พลังชีวิตกับสุขภาพ ? บทที่ 5: ชี่กงกับดนตรี 5 เสียง


บทความ: พลังชีวิตกับสุขภาพ

ดาวน์โหลด PDF

————————————————————————————————

ชี่กง กับ ดนตรี 5 เสียง

ชี่กงเป็นวิชาโบราณของจีนที่มีวิธีการและชื่อเรียกแตกต่างกัน ในช่วงแรกรู้จักกันในชื่อ เต้าหยิ่น (ชักนำพลัง+หายใจ)?ทู่น่า (หายใจ)?อั้นเชียว(นวด)?และสิงชี่ (จิต) ฝ่ายสำนักพุทธจะเรียกว่า?จื่อกวน?ซันฉัน หรือ?ฉันติ้ง?ปัจจุบันยังไม่สามารถหาหลักฐานมายืนยันว่าชี่กงเริ่มมีตั้งแต่เมื่อใด?แต่เชื่อกันว่าชี่กงน่าจะเป็นการต่อสู้กับธรรมชาติของคนโบราณโดยซึมซับจากประสบการณ์?แล้วสรุปเป็นวิธีฝึกฝนเพื่อให้สุขภาพแข็งแรงและบำบัดโรควิธีหนึ่ง แต่ละสำนักต่างมีการพัฒนาวิธีการฝึกเพื่อหวังผลเฉพาะทางของตนเอง จนเกิดเป็นวิธีการฝึกชี่ที่หลากหลายและมุ่งผลที่แต่กต่างกันไป จากหลักฐานทางโบราณคดีประมาณ 5,000 กว่าปีก่อน?พบอ่างเคลือบมีรูปวาดกลุ่มคนกำลังจับกลุ่มจับมือกันฟ้อนรำ?การฟ้อนรำเป็นการเลียนแบบการเต้นของสัตว์ ที่มีการพัฒนามาเป็นการชี่กงแบบเต้าหยิ่น และพบบนอ่างเครื่องเคลือบมีรูปนูนเป็นลักษณะท่าทางการฝึกชี่วิชาจั้นจวาง ทู่น่า เป็นต้น

ชี่กง ?บ่อเก๊ก? เป็นวิชาชี่กงที่ทำให้ร่างกายสามารถเคลื่อนไหวได้เองอย่างอิสระภายใต้จิตที่เป็นสมาธิ ซึ่งถือเป็นวิชาชี่กงที่สูงกว่าไทเก๊กอีกระดับหนึ่ง จิตที่สงบเป็นสมาธิระหว่างการฝึกจะประสานพลังชี่ภายในเข้ากับพลังชี่ภายนอก สั่งสมพลังชี่ในร่างกายจนถึงขั้นทำให้ร่างกายเกิดการขยับเคลื่อนไหวได้เองอย่างอิสระ โดยไม่ต้องนึกคิดหรือใช้สมองสั่งการ ตามคำภาษาจีน 8 คำที่เป็นหัวใจของการฝึกชี่ที่แท้จริง คือ เถียน-ตั้น-ชิว-อู๋ เจิน-ชี่-ฉง-จือ

  • เถียน แปลว่า เบาบาง หมายถึงการทำจิตใจสงบ ตัดลดความคิดสับสนทั้งปวงให้เบาบางลง เพื่อให้ร่างกายทุกส่วนเกิดความหย่อน-คลาย ที่ไม่ใช่แค่ผ่อนคลาย มาจากค่ำภาษาจีนว่า ฟ่านซง
  • ตั้น แปลว่า จืดจาง หมายถึงการทำความคิดที่มีอยู่ให้จืดให้จางลง จนปราศจากความคิดใดๆ
  • ชิว แปลว่า กลวงว่าง หมายถึงเมื่อร่ายกายหย่อนคลายอย่างเต็มที่ และปราศจากความคิดใดๆ จะเข้าสู่สภาพของกายและจิตที่กลวงว่าง
  • อู๋ แปลว่า ความไร้ หมายถึงการเข้าสู่ภาวะ ?ความไร้? ซึ่งสิ่งใดๆ แม้กระทั่งความกลวงว่างก็ไม่มี (ความกลวง หมายถึงยังมีรูปทรงภายนอกแต่ภายในกลวงว่างไม่มีอะไร ต่อเมื่อรูปทรงภายนอกหมดไปเท่านั้นจึงจะเกิดภาวะ ?ความไร้? ไม่มีรูป)
  • เจิน แปลว่า แท้จริง เจิน-ชี่ หมายถึง พลังชี่แท้ในร่างกายของเรา
  • ฉง-จือ แปลว่า ปรากฏออกมาเอง

