ณ เวลาบ่ายสามโมง (หรือ 15.00 นาฬิกาของชีวิตวัยห้าสิบสองปีครึ่ง)

– ความผิดพลาดในการกำหนดนโยบายของกลุ่มชนชั้นนำ (power elites) ที่อยู่เบื้องหลังการรัฐประหารเมื่อวันที่ 19 กันยายน 2549 ทำให้วิกฤติความขัดแย้งของการเมืองไทยขยายออกไปเป็นวิกฤติความขัดแย้งทางสังคมระหว่างคนไทยสองฝ่ายที่เกิดขึ้นอย่างกว้างขวางทั่วประเทศ และลงลึกเป็นความขัดแย้งระหว่างสมาชิกในครอบครัวเดียวกันที่มีความคิดเห็นทางการเมืองแตกต่างกันอย่างที่ไม่เคยปรากฏมาก่อน ในที่สุดก็นำไปสู่เหตุการณ์นองเลือดที่ทหารใช้อาวุธสงครามเข้าสลายการชุมนุมของประชาชนในช่วงปี 2553 จนทำให้มีราษฎรบาดเจ็บล้มตายจำนวนมากเป็นครั้งที่ 4 ของประวัติศาสตร์การเมืองไทย (หลังการเปลี่ยนแปลงการปกครองแผ่นดินเมื่อปี พ.ศ. 2475 ถัดจากเหตุการณ์นองเลือดกรณี 14 ตุลาคม 2516 , 6 ตุลาคม 2519 , และพฤษภาทมิฬ 2535) – แน่นอนว่าวิกฤติความขัดแย้งทางการเมืองส่วนหนึ่งเกิดจากปัญหาในการจัดสรรอำนาจและผลประโยชน์ที่ไม่ลงตัวระหว่างชนชั้นนำกลุ่มต่างๆ แต่การที่วิกฤตการณ์ทางการเมืองสามารถขยายขอบเขตอย่างกว้างขวางจนกลายเป็นวิกฤติความขัดแย้งระหว่างมวลมหาประชาชนสองฝ่ายได้ ย่อมจะมีเหตุปัจจัยที่สัมพันธ์กับประโยชน์สุขของผู้คนจำนวนมากเข้ามาเกี่ยวข้องด้วย ประการหนึ่งอาจเป็นเพราะนโยบายการพัฒนาเศรษฐกิจแบบสองฐาน (dual track) ของรัฐบาลอดีตนายกฯทักษิณ (หรือที่เรียกกันว่า ?ระบอบทักษิณ?) ซึ่งสนับสนุนภาคธุรกิจขนาดใหญ่ในเศรษฐกิจระดับบนให้สามารถแข่งขันกับประเทศอื่นๆในโลก … Continue reading

ณ เวลาบ่ายสองโมง (หรือ 14.00 นาฬิกาของชีวิตวัยสี่สิบเก้าปี)

– สำหรับคนที่เกิดปี พ.ศ. 2500 ช่วงที่มีอายุ 49 ปี คือห้วงเวลาที่ได้เผชิญกับจุดเริ่มต้นของวิกฤติความขัดแย้งครั้งใหญ่ในระบบสังคมการเมืองไทย ซึ่งนำไปสู่การทำรัฐประหารอีกครั้งเมื่อวันที่ 19 กันยายน 2549 (หลังจากที่มีเหตุการณ์ปฏิวัติ รัฐประหาร หรือกบฏ เกิดขึ้นมากกว่า 19 ครั้งในรอบระยะเวลา 74 ปี นับตั้งแต่มีการปฏิวัติเปลี่ยนแปลงการปกครองแผ่นดินมาเป็น ?ระบอบการปกครองแบบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข? โดยสามารถทำการปฏิวัติหรือรัฐประหารสำเร็จ 9 ครั้ง มีการเคลื่อนกำลังทหารเข้ายึดอำนาจรัฐแต่ถูกปราบปรามกลายเป็นกบฏ 6 ครั้ง และมีการจับกุมดำเนินคดีผู้วางแผนก่อการกบฏก่อนที่จะมีการเคลื่อนกำลังเข้ายึดอำนาจอีกกว่า 3 ครั้ง ตลอดจนมีการเปลี่ยนแปลงแก้ไขรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยถึง 17 ฉบับ เฉลี่ยแล้วมีวิกฤตการณ์ทางการเมืองครั้งสำคัญๆเกิดขึ้นกับการเมืองไทยสี่ปีเศษต่อครั้ง) – ความไม่มีเสถียรภาพของระบบสังคมการเมืองไทยมาจากหลายสาเหตุที่ผสมผสานกัน แต่หนึ่งในสาเหตุสำคัญน่าจะเกิดจากปัญหา ?ความชอบธรรม? ของโครงสร้างความเหลื่อมล้ำทางสังคมที่เปลี่ยนแปลงไป … Continue reading

