ณ เวลาบ่ายสามโมง (หรือ 15.00 นาฬิกาของชีวิตวัยห้าสิบสองปีครึ่ง)

– ความผิดพลาดในการกำหนดนโยบายของกลุ่มชนชั้นนำ (power elites) ที่อยู่เบื้องหลังการรัฐประหารเมื่อวันที่ 19 กันยายน 2549 ทำให้วิกฤติความขัดแย้งของการเมืองไทยขยายออกไปเป็นวิกฤติความขัดแย้งทางสังคมระหว่างคนไทยสองฝ่ายที่เกิดขึ้นอย่างกว้างขวางทั่วประเทศ และลงลึกเป็นความขัดแย้งระหว่างสมาชิกในครอบครัวเดียวกันที่มีความคิดเห็นทางการเมืองแตกต่างกันอย่างที่ไม่เคยปรากฏมาก่อน ในที่สุดก็นำไปสู่เหตุการณ์นองเลือดที่ทหารใช้อาวุธสงครามเข้าสลายการชุมนุมของประชาชนในช่วงปี 2553 จนทำให้มีราษฎรบาดเจ็บล้มตายจำนวนมากเป็นครั้งที่ 4 ของประวัติศาสตร์การเมืองไทย (หลังการเปลี่ยนแปลงการปกครองแผ่นดินเมื่อปี พ.ศ. 2475 ถัดจากเหตุการณ์นองเลือดกรณี 14 ตุลาคม 2516 , 6 ตุลาคม 2519 , และพฤษภาทมิฬ 2535)03

– แน่นอนว่าวิกฤติความขัดแย้งทางการเมืองส่วนหนึ่งเกิดจากปัญหาในการจัดสรรอำนาจและผลประโยชน์ที่ไม่ลงตัวระหว่างชนชั้นนำกลุ่มต่างๆ แต่การที่วิกฤตการณ์ทางการเมืองสามารถขยายขอบเขตอย่างกว้างขวางจนกลายเป็นวิกฤติความขัดแย้งระหว่างมวลมหาประชาชนสองฝ่ายได้ ย่อมจะมีเหตุปัจจัยที่สัมพันธ์กับประโยชน์สุขของผู้คนจำนวนมากเข้ามาเกี่ยวข้องด้วย ประการหนึ่งอาจเป็นเพราะนโยบายการพัฒนาเศรษฐกิจแบบสองฐาน (dual track) ของรัฐบาลอดีตนายกฯทักษิณ (หรือที่เรียกกันว่า ?ระบอบทักษิณ?) ซึ่งสนับสนุนภาคธุรกิจขนาดใหญ่ในเศรษฐกิจระดับบนให้สามารถแข่งขันกับประเทศอื่นๆในโลก ขณะที่ช่วยเหลือเศรษฐกิจระดับล่างของคนยากจนส่วนใหญ่ในประเทศด้วยนโยบายประชานิยมต่างๆ ทำให้กลุ่ม ?ชนชั้นกลาง? ในเมืองที่เหมือนอยู่ตรงกลางของแซนด์วิส รู้สึกถูกลิดรอนอำนาจในเชิงสัมพัทธ์ (relative deprivation) ทั้งสองทาง เพราะเมื่อมองขึ้นไปก็เห็นเศรษฐีหรือมหาเศรษฐีที่มีเงินมากกว่าตน กลับยิ่งร่ำรวยมากขึ้นๆในสัดส่วนที่มากกว่าเงินเดือนหรือโบนัสซึ่งตนได้เพิ่มขึ้นอันรู้สึกเป็นความ ?ไม่ชอบธรรม? ในด้านหนึ่ง ขณะที่เมื่อมองลงมาก็เห็นกลุ่มคนในช่วงชั้นที่ต่ำกว่ากำลังวิ่งไล่กวดตนขึ้นมา ด้วยเงินช่วยเหลือตามโครงการประชานิยมทั้งหลายที่มาจากเงินภาษีของตน (เพราะคนชั้นกลางส่วนใหญ่กินเงินเดือนประจำอันเลี่ยงภาษียาก) ทำให้รู้สึกเป็นความ ?ไม่ชอบธรรม? ในอีกด้านหนึ่ง

