไดออกไซด์และของเสียที่เกิดจากการทำงานของเซลล์กลับมาเพื่อขับออกจากร่างกาย ตามหลักการของแพทย์แผนจีน การไหลเวียนของเลือดจะต้องอาศัยพลังชี่เป็นแรงผลักดัน เนื่องจากเลือดมีคุณสมบัติเป็นอิน คือชอบอยู่นิ่งและให้ความชุ่มชื้น ไม่สามารถไหลเวียนได้เอง ส่วนพลังชี่แท้ในร่างกายมีคุณสมบัติเป็นหยาง ชอบเคลื่อนไหวและให้ความอบอุ่น ความสัมพันธ์ของเลือดและพลังชี่ในร่างกายจึงเป็นความสัมพันธ์ของพลังอิน-หยางในระบบการไหลเวียนของเลือดในร่างกายนั่นเอง การแพทย์จีนจึงมีคำกล่าวที่ว่า พลังวิ่งเลือดเดิน พลังนิ่งเลือดหยุด

ถ้าพลังชี่สมบูรณ์ เลือดก็สามารถไหลเวียนไปเลี้ยงส่วนต่างๆ ของร่างกายได้สะดวก ทำให้ร่างกายมีสุขภาพแข็งแรง ในทางกลับกัน ถ้าเลือดพร่อง พลังชี่ก็จะพร่องตามไปด้วย พลังชี่จะเป็นตัวควบคุมเลือดให้ไหลเวียนอยู่ภายในเส้นเลือด ถ้ากระแสพลังชี่ติดขัดถูกคัดขวาง เลือดก็จะไหลเวียนช้าลง มีความข้นและความหนืดมากผิดปกติ จนอาจจับตัวเป็นลิ่มคั่งค้างอยู่ตามส่วนต่างๆ ของร่างกาย ที่การแพทย์จีนเรียกว่า ภาวะเลือดคั่ง ซึ่งไม่เพียงหมายถึงการมีลิ่มเลือดในความหมายของการแพทย์ตะวันตกเพียงอย่างเดียว แต่รวมถึงความผิดปกติต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับระบบการไหลเวียนของเลือดในร่างกาย ส่งผลให้อวัยวะต่างๆ หรือบางส่วนได้รับเลือดหล่อเลี้ยงไม่เพียงพอ จึงทำงานได้ไม่เต็มที่หรือผิดปกติไป นานวันเข้าก็กลายเป็นสาเหตุบั่นทอนสุขภาพ เกิดเป็นโรคภัยไข้เจ็บในที่สุด ด้วยเหตุนี้ภาวะชี่พร่องและเลือดพร่องจึงมักเกิดขึ้นร่วมกัน

ในภาวะที่ร่างกายเสียสมดุลและขาดการพักผ่อน กระแสชี่จะไหลเวียนไม่ดีอย่างที่ควรเป็น อาจช้าหรือติดขัด ทำให้เราเกิดความรู้สึกเมื่อยล้าตามข้อ เริ่มหาว และตาแห้ง เพราะชี่ไม่ได้รับการบำรุง เมื่อระดับของชี่ลดลงเรื่อยๆ ร่างกายจะชดเชยอาการพร่องโดยใช้กล้ามเนื้ออัดฉีดให้ชี่ทำงานมากขึ้น เป็นเหตุให้เกิดความตึงหรือความเครียดเกร็งของกล้ามเนื้อ และก็สามารถช่วยเพิ่มกำลังของชี่ได้เพียงชั่วคราวเท่านั้น ในระยะยาวชี่จะค่อยๆ ลดน้อยลงจนไหลอย่างกระปริดกระปรอย โดยเฉพาะบริเวณส่วนบนของร่างกาย ทำให้สมาธิลดลง เมื่อชี่ไหลเวียนไม่สะดวก ถ่ายเทชี่เสียไม่คล่อง สารพิษในร่างกายที่การแพทย์ปัจจุบันเรียกว่า อนุมูลอิสระ (free radicals) ก็จะเพิ่มขึ้น ทำให้ปวดเมื่อยอ่อนล้ามากขึ้น และเนื่องจากชี่ที่เริ่มเป็นพิษนี้ไหลผ่านไปตามผิวหนังอย่างเฉื่อยชา จึงทำให้เกิดอาการคันและภูมิแพ้ขึ้น ในคัมภีร์เต๋าโบราณของจีนระบุว่า หากชี่กายอ่อนแอ ชี่จิต (อารมณ์) ก็จะอ่อนแอด้วย เมื่อชี่จิตอ่อนแอ ก็ไม่สามารถส่งชี่ไปบำรุงปัญญา ทำให้ชี่ปัญญาไม่มีเรี่ยวแรง จิตวิญญาณ (เสิน) ก็ไม่สามารถเกิดเพิ่มได้ ดวงวิญญาณหรือกายละเอียดก็จะไม่ได้รับการขัดเกลาและพัฒนาให้สูงขึ้น

