พลังชีวิตกับสุขภาพ ? บทที่ 4: การฝึกฝนบ่มเพาะพลังชีวิต


บทความ: พลังชีวิตกับสุขภาพ

สารบัญ

ดาวน์โหลด PDF

————————————————————————————————


การฝึกฝนบ่มเพาะพลังชีวิต

การฝึกฝนบ่มเพาะพลังชีวิต หรือการฝึกชี่ หรือชี่กง เพื่อให้ได้ผลด้านสุขภาพอย่างแท้จริง จะมีองค์ประกอบหลักที่ขาดไม่ได้อยู่ 3 ประการ คือ

  1. การปรับร่างกาย (ธาตุพื้นฐานทั้ง 5 ตามหลักแพทย์แผนจีนโบราณ คือ ดิน ทองหรือโลหะ น้ำ ไม้ และไฟ) จะเป็นการหย่อนคลายร่างกาย และเคลื่อนไหวร่างกายอย่างเป็นธรรมชาติ เคลื่อนไปอย่างสบายๆ สม่ำเสมอ ไม่เกร็ง ไม่ตึงเครียด
  2. การปรับลมหายใจ จะเป็นการหายใจให้ยาวและลึกถึงท้องน้อย ซึ่งเป็นวิธีหายใจที่เป็นรากฐานของสุขภาพ เมื่อฝึกจนชำนาญ จะสามารถหายใจเข้า-ออกได้อย่างยาวๆ ช้าๆ เบาๆ และสม่ำเสมอเป็นธรรมชาติ โดยไม่อึดอัดหรือฝืน
  3. การปรับจิตใจ ซึ่งถือเป็นส่วนสำคัญที่สุด ?จิต? จะต้องเป็นสมาธิ ไม่คุย ไม่วอกแวก และอาจสร้างจินตภาพหรือจินตนาการควบคู่ไปกับการฝึก

การฝึกชี่ที่ถูกต้องจะต้องมีครบทั้ง 3 ส่วน เมื่อมีองค์ประกอบทั้ง 3 ส่วนครบถ้วนและเกิดพลังชี่ขึ้นโดยพลังชี่ที่เกิดมีความพอเหมาะ ก็จะส่งผลให้ร่างกายแข็งแรงขึ้น เราจึงต้องบ่มเพาะและสร้างเสริมพลังชี่ เพื่อให้มีความพอเหมาะสำหรับการบำบัดอาการป่วยและขจัดโรคต่างๆ แต่ทุกสรรพสิ่งในโลกย่อมเป็นไปตามทางสายกลาง พลังชี่ที่มากเกินไปจึงสามารถให้ผลลบกับร่างกายได้เช่นกัน บางลักษณะก็ปรากฏเป็นอาการข้างเคียงที่รุนแรงหลังการฝึกชี่ได้ (อย่างในหนังจีนกำลังภายในที่มีการฝึกพลังจนเสียสมดุล เกิดอาการกระอักเลือดจากภาวะธาตุไฟตีกลับ เป็นต้น) การฝึกชี่จึงต้องระมัดระวัง และควรเริ่มฝึกฝนกับผู้ที่รู้จริง เพื่อความปลอดภัยกับตัวเอง และให้ได้รับผลดีจากการฝึกอย่างเต็มที่

ในการฝึกชี่โดยทั่วไป การปรับร่างกายและลมหายใจมีความสำคัญอย่างละราว 10-15% สำหรับการปรับจิตใจ (การกำหนดจิต) มีความสำคัญถึง 70-80% ถ้าทำได้ไม่ถูกต้อง ก็จะมีผลเป็นเพียงการออกกำลังกายธรรมดาๆ เท่านั้น คือไม่ได้ชี่ ซึ่งเป็นหัวใจและเป้าหมายของการฝึก ดังเช่นการฝึกรำมวยไทเก๊กส่วนใหญ่ในสมัยนี้ที่มักเห็นได้ว่าเป็นการออกกำลังกายเท่านั้น ทั้งนี้อาจเป็นเพราะการถ่ายทอดวิชาความรู้จากรุ่นสู่รุ่นไม่ได้สอนหลักวิธีการฝึกที่ถูกต้อง ทำให้การฝึกกลายเป็นเพียงการออกกำลังกายธรรมดา ไม่ได้รับผลดีจากพลังของชี่ เพราะไม่มีพลังชี่เกิดขึ้นจากการฝึก บางครั้งก็ไม่ได้แม้แต่ประโยชน์ที่ควรได้จากการออกกำลังกายธรรมดาด้วยซ้ำ ซึ่งเป็นเรื่องที่น่าเสียดายอย่างยิ่ง