– การไปช่วยให้ธุรกิจขนาดใหญ่ที่ร่ำรวยอยู่แล้ว (โดยเฉพาะอย่างยิ่งธุรกิจในเครือข่ายของตระกูลชินวัตร) มีความมั่งคั่งร่ำรวยมากขึ้นๆ จนทำให้ช่องว่างความเหลื่อมล้ำทางเศรษฐกิจระหว่างคนรวยกับคนจนยิ่งถ่างกว้างออกไปเช่นนี้จะถือว่ามีความชอบธรรมได้อย่างไร และการไปปลูกฝังค่านิยมให้คนจนได้อะไรง่ายๆจากนโยบายประชานิยม ถ้าเกิดคนเหล่านี้เสพติดนโยบายดังกล่าวแล้วใช้เสียงข้างมากของตนกดดันให้รัฐนำเงินภาษี (ซึ่งส่วนใหญ่เก็บมาจากคนชั้นกลาง) มาจัดสรรให้กับคนช่วงชั้นล่างผ่านทางนโยบายแบบประชานิยมมากขึ้นๆ ดังนี้ย่อมจะทำให้ประเทศชาติเกิดความล่มจมลงได้ แล้วจะเรียกว่าชอบธรรมได้อย่างไร จึงออกมาโค่นล้ม ?ระบอบทักษิณ? ขณะที่คนยากจนส่วนใหญ่ซึ่งเคยถูกผู้คนในช่วงชั้นที่เหนือกว่าขูดรีด (exploit) เอามูลค่าส่วนเกินจากพลังแรงงาน (surplus value) ของตนไป และเพิ่งจะมีโอกาสได้ลืมตาอ้าปากมากขึ้นจากนโยบายประชานิยมของระบอบทักษิณ เช่น โครงการ 30 บาทรักษาทุกโรค โครงการกองทุนหมู่บ้าน โครงการหนึ่งอำเภอหนึ่งทุนการศึกษา โครงการ SML ฯลฯ จึงออกมาปกป้องอดีตนายกฯทักษิณและ ?ระบอบประชาธิปไตย? ที่ทำให้พวกตนได้รับการเหลียวแลจากผู้บริหารบ้านเมืองอย่างที่ไม่เคยได้รับมาก่อนเช่นนี้ ?ผลที่สุดก็กลายเป็นความขัดแย้งอย่างกว้างขวางระหว่างประชาชนสองฝ่าย

– การที่กลุ่มชนชั้นนำซึ่งต่อสู้แย่งชิงอำนาจกันอยู่นั้น ต่างจำเป็นต้องหาเหตุผลคำอธิบายถึงความชอบธรรมของการต่อสู้เพื่อแสวงหาการสนับสนุนจากประชาชนในวงกว้าง ส่งผลให้มีการอ้าง ?เหตุผล? ซึ่งสะท้อนให้เห็นอุดมการณ์ทางการเมือง 2 ชุดที่มีความแปลกแยก (alienation) จากกัน (อันเป็นรากเหง้าสำคัญแห่งปัญหาความไร้เสถียรภาพที่แฝงอยู่ในระบบสังคมการเมืองไทย) โดยประชาชนฝ่ายหนึ่งที่ใช้ ?เสื้อเหลือง? เป็นสัญลักษณ์ ได้อ้างอุดมการณ์ทางการเมืองใน ?ลัทธิจารีตนิยม? ที่เชื่อมโยงกับศาสนาของรัฐและสถาบันพระมหากษัตริย์ เพื่อสร้างความชอบธรรมของการต่อสู้ด้วยการโจมตีอีกฝ่ายว่าเป็น ?การเมืองที่ไม่มีคุณธรรม? (เช่นมีการทุจริตคอรัปชั่นและไม่จงรักภักดีต่อสถาบันฯ) จึงจำเป็นต้องโค่นล้ม?? ในขณะที่ประชาชนอีกฝ่ายซึ่งใช้ ?เสื้อแดง? เป็นสัญลักษณ์ ได้อ้างอุดมการณ์ ?ลัทธิประชาธิปไตย? ที่ยึดโยงกับสิทธิเสรีภาพของประชาชนเพื่อสร้างความชอบธรรมของการต่อสู้ ด้วยการโจมตีฝ่ายตรงข้ามว่าเป็นพวกสนับสนุน ?การเมืองที่ไม่เป็นประชาธิปไตย? (เพราะเห็นดีเห็นงามกับการทำรัฐประหารของทหาร) จึงจำเป็นต้องต่อต้าน

ad

ณ เวลาบ่ายสองโมง (หรือ 14.00 นาฬิกาของชีวิตวัยสี่สิบเก้าปี)

– สำหรับคนที่เกิดปี พ.ศ. 2500 ช่วงที่มีอายุ 49 ปี คือห้วงเวลาที่ได้เผชิญกับจุดเริ่มต้นของวิกฤติความขัดแย้งครั้งใหญ่ในระบบสังคมการเมืองไทย ซึ่งนำไปสู่การทำรัฐประหารอีกครั้งเมื่อวันที่ 19 กันยายน 2549 (หลังจากที่มีเหตุการณ์ปฏิวัติ รัฐประหาร หรือกบฏ เกิดขึ้นมากกว่า 19 ครั้งในรอบระยะเวลา 74 ปี นับตั้งแต่มีการปฏิวัติเปลี่ยนแปลงการปกครองแผ่นดินมาเป็น ?ระบอบการปกครองแบบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข? โดยสามารถทำการปฏิวัติหรือรัฐประหารสำเร็จ 9 ครั้ง มีการเคลื่อนกำลังทหารเข้ายึดอำนาจรัฐแต่ถูกปราบปรามกลายเป็นกบฏ 6 ครั้ง และมีการจับกุมดำเนินคดีผู้วางแผนก่อการกบฏก่อนที่จะมีการเคลื่อนกำลังเข้ายึดอำนาจอีกกว่า 3 ครั้ง ตลอดจนมีการเปลี่ยนแปลงแก้ไขรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยถึง 17 ฉบับ เฉลี่ยแล้วมีวิกฤตการณ์ทางการเมืองครั้งสำคัญๆเกิดขึ้นกับการเมืองไทยสี่ปีเศษต่อครั้ง)02