พฤติกรรมเล็กๆ น้อยๆ ในชีวิตประจำวันที่ดูไม่น่าจะสลักสำคัญอะไรมากนัก สามารถก่อให้เกิดผลเสียมากมายต่อสุขภาพและชีวิตอย่างที่เราคาดไม่ถึง เช่น การนั่งในท่าเดียวนานเกินไป ทำให้ลำตัวส่วนล่างหรือกล้ามเนื้อและอวัยวะบริเวณท้องน้อยไม่ได้เคลื่อนไหว ทำให้การไหลเวียนของชี่ไตและเลือดติดขัด ถ้านั่งในลักษณะเดิมๆ นานๆ เป็นประจำ เช่น นั่งทำงานนานเพราะต้องการให้ได้งานมากๆ หรือเล่นเกมจนเพลิน จะทำให้ชี่ไตไหลเวียนไม่สะดวก ชี่ใหม่ไปชำระชี่เก่าได้ไม่ดี ไตก็จะเริ่มอ่อนแอ เมื่อชี่ไตพร่อง ไตจะปรับสมดุลชี่โดยไปดึงชี่จากอวัยวะใกล้เคียงมา ทำให้ชี่ของอวัยวะเหล่านั้นลดลงตามไปด้วย และก็ต้องปรับสมดุลด้วยการไปดึงชี่จากอวัยะใกล้เคียงอื่นๆ เป็นเช่นนี้ต่อเนื่องกันไปเป็นลูกโซ่จนกว่าทั้งระบบจะเข้าสู่สมดุลใหม่อีกครั้ง และเนื่องจากเส้นชี่ของไตมีปฏิสัมพันธ์กับอารมณ์กลัว เมื่อชี่ไตพร่อง ก็ส่งผลให้อารมณ์ไม่มั่นคง จิตใจเกิดความกังวลหวาดกลัวง่าย บางครั้งวิตกหวั่นไหวแม้ในเรื่องเล็กๆ หรือกับเรื่องไม่เป็นเรื่อง เมื่อจิตใจกังวลกับเรื่องไม่เป็นเรื่องมากเกินไป จะส่งผลต่อประสิทธิภาพการทำงานของสมองหรือการใช้สติปัญญา ขาดสมาธิในการทำงานและทบทวนขัดเกลาจิตใจ บั่นทอนการพัฒนาจิตวิญญาณของตัวเอง ในทางกลับกัน การเก็บสะสมความกลัวความวิตกกังวลไว้จนจมลึกอยู่ในระดับจิตใต้สำนึก ที่เรียกว่ากลัวอยู่ลึกๆ ก็บั่นทอนสุขภาพได้เช่นกัน คนที่เคยประสบอุบัติเหตุรถยนต์และไม่จัดการกับความกลัวการใช้รถใช้ถนนที่เกิดขึ้นเพราะอุบัติเหตุนั้น ผลของอารมณ์กลัวนี้จะปรากฏเป็นอาการป่วยทางร่างกายให้เห็นได้ภายในเวลาสองปี

ดังนั้นจึงเห็นได้ว่า แม้เพียงพฤติกรรมหรืออารมณ์เล็กๆ น้อยๆ ซึ่งผิดเพี้ยนไปจากความเป็นปกติตามธรรมชาติ โดยเฉพาะพฤติกรรมตามวิถีการดำเนินชีวิตของคนในยุคปัจจุบัน เช่น นอนดึก ตื่นสาย อาหารเช้าไม่มีหรือทานแค่ขนมปังกับกาแฟ ระหว่างวันดื่มน้ำน้อย อั้นปัสสาวะ เครียดกับงาน ฯลฯ พฤติกรรมเหล่านี้มักเกิดขึ้นจนกลายเป็นความเคยชิน และความเคยชินเล็กๆ น้อยๆ ที่ถูกละเลยเหล่านี้ก็ส่งผลกระทบต่อคุณภาพชีวิตช่วงที่เหลืออยู่ได้โดยที่เราไม่ทันรู้ตัว และส่วนใหญ่เมื่อเริ่มรู้ตัวเพราะอาการเริ่มปรากฏ แต่ยังไม่รุนแรง ก็จะยังไม่ใส่ใจ เพราะ(อ้างว่า)ไม่มีเวลา กว่าจะรู้ตัวอีกทีก็เมื่อสุขภาพร่างกายเข้าสู่ขั้นวิกฤต หรือสายเกินแก้เสียแล้ว ดังที่มักได้ยินกันบ่อยขึ้นโดยเฉพาะระยะหลังๆ ว่า คนที่เป็นมะเร็งส่วนใหญ่รู้ตัวหรือตรวจพบว่าเป็นมะเร็งก็เมื่อเป็นถึงขั้นที่ 3 หรือเข้าขั้นที่ 4 แล้ว หรือที่เคยมีข่าวว่าคนอายุราว 30-40 ที่ร่างกายดูแข็งแรงไม่เจ็บไข้ นั่งทำงานอยู่ในที่ทำงานดีๆ มาทั้งวัน พอตกตอนเย็น อยู่ๆ ก็ฟุบไปกับโต๊ะทำงานหัวใจวายตาย เป็นต้น

แต่ถ้าร่างกายมีสุขภาวะที่สมบูรณ์ คือพลังชี่สมดุลและเต็มเปี่ยมทั่วร่างกาย เราจะรู้สึกสงบผ่อนคลาย ระบบต่อมไร้ท่อต่างๆ จะทำงานอย่างมีประสิทธิภาพ เพิ่มการผลิตฮอร์โมนที่เป็นประโยชน์และลดการผลิตฮอร์โมนที่เป็นโทษต่อสุขภาพนานาชนิด และทำงานอย่างสมดุล ทำให้ผิวพรรณเกลี้ยงเกลาสดใส ใบหน้าผุดผ่องดูอ่อนวัย เจริญอาหาร รับประทานอาหารมีรสชาด การย่อยอาหารและการดูดซึมสารอาหารดี มีสารอาหารที่จำเป็นไปบำรุงร่างกายเพียงพอ มีกำลังวังชา เสียงดังกังวาน ประสิทธิภาพการหายใจดี ระดับอ๊อกซิเจนในเลือดเพิ่มสูงขึ้น ทำให้ริมฝีปากมีสีแดงสด จิตใจแช่มชื่นเบิกบาน เห็นโลกสดใส รับความรู้สึกดี เคลื่อนไหวอย่างโปร่งเบา แขนขาและเอวแข็งแรง เดินเหินมีกำลัง ไม่เหนื่อยหอบ น้ำจากไตเพียงพอ ทำให้ดวงตาแจ่มใส ลูกตาแข็งแรง นัยน์ตามีสีดำและขาวแบ่งแยกกันอย่างชัดเจน ปัญญาเฉียบคม แม่นยำ สามารถทำสิ่งต่างๆ ได้ดีโดยไม่ต้องฝืนหรือใช้ความพยายาม เป็นคนร่าเริง เข้มแข็ง เต็มไปด้วยพลังชีวิต ร่างกายจะดูแลตัวเองอย่างดีจนเจ้าตัวไม่ต้องรับรู้การทำงานตามปกติของร่างกาย และที่ภาวะนี้เราจะพบว่าชีวิตของเรามีประสิทธิภาพสูง เจ็บป่วยน้อยมาก สามารถใช้สติปัญญาได้อย่างต่อเนื่อง มีสมาธิเพิ่มขึ้น ความจำดีขึ้น เรียนรู้ได้รวดเร็ว และสร้างสรรค์งานได้อย่างลื่นไหลมีคุณภาพ