ณ เวลาบ่ายโมง (หรือ 13.00น.ของชีวิตวัยสี่สิบห้าปีครึ่ง)

– เวลาบ่ายคือการเข้าสู่วัยกลางคนและครึ่งช่วงหลังของนาฬิกาแห่งชีวิต ซึ่งเป็นห้วงเวลาที่การแข่งขันเพื่อแย่งชิงอำนาจในมิติทางเศรษฐกิจ (ลาภ) อำนาจในมิติทางการเมือง (ยศ) และอำนาจในมิติทางสังคม (สรรเสริญ) เป็นไปอย่างเข้มข้น ด้วยแรงบีบคั้นผลักดันจาก ?ความกลัว? ที่จะตกอยู่ในตำแหน่งแห่งที่ของความสัมพันธ์เชิงอำนาจ ไม่ว่าจะเป็นอำนาจในมิติทางเศรษฐกิจ การเมือง หรือสังคม ที่ด้อยกว่าคนซึ่งเรายึดเป็นบรรทัดฐานเปรียบเทียบ เช่น เพื่อนบ้านในชุมชน ญาติพี่น้อง หรือคนที่เรารู้จัก ฯลฯ – เพราะ ?อำนาจ? ซึ่งจะช่วยสร้างความรู้สึกมั่นคงให้กับตัวตน(ที่เกิดจากความกลัวต่อ ?ปริสสารัชชภัย?) นั้น เกิดขึ้นโดยการเปรียบเทียบเชิงสัมพัทธ์ (relative deprivation) กับผู้คนที่เรายึดถือมาเป็นตัวเทียบ เช่น ถ้าเพื่อนในที่ทำงานมีรถเก๋งขณะที่เรามีแค่รถจักรยานยนต์ เราก็จะรู้สึกว่าตัวเอง ?ถูกข่ม? ให้ด้อยลง อันทำให้ต้องดิ้นรนหาเงินมาซื้อรถเก๋งบ้าง ถึงแม้จะโดยการซื้อด้วยเงินกู้หรือซื้อแบบเงินผ่อนก็ตาม ?ทั้งนี้เพื่อจะรักษาสถานะของตำแหน่งแห่งที่บนพื้นที่ทางสังคมที่เรายืนอยู่ให้ดำรงคงไว้ หรือเพื่อยกระดับสถานะของตัวเองให้สูงขึ้นกว่าเดิม … Continue reading

ณ เวลาเที่ยงวัน (หรือ 12.00 นาฬิกาของชีวิตวัยสี่สิบสองปี)