– ความไม่มีเสถียรภาพของระบบสังคมการเมืองไทยมาจากหลายสาเหตุที่ผสมผสานกัน แต่หนึ่งในสาเหตุสำคัญน่าจะเกิดจากปัญหา ?ความชอบธรรม? ของโครงสร้างความเหลื่อมล้ำทางสังคมที่เปลี่ยนแปลงไป เนื่องจากในยุคสมัยหนึ่งผู้คนอาจจะยอมรับคำอธิบายความชอบธรรมของโครงสร้างความเหลื่อมล้ำไม่เท่าเทียมในระบบสังคมเศรษฐกิจการเมืองแบบเดิมได้ แต่เมื่อเงื่อนไขต่างๆเปลี่ยนแปลงไปตามวันเวลา ชุดคำอธิบายความชอบธรรมของความเหลื่อมล้ำไม่เท่าเทียมในอำนาจทางเศรษฐกิจสังคมการเมืองแบบเดิมก็อาจเริ่มใช้การไม่ได้

– เหตุที่คำอธิบายเพื่อให้ผู้คนยอมรับ ?ความชอบธรรม? ในความเหลื่อมล้ำไม่เท่าเทียมของอำนาจทางเศรษฐกิจ (ลาภ) อำนาจทางการเมือง (ยศ) และอำนาจทางสังคม (สรรเสริญ) เป็นเรื่องที่มีความสำคัญต่อเสถียรภาพของระบบสังคมการเมืองหนึ่งๆ ก็เพราะ ?อำนาจ? ที่เกิดจาก ?ลาภ ยศ สรรเสริญ? เหล่านี้เป็นอำนาจในมิติเชิงสัมพัทธ์ที่เกิดจากการเปรียบเทียบระหว่างผู้คนกลุ่มต่างๆในสังคม การไม่ยอมรับความชอบธรรมของโครงสร้างความเหลื่อมล้ำนั้นๆก็เท่ากับไม่ยอมรับอำนาจที่ฝังตัวอยู่ภายใต้ความเหลื่อมล้ำไม่เท่าเทียมดังกล่าว อันจะนำไปสู่วิกฤตการณ์แห่งความมั่นคงของระเบียบแบบแผนต่างๆในระบบสังคมการเมืองที่กระทบถึง ?ความมั่นคงของรัฐ?

– เช่นในอดีตที่การใช้กำลังทางทหารเข้าแย่งชิงดินแดนของชนชาติอื่นเป็นเงื่อนไขสำคัญที่จะนำไปสู่อำนาจทางเศรษฐกิจและการเมือง นักรบหรือ ?วรรณะกษัตริย์? ก็มีความชอบธรรมที่จะอยู่ในช่วงชั้นทางสังคมที่เหนือกว่าคนกลุ่มอื่น โดยที่ผู้คนยอมรับความชอบธรรมแห่งอำนาจนั้นก็ เพราะความสามารถในการรบพุ่งย่อมช่วยปกป้องผู้คนจากการถูกชนชาติอื่นรุกรานได้?? แต่ปัจจุบันเมื่อต้นทุนทางสังคมของการใช้กำลังทางทหารเข้าแย่งชิงความมั่งคั่งจากชนชาติอื่นเพิ่มสูงขึ้นจนไม่คุ้มค่าที่จะดำเนินการ (เนื่องจากความหายนะอันเกิดจากแสนยานุภาพของอาวุธสมัยใหม่ที่ควบคุมขอบเขตได้ยาก เช่น กัมมันตภาพรังสีในชั้นบรรยากาศจากอาวุธนิวเคลียร์ เชื้อโรคร้ายแรงของอาวุธชีวภาพที่อาจจะแพร่ระบาดไปนอกพื้นที่เป้าหมายได้ ฯลฯ) ในขณะที่การใช้ ?สงครามทางเศรษฐกิจ? เพื่อเป็นเครื่องมือแย่งชิงความมั่งคั่งน่าจะมีประสิทธิผลมากกว่า ความชอบธรรมของโครงสร้างความเหลื่อมล้ำไม่เท่าเทียมระหว่างกลุ่มคนต่างๆในสังคมจึงเปลี่ยนแปลงไปจากเดิม โดย ?วรรณะแพศย์? หรือพ่อค้าจะขึ้นมามีอำนาจแทนนักรบหรือ ?วรรณะกษัตริย์? เป็นต้น