รวบรวมและเรียบเรียง – ทัศนีย์ เศรษฐ์บุญสร้าง
tatsanee@NawaChiOne.org
? สงวนลิขสิทธิ์

กลับสู่ด้านบน

พลังชีวิตกับสุขภาพ ? บทที่ 2: พลังชีวิตมาจากไหน


บทความ: พลังชีวิตกับสุขภาพ

สารบัญ

ดาวน์โหลด PDF

————————————————————————————————

พลังชีวิตมาจากไหน

คัมภีร์อี้จิง ซึ่งเป็นพื้นฐานของการแพทย์จีนแผนโบราณและตำราทางชี่กงถือว่า ที่มาของพลังชีวิต หรือพลังชี่ที่สัมพันธ์กับคนเรามากจาก 2 แหล่งหลักๆ คือ

1.พลังชีวิตก่อนกำเนิด หรือ ชี่ดั้งเดิม เป็นพลังธรรมชาติพื้นฐานของชีวิตที่เราได้มาจากพ่อ (พลังหยาง) รวมกับพลังจากแม่ (พลังอิน) ระหว่างที่ปฏิสนธิและเติบโตอยู่ในครรภ์มารดา ภาษาจีนเรียกว่า เจินชี่ หรือ จิงชี่ บางตำราก็เรียกว่า หยวนชี่ หรือ เซียนเทียนชี่ แปลว่าชี่ก่อนฟ้า หมายถึงพลังชีวิตต้นทุนที่ติดตัวเรามาตั้งแต่เกิด และมีคุณภาพแตกต่างกันไปในแต่ละคน ขึ้นกับปัจจัยทางพันธุกรรม หรือชี่บรรพบุรุษ ของทั้งฝ่ายพ่อและฝ่ายแม่ ถ้าร่างกายของพ่อแม่แข็งแรง?พลังดั้งเดิมของลูกที่คลอดออกมาก็ย่อมแข็งแรงสมบูรณ์ อวัยวะครบ 32 แต่หากร่างกายของพ่อแม่อ่อนแอ มีโรคที่เป็นกรรมพันธุ์ พลังดั้งเดิมของลูกก็มักจะไม่สมบูรณ์ เพราะอาจติดโรคของพ่อแม่มาได้ ในชี่กงสายศาสนายังเชื่อว่า ชี่ดั้งเดิมนี้ขึ้นอยู่กับบารมีทางจิตวิญญาณ หรือบุญกรรมเก่าจากชาติภพก่อนๆ ของเจ้าตัวอีกด้วย

พลังชีวิตก่อนกำเนิด หรือพลังชี่ดั้งเดิม จะเป็นชี่พื้นฐานที่บ่งชี้คุณภาพชีวิตและสุขภาพของเราไปตลอดชีวิต ไม่สามารถแก้ไขเปลี่ยนแปลงปริมาณหรือสร้างเพิ่มเติมขึ้นได้ เพราะการรับและพัฒนาพลังชีวิตก่อนกำเนิดนี้จะจบสิ้นลงเมื่อสายรก หรือสายที่เชื่อมต่อชีวิตของเรากับแม่ระหว่างที่อยู่ในครรภ์ ถูกตัดขาดหลังจากคลอดออกมาสู่โลกภายนอก ชี่ดั้งเดิมนี้มีแต่จะถูกใช้หมดไปเรื่อยๆ ตามอายุ คนเราจะแก่และอ่อนแอลงไปตามการลดน้อยลงของชี่ดั้งเดิม วันใดที่ชี่ดั้งเดิมหมด ก็หมายความว่าพลังชีวิตของเราก็หมดลงด้วย ซึ่งหมายถึงการสิ้นอายุขัยนั่นเอง ดังนั้นคนที่ใช้พลังชีวิตดั้งเดิมอย่างฟุ่มเฟือยโดยไม่ระมัดระวัง หรือด้วยความรู้เท่าไม่ถึงการ ก็เท่ากับเป็นการผลาญชี่ดั้งเดิมที่มีอยู่จำกัดให้หมดไปเร็วยิ่งขึ้น เป้าหมายของสุขภาพตามหลักการแพทย์จีนโบราณจึงหมายถึง การออมและถนอมชี่ดั้งเดิมนี้ให้คงอยู่มากและนานที่สุดเท่าที่จะทำได้

ศูนย์พลังของชี่ดั้งเดิมจะอยู่ที่ไตและบริเวณท้องน้อย ที่เรียกว่า ?ตันเถียนล่าง? (เซี่ยตันเถียน) ซึ่งจะเกี่ยวข้องโดยตรงกับสารจิง ซึ่งเป็นสารจำเป็นเพื่อหล่อเลี้ยงชีวิตที่เก็บอยู่ในไตทั้ง 2 ข้าง ชี่ดั้งเดิมนี้จัดเป็นชี่ฝ่ายเย็น หรือพลังอิน และถือเป็น ?ชี่น้ำ? (สุ่ยชี่) เก็บสะสมไว้ในไต