สรุปรวมความได้ว่า การให้ทำร่างกายให้หย่อนคลาย ตัดลดข้อสงสัยต่างๆ ที่สร้างความสับสนในจิตใจให้เบาบางลง และทำความคิดที่มีอยู่ให้จืดและจางลง จนร่างกายและความคิดกลวงว่าง กระทั้งตัวตนที่กลวงว่างก็หายหมดไปด้วย กลายเป็นความไร้ซึ่งตัวตน และเมื่อนั้น ชี่แท้ในร่างกายก็จะปรากฏออกมาเอง

พลังชี่แท้ที่ปรากฏออกมาให้เห็นเป็นการเคลื่อนไหวร่างกาย เป็นผลจากการเลื่อนไหลของพลังชี่ไปตามเส้นชี่หรือเส้นลมปราณทั่วร่างกาย เมื่อไปถึงส่วนที่ติดขัดหรืออุดตัน พลังชี่ก็จะจัดการแก้ไข ทำการขุดลอกทะลวงจุดตีบตันเหล่านั้น เกิดเป็นอาการขยับเคลื่อนแต่ละส่วนของร่างกาย ในท่วงท่าที่เป็นการยืด เหยียด งอ เหวี่ยง หมุน บิด ดัด กด ทุบ บีบ นวด หรือลักษณะต่างๆ ตามแต่ภาวะสุขภาพของร่างกาย ซึ่งทั้งหมดเป็นการคลายกล้ามเนื้อ ปรับเส้นเอ็น และจัดกระดูก ปรับสมดุลของพลังชี่ และพลังอิน-หยาง ในร่างกาย เพื่อแก้ปัญหาสุขภาพของผู้ฝึกแต่ละคน ขณะที่ทำการฝึก ผู้ฝึกจะมีสติรู้ตัวเองอยู่ตลอดเวลา สามารถรับรู้การเคลื่อนไหวที่เกิดขึ้นเองจากพลังชี่ได้ทุกขณะ รู้ว่าร่างกายตัวเองกำลังเคลื่อนไหวไปอย่างไร และสามารถรับรู้ได้ถึงการบำบัดรักษาปัญหาสุขภาพของตัวเองอย่างได้ผลของพลังชี่ในตัว ผู้ฝึกยังคงสามารถควบคุมการเคลื่อนไหวร่างกายของตัวเองได้ทุกขณะ จะหยุดการเคลื่อนไหวเมื่อใดก็ได้ตามที่ต้องการ เพราะไม่ได้ถูกสะกดจิต แต่เป็นการจงใจปล่อยให้ร่างกายเคลื่อนไหวไปตามพลังชี่แท้ในร่างกาย เปรียบร่างกายเป็นต้นหลิวที่ปล่อยให้กิ่งใบลู่ไปตามลมโดยไม่ขัดขืน ปล่อยให้พลังชี่ทำงานเพื่อบำบัดรักษาสุขภาพตามธรรมชาติของชี่นั่นเอง