– เมื่อความต้องการอำนาจในมิติทางเศรษฐกิจ การเมือง สังคม (ลาภ ยศ สรรเสริญ) เพื่อช่วยหล่อเลี้ยง ?ตัวตนที่เกิดจากความกลัว? สามารถขยายขอบเขตได้ไม่สิ้นสุด แต่ทรัพยากรของสังคมมีจำกัด?? ซึ่งอาจจะนำไปสู่ความแตกสลายของสังคมเพราะการแย่งชิงทรัพยากรอันมีจำนวนจำกัดเหล่านั้น ในขณะที่ความเชื่อทางศาสนาต่างๆสามารถช่วยคลี่คลายบรรเทา ?ความกลัว? หรือตอบสนองความต้องการของ ?ตัวตนที่เกิดจากความกลัว? ได้โดยไม่ก่อให้เกิดการแย่งชิงทรัพยากรอะไร เช่น ถ้าเชื่อว่าพระเจ้าจะคอยช่วยปกป้องผู้คนจากภัยพิบัติต่างๆหากมีความศรัทธาในพระองค์ ก็จะช่วยบรรเทา ?ความกลัว? ของผู้คนได้โดยไม่ต้องไปแย่งชิงอำนาจจากใคร เป็นต้น?? ศาสนาจึงกลายเป็น ?เงื่อนไขจำเป็น? ที่ช่วยให้ระบบสังคมการเมืองมีเสถียรภาพมากขึ้น ส่งผลให้ผู้ปกครองบ้านเมืองภายใต้ระบอบการปกครองแบบต่างๆ ต้องอาศัย ?ศาสนาของรัฐ? มาช่วยสร้างคำอธิบายเพื่อ ?ให้ความชอบธรรม? ต่อโครงสร้างความเหลื่อมล้ำไม่เท่าเทียมในระบบสังคมการเมืองนั้นๆ ?วิกฤติศรัทธาในศาสนาของรัฐ? จึงอาจเป็นสาเหตุสำคัญที่นำไปสู่วิกฤตการณ์ทางการเมืองได้

ad

ณ เวลาบ่ายโมง (หรือ 13.00น.ของชีวิตวัยสี่สิบห้าปีครึ่ง)

– เวลาบ่ายคือการเข้าสู่วัยกลางคนและครึ่งช่วงหลังของนาฬิกาแห่งชีวิต ซึ่งเป็นห้วงเวลาที่การแข่งขันเพื่อแย่งชิงอำนาจในมิติทางเศรษฐกิจ (ลาภ) อำนาจในมิติทางการเมือง (ยศ) และอำนาจในมิติทางสังคม (สรรเสริญ) เป็นไปอย่างเข้มข้น ด้วยแรงบีบคั้นผลักดันจาก ?ความกลัว? ที่จะตกอยู่ในตำแหน่งแห่งที่ของความสัมพันธ์เชิงอำนาจ ไม่ว่าจะเป็นอำนาจในมิติทางเศรษฐกิจ การเมือง หรือสังคม ที่ด้อยกว่าคนซึ่งเรายึดเป็นบรรทัดฐานเปรียบเทียบ เช่น เพื่อนบ้านในชุมชน ญาติพี่น้อง หรือคนที่เรารู้จัก ฯลฯ01

– เพราะ ?อำนาจ? ซึ่งจะช่วยสร้างความรู้สึกมั่นคงให้กับตัวตน(ที่เกิดจากความกลัวต่อ ?ปริสสารัชชภัย?) นั้น เกิดขึ้นโดยการเปรียบเทียบเชิงสัมพัทธ์ (relative deprivation) กับผู้คนที่เรายึดถือมาเป็นตัวเทียบ เช่น ถ้าเพื่อนในที่ทำงานมีรถเก๋งขณะที่เรามีแค่รถจักรยานยนต์ เราก็จะรู้สึกว่าตัวเอง ?ถูกข่ม? ให้ด้อยลง อันทำให้ต้องดิ้นรนหาเงินมาซื้อรถเก๋งบ้าง ถึงแม้จะโดยการซื้อด้วยเงินกู้หรือซื้อแบบเงินผ่อนก็ตาม ?ทั้งนี้เพื่อจะรักษาสถานะของตำแหน่งแห่งที่บนพื้นที่ทางสังคมที่เรายืนอยู่ให้ดำรงคงไว้ หรือเพื่อยกระดับสถานะของตัวเองให้สูงขึ้นกว่าเดิม (แต่เราจะไม่ไปเทียบตัวเองกับผู้คนในช่วงชั้นที่ห่างออกไปมาก อาทิ เจ้าของบริษัทที่เราเป็นพนักงานซึ่งถึงจะซื้อรถหรูกี่คันก็ไม่รู้สึกว่ากระทบอะไรต่อเรา แตกต่างจากเพื่อนฝูงหรือญาติพี่น้องในช่วงชั้นที่ใกล้กับเรา ซึ่งถ้าเกิดซื้อรถหรูสักคันก็จะส่งผลทำให้ตัวเรารู้สึกมีสถานะที่ ?ด้อยลง? ในเชิงเปรียบเทียบ หรือมี ?อำนาจ? ลดน้อยลงภายใต้ระบบความสัมพันธ์ในพื้นที่ทางสังคมดังกล่าว)