2.พลังชีวิตหลังกำเนิด หรือชี่หลังฟ้า ภาษาจีนเรียกว่า โฮ่ว เทียนชี่ ชี่ประเภทนี้เป็นชี่ที่เรารับเข้าสู่ร่างกายจากภายนอกหลังจากสายชีวิตที่เชื่อมต่อเรากับมารดาระหว่างที่อยู่ในครรภ์ถูกตัดขาดหลังจากคลอด พลังชีวิตหลังกำเนิดจะไปช่วยเสริมพละกำลังให้กับพลังชี่ก่อนกำเนิดในร่างกาย ซึ่งมีที่มาจาก 3 แหล่งหลัก คือ

อากาศที่เราหายใจ เป็นพลังชีวิตจากฟ้า (ชี่ฟ้า)? คนเราเมื่อคลอดออกจากครรภ์มารดา จะถูกตัดสายรกที่เชื่อมต่อเพื่อรับพลังชีวิตจากแม่ให้ขาด กลายเป็นร่างที่เป็นอิสระ จากนั้นเราก็จะต้องเริ่มหายใจรับเอาอากาศภายนอกเข้าสู่ร่างกายด้วยตัวเองตลอดเวลาตั้งแต่บัดนั้นจนถึงวันตาย? มนุษย์เรารับพลังชีวิตจากอากาศในธรรมชาติรอบตัวผ่านการหายใจของปอด แต่จะสามารถรับได้มากน้อยแตกต่างกัน ขึ้นกับหลายปัจจัยซึ่งรวมถึง ขนาดของปอด?วิธีการหายใจลึกหรือตื้น?ยาวหรือสั้น และคุณภาพของอากาศที่หายใจเข้าไป ฯลฯ ถ้าสภาพแวดล้อมในชีวิตประจำวันของเราดี ได้รับอากาศบริสุทธิ์ ร่างกายก็จะได้พลังชี่ที่ดี ช่วยให้ร่างกายเติบโตแบบมีสุขภาพที่แข็งแรง แต่ถ้าอากาศแวดล้อมมีมลพิษ พลังชี่ที่ดีในอากาศก็ย่อมน้อย เมื่อสูดรับอากาศไม่บริสุทธิ์เหล่านั้นเข้าสู่ร่างกาย ก็จะส่งผลต่อสุขภาพได้ การฝึกหายใจให้เป็นระบบ หายใจให้เต็มปอด ด้วยอากาศบริสุทธิ์ จึงสามารถเพิ่มพลังชีวิตหลังกำเนิดให้ร่างกายได้

อาหารที่เราทาน เป็นพลังชีวิตจากดิน (ชี่ดิน) เมื่อคนเราคลอดออกจากครรภ์มารดาและมีชีวิตอยู่รอดหายใจเองได้แล้ว ก็ต้องทานอาหารเองด้วย เพราะไม่มีสายรกที่ส่งสารอาหารจากร่างกายของแม่มาให้อีกต่อไป อาหารที่เราทานในที่นี้ จะหมายถึงทุกสิ่งที่เรารับเข้าสู่ร่างกายทางปากและผ่านระบบการย่อยของร่างกาย ตั้งแต่ในปากไปถึงกระเพาะอาหารและม้าม ซึ่งรวมถึง น้ำ อาหาร พืช ผัก ผลไม้ เนื้อสัตว์ และยารักษาโรค ฯลฯ มนุษย์รับพลังธรรมชาติชนิดนี้ได้มากน้อยแตกต่างกัน ขึ้นกับหลายปัจจัย?รวมถึงประสิทธิภาพของระบบการย่อยและการดูดซึมอาหารของร่างกายแต่ละคน?ความครบถ้วนของสารอาหารและคุณภาพของอาหารหรือระดับพลังชีวิตในอาหารที่รับประทานเข้าไป?ฯลฯ

อาหารต่างๆ ทั้งพืช ผัก ผลไม้ เนื้อสัตว์ ล้วนมีพลังชีวิตหรือปราณของตัวเองเช่นกัน พืชและสัตว์ที่เติบโตจากอาหารและสภาพแวดล้อมที่มีพลังชีวิตที่ดี ก็สามารถส่งต่อพลังชีวิตที่เก็บสะสมไว้มาให้เราได้ แก่นแท้ของอาหารจะอยู่ที่พลังชีวิตหรือปราณในอาหาร แต่พลังชีวิตในอาหารไม่สามารถตรวจวัดได้ด้วยหลอดทดลอง จึงเป็นเรื่องที่คนเรายังไม่อาจเข้าใจได้ด้วยระดับความรู้เชิงโภชนาการในปัจจุบัน สารอาหารต่างๆ ในเชิงโภชนาการ ไม่ว่าจะเป็นแคลอรี่ของคาร์โบไฮเครต หรือโปรตีน หรือแม้แต่วิตามิน ตามหลักการนี้ล้วนถือเป็นกากที่แยกพลังชีวิตออกไปแล้ว สารอาหารต่างๆ จะไปบำรุงเลี้ยงกายภาพของร่างกาย แต่พลังชีวิตหรือปราณในอาหารจะไปบำรุงเลี้ยงจิตใจ และมีความสำคัญอย่างยิ่งต่อคุณภาพชีวิต เพราะจิตเป็นตัวสั่งงานร่างกาย ไม่ใช่ร่างกายสั่งงานจิต ตามคำกล่าวที่ว่า ?จิตเป็นนาย กายเป็นบ่าว?