พลังชี่ที่เลื่อนไหลไปตามร่างกายจะไปแทนที่ชี่เสียด้วยชี่ดี เป็นการบำรุงกระแสชี่ในร่างกายให้แข็งแรงสมบูรณ์ ทำให้ระบบไหลเวียนของเลือดและน้ำเหลืองมีประสิทธิภาพมากขึ้น ซึ่งเป็นการแก้ไขปัญหาสุขภาพที่มูลเหตุพื้นฐานที่สุด คือที่ระดับเซลล์ และยังเป็นการรักษาในลักษณะองค์รวมอีกด้วย เพราะมีการปรับสมดุลของทั้งระบบและทุกระบบในร่างกายพร้อมๆ กันไปในเวลาเดียวกัน

หากเปรียบการฝึกชี่เหมือนเป็นเสื้อผ้า การฝึกชี่ทั่วๆ ไปที่มีการกำหนดท่ามาตรฐานเป็นขั้นตอนแน่นอนสำหรับทุกคน ก็เหมือนเสื้อผ้าสำเร็จรูปที่ทุกคนใส่ได้แบบ one size fit all ส่วนการชี่กงบ่อเก๊กจะเหมือนมีดีไซเนอร์ส่วนตัว ที่คอยออกแบบตัดเย็บเสื้อผ้าที่เหมาะสมเฉพาะสำหรับผู้ฝึกแต่ละคน ดังนั้นท่วงท่าการเคลื่อนไหวของผู้ฝึกแต่ละคนจะไม่เหมือนกัน และเป็นลักษณะเฉพาะที่เลื่อนไหลต่อเนื่องไปเองตามภาวะสุขภาพและระดับพลังชี่ของผู้ฝึกแต่ละคน จึงย่อมแหมาะสมเข้ากับสภาพร่างกายและปัญหาสุขภาพของผู้ฝึกได้ดีกว่าท่าทางที่ถูกกำหนดไว้แน่นอน หรือเป็นมาตรฐานเหมือนกันสำหรับผู้ฝึกทุกคน บางท่านอาจจะเคยได้ยินหรือได้ฝึกวิชาชี่กง เบญจลีลา หรือ ปัญจลีลา ที่ถึงแม้จะไม่ได้กำหนดท่าทางที่แน่นอนตายตัว แต่ก็ยังกำหนดขั้นตอนไว้เป็น 5 ลีลา ส่วนในชี่กงบ่อเก๊ก ทุกท่วงท่าที่เกิดขึ้นจะเป็นไปอย่างอิสระโดยแท้จริง เป็นการขับเคลื่อนร่างกายด้วยพลังชี่ภายในของเราเองในทุกขณะตลอดการฝึก ผู้ฝึกชี่วิธีการนี้บางคนที่ปกติมีปัญหาในการขยับเคลื่อนไหวบางส่วนของร่างกาย เมื่ออยู่ในสมาธิขณะฝึกจะสามารถขยับร่างกายส่วนที่มีปัญหาได้ หรือบางคนวาดรูปไม่ได้ ก็สามารถวาดรูปได้สวยงามในสมาธิขณะฝึก เป็นต้น

อย่างไรก็ตาม พบว่ามีคนเพียงราว 5% เท่านั้นที่สามารถฝึกวิชาชี่กงบ่อเก๊กถึงขั้นที่ร่างกายสามารถเคลื่อนไหวเองได้ ปราชญ์จีนโบราณจึงได้คิดค้นศาสตร์อีกแขนงหนึ่ง ที่ใช้พลังของเสียงดนตรี (พลังชี่ภายนอก) มาช่วยขับเคลื่อนพลังชี่ภายในร่างกาย ให้ไหลเลื่อนไปตามเส้นชี่ และมีการขยับเคลื่อนร่างกายเหมือนการฝึกชี่แบบบ่อเก๊ก โดยเน้นผลด้านสุขภาพเป็นสำคัญ มีการศึกษาความสัมพันธ์ของเสียงดนตรีกับพลังธาตุพื้นฐาน 5 ธาตุ (ดิน ทอง / โลหะ น้ำ ไม้ และ ไฟ) ซึ่งมีผลต่อการทำงานของระบบอวัยวะหลักต่างๆ ของร่างกาย และพบว่าพลังของเสียงดนตรีทั้ง 5 ลักษณะเสียง (กง ซัง อวี๋ เจี่ยว และ เจิง) มีความสัมพันธ์เชื่อมโยงกับพลังธาตุทั้ง 5 รวมทั้งพลังอินและหยางภายในร่างกายด้วย