– เมื่อ ?อัตตาตัวตน? ที่เกิดจากความกลัวของผู้คนขยายใหญ่ขึ้นๆเพราะการเปรียบเทียบเชิงสัมพัทธ์ แล้วต่างมุ่งไขว่คว้าแสวงหาอำนาจในมิติทางเศรษฐกิจ การเมือง สังคม หรือ ?ลาภ ยศ สรรเสริญ? เพื่อเป็นหลักประกันช่วยบรรเทาความกลัวที่บีบคั้นอยู่ลึกๆในจิตใจ เหมือนคนที่ยิ่งมีร่างกายเติบใหญ่เท่าไร ก็ยิ่งต้องการปริมาณอาหารมาหล่อเลี้ยงมากเท่านั้น จนระบบสังคมการเมืองไม่มี ?พื้นที่? เพียงพอที่จะรองรับตัวตนที่เกิดจากความกลัวของผู้คน และอาจต้องล่มสลายลงเพราะปัญหาความขัดแย้งจากการแย่งชิงอำนาจแห่ง ?ลาภ ยศ สรรเสริญ? (ที่นำไปสู่โลกียสุข) ด้วยเหตุนี้ทุกระบบสังคมการเมืองจึงจำเป็นต้องมีระเบียบแบบแผนของ ?โครงสร้างความเหลื่อมล้ำไม่เท่าเทียม? รวมถึงช่องทางแคบๆสำหรับการยกระดับช่วงชั้นของผู้คน (เสมือนรูเล็กๆที่ช่วยระบายไอน้ำเพื่อไม่ให้แรงดันของหม้อน้ำสูงเกินไปจนเกิดระเบิด) ตลอดจนมีกลไกที่ช่วยอบรมกล่อมเกลาเพื่อให้ผู้คนยอมรับ ?ความชอบธรรม? ของโครงสร้างความเหลื่อมล้ำดังกล่าว

– ความไม่เท่าเทียมของผู้คนจึงเป็นธรรมชาติปรกติอย่างหนึ่งในระบบสังคมมนุษย์ โดยถ้าไปฝืนธรรมชาตินี้ด้วยการพยายามจะทำให้ผู้คนมีสถานะเท่ากันหมด ก็อาจกลับกลายเป็นความยุ่งเหยิงโกลาหล เช่น ลัทธิคอมมิวนิสต์ที่ยึดทรัพย์สินจากเศรษฐีมาเป็นของรัฐแล้วนำมาจัดสรรแบ่งให้ผู้คนเท่าๆกัน ถ้าคนที่ขยันได้รับส่วนแบ่งเท่ากับคนที่เกียจคร้าน ดังนี้ผู้คนก็จะไม่ใช้ศักยภาพทุ่มเททำงานเต็มที่ อันจะกลายเป็นปัญหาในอีกด้านหนึ่งดังเช่นที่ประเทศคอมมิวนิสต์ทั้งหลายประสบมาแล้ว แต่ถ้าหากปล่อยให้คนที่ขยันทำงานได้รับผลตอบแทนมากกว่าคนที่ขี้เกียจ ก็ย่อมจะหลีกเลี่ยงสภาพความเหลื่อมล้ำไม่เท่าเทียมของผู้คนในสังคมไม่ได้ เป็นต้น

– การพัฒนาระบบสังคมการเมืองจึงไม่ใช่อยู่ที่การหาทางทำให้โครงสร้างความเหลื่อมล้ำไม่เท่าเทียมในสังคมหมดไป แต่อยู่ที่การสร้างระเบียบแบบแผนของความเหลื่อมล้ำไม่เท่าเทียมในทิศทางที่ผู้คนภายใต้บริบทของสังคมนั้นๆยอมรับ ?ความชอบธรรม? แห่งความไม่เท่าเทียมนั้นๆได้ ทั้งนี้หลักคำสอนทางศาสนาหรือจริยปรัชญา (Ethics) ทุกระบบ ล้วนตั้งอยู่บนพื้นฐานแห่งการสอนเรื่องความเหลื่อมล้ำไม่เท่าเทียมทั้งสิ้น โดยเป็นความไม่เท่าเทียมระหว่างการ ?ทำดี? กับ ?ทำชั่ว? เพราะถ้าหากคนที่ ?ทำดี? (ตามแนวทางที่ระบบจริยปรัชญานั้นๆอธิบาย) ได้รับผลตอบแทนเท่ากับคนที่ ?ทำชั่ว? แล้วจะอาศัยอะไรเป็นพันธะทางจริยธรรม (moral obligation) เพื่อชักนำให้ผู้คนหันมา ?ทำความดี? ตามบรรทัดฐานทางจริยธรรมที่สังคมนั้นๆพึงประสงค์

ad

ณ เวลาเที่ยงวัน (หรือ 12.00 นาฬิกาของชีวิตวัยสี่สิบสองปี)