– เที่ยงตรงคือเวลาที่เดินทางมาถึงช่วงครึ่งชีวิต ด้วยแรงขับเคลื่อนในการแสวงหาสิ่งต่างๆที่จะช่วยตอบสนองความต้องการตามลำดับขั้น 5 ขั้น ที่ดึงให้เราก้าวไปบนบันไดแห่งชีวิตทีละขั้นๆ แต่มองในอีกแง่หนึ่งก็อาจกล่าวได้ว่ามิใช่มีเป้าหมายสุดท้ายของความต้องการบางอย่างที่ ?ดึงให้เรา ก้าวไปข้างหน้า? แต่เป็นเพราะมีแรงบีบคั้นบางอย่างที่ ?ผลักให้เราเคลื่อนไปข้างหน้า? ต่างหาก – ในพลสูตร อังคุตตรนิกาย นวกนิบาต พระพุทธเจ้าได้ตรัสถึงแรงผลักดันทางจิตวิทยาจากความกลัวต่อภัย 5 ระดับที่มีอิทธิพลกำหนดพฤติกรรมของมนุษย์ แรงบีบคั้นจาก ?ความกลัว? ที่ซ่อนอยู่ในจิตส่วนลึกของมนุษย์ คือสาเหตุที่ทำให้มนุษย์ดิ้นรนแสวงหาสิ่งตอบสนองความต้องเพื่อมาบรรเทาความกลัวเหล่านั้น เมื่อความกลัวต่อภัยที่หยาบกว่าได้รับการคลี่คลายบรรเทาแล้ว แรงบีบคั้นจากความกลัวต่อภัยที่ละเอียดกว่าก็ปรากฏขึ้นมาครอบงำจิตใจ เหมือนตะกอนที่แฝงอยู่ในน้ำ โดยเมื่อตะกอนที่หยาบกว่าถูกกรองออกแล้ว ตะกอนที่ละเอียดกว่าซึ่งเคยถูกตะกอนหยาบบดบังไว้ ก็จะปรากฏตัวให้เห็นโดยลำดับฉะนั้น – แรงบีบคั้นผลักดันจากความกลัวต่อภัย 5 ระดับนี้มีความสอดคล้องกับความต้องการตามลำดับขั้น 5 ระดับที่มาสโลว์สังเกตเห็น กล่าวคือ ?อาชีวิกภัย? (ความกลัวต่อภัยอันเนื่องด้วยการดำรงชีวิต) ผลักดันให้มนุษย์เกิดความต้องการทางกายภาพ (physiological … Continue reading

ณ เวลาสิบเอ็ดโมงเช้า (หรือ 11.00 นาฬิกาของชีวิตวัยสามสิบแปดปีครึ่ง)

– หลังเหตุการณ์พฤษภาทมิฬปี 2535 ซึ่งกลุ่มชนชั้นกลางในเมืองที่เรียกกันว่า ?ม็อบมือถือ? ได้ต่อสู้เรียกร้องประชาธิปไตยจนหลุดพ้นจากเงื้อมมือของทหารเป็นผลสำเร็จแล้ว ได้เกิดกระแสเรียกร้องให้มีการปฏิรูปทางการเมืองเพื่อให้ประเทศไทยก้าวสู่วิถีทางประชาธิปไตยที่สมบูรณ์ ภายใต้โลกยุคโลกาภิวัตน์ซึ่งระบบเศรษฐกิจของประเทศต่างๆถูกเชื่อมโยงให้เป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน ภายหลังการล่มสลายของสหภาพโซเวียตเมื่อปลายปีพ.ศ. 2534 (อันถือเป็นจุดสิ้นสุดของยุคสงครามเย็นหลังสงครามโลกครั้งที่สอง) – การปฏิรูปการเมืองให้เป็นประชาธิปไตย ก็คือการปรับเปลี่ยนโครงสร้างความสัมพันธ์ในเชิงอำนาจ เพื่อให้มีพื้นที่ทางสังคมการเมืองสำหรับประชาชนเพิ่มมากขึ้น โดยเฉพาะอย่างยิ่งสำหรับคนชั้นกลางในเมืองที่ออกมาเรียกร้องประชาธิปไตย คำถามก็คือทำไมกลุ่มคนชั้นกลางเหล่านี้จึงออกมาเรียกร้องการปฏิรูปทางการเมือง ทั้งๆที่ก่อนหน้านี้ไม่มีท่าทีว่าสนใจเรื่องการเมืองอะไรมากมาย การเรียกร้องประชาธิปไตยในกรณี 14 ตุลาคม 2516 ก็อาศัยนักเรียนนิสิตนักศึกษาเป็นกำลังหลัก – คำตอบในเรื่องนี้อาจเป็นเพราะกลุ่มนักเรียนนิสิตนักศึกษาที่มีความตื่นตัวทางการเมืองจากเหตุการณ์ 14 ตุลาคม 2516 และ 6 ตุลาคม 2519 ได้เติบโตเป็นผู้ใหญ่โดยสร้างเนื้อสร้างตัวขึ้นมาเป็นกลุ่มชนชั้นกลางที่อยู่ในช่วงวัยกลางคน และออกมาร่วมต่อสู้เพื่อเรียกร้องประชาธิปไตยอีกครั้งในช่วงเหตุการณ์พฤษภาทมิฬ 2535 จึงทำให้เห็นปรากฏการณ์ที่กลุ่มคนชั้นกลางในเมืองซึ่งเรียกกันว่าม็อบมือถือออกมาขับไล่การสืบทอดอำนาจของทหารประการหนึ่ง – อีกประการหนึ่งอาจเป็นเพราะหลังการสิ้นสุดสงครามโลกครั้งที่สองพร้อมกับระเบิด ปรมาณู 2 … Continue reading