ประโยชน์ของการฝึกฝนบ่มเพาะพลังชีวิต

กลับสู่ด้านบน

วิทยาศาสตร์สมัยใหม่ได้ศึกษาวิจัยเกี่ยวกับผลที่เกิดจากการฝึกพลังชี่ หรือชี่กง ทั้งในหลอดทดลองและกับผู้ป่วยโรคต่างๆ จนสามารถสรุปโดยสังเขปได้ว่า การฝึกพลังชี่มีประโยชน์ทั้งในด้านการเสริมสุขภาพและการบำบัดโรคหลายชนิด ดังนี้

  1. เพิ่มความยืดหยุ่น ความทนทาน และผ่อนคลายของกล้ามเนื้อ เป็นการบริหารร่างกาย ทำให้ข้อต่อและเส้นเอ็นคลายตัวมีความยืดหยุ่นมากขึ้น กระดูกและกล้ามเนื้อแข็งแรงขึ้น ลดอาการปวดจากความตึงของกล้ามเนื้อ ป้องกันการปวดคอ ปวดหลัง ปวดเข่า และปวดข้ออื่นๆ ช่วยให้ทรงตัวได้ดี ไม่หกล้มง่าย
  2. ปรับสภาพและสมดุลของการทำงานของสมองส่วนหน้า วิทยาศาสตร์การแพทย์ปัจจุบันพบว่า การเสียสมดุลของสมองส่วนหน้าเป็นสาเหตุของโรคประเภทที่ไม่ติดต่อ หรือโรคไร้เชื้อแต่เรื้อรังส่วนใหญ่ เช่น ความดันโลหิต แผลในกระเพาะอาหาร ต่อมไทรอยด์บวมโต มะเร็ง ท้องผูก ท้องเดิน นอนไม่หลับ ปวดศรีษะ อัมพาต เป็นต้น
  3. เสริมความแข็งแกร่งของกระบวนการเปลี่ยนถ่ายแทนที่ของระบบต่างๆ ในร่างกาย เพิ่มพละกำลังของระบบเอ็มไซม์ ทำให้กระบวนการเปลี่ยนถ่ายของเสียแทนที่ด้วยของใหม่ในระดับเซลล์ดำเนินไปได้อย่างสมบูรณ์มากขึ้น และเนื่องจากกระบวนการสังเคราะห์ทางเคมีของเซลล์ถูกเสริมให้แข็งแกร่งขึ้น จึงเป็นการเพิ่มกำลังความสามารถในการเผาผลาญอาหารและไขมัน ทำให้คนผอมแห้งแข็งแรงยิ่งขึ้น และคนอ้วนสามารถลดความอ้วนลงได้
  4. ปรับเสริมประสิทธิภาพของระบบการหลั่งสารฮอร์โมนจากต่อมไร้ท่อต่างๆ ในร่างกาย ทำให้ระดับฮอร์โมนในร่างกายสมดุลมากขึ้น ฮอร์โมนชนิดต่างๆ มีผลต่อความแข็งแรงของร่างกาย อุปนิสัย และรูปร่างหน้าตา โดยเฉพาะอย่างยิ่งผิวพรรณของเรา ปัญหาคลอเลสเตอรอล น้ำตาลในเลือดสูง / ต่ำเกินไป ประจำเดือนผิดปกติ ไม่ตั้งครรภ์ หลังคลอดไม่มีน้ำนม ไร้สมรรถภาพทางเพศ ล้วนมีส่วนเกี่ยวข้องกับประสิทธิภาพที่ไม่สมดุลของต่อมไร้ท่อต่างๆ ทั้งสิ้น การฝึกชี่สามารถลดการใช้ยาในผู้ป่วยโรคเบาหวาน รวมทั้งช่วยรักษาอาการทางร่างกายและอารมณ์ที่เกิดในวัยทองได้