– เที่ยงตรงคือเวลาที่เดินทางมาถึงช่วงครึ่งชีวิต ด้วยแรงขับเคลื่อนในการแสวงหาสิ่งต่างๆที่จะช่วยตอบสนองความต้องการตามลำดับขั้น 5 ขั้น ที่ดึงให้เราก้าวไปบนบันไดแห่งชีวิตทีละขั้นๆ แต่มองในอีกแง่หนึ่งก็อาจกล่าวได้ว่ามิใช่มีเป้าหมายสุดท้ายของความต้องการบางอย่างที่ ?ดึงให้เรา ก้าวไปข้างหน้า? แต่เป็นเพราะมีแรงบีบคั้นบางอย่างที่ ?ผลักให้เราเคลื่อนไปข้างหน้า? ต่างหาก

00

– ในพลสูตร อังคุตตรนิกาย นวกนิบาต พระพุทธเจ้าได้ตรัสถึงแรงผลักดันทางจิตวิทยาจากความกลัวต่อภัย 5 ระดับที่มีอิทธิพลกำหนดพฤติกรรมของมนุษย์ แรงบีบคั้นจาก ?ความกลัว? ที่ซ่อนอยู่ในจิตส่วนลึกของมนุษย์ คือสาเหตุที่ทำให้มนุษย์ดิ้นรนแสวงหาสิ่งตอบสนองความต้องเพื่อมาบรรเทาความกลัวเหล่านั้น เมื่อความกลัวต่อภัยที่หยาบกว่าได้รับการคลี่คลายบรรเทาแล้ว แรงบีบคั้นจากความกลัวต่อภัยที่ละเอียดกว่าก็ปรากฏขึ้นมาครอบงำจิตใจ เหมือนตะกอนที่แฝงอยู่ในน้ำ โดยเมื่อตะกอนที่หยาบกว่าถูกกรองออกแล้ว ตะกอนที่ละเอียดกว่าซึ่งเคยถูกตะกอนหยาบบดบังไว้ ก็จะปรากฏตัวให้เห็นโดยลำดับฉะนั้น

– แรงบีบคั้นผลักดันจากความกลัวต่อภัย 5 ระดับนี้มีความสอดคล้องกับความต้องการตามลำดับขั้น 5 ระดับที่มาสโลว์สังเกตเห็น กล่าวคือ ?อาชีวิกภัย? (ความกลัวต่อภัยอันเนื่องด้วยการดำรงชีวิต) ผลักดันให้มนุษย์เกิดความต้องการทางกายภาพ (physiological needs) ?อสิโลกภัย? (ความกลัวต่อภัยอันเนื่องด้วยการถูกโลกตำหนิ) ผลักดันให้มนุษย์เกิดความต้องการทางด้านสังคม (social needs) ?ปริสสารัชชภัย? (ความกลัวต่อภัยอันคือความสะทกสะท้านในบริษัท) ผลักดันให้มนุษย์เกิดความต้องการความมั่นใจและความภาคภูมิใจในตัวตนของตน (esteem needs) ?มรณภัย? (ความกลัวต่อภัยคือความตาย) ผลักดันให้มนุษย์ต้องการความมั่นคงที่ยั่งยืนแห่งชีวิต (safety needs) ตลอดจน ?ทุคคติภัย? (ความกลัวต่อภัยเนื่องด้วยที่ไปที่เป็นความเสื่อม) ผลักดันให้มนุษย์ต้องการแสวงหาสัจจะความจริงเกี่ยวกับตนเอง (self realization)

– การจัดลำดับขั้นของ ?ความกลัวต่อภัยต่างๆ? จากหยาบไปหาละเอียดโดยเปรียบเทียบกับ ?ความต้องการตามละดับขั้น 5 ขั้น? นี้ มีจุดที่เป็นความแตกต่างคือเรื่อง ?มรณภัย? ซึ่งเป็นความ

