บทสรุป ความลับของเวลา : นาฬิกาแห่งชีวิต

– เวลาคือความเปลี่ยนแปลง เวลาหนึ่งชั่วโมงคือการเปลี่ยนตำแหน่งของเข็มนาทีบนหน้าปัดนาฬิกาครบหนึ่งรอบ เวลาหนึ่งวันคือการเปลี่ยนตำแหน่งของเข็มชั่วโมงบนหน้าปัดนาฬิกาครบสองรอบ สิ่งต่างๆที่เราไม่รู้ย่อมเป็นความลับที่มืดมนสำหรับเรา ?ความลับของเวลา? ที่แฝงอยู่ใน ?นาฬิกาแห่งชีวิตเรือนนี้? ก็คือกฎธรรมชาติที่ควบคุมอยู่เบื้องหลังวัฏฏจักรความเปลี่ยนแปลงในชีวิตที่ตัวคุณยังไม่รู้นั่นเอง (แต่ถ้าคุณรู้แล้วสิ่งเหล่านี้ก็คงไม่ใช่ความลับอะไรสำหรับคุณ) – ?ความลับของเวลาที่แฝงอยู่ในนาฬิกาแห่งชีวิต? คือความลับของหนทางในการควบคุม ?อวกาศและเวลาสี่มิติในเอกภพที่คุณรับรู้? (รูป) ผ่าน ?มิติที่ห้าของจิตที่เป็นผู้รู้? (นาม) ที่แฝงอยู่ภายในตัวของคุณ เหมือนถ้าคุณรู้จักวิธีควบคุมบังคับความเร็วของยานอวกาศลำที่คุณนั่ง คุณก็จะสามารถควบคุมบังคับความเร็วของเทหวัตถุทุกอย่างในเอกภพภายนอกยานอวกาศที่คุณเห็น ไม่ว่าจะด้วยตาเปล่าหรือสังเกตผ่านเครื่องมือใดๆที่อยู่ภายในยานอวกาศของคุณก็ตาม – แต่ถึงแม้คุณจะเข้าใจวิธีควบคุมปุ่มบังคับต่างๆที่เป็น ?hardware? ของยานอวกาศแล้วก็ตาม คุณจะต้องตั้งโปรแกรม ?software? ของคอมพิวเตอร์ที่ควบคุมยานอวกาศให้ถูกต้องด้วย ซึ่งคงไม่ใช่เรื่องง่ายและต้องใช้เวลามากกว่าการเรียนรู้แค่วิธีควบคุมปุ่มบังคับต่างๆเท่านั้น การปรับโปรแกรมการทำงานของคอมพิวเตอร์ให้ถูกต้อง ก็เหมือนกับการเปลี่ยนแท่งเหล็กให้มีคุณลักษณะเป็นแม่เหล็กอย่างถาวร โดยคุณจะต้องใช้ความพยายามในการเอาแม่เหล็กถูกับแท่งเหล็กนั้นๆในทิศทางเดียวกันอย่างเป็นระเบียบซ้ำแล้วซ้ำเล่า ด้วย ?ความถี่? (frequency) ?ห้วงเวลา? (duration) และ ?ความเข้มข้น? … Continue reading