อาหารที่มีพลังชีวิตมาก คือ อาหารที่คงความเป็นธรรมชาติ (ไม่สำเร็จรูป) มีรสและกลิ่นที่แท้จริงของอาหารตามธรรมชาติอยู่มาก ผลิตตามฤดูกาลหรือเป็นผลผลิตจากธรรมชาติ และมีความสดใหม่ อาหารแต่ละชนิดจะมีระยะเวลาที่พลังชีวิตคงอยู่สั้นยาวแตกต่างกัน สังเกตได้จากเวลาการเน่าเสียตามธรรมชาติ การที่ทำให้เป็นของแห้งแล้วสามารถเก็บได้นาน เนื่องจากอาศัยพลังชีวิตของเกลือหรือการไม่มีความชื้นช่วยให้อาหารไม่เน่าเสีย

การอาศัยอาหารช่วยเสริมพลังชีวิตจะมีข้อจำกัดสำคัญสองประการ ประการแรก เราไม่สามารถดื่มกินอาหารเข้าสู่ร่างกายครั้งละมากๆ เพราะกระเพาะอาหารและลำไส้มีขีดจำกัดในการดูดซึม ทั้งยังเป็นอันตรายต่อระบบการทำงานของอวัยวะเหล่านี้ด้วย คนที่มีระบบการทำงานของกระเพาะอาหารและลำไส้ผิดปกติ เมื่อกินอาหารบำรุงราคาแพงๆ เข้าไป ไม่เพียงร่างกายจะไม่สามารถดูดซึมไปใช้ประโยชน์ได้ทั้งหมดแล้ว แต่ยังอาจเกิดผลเสียเป็นอาการร้อนในได้อีกด้วย ประการที่สอง ในปัจจุบันอาหารทั่วไปส่วนใหญ่ไม่ได้ผลิตตามหลักหรือวิธีการตามธรมชาติ มีการใช้สารเคมีที่ไปทำลายพลังชีวิต ทำให้หลงเหลือพลังชีวิตอยู่น้อย โดยเฉพาะคนเมืองที่นิยมกิน ?อาหารขยะ? ราคาแพง นอกจากจะให้พลังชีวิตต่ำแล้ว ยังไม่เป็นประโยชน์ต่อสุขภาพนัก เพราะมักปนเปื้อนสารเคมีที่เป็นอันตรายต่อสุขภาพจากกระบวนการผลิต ตั้งแต่การปลูกพืชหรือเลี้ยงสัตว์ที่ใช้สารเคมีผสมเป็นอาหาร หรือเป็นยาเพื่อป้องกันและกำจัดโรค รวมทั้งเสริมฮอร์โมนสังเคราะห์เพื่อเร่งการเจริญเติบโต ไปจนถึงการแปรรูปที่ใช้สารเคมีเพื่อถนอมอาหารให้ดูสวยงามและ/หรือให้เก็บได้นาน ซึ่งล้วนเป็นการทำลายคุณภาพของสารอาหารและพลังชีวิตตามธรรมชาติของอาหาร (ชี่ดิน) ให้เหลือน้อยลง ดังนั้น เราต้องรู้จักกินดี เพื่อให้ได้พลังชี่จากอาหาร การกินดีในที่นี้ไม่ใช่กินของแพง แต่กินของดีที่มีพลังชีวิต มีคุณค่าอาหารที่เป็นประโยชน์กับร่างกายอย่างแท้จริง คือการรู้จักเลือกกินอย่างฉลาด นั่นเอง

ธรรมชาติแวดล้อม เป็นพลังชี่ดั้งเดิมของทุกสิ่งในธรรมชาติ หรือหยวนชี่ของจักรวาล (ชี่สวรรค์) วิชาชี่กงในอดีตเรียกพลังนี้ว่า ?พลังชี่แท้? (เจินชี่ หรือ จิงชี่) แต่ยุคปัจจุบันจะเรียกพลังนี้ว่า ?พลังชี่ดั้งเดิม? (หยวนชี่) ประเทศตะวันตกส่วนใหญ่จะเรียกพลังนี้ว่า ?พลังจักรวาล? (Primordial Energy) ทั้งบนโลกและทั่วจักรวาลมีพลังงานที่เรามองไม่เห็นนี้อยู่ทั่วไปทุกหนแห่ง มากน้อยต่างกันไปตามสถานที่ ซึ่งวิทยาศาสตร์ปัจจุบันพิสูจน์พบว่าพลังเหล่านี้บางส่วนมีลักษณะเป็นคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า บางแห่งที่เป็นจุดรวมหรือจุดตัด (Node) ของคลื่นสนามพลัง ก็จะมีพลังงานนี้อยู่หนาแน่น พลังงานนี้มีผลต่อทุกสรรพสิ่งบนโลกและทั่วทั้งจักรวาล เราสามารถรับพลังงานนี้ได้จากหลายทาง ทั้งจากดวงอาทิตย์ ดวงจันทร์ ทะเล แม่น้ำ ภูเขา อากาศ ก้อนหินต้นไม้?ฯลฯ? มนุษย์เรามีประตูสำหรับรับพลังงานนี้ หรือที่เรียกกันว่าจักระ รวมทั้งสิ้น 360 จุด ซึ่งเป็นจักระหลัก 36 จักระ??อย่างไรก็ตามจักระเหล่านี้มักปิดอยู่?ทำให้รับพลังงานดั้งเดิมของจักรวาลไม่ได้??การฝึกชี่จะช่วยเปิดจักระเพื่อสามารถรับพลังที่ดีจากจักรวาลเข้าสู่ร่างกาย และขับพลังที่ไม่ดีออกจากร่างกายได้