ณ เวลาสิบโมงเช้า (หรือ 10.00 นาฬิกาของชีวิตวัย 35 ปี)

– ตามมาตรฐานชีวิตของคนชั้นกลางระดับกลางในสังคมไทย (ซึ่งส่วนใหญ่ของคนเหล่านี้เป็นข้าราชการ พนักงานรัฐวิสาหกิจ พนักงานบริษัทเอกชน หรือเจ้าของธุรกิจขนาดเล็กถึงกลางที่เรียกว่า SMEs) เมื่อย่างเข้าสู่วัย 35 ปี ณ เวลาสิบโมงเช้าของนาฬิกาแห่งชีวิต ก็มักจะไต่เต้าขึ้นเป็นผู้บริหารระดับต้นถึงกลางที่มีลูกน้องอยู่จำนวนหนึ่ง และต้องมีพันธะความรับผิดชอบในหน้าที่การงานมากขึ้น มีปฏิสัมพันธ์กับผู้คนอันเกี่ยวข้องกับมิติทางด้านเศรษฐกิจ การเมือง และสังคมมากขึ้น ตลอดจนเริ่มยกระดับสู่การแสวงหาสิ่งตอบสนองความต้องการในมิติทางสังคม ซึ่งเป็นความต้องการลำดับขั้นที่ 3 บนเส้นทางแห่งการแสวงสิ่งตอบสนองความต้องการ 5 ลำดับขั้นของชีวิต – ความต้องการทางด้านสังคมนั้นมีส่วนเกี่ยวข้องอย่างแนบแน่นกับมิติของเรื่อง ?อำนาจ? เพราะอำนาจเป็นคุณลักษณะของเงื่อนไขที่บุคคลผู้หนึ่งสามารถชักนำให้บุคคลอื่น (ในหน่วยสังคมระดับต่างๆตั้งแต่ในครอบครัว องค์กรที่ทำงาน ชุมชนท้องถิ่น จนถึงระดับประเทศ) ทำตามในสิ่งที่ตนต้องการ ทั้งนี้อำนาจเป็นสิ่งที่ปรุงแต่งสร้างขึ้นด้วยการเปรียบเทียบสถานะของบุคคลผู้หนึ่งกับคนอื่นๆที่อยู่ในสังคม โดย ?อำนาจทางเศรษฐกิจ? (ลาภ) จะนำไปสู่การมีอภิสิทธิ์ (privilege) เหนือผู้อื่น ?อำนาจทางการเมือง? … Continue reading

ณ เวลาเก้าโมงเช้า (หรือ 9 นาฬิกาของชีวิตวัยสามสิบเอ็ดปีครึ่ง)