ดนตรีของจีนเป็นระบบบันไดเสียง 5 ขั้น หรือมี 5 เสียง คือ กง ซัง อวี๋ เจี่ยว และเจิง ในขณะที่ดนตรีตะวันตกเป็นระบบบันไดเสียง 7 ขั้น คือ โด เร มี ฟา ซอล ลา และ ที แต่ในวิชาดนตรี 5 เสียงของการฝึกชี่ แต่ละเสียงยังมีลักษณะเฉพาะที่เชื่อมโยงได้กับลักษณะของแต่ละธาตุอีกด้วย ซึ่งจะอธิบายลงละเอียดเรื่องนี้มากขึ้นในเรื่องการปรับสมดุลพลัง 5 ธาตุ

การแพทย์พื้นฐานของจีนโบราณ มีการใช้เสียงดนตรีเป็นยาเพื่อบำบัดรักษาสุขภาพ ก่อนที่จะรู้จักการใช้ยาสมุนไพรเพื่อการรักษา มีหลักฐานทางโบราณคดีพบเครื่องดนตรีที่เก่าแก่ที่สุดในโลกในประเทศจีนมีอายุราว 100,000 ปี และนับตั้งแต่ประเทศจีนมีตัวอักษรบันทึกเรื่องราว?ได้มีการบรรยายถึงทฤษฎีและวิธีการฝึกชี่อย่างละเอียด?มีการบันทึกเรื่องของชี่กงในเอกสารโบราณอันเป็นหนังสือประวัติศาสตร์ยุคแรกสุดของจีนที่ชื่อว่า ?ช่างชูว? (4,000 ปีก่อน) และหนังสือบันทึกประวัติศาสตร์จีน ?เสี่ยจี้? มีการระบุการเต้นรำ กระโดดเพื่อบรรเทาอาการปวดข้อและรักษาสุขภาพยามอากาศชื้น อักษรภาษาจีนคำว่า ?ดนตรี? ??จะประกอบด้วยคำ 3 คำ คือคำว่า ?สีขาว? ??ซึ่งหมายถึงโลหะ คำว่า ?ไม้? ??และคำว่า ?เส้นไหม? ??ซึ่งก็คืออุปกรณ์พื้นฐานของเครื่องดนตรีจีนโบราณ และอักษรภาษาจีนคำว่า ?ยา? คือ ?เอี้ยว? ??จะประกอบด้วยคำสองคำ คือ คำว่า ?ดนตรี? ??และคำว่า ?หญ้า? ?ซึ่งหมายถึงสมุนไพร เมื่อรวมคำทั้งสองเข้าด้วยกันจึงสามารถแปลความได้ว่า พลังเสียงดนตรีที่ดีเป็นพลังส่วนสำคัญในการขับเคลื่อนตัวยาไปรักษาซ่อมแซมสุขภาพให้แข็งแรงขึ้นได้