พลังชีวิตหลังกำเนิดนี้สามารถสร้างเสริมและชดเชยส่วนที่ใช้ไปได้ ดังนั้นชี่หลังกำเนิดจึงมีความสำคัญอย่างยิ่งต่อคุณภาพชีวิตของเรา เพราะหากเราสามารถสร้างเสริมเพิ่มพลังชี่หลังกำเนิดที่มีคุณภาพและประสิทธิภาพให้กับร่างกาย รวมทั้งสามารถชดเชยส่วนที่สูญเสียไปในการดำเนินชีวิตได้ยิ่งมาก เราก็จะสามารถรักษาระดับพลังชี่ดั้งเดิมไว้ได้ยิ่งมากด้วย ดังนั้น พลังชี่หลังกำเนิดจึงเป็นปัจจัยที่สามารถกำหนดคุณภาพชีวิตและสุขภาวะของเราได้ เปรียบได้กับเป็นหางเสือที่จะช่วยให้เราสามารถเลือกทิศทางคุณภาพชีวิตของเราเองได้นั่นเอง

ศูนย์พลังของชี่หลังกำเนิดจะอยู่บริเวณกลางหน้าอกที่เรียกว่า ?ตันเถียนกลาง? (จงตันเถียน) จัดเป็นชี่ฝ่ายร้อน หรือพลังหยาง และถือเป็นชี่ไฟ (ฮั่วชี่) ส่วนที่เหลือจากการไปหล่อเลี้ยงอวัยวะภายในจะถูกนำไปเก็บสะสมไว้ในไต และจะถูกนำมาใช้อีกเมื่อร่างกายต้องการ จึงต้องมีการสะสมให้มีความเพียงพอสำหรับการใช้งานเมื่อต้องการ

ทั้งพลังชี่ดั้งเดิมและพลังชี่หลังกำเนิด ไม่ได้ต่างฝ่ายต่างอยู่แยกขาดจากกันในร่างกายของเรา ชี่ทั้งสองประเภทจะไหลมาประสานรวมกันเป็นพลังชี่ที่มีประสิทธิภาพ ที่เรียกว่า ?พลังชี่แท้? (เจินชี่ หรือ จิงชี่) ซึ่งเก็บสะสมอยู่ที่ไตและในเส้นชี่พิเศษในร่างกายที่ชื่อว่า ตูม่อ หรือ ต๊กแม๊ะ (เส้นกลางลำตัวด้านหลัง) ที่อยู่ตามแนวกระดูกสันหลัง หรือบริเวณเดียวกับระบบประสาทอัตโนมัติส่วนกลางซิมพาเธติกและพาราซิมพาเธติก ที่ควบคุมการทำงานของอวัยวะสำคัญต่างๆ ภายในร่างกาย ที่เป็นกล้ามเนื้อเรียบซึ่งสมองควบคุมสั่งงานโดยตรงไม่ได้ เช่น หัวใจ ตับ ไต กระเพาะอาหาร ปอด เป็นต้น ระบบพลังชี่ของร่างกายจะค่อยๆ แจกจ่ายพลังชี่ภายในไปตามส่วนต่างๆ ทั่วร่างกายตามที่จำเป็น การแพทย์จีนแผนโบราณเชื่อว่าการจะมีสุขภาพที่ดีต้องถนอมชี่ดั้งเดิมไว้ พร้อมกับสร้างเสริมชี่หลังกำเนิดให้แข็งแรงและเพียงพออยู่เสมอ

พลังชีวิตด้านบวกและด้านลบ

กลับสู่ด้านบน

พลังชีวิตหรือชี่ภายนอกที่ไหลเวียนอยู่รอบๆ ตัวเรานั้น ไม่จำเป็นต้องเข้ากับเราได้เสมอไป หรือมีคุณประโยชน์กับตัวเราไปทั้งหมด แต่ก็ไม่มีชี่ที่ดีหรือชี่ไม่ดี มีเพียงชี่ที่เข้ากับเราได้หรือไม่ได้ พลังชี่มีลักษณะทั้งที่เป็นบวกและลบต่อกันและกัน ชี่ด้านบวกหมายถึงชี่ที่เข้ากับเราได้และให้คุณกับเรา ส่วนพลังชี่ด้านลบก็จะตรงกันข้าม คือเข้ากับเราไม่ได้และให้โทษกับเรา เข้าทำนองเดียวกับอาหารและยา ซึ่งหากเข้ากับร่างกายของเราได้ก็จะเป็นประโยชน์กับการเจริญเติบโตและสุขภาพของเรา แต่หากอาหารและยาชนิดเดียวกันนั้น เข้ากับร่างกายของบางคนไม่ได้ ก็จะทำให้กลายเป็นอาหารพิษหรือยาพิษสำหรับคนผู้นั้นไป ดังนั้น อาหารที่ถือเป็นอาหารพิษ หรือยาที่ถูกจัดว่าเป็นยาพิษ ถ้ารู้จักใช้ก็สามารถนำมารักษาคนให้หายป่วยได้เช่นกัน

พลังชี่ด้านบวก (จิงชี่) ก็คือชี่ดั้งเดิมและชี่หลังกำเนิดที่เป็นประโยชน์กับร่างกาย ร่างกายรับไปเก็บสะสมไว้ในไตและเส้นชี่ตูม่อเพื่อคอยหล่อเลี้ยงร่างกายของเราให้ดำรงชีวิตอยู่ได้นั่นเอง ส่วนพลังชี่ด้านลบ (เซี๋ยชี่)?ก็คือภาวะแวดล้อมที่ไม่เหมาะสมกับร่างกายและจิตใจ เป็นสาเหตุทำให้ร่างกายเจ็บป่วย บางครั้งจึงเรียกชี่ลบเหล่านี้ว่า ชี่ก่อโรค