– เก้าโมงเช้าน่าจะเป็นช่วงเวลาเข้าทำงานในรอบสาย โดยสำหรับผู้คนจำนวนหนึ่งอาจเพิ่งเริ่มต้นชีวิตการงานที่มั่นคงและเริ่มสร้างครอบครัวในวัยย่างเข้าเลขสามนี้ หลายคนต้องทำงานหนักเพื่อหาเงินผ่อนบ้าน ผ่อนรถ และเป็นค่าใช้จ่ายสำหรับการศึกษาของลูก การแสวงหาสิ่งตอบสนองความต้องการสองลำดับขั้นแรกเพื่อปัจจัยจำเป็นในการดำรงชีพ ตลอดจนเพื่อสร้างความมั่นคงของครอบครัว ยังคงเป็นพันธกิจหลักในช่วงเวลาเก้าโมงเช้าของนาฬิกาแห่งชีวิต – หลักธรรมเรื่อง ?ทิฎฐธัมมิกัตถประโยชน์? ของพระพุทธศาสนา สอนให้รู้จักวิธีบริหารจัดการเพื่อให้ ?รายรับท่วมรายจ่าย? อย่าให้ ?รายจ่ายท่วมรายรับ? ด้วยการขยันหมั่นเพียรทำงานรวมถึงการขวนขวายหาความรู้เพื่อยกระดับศักยภาพของตนเอง (อุฎฐานสัมปทา) บริหารรักษาเงินที่หามาได้เพื่อให้มีเงินออมเหลือเก็บ (อารักขสัมปทา) คบหาสมาคมกับกลุ่มเพื่อนที่ดีและเลือกเข้าสังคมที่ดี (กัลยานมิตตตา) ตลอดจนใช้ชีวิตให้เหมาะสมกับสถานะทางเศรษฐกิจ มีน้อยใช้น้อย มีมากใช้มาก (สมชีวิตา) ถ้าได้ปฏิบัติตามกฎสี่ข้อนี้อย่างเคร่งครัด ก็น่าจะสอบผ่านการแสวงหาสิ่งตอบสนองความต้องการสองลำดับขั้นแรกดังที่กล่าวมาได้อย่างราบรื่น – หลักการข้อสุดท้ายของ ?ทิฎฐธัมมิกัตถประโยชน์? อันคือ ?สมชีวิตา? นั้น มีความหมายกว้างขวางที่ครอบคลุมถึงการรู้จักใช้ชีวิตอย่างเหมาะสมถูกต้อง ไม่ใช่รสนิยมสูงแต่รายได้ต่ำจนต้องกู้หนี้ยืมสินมาใช้บริโภค ขณะที่คนซึ่งมีรายได้สูงก็ให้รู้จักการใช้จ่ายเงินเพื่อสร้างประโยชน์สุขในชีวิตอย่างสมฐานะ โดยไม่ใช่ตระหนี่ขี้เหนียวจนเกินเหตุ อันจะช่วยสะพัดเงินที่เก็บสะสมไว้ให้เกิดอรรถประโยชน์ต่อสังคม … Continue reading

ณ เวลาแปดโมงเช้า (หรือ 8 นาฬิกาของชีวิตวัยยี่สิบแปดปี)