  5. ระบบไหลเวียนเลือด (Micro Circulation) ดีขึ้น ภายหลังการฝึกมักพบว่าอุณหภูมิผิวหนังของผู้ฝึกจะสูงขึ้น (อมรรัตน์ ภิราษร 2541 และ นวลทิพย์ ทวิรัตน์ 2544) ลดปัญหาความดันเลือดโดยไม่ต้องใช้ยา คนที่ความดันโลหิตสูง ความดันจะลดลง คนที่ความดันโลหิตต่ำก็กลับเป็นปกติ
  6. เสริมความสามารถในการดูดซึมแคลเซียมของร่างกายไปสร้างกระดูก จึงสามารถช่วยป้องกันกระดูกเปราะบาง หรือโรคกระดูกพรุน ได้ เพราะไตที่แข็งแรงจะผลิตสารจำเป็นที่คนจีนเรียกว่า ?จิง? เทียบได้กับฮอร์โมน เป็นตัวสร้างไขกระดูกเพื่อไปหล่อเลี้ยงซ่อมเสริมกระดูก ทำให้กระดูกและฟันแข็งแรง
  7. สร้างสมดุลของระบบประสาทอัตโนมัติ ทำให้ทำงานสมดุลและมีประสิทธิภาพมากขึ้น มีประโยชน์มากในผู้ที่มีความเครียดสูง สามารถช่วยลดความวิตกกังวล อาการหายใจไม่โล่ง ใจสั่น กระวนกระวายใจ นอนไม่หลับ ตกใจง่าย และท้องผูก
  8. ช่วยให้จิตใจสงบ เพราะเป็นการทำสมาธิอย่างหนึ่ง ถึงจะเป็นสมาธิระดับต้นๆ ก็สามารถช่วยให้ร่างกายผ่อนคลาย ลดการทำงานของหัวใจได้
  9. เพิ่มประสิทธิภาพการหายใจ หายใจได้ลึกและยาวขึ้น ทำให้ปอดแข็งแรง เพราะได้รับออกซิเจน และขับคาร์บอนไดออกไซด์ออกได้อย่างเต็มที่
  10. ทำให้ภูมิคุ้มกันของร่างกายแข็งแรงและสมดุลมากขึ้น เพิ่มความสามารถของร่างกายในการต่อสู้กับสารภูมิแพ้ (Ryu, H และคณะ 1996) จึงสามารถใช้บำบัดอาการภูมิแพ้อย่างได้ผล ลดอาการภูมิแพ้ต่างๆ เช่น น้ำมูกไหลตอนเช้า ไอ จาม คัดจมูก ฯลฯ อาการเหล่านี้จะหายไปได้ถ้าฝึกชี่อย่างสม่ำเสมอ