หากแบ่งชีวิตของเราออกเป็น 3 ภาคตามศาสตร์ชี่กง ได้แก่ ร่างกาย อารมณ์จิตใจ และจิตวิญญาณ ชี่ลบที่เข้ากับเราไม่ได้ทางกาย หมายถึงพิษชี่ทั้ง 6 ได้แก่ ลม หนาว ร้อน ชื้น แห้ง และ ไฟ หรือภาวะแวดล้อม อุณหภูมิระดับความชื้น แรงลม เชื้อโรค และมลภาวะต่างๆ ส่วนชี่ลบที่เข้ากับเราไม่ได้ทางจิตใจ หมายถึงพิษอารมณ์ทั้ง 7 ได้แก่ โกรธ ดีใจ วิตกกังวล เสียใจ ตกใจ หวาดกลัว และ โศกเศร้า หรือชี่อารมณ์ด้านลบทั้งที่เกิดขึ้นภายในตัวเราเอง และที่เกิดจากสภาพแวดล้อมภายนอก พวกเราคงเคยมีประสบการณ์ที่ความอารมณ์เสียของคนเพียงคนเดียว สามารถมีผลและอิทธิพลต่อบรรยากาศและอารมณ์ของคนทั้งห้องได้ นี้เป็นตัวอย่างของชี่อารมณ์ด้านลบที่เกิดจากสภาพแวดล้อมภายนอก ส่วนชี่ลบที่เข้ากับเราไม่ได้ทางจิตวิญญาณ หรือชี่ที่สกัดกั้นการเจริญเติบโตทางจิตวิญญาณ หมายถึงพลังความคิดด้านลบและความเห็นผิด หรือมิจฉาทิฐินั่นเอง

เป็นที่น่าเสียดายว่า ในขณะที่พวกเรากำลังพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี เอาชนะธรรมชาติเพื่อความสะดวกสบาย ทันสมัย เราได้ค่อยๆ ทำลายความสมดุลของระบบนิเวศและสิ่งแวดล้อม ที่ตัวเราเองต้องพึ่งพาอาศัยเพื่อการดำรงชีวิตรอด การเสียสมดุลของธรรมชาติอย่างมากภายในเวลาที่รวดเร็ว ได้ก่อให้เกิดชี่ด้านลบเพิ่มมากขึ้น ปรากฏเป็นโรคภัยประหลาดๆ ใหม่ๆ มากมาย หรือเกิดภัยพิบัติรุนแรงมากขึ้นและบ่อยครั้งขึ้น เป็นการทำร้ายตัวเอง และสร้างปัญหาให้กับลูกหลานรุ่นต่อๆ ไปในอนาคตอย่างเห็นแก่ตัวยิ่ง

การได้มาและเสียไปของพลังชีวิต

กลับสู่ด้านบน

มนุษย์โดยทั่วไปจะรับพลังชีวิตเข้าสู่ร่างกายจาก 3 ทางหลัก คือจากพ่อแม่ (ชี่ดั้งเดิม) จากอากาศที่เราหายใจ (ชี่ฟ้า) และอาหารที่เรารับประทาน (ชี่ดิน)? เราจะเสียชี่ไปกับสภาพแวดล้อมและวิถีการดำเนินชีวิต คือการทำงาน?การใช้ชีวิต?การมีเพศสัมพันธ์ และอารมณ์ต่างๆ? ดังนั้น ระดับของชี่หลังกำเนิดในร่างกายจะมีมากหรือน้อยก็ขึ้นกับการเลือกวิถีการดำเนินชีวิตของเราแต่ละคน

ตามหลักสุขภาพของการแพทย์จีนแผนโบราณ วิถีการดำเนินชีวิต จะหมายถึงความเป็นองค์รวมทั้งหมดของชีวิต ที่รวมถึงคุณภาพของสภาวะแวดล้อม ภาวะด้านจิตใจ และสภาพทางสังคม ตามคำกล่าวที่ว่า ฟ้าและคนรวมเป็นหนึ่ง กายกับจิตเป็นหนึ่งเดียว (เทียน เหริน เหอ อิ เสิน สิง อี้ ถี่) ตำราการแพทย์ที่เก่าแก่ที่สุดของจีนที่ชื่อ หวางตี้เน่ยจิง ได้กล่าวไว้ว่า คนและฟ้าดินผสมผสานอยู่ร่วมกัน คนกับพระอาทิตย์และพระจันทร์ก็มีปฏิกิริยาตอบสนองซึ่งกันและกัน คนแต่ละคนล้วนแต่เป็นส่วนหนึ่งซึ่งไม่สามารถแยกออกจากสิ่งแวดล้อมในจักรวาล

อาหารที่เราทาน ไม่ได้ให้เพียงแค่ความอร่อย อิ่มท้อง หรือสารอาหารที่ไปทำให้ร่างกายมีกำลังเท่านั้น แต่อาหารเหล่านั้นจะมีพลังชีวิตจากดินที่สามารถไปเสริมหรือลดทอนชี่แท้ในร่างกายได้ และยังส่งผลต่อความเป็นอินและหยางของอวัยวะภายในต่างๆ ด้วย คุณภาพของอากาศที่เราหายใจรับเข้าสู่ร่างกายก็หมายถึงคุณภาพของพลังชี่จากฟ้าที่สามารถไปเสริมหรือลดทอนชี่แท้ในร่างกาย และส่งผลต่อความเป็นอินหรือหยางในร่างกายเราด้วยเช่นกัน อากาศที่มีมลพิษนอกจากจะมีพลังชี่จากฟ้าอยู่น้อยแล้ว บางกรณียังมีชี่ก่อโรคปะปนอยู่ สามารถบั่นทอนพลังชีวิตในร่างกายได้ด้วย วิธีการหายใจแต่ละแบบ เช่น หายใจสั้น ยาว ถี่ ลึก ก็มีผลต่อการรับพลังชี่จากฟ้า ตำราแพทย์จีนเมื่อ 2,500 กว่าปีก่อนระบุว่ามนุษย์เราหายใจ 13,500 ครั้งใน 24 ชั่วโมง ปัจจุบันโดยเฉลี่ยคนเราหายใจนาทีละ 18 ครั้ง หรือ 25,920 ครั้งใน 24 ชั่วโมง เพิ่มขึ้นเกือบเท่าตัว ซึ่งเป็นผลจากการใช้แรงกายและแรงสมองอย่างหนัก ตามวิถีชีวิตที่มีการแข่งขันทางสังคมที่ดุเดือดและรุนแรงของโลกยุคโลกาภิวัฒน์ที่ไร้พรมแดนในปัจจุบัน สภาพแวดล้อมที่มีมลภาวะทางเสียงและแสงสูง มีอบายมุขมากมายที่มายั่วยุอารมณ์ต่างๆ ทำให้คนในสังคมฉุนเฉียวโหดร้ายอำมหิตมากขึ้น ความโลภหวังรวยทำให้ผู้ผลิตไม่คำนึงถึงคุณภาพของผลผลิตและผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม ทั้งหมดทั้งหลายเหล่านี้ล้วนส่งผลต่อคุณภาพของอาหาร อากาศ หรือพลังชี่ภายนอกที่เรารับเข้าสู่ร่างกาย เพิ่มชี่ด้านลบให้มีมากขึ้น และทำให้เราต้องใช้พลังชี่ที่มีอยู่มากขึ้น เพื่อดำรงชีวิตอยู่ในสภาพสังคมแวดล้อมเช่นนี้ให้ได้

