ณ เวลาเที่ยงวัน (หรือ 12.00 นาฬิกาของชีวิตวัยสี่สิบสองปี)

– เที่ยงตรงคือเวลาที่เดินทางมาถึงช่วงครึ่งชีวิต ด้วยแรงขับเคลื่อนในการแสวงหาสิ่งต่างๆที่จะช่วยตอบสนองความต้องการตามลำดับขั้น 5 ขั้น ที่ดึงให้เราก้าวไปบนบันไดแห่งชีวิตทีละขั้นๆ แต่มองในอีกแง่หนึ่งก็อาจกล่าวได้ว่ามิใช่มีเป้าหมายสุดท้ายของความต้องการบางอย่างที่ ?ดึงให้เรา ก้าวไปข้างหน้า? แต่เป็นเพราะมีแรงบีบคั้นบางอย่างที่ ?ผลักให้เราเคลื่อนไปข้างหน้า? ต่างหาก

00

– ในพลสูตร อังคุตตรนิกาย นวกนิบาต พระพุทธเจ้าได้ตรัสถึงแรงผลักดันทางจิตวิทยาจากความกลัวต่อภัย 5 ระดับที่มีอิทธิพลกำหนดพฤติกรรมของมนุษย์ แรงบีบคั้นจาก ?ความกลัว? ที่ซ่อนอยู่ในจิตส่วนลึกของมนุษย์ คือสาเหตุที่ทำให้มนุษย์ดิ้นรนแสวงหาสิ่งตอบสนองความต้องเพื่อมาบรรเทาความกลัวเหล่านั้น เมื่อความกลัวต่อภัยที่หยาบกว่าได้รับการคลี่คลายบรรเทาแล้ว แรงบีบคั้นจากความกลัวต่อภัยที่ละเอียดกว่าก็ปรากฏขึ้นมาครอบงำจิตใจ เหมือนตะกอนที่แฝงอยู่ในน้ำ โดยเมื่อตะกอนที่หยาบกว่าถูกกรองออกแล้ว ตะกอนที่ละเอียดกว่าซึ่งเคยถูกตะกอนหยาบบดบังไว้ ก็จะปรากฏตัวให้เห็นโดยลำดับฉะนั้น

– แรงบีบคั้นผลักดันจากความกลัวต่อภัย 5 ระดับนี้มีความสอดคล้องกับความต้องการตามลำดับขั้น 5 ระดับที่มาสโลว์สังเกตเห็น กล่าวคือ ?อาชีวิกภัย? (ความกลัวต่อภัยอันเนื่องด้วยการดำรงชีวิต) ผลักดันให้มนุษย์เกิดความต้องการทางกายภาพ (physiological needs) ?อสิโลกภัย? (ความกลัวต่อภัยอันเนื่องด้วยการถูกโลกตำหนิ) ผลักดันให้มนุษย์เกิดความต้องการทางด้านสังคม (social needs) ?ปริสสารัชชภัย? (ความกลัวต่อภัยอันคือความสะทกสะท้านในบริษัท) ผลักดันให้มนุษย์เกิดความต้องการความมั่นใจและความภาคภูมิใจในตัวตนของตน (esteem needs) ?มรณภัย? (ความกลัวต่อภัยคือความตาย) ผลักดันให้มนุษย์ต้องการความมั่นคงที่ยั่งยืนแห่งชีวิต (safety needs) ตลอดจน ?ทุคคติภัย? (ความกลัวต่อภัยเนื่องด้วยที่ไปที่เป็นความเสื่อม) ผลักดันให้มนุษย์ต้องการแสวงหาสัจจะความจริงเกี่ยวกับตนเอง (self realization)

– การจัดลำดับขั้นของ ?ความกลัวต่อภัยต่างๆ? จากหยาบไปหาละเอียดโดยเปรียบเทียบกับ ?ความต้องการตามละดับขั้น 5 ขั้น? นี้ มีจุดที่เป็นความแตกต่างคือเรื่อง ?มรณภัย? ซึ่งเป็นความ