กลัวต่อภัยในลำดับขั้นที่ 4 อันมีนัยลึกละเอียดกว่าแค่ความกลัวต่อภัยที่เนื่องด้วยการดำรงชีวิตในทางกายภาพ เพราะมนุษย์ที่มีสติปัญญาทุกคนย่อมรู้อยู่ว่าสักวันหนึ่งไม่ช้าก็เร็วตัวเองต้องเผชิญกับความตายอย่างแน่นอน ความกลัวลึกๆในจิตใจดังกล่าวได้ผลักดันให้มนุษย์พยายามหาหนทางสืบทอด ?อัตตาตัวตนของตน? ให้ดำรงต่อไปภายหลังความตาย ด้วยกลไกทางจิตวิทยาต่างๆ เช่น การสืบพันธุ์หรือสร้างทายาทเพื่อให้เป็นตัวแทนของชีวิตตัวเองที่จะดำรงสืบต่อไป ตลอดจนการ ?สร้างภพ? ของความเชื่อทางศาสนาแบบ ?สัสสตทิฐิ? ที่เชื่อว่ายังมีชีวิตสืบทอดต่อไปภายหลังความตาย (ซึ่งตรงข้ามกับ ?อุจเฉททิฐิ? ที่เชื่อว่าตายแล้วสูญ) ผ่านพิธีกรรมทางศาสนาต่างๆ ดังเช่นการทำบุญกรวดน้ำเพื่ออุทิศส่วนกุศลไปให้คนตาย อันจะช่วยให้คนที่มีชีวิตอยู่สบายใจขึ้นว่ายังมีชีวิตภายหลังความตายที่จะมารับส่วนบุญกุศลดังกล่าวได้ เป็นต้น

– เดส์การ์ตส์ (Rene Decartes : 1596 ? 1650) นักปรัชญาที่พยายามพิสูจน์ถึงความดำรงอยู่อย่างเป็นภววิสัยหรือเป็นวัตถุวิสัย (objective) ของสิ่งต่างๆ ได้เสนอข้อพิสูจน์ถึงความดำรงอยู่จริงอย่างเป็นภววิสัยของ ?ตัวฉัน??? เพื่อเป็นมูลบท (axiom) ของการนำไปสู่ข้อพิสูจน์แห่งความดำรงอยู่อย่างจริงแท้ของสิ่งอื่นต่อๆไปแบบวิธีการพิสูจน์ในทฤษฎีทางเรขาคณิต ด้วยข้อความที่มีชื่อเสียงของเขาว่า ?ฉันคิดดังนั้นฉันจึงมีอยู่? (I think ,therefore I am) กล่าวคือถึงแม้เราอาจตั้งข้อสงสัยใดๆเกี่ยวกับความดำรงอยู่อย่างจริงแท้เป็นภววิสัยของสิ่งต่างๆในเอกภพนี้ได้ แต่มีอยู่สิ่งหนึ่งที่เราไม่อาจตั้งข้อสงสัยถึงความดำรงอยู่อย่างจริงแท้ของตัวมันได้ นั่นก็คือ ?ตัวฉัน? อันเป็น?สิ่งๆหนึ่งที่กำลังคิดสงสัยถึงความดำรงอยู่จริงของตนเอง? ในขณะนั้นๆนั่นเอง (เพราะถ้าไม่มีตัวฉันที่กำลังทำหน้าที่คิดและตั้งคำถามอยู่ในขณะนี้แล้ว ความสงสัยดังกล่าวจะเกิดขึ้นมาได้อย่างไร)

– ในทำนองเดียวกัน ?เพราะฉันกลัว? ดังนั้น ?ตัวตน? (ที่เกิดจากความกลัว)ของฉัน? จึงดำรงอยู่?? ยิ่งฉันมี ?ความกลัว? มากเท่าไร ?อัตตาตัวตน? (ที่เกิดจากความกลัว) ของฉันก็จะยิ่งขยายใหญ่ขึ้นเป็นเงาตามตัว และต้องการบริโภค ?อำนาจ? เพื่อช่วยบรรเทาความกลัวนั้นๆ แต่ทว่าเมื่อได้บริโภคอำนาจในมิติทางเศรษฐกิจ การเมือง และสังคม เข้าไปมากเท่าไร ?ตัวตนที่เกิดจากความกลัวสูญเสียอำนาจ? ก็กลับเติบโตและต้องการอำนาจมาหล่อเลี้ยงมากยิ่งๆขึ้นเท่านั้น

ad

ณ เวลาสิบเอ็ดโมงเช้า (หรือ 11.00 นาฬิกาของชีวิตวัยสามสิบแปดปีครึ่ง)

– หลังเหตุการณ์พฤษภาทมิฬปี 2535 ซึ่งกลุ่มชนชั้นกลางในเมืองที่เรียกกันว่า ?ม็อบมือถือ? ได้ต่อสู้เรียกร้องประชาธิปไตยจนหลุดพ้นจากเงื้อมมือของทหารเป็นผลสำเร็จแล้ว ได้เกิดกระแสเรียกร้องให้มีการปฏิรูปทางการเมืองเพื่อให้ประเทศไทยก้าวสู่วิถีทางประชาธิปไตยที่สมบูรณ์ ภายใต้โลกยุคโลกาภิวัตน์ซึ่งระบบเศรษฐกิจของประเทศต่างๆถูกเชื่อมโยงให้เป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน ภายหลังการล่มสลายของสหภาพโซเวียตเมื่อปลายปีพ.ศ. 2534 (อันถือเป็นจุดสิ้นสุดของยุคสงครามเย็นหลังสงครามโลกครั้งที่สอง)
11