ณ เวลาเที่ยงคืนของจุดจบชีวิต

– ทุกงานเลี้ยงย่อมมีวันเลิกรา? เที่ยงคืนของชีวิตวัยแปดสิบสี่ปีคือเวลาที่คุณจะต้องเข้านอนด้วยความอ่อนล้าเต็มทนของร่างกาย? หลังจากที่คุณเหน็ดเหนื่อยกับการทำงานมาทั้งวัน? ทำใจให้สบายๆ? ปล่อยวางสิ่งต่างๆ? งานที่คั่งค้าง ?คนที่คุณรัก ?อำนาจ-เกียรติยศ-ทรัพย์สินเงินทอง? ฯลฯ? ที่คุณจะต้องอำลาจากไปตลอดกาล? เพื่อไม่เก็บเอาไป ?ฝันร้าย? ด้วยความห่วงกังวล – ถ้าเปรียบเทียบการควบคุม ?โลกทั้งหมดที่ถูกรู้?? กับการควบคุมความเร็วของเทหวัตถุทุกอย่างในเอกภพภายนอกยานอวกาศตามที่เราสังเกตเห็น? ด้วยวิธีควบคุมบังคับที่ความเร็วในยานอวกาศลำของเรา? สิ่งที่พระพุทธเจ้าทรงสอนทั้งหมดก็จะเปรียบได้กับการสอนวิธีควบคุมบังคับยานอวกาศลำที่เรากำลังนั่งอยู่นั่นเอง ?แน่นอนว่าไม่ใช่เรื่องง่ายที่จะสอนให้คนธรรมดาผู้หนึ่งสามารถเข้าใจเทคโนโลยีอันสลับซับซ้อนที่สุดของยานอวกาศซึ่งเคลื่อนที่ไปได้ทุกแห่งหนในเอกภพด้วยความเร็วเหนือแสงลำนี้? แต่ก็ไม่เหลือวิสัยของความเป็นไปได้ที่จะสอนให้คนธรรมดาผู้หนึ่งค่อยๆเรียนรู้วิธีควบคุมปุ่มต่างๆที่จะบังคับการเคลื่อนที่ของยานอวกาศดังกล่าว ??โดยปุ่มควบคุมสำคัญในวงจรของ ?กฎปฏิจจสมุปบาท? ก็คือ? ปุ่มควบคุมตรง ?เวทนาเป็นปัจจัยให้เกิดตัณหา? – ใน ?ญาณ 16? (ซึ่งคัมภีร์ชั้นอรรถกถาได้ขยายรายละเอียดเพิ่มจาก ?วิปัสสนาญาณ 9? ในพระไตรปิฎก) ?เริ่มต้นขั้นแรกด้วย ?นามรูปปริเฉทญาณ? (ญาณกำหนดรู้แยกแยะรูป-นามได้)? และ ?ปัจจยปริคคหญาณ? … Continue reading

ณ เวลาห้าทุ่ม (หรือ 23.00 นาฬิกาของชีวิตวัยแปดสิบปีครึ่ง)

– หลายคนอาจนอนหลับสนิทไปแล้วและกำลังอยู่ในโลกของความฝัน ไม่ว่าจะเป็นการ ?ฝันดี? หรือ ?ฝันร้าย? ก็ตาม ทั้งนี้ขณะที่ ?โลก? ซึ่งเรารับรู้ เป็นสัมพัทธภาพระหว่าง ?รูป? (สิ่งที่ถูกรู้) กับ ?นาม? (อันคือจิตที่เป็นผู้รู้) ตามนัยแห่งกฎปฏิจจสมุปบาทและทฤษฎีสัมพัทธภาพของไอน์สไตน์ดังที่ได้กล่าวมา คนที่มีจิตขุ่นมัวเพราะถูกบีบคั้นครอบงำด้วยความ ?โลภ-โกรธ-หลง? ถึงแม้จะกำลังนั่งอยู่ในคฤหาสน์ใหญ่โตที่มีสิ่งอำนวยความสุขสะดวกสบายทุกอย่างประดุจวิมานบนสวรรค์ แต่คุณภาพของ ?โลกที่คนผู้นั้นรับรู้? อันถูกฉาย (project) ออกไปจาก ?จิตที่ขุ่นมัว? ไปปรากฏบนฉากของคฤหาสน์หลังนั้นแล้วสะท้อนกลับสู่การรับรู้ของจิตดังกล่าว ก็จะปรากฏแก่คนผู้นั้นไม่แตกต่าง หรือ ?สมมูล? (equivalence) กับการตกอยู่ใน ?นรก? ขุมใดขุมหนึ่งที่เร่าร้อนจนนั่งไม่เป็นสุข?? ในทางกลับกันถึงกำลังนั่งอยู่ในกระท่อมซอมซ่อ แต่ถ้าจิตของผู้นั้นนิ่งสงบผ่องใส (แม้เพียงชั่วขณะในฌานลืมตา) ?โลกที่ถูกรู้? ซึ่งฉายออกไปจาก ?จิตที่ผ่องใส? … Continue reading

ณ เวลาสี่ทุ่ม (หรือ 22.00 นาฬิกาของชีวิตวัยเจ็ดสิบเจ็ดปี)