  11. เสริมภูมิต้านทานโรค ทำให้ระบบน้ำเหลือง (Lymphatic System) ทำงานสม่ำเสมอ ไหลเวียนดีขึ้น ทำให้สามารถกำจัดของเสียของร่างกายได้เร็วขึ้น ภูมิคุ้มกันทั้งจากน้ำเหลืองและเม็ดเลือดขาวเพิ่มขีดความสามารถสูงขึ้น สามารถเพิ่มเม็ดเลือดขาว CD4 ในกระแสเลือดในอาสาสมัครที่ฝึกชี่ติดต่อกันนานเกิน 5 เดือนขึ้นไป (Tyu, H และคณะ 1994) ภูมิต้านทานโรคที่ต่ำทำให้เชื้อโรคทั้งจุลินทรีย์และไวรัสที่เป็นสาเหตุของอาการเจ็บป่วยแพร่ขยายในร่างกายได้ การเพิ่มความสามารถในการฆ่าเชื้อโรคของพลาสมาและจำนวนเม็ดเลือดขาวในกระแสเลือด สามารถจำกัดการแพร่ขยายของเชื้อจุลินทรีย์ ไวรัส และสิ่งแปลกปลอมต่างๆ โดยตับ ปอด และต่อมตับอ่อน ได้อย่างมีประสิทธิภาพ โดยเฉพาะสามารถรักษาโรคหวัดได้ดี
  12. ป้องกันโรคเส้นเลือดสมองและเส้นเลือดหัวใจตีบตันเร็ว ได้ผลดีมากกับคนที่มีปัญหาเกี่ยวกับสมอง เช่น อัมพฤกษ์ อัมพาต
  13. รักษาโรคมะเร็ง โดยเฉพาะมะเร็งเม็ดเลือด มะเร็งเต้านม มีการวิจัยโดยให้อาจารย์ชี่กงส่งพลังชี่ใส่จานเพาะเชื้อมะเร็ง โดยมุ่งพยายามจะทำลายเซลล์มะเร็ง ปรากฎว่าเซลล์มะเร็งนั้นตาย อีกการทดลองหนึ่งเป็นมะเร็งปากมดลูก เซลมะเร็งตายไป 60% หลังให้พลังชี่ราว 20 นาที ทดลองซ้ำหลายครั้งก็ได้ผลใกล้เคียงกัน แต่มะเร็งกระเพาะอาหารจะดื้อกว่ามะเร็งปากมดลูก ส่วนมะเร็งเต้านมมีการตอบสนองที่ดีกว่า และพบอีกว่า การฝึกชี่ยังสามารถช่วยลดระดับความเครียดในผู้ป่วยมะเร็งปากมดลูกด้วย (น้ำทิพย์ ด่อนแผ้ว 2545)
  14. ฟื้นตัวจากการผ่าตัด การฉายแสง และอาการเจ็บไข้เร็วขึ้น ช่วยยืดอายุของผู้ป่วยมะเร็งและโรคเอดส์ เพราะการฝึกชี่สามารถเพิ่มภูมิต้านทานให้สูงขึ้น ช่วยปรับปรุงคุณภาพชีวิตของผู้ป่วยให้ดีขึ้นได้
  15. ลดความตึงของกล้ามเนื้อศีรษะในผู้ป่วยโรคปวดศีรษะ ซึ่งสามารถใช้บำบัดผู้ที่มีอาการปวดศีรษะที่เกิดจากกล้ามเนื้อตึง (อัญรัช นิตุธร 2543) รวมทั้งโรคปวดศรีษะไมเกรนได้
  16. ส่งเสริมบุคลิกภาพและหน้าตาอ่อนกว่าอายุ สมาธิและความจำดี ช่วยลดระดับฮอร์โมนคอร์ติโซนในกระแสเลือด ซึ่งมีมากในผู้ที่มีความเครียดสูง มีผลลดการทำงานของเม็ดลือดขาว รวมทั้งเพิ่มประสิทธิภาพสมองส่วนความจำระยะสั้น (เทอดศักดิ์ เดชคง 2541)