กลัวต่อภัยในลำดับขั้นที่ 4 อันมีนัยลึกละเอียดกว่าแค่ความกลัวต่อภัยที่เนื่องด้วยการดำรงชีวิตในทางกายภาพ เพราะมนุษย์ที่มีสติปัญญาทุกคนย่อมรู้อยู่ว่าสักวันหนึ่งไม่ช้าก็เร็วตัวเองต้องเผชิญกับความตายอย่างแน่นอน ความกลัวลึกๆในจิตใจดังกล่าวได้ผลักดันให้มนุษย์พยายามหาหนทางสืบทอด ?อัตตาตัวตนของตน? ให้ดำรงต่อไปภายหลังความตาย ด้วยกลไกทางจิตวิทยาต่างๆ เช่น การสืบพันธุ์หรือสร้างทายาทเพื่อให้เป็นตัวแทนของชีวิตตัวเองที่จะดำรงสืบต่อไป ตลอดจนการ ?สร้างภพ? ของความเชื่อทางศาสนาแบบ ?สัสสตทิฐิ? ที่เชื่อว่ายังมีชีวิตสืบทอดต่อไปภายหลังความตาย (ซึ่งตรงข้ามกับ ?อุจเฉททิฐิ? ที่เชื่อว่าตายแล้วสูญ) ผ่านพิธีกรรมทางศาสนาต่างๆ ดังเช่นการทำบุญกรวดน้ำเพื่ออุทิศส่วนกุศลไปให้คนตาย อันจะช่วยให้คนที่มีชีวิตอยู่สบายใจขึ้นว่ายังมีชีวิตภายหลังความตายที่จะมารับส่วนบุญกุศลดังกล่าวได้ เป็นต้น

– เดส์การ์ตส์ (Rene Decartes : 1596 ? 1650) นักปรัชญาที่พยายามพิสูจน์ถึงความดำรงอยู่อย่างเป็นภววิสัยหรือเป็นวัตถุวิสัย (objective) ของสิ่งต่างๆ ได้เสนอข้อพิสูจน์ถึงความดำรงอยู่จริงอย่างเป็นภววิสัยของ ?ตัวฉัน??? เพื่อเป็นมูลบท (axiom) ของการนำไปสู่ข้อพิสูจน์แห่งความดำรงอยู่อย่างจริงแท้ของสิ่งอื่นต่อๆไปแบบวิธีการพิสูจน์ในทฤษฎีทางเรขาคณิต ด้วยข้อความที่มีชื่อเสียงของเขาว่า ?ฉันคิดดังนั้นฉันจึงมีอยู่? (I think ,therefore I am) กล่าวคือถึงแม้เราอาจตั้งข้อสงสัยใดๆเกี่ยวกับความดำรงอยู่อย่างจริงแท้เป็นภววิสัยของสิ่งต่างๆในเอกภพนี้ได้ แต่มีอยู่สิ่งหนึ่งที่เราไม่อาจตั้งข้อสงสัยถึงความดำรงอยู่อย่างจริงแท้ของตัวมันได้ นั่นก็คือ ?ตัวฉัน? อันเป็น?สิ่งๆหนึ่งที่กำลังคิดสงสัยถึงความดำรงอยู่จริงของตนเอง? ในขณะนั้นๆนั่นเอง (เพราะถ้าไม่มีตัวฉันที่กำลังทำหน้าที่คิดและตั้งคำถามอยู่ในขณะนี้แล้ว ความสงสัยดังกล่าวจะเกิดขึ้นมาได้อย่างไร)

– ในทำนองเดียวกัน ?เพราะฉันกลัว? ดังนั้น ?ตัวตน? (ที่เกิดจากความกลัว)ของฉัน? จึงดำรงอยู่?? ยิ่งฉันมี ?ความกลัว? มากเท่าไร ?อัตตาตัวตน? (ที่เกิดจากความกลัว) ของฉันก็จะยิ่งขยายใหญ่ขึ้นเป็นเงาตามตัว และต้องการบริโภค ?อำนาจ? เพื่อช่วยบรรเทาความกลัวนั้นๆ แต่ทว่าเมื่อได้บริโภคอำนาจในมิติทางเศรษฐกิจ การเมือง และสังคม เข้าไปมากเท่าไร ?ตัวตนที่เกิดจากความกลัวสูญเสียอำนาจ? ก็กลับเติบโตและต้องการอำนาจมาหล่อเลี้ยงมากยิ่งๆขึ้นเท่านั้น

ad

Leave a Reply

Your email address will not be published. Required fields are marked *