– หลายคนคงนอนหลับสนิทไปแล้วก่อนถึงเวลาสี่ทุ่ม โดยอายุเจ็ดสิบเจ็ดปีที่เวลาสี่ทุ่มของนาฬิกาแห่งชีวิตเรือนนี้ก็เข้าใกล้อายุขัยเฉลี่ยของหญิงไทยเข้าไปทุกที คุณเตรียมตัวเข้านอนเพื่อที่จะได้หลับสนิทตลอดกาลและอำลาทุกสิ่งทุกอย่าง ทั้งอำนาจ เกียรติยศชื่อเสียง และทรัพย์สมบัติที่คุณเพียรสะสมมาชั่วชีวิต รวมถึงเตรียมคำพูดเพื่อกล่าวอำลาคนที่คุณรักหรือยัง – แต่อันที่จริงแล้วชีวิตของเราทุกคนกำลัง ?หลับลง? ในทุกขณะเวลา และเราก็กำลังอยู่ในโลกของความฝันด้วย เพราะหลักพุทธธรรมชี้ให้เห็นสัจจะความจริงประการหนึ่งว่า เอกภพหรือ ?โลก? อันเป็น ?สิ่งที่ถูกรู้? (รูป) นั้นไม่สามารถแยกเป็นอิสระจาก ?จิตที่เป็นผู้รู้? (นาม)ได้ ขณะที่ไม่ว่าจะเป็น ?รูป? (ซึ่งเป็นสิ่งที่ถูกรู้ ) และ ?นาม? (อันคือจิตที่เป็นผู้รู้นั้น) ล้วนแล้วแต่ตกอยู่ภายใต้กฎไตรลักษณ์อันคือเกิดขึ้น ตั้งอยู่ ดับไปๆในทุกขณะของเวลา (อนิจจัง) ทนตั้งอยู่ในสถานะเดิมเช่นนั้นๆไม่ได้แม้ชั่วขณะ (ทุกขัง) ตลอดจนปราศจากแก่นสารสาระแห่งการดำรงอยู่อย่างจริงแท้เป็นภววิสัยหรือวัตถุวิสัย (objective) ของสรรพสิ่งทั้งหลายทั้งปวง (อนัตตา) ฉะนั้นสิ่งที่เราเข้าใจว่าเป็น … Continue reading

ณ เวลาสามทุ่ม (หรือ 21.00 นาฬิกาของชีวิตวัยเจ็ดสิบสามปีครึ่ง)

– ถ้าหากคนที่เกิดปี พ.ศ. 2500 มีชีวิตอยู่จนถึงปี 2575 หรือที่เวลาสามทุ่มยี่สิบหกนาทีของชีวิตวัย 75 ปี ก็จะมีโอกาสได้ร่วมเฉลิมฉลองครบรอบ 100 ปีของประชาธิปไตยไทย ซึ่ง ณ เวลานั้นประชาธิปไตยของไทยน่าจะได้รับการ ?อภิวัฒน์? สู่ความเจริญงอกงามจนหลุดพ้นจากวงจรเลวร้ายสองวงจรดังที่ได้กล่าวมาแต่แรกได้ – ท่ามกลางวิกฤตการณ์ความขัดแย้งในระบบสังคมการเมืองไทยที่ยืดเยื้อมาตั้งแต่ปี 2549 (หรือตอนเวลาบ่ายสองโมงของนาฬิกาแห่งชีวิตเรือนนี้) ?ถ้ากลุ่มชนชั้นนำฝ่ายหนึ่งพยายามจะรักษาสถานะเดิมแห่งอำนาจ (status quo) ด้วยวิถีทางที่ไม่เป็นประชาธิปไตย มวลมหาประชาชนฝ่ายที่เรียกร้องประชาธิปไตย (ซึ่งเรียกได้ว่าเป็นฝ่าย ?antithesis?) ก็คงไม่ยินยอม ขณะที่ถ้ากลุ่มชนชั้นนำอีกฝ่ายพยายามจะรักษาสถานะเดิมแห่งอำนาจของตนด้วยการเลือกตั้งตามวิถีทางแบบเดิมๆซึ่งต้องใช้เงินจำนวนมากสำหรับการหาเสียงและซื้อเสียงอันนำไปสู่ปัญหาการทุจริตคอรัปชั่น มวลมหาประชาชนอีกฝ่าย (ซึ่งเรียกได้ว่าเป็นฝ่าย ?thesis?) ก็คงไม่ยินยอมเช่นกัน ผลที่สุดระบบสังคมการเมืองไทยก็ ?ถูกบีบ? ด้วยตรรกะของกฎวิภาษวิธี (Dialectic) ให้จำเป็นต้องอภิวัฒน์สู่ความเจริญงอกงามยิ่งขึ้นอีกขั้นของ ?ประชาธิปไตยที่มีคุณภาพและคุณธรรม? … Continue reading