การฝึกชี่เพื่อช่วยบำบัดโรคร้ายแรงต่างๆ มีข้อควรเข้าใจว่าต้องใช้ควบคู่ไปกับการรักษาโดยแพทย์ผู้เชี่ยวชาญ ผู้ป่วยที่ได้รับยารักษาอยู่ ขณะที่ใช้การฝึกชี่เพื่อเสริมการบำบัดให้มีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น ก็ควรติดตามการรักษากับแพทย์อย่างต่อเนื่องด้วย


อาการข้างเคียงของการฝึกดนตรีปรับพลังชีวิต

กลับสู่ด้านบน

ผู้ฝึกชี่บางรายจะเกิดอาการข้างเคียงจากการฝึก ซึ่งมักไม่รุนแรงและไม่เป็นอันตราย สาเหตุหลักของอาการข้างเคียงจะเป็นเพราะร่างกายยังปรับตัวไม่ได้ หรือปรับตัวได้ไม่ทัน อาการข้างเคียงทั้งหลายที่เกิดขึ้น มักจะหายได้เองหลังจากได้พัก และ/หรือ ฝึกครั้งต่อๆ ไป ขึ้นกับลักษณะของอาการ ซึ่งรวมถึง

  1. เกิดความร้อนสะสมภายในร่างกาย อาจร้อนวูวาบตามตัวหรือเฉพาะที่ อาการมักไม่รุนแรงและจะค่อยๆหายไปในการฝึกครั้งต่อๆ ไป บางรายอาจมีไข้ขึ้น แต่เมื่อได้พัก ไข้ก็จะลดและหายไปเอง
  2. นอนไม่หลับ ฝันร้าย เป็นอาการของพลังชี่คั่งค้าง การผ่อนคลายและนั่งสมาธิจะช่วยให้ดีขึ้นได้
  3. ปวดศีรษะ เกิดจากพลังชี่ที่คั่งค้างในบางตำแหน่งโดยเฉพาะที่ศีรษะ มักเกิดจากการเกร็งและหายใจไม่ถูกต้อง จึงควรผ่อนคลายขณะฝึกและเรียนรู้วิธีที่ถูกต้องตามครูฝึก
  4. คลื่นไส้อาเจียน ท้องปั่นป่วน เรอ เป็นปัญหาที่เกิดจากการคั่งค้างของชี่เช่นกัน ถ้ามีอาการรุนแรงต้องหยุดพัก และในการฝึกครั้งต่อๆ ไปควรผ่อนคลาย และมีสมาธิในการฝึก
  5. แน่นหน้าอก แน่นท้อง เป็นอาการพลังชี่ค้างแบบไม่กระจายตัว แก้โดยการสูดหายใจลึกๆ ช้าๆ ยกแขนขึ้นเหนือศรีษะตอนหายใจเข้า และยกแขนลงตอนหายใจออก ใช้ฝ่ามือลูบคลึงบริเวณที่รู้สึกแน่น และใช้การนึกคิดให้พลังที่แน่นอยู่กระจายตัวออกไปรอบๆ ก็จะช่วยขจัดอาการอัดแน่นได้
  6. ปวดเมื่อยตามตัวและเท้า เป็นอาการของคนที่ไม่เคยออกกำลังกาย ในการฝึกครั้งต่อๆ ไป 4-6 ครั้งอาการดังกล่าวจะหายไป
  7. ฝึกมากๆ บางครั้งอาจมีอาการถ่ายท้องหรือท้องเสียได้ เพราะร่างกายปรับตัวไม่ทันกับการขับพิษตกค้างของระบบในร่างกาย แต่ก็จะหายได้เองเช่นกัน


ควรหวังผลจากการฝึกดนตรีปรับพลังชีวิตอย่างไร

กลับสู่ด้านบน

การฝึก ควรจะฝึกก่อนหรือหลังอาหารอย่างน้อย 1-2 ชั่วโมง และควรฝึกตอนเช้าจะเหมาะที่สุดสำหรับการออกกำลังกาย เพราะจะได้รับอากาศที่บริสุทธิ์กว่าช่วงเวลาอื่นของวัน และเป็นเวลาที่ชี่หยางในร่างกายตื่นขึ้นด้วย แต่จะฝึกตอนไหนของวันก็ได้ เพียงให้เลี่ยงช่วงเที่ยงวันตั้งแต่ 11 โมงถึงบ่ายโมง และช่วงเที่ยงคืน ตั้งแต่ 5 ทุ่มถึงตีหนึ่ง ขณะฝึกไม่ควรสวมรองเท้าเพราะอาจทำให้ปวดเท้าได้ เนื่องจากชี่หรือประจุไฟฟ้าวิ่งผ่านลงสู่พื้นไม่ได้และค้างอยู่ที่เท้า ถ้าพื้นที่ยืนฝึกเป็นพื้นปูนหรือหินที่เย็นมากก็ไม่ดี ควรใช้พรมหรือผ้าปูรองเท้าไว้ เวลาที่อารมณ์ไม่ดี โกรธ หงุดหงิด ก็ไม่ควรฝึก ถ้ากำลังเครียดอยู่ ต้องฝึกการหายใจและหย่อนคลายจนความเครียดลดลงระดับหนึ่งก่อน สำหรับคนที่ป่วยด้วยโรคร้ายแรงมากๆ ต้องรักษาด้วยวิธีการแพทย์ปัจจุบันเพื่อให้สภาพร่างกายแข็งแรงขึ้นเสียก่อน