อาจารย์ชี่กงสมัยโบราณจึงได้นำวิชาดนตรี 5 เสียง มาเสริมการฝึกชี่แบบเคลื่อนไหว โดยประสานรวมพลังของเสียงจากดนตรี 5 เสียง (ชี่ภายนอก) มาช่วยขับเคลื่อนพลังชี่ภายใน ทำให้ร่างกายสามารถขยับเคลื่อนไหวได้เองอย่างอิสระเช่นเดียวกับการฝึกชี่แบบบ่อเก๊ก โดยไม่ต้องอาศัยภาวะจิตที่เป็นสมาธิลึกซึ้ง และมุ่งผลด้านสุขภาพเป็นสำคัญ พลังของดนตรี 5 เสียงจะขับเคลื่อนกระแสชี่ในร่างกายให้ไหลเวียนไปทั่วร่างอย่างคล่องตัว และทำงานประสานกับพลัง 5 ธาตุ ในการปรับสมดุลพลังธาตุทั้ง 5 และสมดุลพลังอิน-หยางของระบบต่างๆ ในร่างกาย เปรียบได้กับเป็นการฝังเข็มคราวละหมื่นๆ เล่มด้วยพลังชี่จากเสียงดนตรี ทำให้เป็นการฟื้นฟู เสริมสร้าง และดูแลสุขภาพโดยไม่ต้องฝังเข็มจริงๆ และไม่ต้องใช้ยาที่อาจมีผลข้างเคียง จึงปลอดภัยกับสุขภาพร่างกายและมีประสิทธิภาพในการบำบัดดีที่สุด

ความรู้วิชาชี่กงกับดนตรี หรือ ดนตรีปรับพลังชีวิต ได้สูญหายขาดช่วงไปเมื่อมีการเผาทำลายตำราวิชาการของจีนในสมัยของจักรพรรดิ์จิ๋นซีเมื่อราว 2,000 ปีก่อน แต่คงมีคนแอบเก็บตำราโบราณไว้หรือมีการแอบถ่ายทอดวิชาจากรุ่นสู่รุ่นต่อกันมาจนถึงสมัยราชวงศ์ถัง ซึ่งมีการฟื้นฟูศิลปวิทยาการของจีนอย่างกว้างขวาง ดนตรี 5 เสียงเพื่อการขับเคลื่อนพลังชี่จึงได้รับการฟื้นฟูขึ้นใหม่อีกครั้ง แต่มีการสงวนใช้อยู่เฉพาะภายในราชสำนักสำหรับเชื้อพระวงศ์เท่านั้น มาจนถึงยุคปฏิวัติวัฒนธรรมซึ่งเป็นจุดจบของราชสำนักและราชวงศ์จีน ระบอบคอมมิวนิสมีการห้ามใช้วิชาโบราณต่างๆ เพราะถือเป็นปฏิปักษ์กับการพัฒนาชาติให้ก้าวหน้า เมื่อประเทศจีนเปลี่ยนมาดำเนินนโยบายปฏิรูปเปิดประเทศเมื่อไม่กี่ทศวรรษที่ผ่านมานี้เท่านั้น ที่วิชาชี่กงแขนงนี้ได้รับการฟื้นฟูกลับเผยแพร่มาอีกครั้ง ปัจจุบันถึงแม้จะมีการสอนวิชาดนตรีเพื่อขับเคลื่อนพลังชี่นี้ให้คนทั่วไปในประเทศจีนแล้วก็ตาม แต่ก็ยังไม่เป็นที่รู้จักกว้างขวางนัก มีมหาวิทยาลัยการแพทย์ของจีนเพียงไม่กี่แห่งที่ทำการศึกษารวบรวมและเรียบเรียงเพลงตามหลักดนตรี 5 เสียงเพื่อการขับเคลื่อนพลังชี่แต่โบราณ อาทิ วิทยาลัยการแพทย์ในเทียนจิน เซี่ยงไฮ้ และปักกิ่ง เป็นต้น