ณ เวลาสองทุ่ม (หรือ 20.00 นาฬิกาของชีวิตวัยเจ็ดสิบปี)

– สองทุ่มถือได้ว่าเป็นจุดเปลี่ยนผ่านสู่ช่วงกลางคืนใกล้ถึงเวลานอนของผู้คน และวัยเจ็ดสิบปีก็ใกล้อายุขัยเฉลี่ยของชายไทยเข้าไปทุกที สำหรับคนที่เกิดปี พ.ศ. 2500 ช่วงอายุเจ็ดสิบในปีพ.ศ. 2570 คนผู้นั้นจะมีโอกาสได้ร่วมกิจกรรมสำคัญในวโรกาสแห่งปีรำลึกถึงพระบรมราชสมภพครบ 100 ปีของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช พระมหากษัตริย์ที่ยิ่งใหญ่ที่สุดพระองค์หนึ่งของประวัติศาสตร์ชาติไทย – อันที่จริงแล้วพลังของ ?วาทกรรม? (Discourse) แห่งพระราชดำรัส ?เศรษฐกิจพอเพียง? ในพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ ที่อธิบายจากกรอบความคิดทางพุทธปรัชญา น่าจะสามารถเชื่อม ?โครงสร้างส่วนบน? ของอุดมการณ์ทางการเมืองแบบ ?ประชาธิปไตย? ให้ประสานยึดแน่นกับ ?โครงสร้างส่วนลึก? ทางด้านจริยธรรมของสังคมไทยที่มีรากฐานมาจาก ?พระพุทธศาสนา? ได้อย่างกลมกลืน (เช่นเดียวกับที่นักคิดทางตะวันตกสามารถอธิบายหลักประชาธิปไตยให้เชื่อมกับหลักคำสอนของศาสนายิว-คริสเตียน ที่เป็นรากฐานทางอารยธรรมของประเทศทางตะวันตก จนทำให้ระบบสังคมการเมืองแบบประชาธิปไตยของประเทศทางตะวันตกมีความมั่นคงเป็นปึกแผ่น) อีกทั้งช่วยทำให้ ?พระมหากษัตริย์? กับ?ประชาธิปไตย? ภายใต้ระบอบการปกครอง (political regime) แบบ ?ประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข? … Continue reading

ณ เวลาหนึ่งทุ่ม (หรือ 19.00 นาฬิกาของชีวิตวัยหกสิบหกปีครึ่ง)

– ?แผนที่ชีวิต? เป็นสิ่งสำคัญอย่างยิ่งต่อการบอกเส้นทางที่ถูกต้องสำหรับการเดินทางสู่ ?จุดหมายที่พึงไปให้ถึง? โดยเฉพาะอย่างยิ่งสำหรับคนที่เหลือเวลาเดินทางอีกไม่มากนักในชีวิต ?อุดมการณ์ทางการเมือง? ที่เป็นเสมือน ?แผนที่ของระบบสังคมการเมือง? ก็มีคุณค่าความสำคัญดุจเดียวกัน ในขณะที่คนช่วงชั้นกลางของสังคมไทยใช้อุดมการณ์ ?จารีตนิยม? เพื่อต่อต้าน ?ระบอบทักษิณ? นั้น คงไม่ใช่เพราะคนช่วงชั้นกลางเหล่านั้นเป็น ?คนดี? ที่ห่วงใยเรื่องปัญหาจริยธรรมทางการเมืองมากกว่าคนไทยที่อยู่ฝ่ายตรงข้าม (ซึ่งถูกเรียกว่าเป็นฝ่าย ?คนเลว? เพราะอยู่ตรงข้ามกับฝ่าย ?คนดี?) แต่สาเหตุหนึ่งอาจเป็นเพราะถ้าสามารถปลูกฝังให้คนช่วงชั้นสูงและล่างมีจริยธรรมแห่ง ?ความพอเพียง? มากขึ้น ก็จะไม่มาแย่งชิง ?พื้นที่อำนาจ? ภายใต้โครงสร้างความเหลื่อมล้ำที่มีอยู่ไปจากตน (ดังสมมติฐานที่ได้กล่าวถึงในตอนบ่ายสามโมง) – อย่างไรก็ตามถ้าตัดเรื่องการแย่งชิงวาทกรรมแห่งการเป็นฝ่าย ?คนดี? หรือ ?คนเลว? ในเกมการต่อสู้ทางการเมือง แล้วมองปรากฏการณ์ของระบบสังคมการเมืองไทยในเชิงประจักษ์ การขาดกลไกทาง ?ศาสนาของรัฐ? ที่มีประสิทธิภาพและประสิทธิผลในการช่วยคลี่คลาย ?ความกลัว? ที่แฝงอยู่ในจิตใจของผู้คนแบบ … Continue reading