คุณภาพของพลังชี่ภายนอกที่รับเข้าสู่ร่างกาย รวมถึงความเป็นอิน-หยางนี่เอง ที่ส่งผลอย่างมากต่ออารมณ์และความคิด ซึ่งแสดงออกให้เห็นเป็นลักษณะบุคคลิกและอุปนิสัยของเราแต่ละคน การแสดงออกทางอารมณ์ วิธีการคิด ทัศนคติ และวิธีที่แต่ละคนมองและตัดสินโลกนั้น ไม่ได้เป็นสิ่งที่คนๆ นั้นเป็นด้วยตัวเขาเอง หรือเป็นด้วยผลจากการเลี้ยงดูบ่มเพาะให้เป็นเสียทั้งหมด แต่จะเป็นไปตามคุณภาพของ ?ชี่? ที่คนๆ นั้นได้รับจากวิถีการใช้ชีวิตที่เขาเลือกด้วย

หากเราจะทำบัญชีการได้มาและเสียไปของพลังชีวิต โดยถือว่าชี่หลังกำเนิดที่รับเข้ามาเป็นรายรับ?และชี่ที่เราเสียไปเป็นรายจ่าย??เมื่อรายรับมากกว่ารายจ่ายก็หมายถึงการมีสุขภาพดี?แข็งแรง?อายุยืนยาว??แต่ถ้ารายจ่ายมากกว่ารายรับก็หมายถึงการมีสุขภาพที่อ่อนแอ?โรคภัยไข้เจ็บถามหา?แก่ชราเร็วกว่าที่ควร การฝึกเพิ่มพลังชี่จึงเป็นอีกทางหนึ่งในการเพิ่มรายรับให้มากกว่ารายจ่าย ถ้าเราบริหารรายรับและรายจ่ายได้อย่างสมดุล ก็ไม่จำเป็นต้องไปดึงเงินออมที่เก็บสะสมไว้ (ชี่ดั้งเดิม) ออกมาใช้ เงินออมก็ไม่ ร่อยหรอ เมื่อสุขภาพร่างกายและจิตใจมีคุณภาพ ก็ไม่เดือดร้อนจากการเจ็บป่วย ผิวพรรณสดใสดูอ่อนกว่าวัย ในทางตรงข้าม คนที่ใช้ชีวิตอย่างฟุ่มเฟือย รับประทานมาก เที่ยวหนัก ดื่มหนัก ทำงานหามรุ่งหามค่ำ พักผ่อนน้อย ไม่ออกกำลังกาย ไม่คำนึงถึงคุณภาพชี่จากอาหารที่รับประทาน ไม่สนใจคุณภาพชี่จากอากาศที่หายใจ ไม่ใส่ใจคุณภาพชี่จากสภาพสังคมแวดล้อม ไม่ฝึกบ่มเพาะชี่หรือรับชี่จักรวาลเพิ่มเติมให้กับร่างกาย ก็เปรียบเหมือนการใช้ชี่ที่มีอยู่อย่างล้างผลาญ เมื่อมีรายจ่ายมากกว่ารายรับก็มีแต่ติดลบขาดทุนเพิ่มมากขึ้นทุกวัน ต้องไปดึงเงินออมหรือชี่ดั้งเดิมออกมาใช้อยู่เสมอหรือตลอดเวลา ความเจ็บป่วยทั้งทางกาย ทางอารมณ์ และทางความคิด จะมีมากกว่าคนทั่วไป ถ้าไม่ป่วยด้วยโรคภัยไข้เจ็บต่างๆ ความแก่ชราก็จะมาเยือนเร็วกว่าที่ควร เพราะชี่ดั้งเดิมที่เก็บออมไว้ค่อยๆ ร่อยหรอลงเรื่อยๆ และในที่สุดก็จะถูกใช้จนหมดก่อนเวลาอันสมควร ดังจะเห็นได้ว่า คนที่ใช้ชีวิตสำมะเลเทเมา หรือเสพสุข กิน กาม เกียรติ มากเกินเลย หรือคนที่ต้องตรากตรำงานหนัก หรือคนที่อาศัยในสภาพแวดล้อมที่บีบคั้นตึงเครียด ทั้งทางกายภาพและจิตใจ ล้วนดูแก่กว่าวัยหรืออายุสั้นด้วยกันทั้งสิ้น

รวบรวมและเรียบเรียง – ทัศนีย์ เศรษฐ์บุญสร้าง
tatsanee@NawaChiOne.org
? สงวนลิขสิทธิ์

กลับสู่ด้านบน