– ช่วงเวลาแปดโมงเช้าสำหรับหลายคนคือเวลาที่ต้องมาถึงที่ทำงานและตอกบัตรเริ่มต้นทำงานในวันใหม่ อันคือการเติบโตขึ้นเป็นผู้ใหญ่เต็มตัวที่มีการงานมั่นคงและแต่งงานมีครอบครัว?? แปดโมงเช้าของนาฬิกาแห่งชีวิตจึงเป็นหลักบอกเวลาสำคัญอีกจุดหนึ่ง ในการเปลี่ยนผ่านจากชีวิตวัยหนุ่มสาวสู่ความเป็นผู้ใหญ่ที่มีวุฒิภาวะและการเริ่มต้นสร้างครอบครัว – หลายชีวิตกำลังอยู่ในช่วงแสวงหาสิ่งตอบสนองความต้องการสองลำดับแรกตามทฤษฎีความต้องการตามลำดับขั้นของมาสโลว์ ซึ่งก็คือการแสวงหาความมั่นคงทางด้านเศรษฐกิจ เพราะถ้ามีเงินก็สามารถซื้อหาแลกเปลี่ยนปัจจัยที่จำเป็นต่างๆต่อการดำรงชีวิต และถ้าหากมีเงินเก็บสะสมมากพอ ก็ย่อมจะเป็นหลักประกันที่มั่นคงของครอบครัว เงินจึงกลายเป็นสิ่งสำคัญขั้นพื้นฐานที่แทบทุกชีวิตต้องการไขว่คว้าแสวงหา – แต่คำถามก็คือเราควรจะตั้งเป้าทำงานเก็บสะสมเงินมากเท่าไรจึงจักเพียงพอต่อการสร้างความมั่นคงของชีวิต บางคนตั้งเป้าหมายว่าถ้ามีเงินซื้อบ้าน ซื้ออุปกรณ์อำนวยความสะดวกสบายต่างๆภายในบ้าน รวมถึงมีเงินเก็บสักก้อนสำหรับไว้ใช้ในยามแก่ชรา อาจจะแค่สักหนึ่งล้านบาทตามศักยภาพที่น่าจะพอหาได้ก็คง ?เพียงพอ? แต่ครั้นหาเงินเก็บได้หนึ่งล้านบาทตามเป้า ความกลัวว่าเงินหนึ่งล้านบาทอาจถูกใช้หมดไปได้ในวันใดวันหนึ่งข้างหน้า ส่งผลทำให้ความต้องการหลักประกันที่มั่นคงในชีวิตขยายตัวเพิ่ม แปรผันตามปริมาณ ?ความกลัว? ที่เพิ่มขึ้นดังกล่าว – ซึ่งวิธีที่ดีสำหรับการเก็บรักษาเงินหนึ่งล้านบาทนั้นให้มั่นคงยืนนานเพื่อเป็นหลักประกันความมั่นคงปลอดภัยของชีวิต ก็คือเอาเงินหนึ่งล้านบาทดังกล่าวฝากธนาคารในบัญชีประจำ แล้วหาเงินใหม่อีกหนึ่งล้านบาทสำหรับไว้ใช้สอย แต่พอหาเงินมาได้สองล้านบาทตามเป้า ความกลัวว่าหลักประกันความมั่นคงของชีวิตจากการมีเงินสองล้านบาทย่อมอาจหมดสูญไปได้เช่นกัน และวิธีที่ดีที่สุดสำหรับการสร้างหลักประกันความมั่นคงของชีวิตในระดับดังกล่าวให้ยืนนานก็คือ เก็บเงินสองล้านบาทนั้นฝากธนาคาร หรือลงทุนซื้อทรัพย์สินที่มีความมั่นคงปลอดภัยไม่มีความเสี่ยงเพื่อเก็บไว้ แล้วหาเงินก้อนใหม่อีกสองล้านบาทสำหรับไว้ใช้สอย แต่เมื่อหาเงินมาได้สี่ล้านบาทตามเป้าหมาย ความกลัวก็ขยายเพิ่มเป็นเงาตามตัวเท่ากับปริมาณเงินสี่ล้านบาทที่เพิ่มขึ้นดังกล่าว แล้วบีบคั้นให้คนผู้นั้นต้องหาเงินเพิ่มมากขึ้นๆต่อไปอีกอย่างไม่มีขอบเขตที่สิ้นสุด – จึงไม่น่าแปลกใจที่เราจะเห็นมหาเศรษฐีบางคนซึ่งถึงแม้มีเงินเก็บสะสมนับพันนับหมื่นล้านบาทแล้วก็ยังคงขี้เหนียว … Continue reading

ณ เวลาเจ็ดโมงเช้า (หรือ 7 นาฬิกาของชีวิตวัยยี่สิบสี่ปีครึ่ง)

