การแบ่งระดับความปลอดภัยของผลผลิตการเกษตร

การแบ่งประเภทผัก

จากกระแสความใส่ใจด้านสุขภาพของผู้บริโภคในปัจจุบัน คำว่า “อินทรีย์” หรือ “ออร์แกนิก” ได้กลายเป็นเครื่องมือการตลาดของธุรกิจที่เริ่มเห็นโอกาสสร้างรายได้ ?และเนื่องจากประเทศไทยไม่มีกฏหมายควบคุมการใช้คำว่า “เกษตรอินทรีย์” หรือ “ผลผลิตอินทรีย์” (Organic Product) บนฉลากสินต้าหรือผลิตภัณฑ์อินทรีย์ ?ทำให้ทุกวันนี้ในท้องตลาดบ้านเราจึงมีสินค้าเกษตรมากมายที่อ้างหรือเรียกตัวเองว่าเป็นผลผลิตอินทรีย์ หรือเป็นผลิตภัณฑ์อินทรีย์ ?แต่ในความเป็นจริง หากผู้บริโภคไม่รู้จักผู้ผลิต หรือวางใจในคำกล่าวอ้างของผู้ผลิตหรือผู้ขาย ก็ยากที่ผู้บริโภคจะรู้ได้ว่าสินค้าหรือผลิตภัณฑ์ที่ระบุว่าเป็นผลผลิตอินทรีย์นั้นเป็นอินทรีย์จริงแท้แน่นอนหรือไม่ เพียงใด? และที่สร้างความสับสนให้ผู้บริโภคมากขึ้นไปอีก คือ คำเรียกสินค้าเกษตรประเภทต่างๆ ที่มีความหมายกำกวม เช่น ผักอนามัย ผักปลอดภัย ปลอดสารฯ ไร้สารฯ อินทรีย์ ออร์แกนิก ธรรมชาติ ฯลฯ เป็นต้น ?ซึ่งทำให้คนที่ต้องการหาซื้อผักผลไม้ที่ปลอดภัยจากสารเคมีที่เป็นพิษปนเปื้อนมาทาน ไม่แน่ใจว่าสินค้าแต่ละชนิดแตกต่างกันอย่างไร และประเภทไหนที่จะพอมั่นใจได้ว่าปลอดภัยจากการปนเปื้อนของสารเคมีพิษในระดับที่เกินขนาดจนน่ากลัว ตามที่ตรวจพบและเป็นข่าวในปัจจุบัน ตารางด้านบนเป็นการสรุปภาพรวมความแตกต่างของผลผลิตการเกษตรแต่ละประเภท ที่จะช่วยให้เข้าใจความแตกต่างของผลผลิตหรือสินค้าเกษตรในท้องตลาดบ้านเรามากขึ้น

เคมี หรือ ผักผลไม้เคมี หมายถึง ผลผลิตจากระบบเกษตรทั่วไปที่ใช้สารเคมีโดยไม่มีการตรวจสอบควบคุม

อนามัย หรือ ผักผลไม้อนามัย หมายถึง ผลผลิตจากระบบเกษตรที่ใช้สารเคมี แต่ควบคุมปริมาณสารเคมีตกค้างให้ไม่เกินระดับที่เป็นอันตรายต่อการบริโภคตามเกณฑ์ที่กำหนด เป็นชื่อเรียกตาม ตรามาตรฐานผักผลไม้อนามัย ของกรมวิชาการเกษตร กระทรวงเกษตรฯ

ปลอดภัย หรือ ผักผลไม้ปลอดภัยสำหรับบริโภค หมายถึง ผลผลิตจากระบบเกษตรที่ใช้สารเคมี แต่ควบคุมปริมาณสารเคมีตกค้างให้อยู่ในเกณฑ์ที่ยอมรับได้ว่าปลอดภัยต่อการบริโภค เป็นชื่อเรียกสำหรับ ตรารับรองคุณภาพระบบตรวจสอบสารพิษ ของกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข

ไร้ดิน หรือ ผักไฮโดรโฟนิก หมายถึง ผลผลิตจากระบบเกษตรที่ปลูกโดยไม่ใช้ดิน คือปลูกในน้ำที่ให้สารอาหารพืชสังเคราะห์ ทั้งที่เป็นเคมีและสังเคราะห์จากวัตถุดิบที่เป็นอินทรีย์ ซึ่งคนมักเข้าใจผิดว่าเป็นผักอินทรีย์ที่ปลอดภัยต่อการบริโภค แต่พืชที่ธรรมชาติสร้างมาให้โตในดิน เมื่อนำไปปลูกในน้ำและในสภาพแวดล้อมที่ปิด คือ ควบคุมชนิดและปริมาณสารอาหารที่พืชจะได้รับ ทำให้พืชเจริญเติบโตแบบผิดธรรมชาติ ขาดแร่ธาตุสารอาหารที่ควรมีจากการปลูกในดินตามธรรมชาติของพืช ผลผลิตที่ได้จะมีชนิดของสารอาหารที่ร่างกายต้องการเพื่อการมีสุขภาพที่ดีอยู่จำกัดเท่าที่ใส่ให้ในน้ำที่ปลูก และยังเสี่ยงกับปริมาณไนเตรทที่เป็นอันตรายกับร่างกายตกค้างมากกว่าพืชที่ปลูกดินที่ใช้เคมีอีกด้วย (ดูข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ http://rdi.ku.ac.th/FOODS/Tammasak/index_hydroponic.html)