ดนตรีที่ทำขึ้นเพื่อใช้ในการขับเคลื่อนพลังชี่ที่มีอยู่ในปัจจุบัน จะเน้นการปรับสมดุลของพลังธาตุทั้ง 5 ที่สัมพันธ์กับอวัยวะภายในที่สำคัญ และสมดุลพลังอิน-หยางในร่างกาย รวมทั้งปรับสมดุลของอารมณ์หรือจิตใจซึ่งเป็นสาเหตุของปัญหาสุขภาพเช่นกัน ถึงแม้หลักของการฝึกชี่จะถือว่า ?จิตคุมกาย? แต่เนื่องจากปฏิสัมพันธ์ระหว่างร่างกาย (ธาตุ) และจิตใจ (อารมณ์) เป็นความสัมพันธ์ 2 ทาง คือ ปัญหาสุขภาพสามารถเริ่มจากร่างกายและส่งผลถึงจิตใจ หรือในทางกลับกัน อาจเริ่มจากจิตใจและส่งผลถึงร่างกายก็ได้ ทั้งนี้เพราะพลังชี่ของร่างกายและจิตใจมีความสัมพันธ์กันอย่างใกล้ชิดจนแยกกันไม่ออก ยิ่งในสภาพวิถีการดำเนินชีวิตของคนยุคปัจจุบันด้วยแล้ว ยิ่งยากที่จะแยกได้อย่างชัดเจนว่าร่างกายหรือจิตใจกันแน่ที่เป็นต้นเหตุของปัญหาบั่นทอนสุขภาพของเรา ดังนั้นไม่ว่าจะเริ่มแก้ไขหรือเสริมสร้างพลังชี่ให้กับส่วนใด ก็จะส่งผลถึงอีกส่วนหนึ่งด้วยเช่นกัน

หมายเหตุ ในประเทศไทย คุณเจียม สุจริตวิศาล ผู้ซึ่งได้ศึกษาวิชาแพทย์แผนจีนจากประเทศจีน ได้นำวิชาชี่กงดนตรี หรือดนตรีปรับพลังชีวิต เข้ามาเผยแพร่ในประเทศไทยเป็นท่านแรก ท่านได้ไปพบกับอาจารย์ผู้ถ่ายทอดวิชานี้ให้ท่านโดยบังเอิญขณะที่ศึกษาวิชาการแพทย์แผนจีนอยู่ ณ ประเทศจีน ด้วยที่กำลังศึกษาวิชาแพทย์อยู่และได้มาพบกับวิชาที่สามารถรักษาสุขภาพได้โดยไม่ต้องฝังเข็มและไม่ต้องใช้ยา ท่านจึงสนใจเป็นอย่างยิ่ง และหลังจากที่ได้รับการถ่ายทอดวิชา ท่านก็ได้ฝึกปฏิบัติอย่างสม่ำเสมอมาตลอด และด้วยเพราะที่มีพื้นฐานความรู้ด้านการแพทย์จีน ท่านจึงสามารถเข้าใจถึงการบำบัดและผลต่อสุขภาพของพลังชี่ที่เกิดขึ้นขณะที่ทำการฝึกชี่ได้อย่างชัดเจน และสามารถรับรู้ได้ถึงพลังของเสียงดนตรีจากเพลงที่นำมาใช้ฝึกได้อย่างลึกซึ้ง จึงวิเคราะห์ได้ว่าท่าทางที่เกิดขึ้นเป็นผลจากการที่พลังชี่กำลังบำบัดรักษาอวัยวะส่วนใด หรือกำลังขุดลอกเส้นชี่หรือเส้นลมปราณเส้นใด ซึ่งมีผลเกี่ยวข้องกับอวัยวะส่วนใด หรืออาการป่วยลักษณะไหน เป็นต้น ผู้ใดสนใจฝึกวิชาดนตรีปรับพลังชีวิต สามารถติดต่อสอบถามข้อมูลและกำหนดการอบรมได้ที่: ชุมชนสุขภาพนวชีวัน มูลนิธินวชีวัน www.NawaChiOne.org หรือ Email: info@NawaChiOne.org, Facebook: ชุมชนสุขภาพนวชีวัน และ มูลนิธินวชีวัน

รวบรวมและเรียบเรียง – ทัศนีย์ เศรษฐ์บุญสร้าง
tatsanee@NawaChiOne.org
??สงวนลิขสิทธิ์

กลับสู่ด้านบน

Leave a Reply

Your email address will not be published. Required fields are marked *