– เจ็ดโมงเช้าสำหรับหลายต่อหลายชีวิตคือช่วงเวลาของการเดินทางอยู่บนท้องถนนจากบ้านไปที่ทำงาน หลายคนคงกำลังหางานทำหรือเปลี่ยนงานใหม่ไปเรื่อยๆ โดยยังไม่ตัดสินใจที่จะปักหลักทำงานตรงจุดไหนเพื่อสร้างความมั่นคงของชีวิต บางคนเพิ่งจะมีโอกาสใช้เงินที่หามาได้ด้วยน้ำพักน้ำแรงของตัวเองเป็นครั้งแรก และมีเงินสำหรับการเที่ยวหาความสำราญอย่างอิสระตามวิถีชีวิตของคนหนุ่มสาวที่เป็นโสด – หลายคนกำลังมองหาคู่ครองตามแรงขับของฮอร์โมนวัยว้าวุ่นช่วงหนุ่มสาว ทั้งนี้ทฤษฎีจิตวิเคราะห์ของฟรอยด์ (Sigmund Freud) ให้น้ำหนักความสำคัญกับเรื่องอิทธิพลของแรงขับทางเพศเป็นอย่างมาก แต่คำว่า ?Sex? ของฟรอยด์นั้นมีความหมายที่ครอบคลุมกว้างขวาง ซึ่งน่าจะตรงกับคำว่า ?กามฉันทะ? ในทางพุทธปรัชญาที่หมายรวมถึงรูป เสียง กลิ่น รส สัมผัส อันก่อให้เกิดอารมณ์ความรู้สึกพึงพอใจหรือ ?สุขเวทนา? (เพราะตั้งแต่เป็นทารกก็สังเกตเห็นพฤติกรรมต่างๆเหล่านี้ได้โดยไม่ใช่แค่การมีเพศสัมพันธ์เท่านั้น) เพียงแต่ความรู้สึกพึงพอใจในรูป เสียง กลิ่น รส สัมผัส หรือกามคุณห้า ในมิติที่เกี่ยวเนื่องสัมพันธ์กับเพศตรงข้าม (หรือแม้แต่คนเพศเดียวกัน) ซึ่งมีอิทธิพลต่อพฤติกรรมชีวิตของบุคคลหนึ่งๆ ที่เรียกโดยรวมว่าเป็นเรื่องของ ?กาม? (หรือ ?sex?) นั้น บางเรื่องจะเป็นเงื่อนปมที่ฝังอยู่ในจิตไร้สำนึกของผู้คนมาตั้งแต่เป็นทารก … Continue reading

ณ เวลาหกโมงเช้า ( หรือ 6 นาฬิกาของชีวิตวัยยี่สิบเอ็ดปี)

?– เวลาหกโมงเช้าเมื่อดวงอาทิตย์โผล่พ้นขอบฟ้าด้านทิศตะวันออกแล้วขับไล่ความมืดให้พ้นไป? ก็ถึงเวลาที่ชีวิตส่วนใหญ่จะต้องตื่นขึ้นมาทำกิจวัตรในวันใหม่? หกโมงเช้าของนาฬิกาแห่งชีวิตจึงเป็นหลักบอกเวลาสำคัญอีกจุดหนึ่งของการเปลี่ยนผ่านสู่ชีวิตการทำงาน? หลายคนเรียนจบมหาวิทยาลัยหรือกำลังฝึกงานในปีสุดท้าย? และเริ่มต้นชีวิตการทำงานที่ต้องรับผิดชอบหาเงินเลี้ยงตัวเอง? เมื่อหาเงินใช้เองได้โดยไม่ต้องขอจากพ่อแม่? ชีวิตก็เติบโตเป็นผู้ใหญ่ที่มีความเป็นอิสระ โดยไม่ใช่เด็กที่ต้องคอยฟังคำสั่งของพ่อแม่อีกต่อไป – มาสโลว์ (Abraham H. Maslow) ได้สังเกตพฤติกรรมมนุษย์? และเสนอทฤษฎีจิตวิทยาเรื่องความต้องการตามลำดับขั้นของชีวิต (Hierarchy of Needs Theory)? โดยเขาชี้ให้เห็นว่ามนุษย์ทั่วไปต้องการสิ่งตอบสนองชีวิตตามลำดับขั้น ?เมื่อความต้องการขั้นแรกได้รับการตอบสนองแล้ว? มนุษย์ก็จะไขว่คว้าแสวงหาสิ่งตอบสนองความต้องการในลำดับขั้นถัดไป? จากสิ่งตอบสนองความต้องการทางด้านกายภาพของชีวิต (physiological needs)? สู่การแสวงหาเรื่องความมั่นคงปลอดภัย (safety needs)? แล้วยกระดับไปสู่การแสวงหาความยอมรับจากสังคมรอบข้าง ( social needs)? ถัดจากนั้นก็ต้องการทำสิ่งที่เป็นความภาคภูมิใจในตัวตนของตน (self esteem)? และขั้นสุดท้ายก็คือหันกลับมาแสวงหาความจริงเกี่ยวกับชีวิตของตนเอง (self ?realization) – … Continue reading