ไร้สารฯ?หรือ ไร้สารเคมีหรือสารพิษปบเปื้อน (ควร)หมายถึง ผลผลิตจากระบบเกษตรที่ไม่ใช้ทั้งยาฆ่าแมลงเคมีและปุ๋ยเคมีในการผลิต ?แต่อาจมีรายละเอียดในกระบวนการปลูกที่ยังก่อนผลเสียกับผู้บริโภคและ/หรือสิ่งแวดล้อมอยู่ เช่น เมล็ดพันธุ์อาจเป็นเมล็ดพันธุ์ตัดแต่งพันธุ์กรรม (GMO) หรือเป็นเมล็ดพันธ์ที่ไม่ใช่อินทรีย์ ?ระบบการจัดการฟาร์มและกระบวนการปลูกโดยรวมอาจไม่มีการป้องกันการปนเปื้อนสารเคมีอันตราย โดยเฉพาะจากน้ำที่ใช้รด และ/หรือจากลมที่พัดเอาสารเคมีจากแปลงเคมีของข้างเคียงเข้ามาปยเปื้อน ?หรือไม่มีการจดบันทึกข้อมูลกระบวนการปลูกเพื่อการตรวจสอบย้อนกลับ ฯลฯ เป็นต้น

อินทรีย์ หรือ?ออร์แกนิก (ควร)หมายถึง ผลผลิตจากระบบเกษตรอินทรีย์ที่ได้รับการรับรองมาตรฐานเกษตรอินทรีย์จากหน่วยงานตรวจรับรองที่เชื่อถือได้ ?ผู้ประกอบการเกษตรอินทรีย์ต้องปฏิบัติตามข้อกำาหนดการตรวจรับรอง ที่ครอบคลุมตั้งแต่ แหล่งที่มาของ(เมล็ด)พันธุ์และปัจจัยการผลิต (ปุ๋ย อาหารสัตว์ ยาป้องกันและรักษาโรค ฯลฯ) วิธีการใช้ปัจจัยการผลิต วิธีการดูแลรักษา วิธีการป้องกันการปนเปื้อนจากสภาพแวดล้อม ซึ่งรวมถึงแหล่งผลิตแบบเคมีที่อยู่ข้างเคียง ตลอดไปถึงวิธีการเก็บเกี่ยวผลผลิต คัดแยก ทำความสะอาด เก็บรักษาผลิตผล การบรรจุขาย (ภาชนะบรรจุ ฉลากกำกับ) และการจัดการระหว่างขนส่ง ?ซึ่งรายละเอียดจะแตกต่างกันไปตามขอบเขตและระบบมาตรฐานที่ขอรับรอง ?แต่มาตรฐานระดับสากลมีข้อกำหนดพื้นฐานที่ผู้ประกอบการทุกคนต้องปฏิบัติในทุกขั้นตอนการผลิตไปจนถึงมือผู้บริโภค ??โดยต้องไม่ใช้ปัจจัยการผลิตที่เป็นสารเคมีสังเคราะห์หรือสมุนไพรต้องห้าม เน้นการป้องกันศัตรูพืชและรักษาโรคสัตว์โดยคำนึงถึงระบบนิเวศ (ไม่เพิ่มปัญหาภาวะโลกร้อนที่ทำให้สภาพภูมิอากาศแปรปรวน เป็นต้น) มีการจดบันทึกกิจกรรมการผลิตในทุกขั้นตอน และเก็บรักษาข้อมูลเพื่อให้สามารถตรวจสอบย้อนกลับได้ (traceability) อย่างน้อย 5 ปี ?นอกจากนี้ยังรวมถึงการดูแลสวัสดิภาพของลูกจ้างในฟาร์มหรือโรงงานอย่างเป็นธรรม และดำเนินงานอย่างสอดคล้องกับขนบประเพณีวัฒนธรรมท้องถิ่นด้วย ?รวมแล้วก็คือเป็นการอยู่ร่วมกันอย่างเอาใจใส่ระหว่างมนุษย์ พืช สัตว์ และสิ่งแวดล้อม ให้มากที่สุดเท่าที่จะทำได้ในทุกขั้นตอนนั่นเอง ?(ดูรายละเอียดเพิ่มเติมเรื่อง?ตรารับรองมาตรฐานเกษตรอินทรีย์ เชื่อถือได้หรือไม่? ?เพียงใด?)

อย่างไรก็ตาม ขอให้เข้าใจด้วยว่าในหลายกรณี ผู้ผลิตและ/หรือผู้ขายเองก็ไม่ได้เข้าใจความหมายของชื่อเรียกในการแบ่งประเภทผลผลิตการเกษตรตามนี้ และเรียกประเภทสินค้าที่ตนผลิตและ/หรือขายอย่างผิดๆ ก็มีไม่น้อย ดังนั้น สำหรับผู้ที่ต้องการเลือกซื้อผลผลิตอินทรีย์ หรือผลิตภัณฑ์อินทรีย์ที่ของแท้ (ไม่ใช่อินทรีย์ระบบ?กรอ.- กูรับรองเอง) มีวิธีการสังเกตง่ายๆ ก็คือ ให้มองหาตราสัญลักษณ์มาตรฐานเกษตรอินทรีย์ที่เชื่อถือได้

ที่มา: ?รวบรวมจากแผ่นพับของกรมวิชาการเกษตร และ?ข้อมูลของกรีนเนท

 

ข้อมูลเพิ่มเติม

– ?ตรารับรองมาตรฐานเกษตรอินทรีย์ เชื่อถือได้หรือไม่? ?เพียงใด?
– ?ตรารับรองมาตรฐานสินค้าอินทรีย์ที่ควรรู้จัก
– ?ข้าวเจ้าหอมนิลอินทรีย์ Organic Hom-nin (Black) Rice
– ?ระบบเกษตรอินทรีย์พลังชีวภาพ

กลับสู่หน้าหลัก: ?ศูนย์การเรียนรู้นวัตกรรมลดโลกร้อนนวชีวัน

Leave a Reply

Your email address will not be published. Required fields are marked *