ณ เวลาหกโมงเย็น (หรือ 18.00 นาฬิกาของชีวิตวัยหกสิบสามปี)

– หกโมงเย็นถือเป็นช่วงเวลาเปลี่ยนผ่านที่สำคัญอีกจุดหนึ่งของนาฬิกาแห่งชีวิต จากการตรากตรำทำงานมาทั้งวันสู่การเตรียมพักผ่อนหลังเลิกงานเมื่ออาทิตย์เริ่มตกดิน วัยหกสิบสามปีถือว่าเข้าสู่วัยชราได้แล้ว และน่าจะใช้ช่วงเวลาหกชั่วโมงสุดท้ายที่เหลือของนาฬิกาแห่งชีวิตเพื่อการแสวงหาคำตอบเกี่ยวกับจุดหมายที่ได้เกิดมาในโลกนี้ และกำลังจะต้องอำลาจากทุกสิ่งทุกอย่างในโลกไปตลอดกาลในอีกไม่กี่ชั่วโมงข้างหน้า หลายคนจึงมักจะหันมาสนใจศาสนาเมื่อตอนแก่ – อย่างไรก็ตามความเชื่อทางศาสนามิได้มีคุณค่าความหมายต่อปัจเจกบุคคลเท่านั้น แต่ยังเป็นสิ่งที่มีคุณค่าความสำคัญต่อทุกระบบสังคมการเมืองด้วย เพราะศาสนาสามารถช่วยคลี่คลาย ?ความกลัว? ในจิตส่วนลึกของผู้คนซึ่งมาอยู่รวมกันเป็นสังคมโดยที่ทุกฝ่ายต่างได้รับประโยชน์สุขแบบ ?win win??? เนื่องจากเป็นสิ่งที่ไม่มีขอบเขตจำกัด เช่น ถึงคนกี่ร้อยกี่พันล้านคนจะศรัทธาและหันมาพึ่งพระเจ้าเพื่อช่วยคลี่คลายความกลัวต่อภัยต่างๆในชีวิต ก็ไม่ได้เป็นอุปสรรคที่จะไปทำให้คนอื่นพึ่งพระเจ้าได้ลดน้อยลงแต่ประการใด เป็นต้น ขณะที่การหวังพึ่งพา ?อำนาจ? ไม่ว่าจะเป็นอำนาจในมิติทางเศรษฐกิจ การเมือง และสังคม เพื่อเป็นหลักประกันช่วยบรรเทาความกลัวต่อภัยต่างๆนั้นมีขอบเขตจำกัด โดยถ้าคนผู้หนึ่งมีอำนาจมากขึ้นคนอื่นก็จะมีลดน้อยลงแบบ ?zero sum? ส่งผลให้เกิดความขัดแย้งจากการแย่งชิงอำนาจแห่ง ?ลาภ ยศ สรรเสริญ? ในระบบสังคมการเมืองหนึ่งๆ?? ?ศาสนาของรัฐ? จึงเป็นเงื่อนไขที่ช่วยทำให้ระบบสังคมการเมืองมีเสถียรภาพมากขึ้น – ทั้งนี้ถึงแม้ดูเหมือนว่า ?ประชาธิปไตย? (ที่สอดคล้องกับหลักวิทยาศาสตร์) … Continue reading

ณ เวลาบ่ายห้าโมงเย็น (หรือเวลา 17.00 น.ของชีวิตวัยห้าสิบเก้าปีครึ่ง)