ระยะเวลาในการฝึกชี่ จะแตกต่างกันไปตามวัตถุประสงค์ของการฝึก และสภาพร่างกายของผู้ฝึก ถ้าเป็นการฝึกเพื่อสุขภาพและร่างกายไม่ได้เป็นโรคอะไร สามารถฝึกวันละครั้ง ครั้งละ 10-20 นาทีก็เพียงพอ คนที่เป็นภูมิแพ้ ความดันโลหิตสูง สามารถฝึกมากครั้งขึ้นในแต่ละวัน อย่างน้อยครั้งละ 15 นาที ส่วนโรคอื่นๆ ก็มากขึ้นไปตามลำดับตามอาการของโรคและสภาวะร่างกายของผู้ฝึก เวลาฝึกสูงสุดคือมะเร็ง ซึ่งมะเร็งแต่ละอย่างก็จะแตกต่างกันไป บางคนก็ 1 ชั่วโมง บางคนก็มากกว่านั้น ถ้าใช้ดนตรีชุด 5 ธาตุ (Five Elements) หรือชุด 5 เสียง (5 Tones) ให้อย่างน้อยฝึกครั้งละเพลง (1 track) แต่ละเพลงจะมีความยาว 20-30 นาที การฝึกควรคำนึงเสมอว่า ร่างกายของเราแต่ละคนไม่เหมือนกัน วิธีที่ดีคือควร ?ฟังชี่? ของเราเองจะดีที่สุด เพราะหากฝึกมากเกินไปก็อาจหักโหมร่างกายเกินไป และเกิดผลเสียกับร่างกายได้

สรุปโดยรวม การฝึกควรให้เวลาวันละ 10-60 นาที ฝึกทุกวัน อาจฝึกในตอนเช้าหรือค่ำๆ ก็ได้ ขึ้นกับความสะดวกและความพร้อมของผู้ฝึก ถ้าฝึกซ้ำที่และซ้ำเวลาได้จะเกิดประสิทธิผลมากขึ้น เกณฑ์ในการติดตามดูผลการฝึกคร่าวๆ คือ ควรเห็นผลบางอย่างเมื่อฝึกติดต่อกัน 2 สัปดาห์ และต้องชัดเจนว่ามีอะไรเกิดในทางที่ดีขึ้นเมื่อฝึกติดต่อกัน 1 เดือน หากยังไม่เห็นผลที่ดีขึ้น ควรต้องตรวจดูว่าวิธีการฝึกได้ถูกต้องหรือไม่ หรือจะเป็นเพราะสาเหตุอื่น เพื่อจะได้หาวิธีแก้ไขปรับเปลี่ยนหรือหาวิธีการอื่นต่อไป ดังนั้นสำหรับผู้ที่เริ่มฝึกใหม่ ระยะแรกๆ จึงควรหาโอกาสฝึกพร้อมกับอาจารย์ผู้สอนหรือผู้เชี่ยวชาญอย่างใกล้ชิดและบ่อยครั้ง เพื่อให้อาจารย์ผู้สอนตรวจสอบความคืบหน้าของการฝึก และควรซักถามข้อสงสัยในการฝึกให้เข้าใจ เพื่อให้แน่ใจว่าวิธีการที่ตนฝึกอยู่นั้นถูกต้อง เพราะคนที่เริ่มฝึกใหม่จะยังไม่คุ้นเคยกับพลังชี่ภายใน และมักใช้ความนึกคิดขยับร่างกายให้เคลื่อนไปตามความอยาก แทนที่จะปล่อยให้ร่างกายเคลื่อนไหวไปด้วยพลังชี่ของตัวเองอย่างเป็นธรรมชาติ

และหากสามารถฝึกชี่ตามวิชาดนตรีปรับพลังชีวิตได้อย่างถูกต้องแล้ว ก็จะสามารถประจักษ์ถึงความหมายที่แท้จริงของคำกล่าวที่ว่า ?การรักษาที่ดีที่สุด คือการรักษาด้วยตัวของเราเอง?

รวบรวมและเรียบเรียง – ทัศนีย์ เศรษฐ์บุญสร้าง
tatsanee@NawaChiOne.org
? สงวนลิขสิทธิ์

กลับสู่ด้านบน

Leave a Reply

Your email address will not be published. Required fields are marked *