ณ เวลาหกโมงเช้า ( หรือ 6 นาฬิกาของชีวิตวัยยี่สิบเอ็ดปี)

?– เวลาหกโมงเช้าเมื่อดวงอาทิตย์โผล่พ้นขอบฟ้าด้านทิศตะวันออกแล้วขับไล่ความมืดให้พ้นไป? ก็ถึงเวลาที่ชีวิตส่วนใหญ่จะต้องตื่นขึ้นมาทำกิจวัตรในวันใหม่? หกโมงเช้าของนาฬิกาแห่งชีวิตจึงเป็นหลักบอกเวลาสำคัญอีกจุด06หนึ่งของการเปลี่ยนผ่านสู่ชีวิตการทำงาน? หลายคนเรียนจบมหาวิทยาลัยหรือกำลังฝึกงานในปีสุดท้าย? และเริ่มต้นชีวิตการทำงานที่ต้องรับผิดชอบหาเงินเลี้ยงตัวเอง? เมื่อหาเงินใช้เองได้โดยไม่ต้องขอจากพ่อแม่? ชีวิตก็เติบโตเป็นผู้ใหญ่ที่มีความเป็นอิสระ โดยไม่ใช่เด็กที่ต้องคอยฟังคำสั่งของพ่อแม่อีกต่อไป

– มาสโลว์ (Abraham H. Maslow) ได้สังเกตพฤติกรรมมนุษย์? และเสนอทฤษฎีจิตวิทยาเรื่องความต้องการตามลำดับขั้นของชีวิต (Hierarchy of Needs Theory)? โดยเขาชี้ให้เห็นว่ามนุษย์ทั่วไปต้องการสิ่งตอบสนองชีวิตตามลำดับขั้น ?เมื่อความต้องการขั้นแรกได้รับการตอบสนองแล้ว? มนุษย์ก็จะไขว่คว้าแสวงหาสิ่งตอบสนองความต้องการในลำดับขั้นถัดไป? จากสิ่งตอบสนองความต้องการทางด้านกายภาพของชีวิต (physiological needs)? สู่การแสวงหาเรื่องความมั่นคงปลอดภัย (safety needs)? แล้วยกระดับไปสู่การแสวงหาความยอมรับจากสังคมรอบข้าง ( social needs)? ถัดจากนั้นก็ต้องการทำสิ่งที่เป็นความภาคภูมิใจในตัวตนของตน (self esteem)? และขั้นสุดท้ายก็คือหันกลับมาแสวงหาความจริงเกี่ยวกับชีวิตของตนเอง (self ?realization)

– ชีวิตเริ่มต้นการแสวงหาบนเส้นทางแห่งความต้องการตามลำดับขั้น 5 ขั้นนี้? เมื่ออรุณทอแสงตอนหกโมงเช้า ?หลายชีวิตเริ่มต้นการเดินทางด้วยงานชั่วคราวที่หาได้เพื่อจะมีเงินซื้อหาปัจจัยจำเป็นสำหรับการดำรงชีวิตทางกายภาพ? เช่น? อาหาร? เสื้อผ้า? ค่าเช่าบ้านพัก? ค่ารักษาพยาบาลเมื่อเจ็บป่วย ฯลฯ? จากนั้นก็เริ่มมองหางานใหม่ที่มีความมั่นคงมากยิ่งขึ้น? ถ้าได้งานที่มีความมั่นคงมากกว่าเดิมก็พร้อมจะลาออกจากงานเดิมทันที? เมื่อมีอาชีพการงานที่มั่นคงแล้วก็อยากได้ความรักความอบอุ่นและความยอมรับจากสังคมรอบข้างต่อไป (โดยเฉพาะจากครอบครัวที่เป็นหน่วยพื้นฐานทางสังคมที่ใกล้ตัวที่สุด)? หลังจากมีอาชีพที่มั่นคง? มีเงิน? และมีเกียรติยศชื่อเสียง? ก็อยากจะทำอะไรตามแรงบันดาลใจที่อาจเป็นความใฝ่ฝันมาแต่เด็ก? เพื่อความรู้สึกภาคภูมิใจที่ได้ทำสิ่งท้าทายต่างๆ? อาทิ? เสี่ยงชีวิตไปปีนเขาบ้าง? หัดขับเครื่องบินบ้าง? ฯลฯ? แต่กว่าจะไต่เต้ามาจนถึงขั้นที่ 4 ของความต้องการตามลำดับขั้นดังที่กล่าวมานี้ได้? ชีวิตของผู้คนทั่วไปก็มักจะเดินทางมาถึงช่วงบั้นปลายที่รู้ตัวว่าคงจะเหลือเวลาอีกไม่มากแล้ว? จึงหันมาทบทวนตัวเองเพื่อแสวงหาความจริงของชีวิต? ?สำหรับเตรียมตัวสู่ความตาย?? ซึ่งไม่รู้ว่าจะต้องเผชิญกับอะไรต่อไปหลังจากนั้น ?อันเป็นลำดับขั้นแห่งความต้องการระดับสุดท้ายขั้นที่ 5 ของชีวิต

– ถ้าทฤษฎีความต้องการตามลำดับขั้น 5 ขั้นของมาสโลว์ตามที่กล่าวมาถูกต้อง? และนี่คือแผนที่การเดินทางสำหรับชีวิตผู้คนทั่วไป? คำถามก็คือ ?ขอบเขตของความต้องการในแต่ละขั้นอยู่ที่ตรงจุดไหน?? หรือพูดอีกอย่างหนึ่งคือเราต้องแสวงหาสิ่งตอบสนองความต้องการในแต่ละขั้นมากแค่ไหนถึงจะ ?พอเพียง?? แล้วยกระดับสู่การแสวงหาสิ่งตอบสนองความต้องการที่สูงขึ้นในลำดับขั้นถัดๆไป? เราจะบริหารเวลาของชีวิตที่มีจำกัดนี้อย่างไรถึงจะเกิด ?ประสิทธิผล? มากที่สุด? ไม่ใช่ปล่อยเวลาให้ผ่านพ้นไปเรื่อยๆตามกระแสของสังคมที่พัดพาไปแบบ ?Reactive?? แต่เราควรจะเข้าใจภาพรวมของแผนที่ชีวิต? เพื่อกำหนด ?จุดหมายที่ถูกต้อง? ซึ่งเป็นบรรทัดสุดท้ายของเป้าที่พึงไปให้ถึงจากการมีโอกาสเกิดมาเป็นมนุษย์ในชีวิตชาตินี้? แล้วค้นหา ?ตำแหน่งแห่งที่? ของตัวเองบนแผนที่ดังกล่าว? เพื่อจะได้เลือกเส้นทางที่สั้นที่สุดและมีอุปสรรคขัดขวางน้อยที่สุดได้อย่างเหมาะสม? สำหรับการเดินไปสู่จุดหมายที่พึงปรารถนานั้นๆแบบ ?Proactive? ??จะได้ไม่ต้องมานึกเสียใจในภายหลังที่ ?เจอไม้งามเมื่อขวานบิ่น? ?เพราะการมัวแต่เสียเวลาเดินทางผิดมาทั้งวัน จนใกล้ถึงเวลานอนของชีวิตที่จะต้องจากโลกนี้ไปอย่างที่ไม่อาจหมุนเวลาให้คืนกลับได้

ad

Leave a Reply

Your email address will not be published. Required fields are marked *