– ชีวิตที่เดินมาถึงวัยใกล้เกษียณอายุราชการนี้น่าจะได้ผ่านประสบการณ์ต่างๆพอสมควร และมองประเด็นปัญหาทั้งหลายอย่างมีวุฒิภาวะทั้งในมิติเชิงลึกและในมิติเชิงกว้างรอบด้านมากขึ้น โดยเฉพาะอย่างยิ่งบรรดาผู้สูงอายุที่ยังไม่ปล่อยมือจากอำนาจทางการเมือง และมีส่วนร่วมอยู่ใน?วงจรเลวร้าย? (vicious circle) ทางการเมืองสองวงจร ของการ ?รัฐประหาร ? ยกร่างรัฐธรรมนูญ ? เลือกตั้ง ? รัฐประหาร …? กับ ?นักการเมืองซื้อเสียง ? มีอำนาจ ? โกงกิน ? ซื้อเสียง …? ที่แฝงอยู่ในระบอบการปกครองแบบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุขของไทยมานานถึงเกือบหนึ่งศตวรรษ แล้วช่วยกันหาทางออกจากปัญหาด้วย ?ระดับความคิดใหม่? ที่ไม่ใช่การ ?พายเรือในอ่าง? อยู่ภายใต้กรอบความคิดเดิมๆที่นำไปสู่วงจรเลวร้ายแห่งปัญหาดังกล่าว – ในอดีตเมื่อแรงบีบคั้นจากความกลัวในลำดับขั้นที่ 4 และ 5 ทำให้มนุษย์เกิดความเชื่อในลัทธิทางศาสนาแบบเทวนิยมต่างๆ ก็มีแนวโน้มที่ผู้ปกครองบ้านเมืองจะอาศัยความเชื่อทางศาสนาแบบนี้มาเสริมสร้างเป็น ?ศาสนาของรัฐ? … Continue reading

ณ เวลาบ่ายสี่โมง (หรือ 16.00 นาฬิกาของชีวิตวัยห้าสิบหกปี)

– ปลายปี 2556 ได้เกิดวิกฤตการณ์ทางการเมืองครั้งใหญ่อีกระลอกอันเป็นผลสืบเนื่องจากการทำรัฐประหารเมื่อวันที่ 19 กันยายน 2549 แล้วมีการกำหนดนโยบายในการแก้ปัญหาบ้านเมืองผิดพลาดจนกลายเป็นความขัดแย้งยืดเยื้อดังที่กล่าวมา ซึ่งในที่สุดการเมืองไทยก็ ?พายเรือในอ่าง? ครบอีกหนึ่งรอบ โดยวนกลับมาสู่การทำรัฐประหารเป็นครั้งที่ 11 เมื่อวันที่ 22 พฤษภาคม 2557 เพื่อฉีกรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยฉบับที่ 18 และประกาศใช้รัฐธรรมนูญชั่วคราวฉบับที่ 19 ตลอดจนตั้งสภาปฏิรูปแห่งชาติมายกร่างรัฐธรรมนูญฉบับที่ 20 เราต้อง ?พายเรืออยู่ในอ่าง? เช่นนี้ต่อไปอีกกี่รอบถึงจะหลุดจากวงจรเลวร้ายทางการเมืองนี้ได้ – ถ้ารากเหง้าสำคัญแห่งปัญหาความไร้เสถียรภาพของระบบสังคมการเมืองไทยซึ่งยังไม่ได้รับการแก้ไข อยู่ที่ภาวะ ?ความแปลกแยก? ของอุดมการณ์ทางการเมืองสองชุดที่ซ่อนอยู่ในระบบสังคมการเมืองไทยตามสมมติฐานที่กล่าวมา การหันมาใส่ใจกับปัญหาในทางปรัชญาการเมืองที่ดูเหมือนเป็นความคิดทางนามธรรมอันเลื่อนลอยนั้น ก็อาจเป็นสิ่งจำเป็นสำหรับสังคมไทย – ?อุดมการณ์ทางการเมือง? (Political Ideology) เป็นเรื่องที่มีความสำคัญต่อระบบสังคมการเมืองหนึ่งๆ ก็เพราะเปรียบเสมือน ?แผนที่? … Continue reading