– การปฏิรูปการเมืองให้เป็นประชาธิปไตย ก็คือการปรับเปลี่ยนโครงสร้างความสัมพันธ์ในเชิงอำนาจ เพื่อให้มีพื้นที่ทางสังคมการเมืองสำหรับประชาชนเพิ่มมากขึ้น โดยเฉพาะอย่างยิ่งสำหรับคนชั้นกลางในเมืองที่ออกมาเรียกร้องประชาธิปไตย คำถามก็คือทำไมกลุ่มคนชั้นกลางเหล่านี้จึงออกมาเรียกร้องการปฏิรูปทางการเมือง ทั้งๆที่ก่อนหน้านี้ไม่มีท่าทีว่าสนใจเรื่องการเมืองอะไรมากมาย การเรียกร้องประชาธิปไตยในกรณี 14 ตุลาคม 2516 ก็อาศัยนักเรียนนิสิตนักศึกษาเป็นกำลังหลัก

– คำตอบในเรื่องนี้อาจเป็นเพราะกลุ่มนักเรียนนิสิตนักศึกษาที่มีความตื่นตัวทางการเมืองจากเหตุการณ์ 14 ตุลาคม 2516 และ 6 ตุลาคม 2519 ได้เติบโตเป็นผู้ใหญ่โดยสร้างเนื้อสร้างตัวขึ้นมาเป็นกลุ่มชนชั้นกลางที่อยู่ในช่วงวัยกลางคน และออกมาร่วมต่อสู้เพื่อเรียกร้องประชาธิปไตยอีกครั้งในช่วงเหตุการณ์พฤษภาทมิฬ 2535 จึงทำให้เห็นปรากฏการณ์ที่กลุ่มคนชั้นกลางในเมืองซึ่งเรียกกันว่าม็อบมือถือออกมาขับไล่การสืบทอดอำนาจของทหารประการหนึ่ง

– อีกประการหนึ่งอาจเป็นเพราะหลังการสิ้นสุดสงครามโลกครั้งที่สองพร้อมกับระเบิด ปรมาณู 2 ลูกที่ถูกทิ้งลง ณ เมืองฮีโรชิมากับนางาซากิ ทำให้โลกเริ่มตระหนักถึงความหายนะของมนุษยชาติจากแสนยานุภาพในการทำลายล้างด้วยอาวุธนิวเคลียร์สมัยใหม่ที่ควบคุมขอบเขตความเสียหายได้ยาก จนไม่คุ้มค่าความเสี่ยงที่จะใช้สงครามทางทหารเพื่อการแย่งชิงทรัพยากรจากชาติที่อ่อนแอกว่าเหมือนการแผ่ขยายอาณาจักรของชาติมหาอำนาจในอดีต เมื่อสิ้นสุดยุคสงครามเย็นในปี พ.ศ. 2534 ประเทศสหรัฐอเมริกาในฐานะผู้นำมหาอำนาจฝ่ายโลกเสรีจึงผลักดันนโยบายการจัดระเบียบโลกใหม่ ซึ่งก็คือการอาศัย ?สงครามทางเศรษฐกิจ? (ที่มีต้นทุนต่ำ) เป็นเครื่องมือแย่งชิงความมั่งคั่งจากรัฐที่อ่อนแอกว่าแทน ?สงครามทางทหาร? แบบในอดีตนั่นเอง ภายใต้กระแสการแข่งขันทางเศรษฐกิจที่เป็นไปอย่างรุนแรงเข้มข้นในโลกยุคโลกาภิวัตน์ ซึ่งกลุ่มคนชั้นกลางในเมืองกำลังยกระดับสถานะความเป็นอยู่ของตนจากโอกาสแห่งความเติบโตทางเศรษฐกิจ ถ้าหากการเมืองไทยถอยหลังกลับสู่ระบอบอำนาจนิยมอันไม่เป็นที่ยอมรับของนานาอารยประเทศทั้งหลายในโลก ก็อาจเป็นอุปสรรคต่อการเข้าถึงโอกาสต่างๆในทางเศรษฐกิจของคนชั้นกลางเหล่านี้ ฉะนั้นจึงออกมาร่วมกันต่อสู้เพื่อเรียกร้องประชาธิปไตย

– นอกจากนี้ตามทฤษฎีความต้องการตามลำดับขั้นของมนุษย์ดังที่ได้กล่าวมาแล้วนั้น เมื่อผู้คน (โดยเฉพาะอย่างยิ่งคนชั้นกลางในเมือง) มีชีวิตความเป็นอยู่ที่ดีขึ้น และมีหลักประกันความมั่นคงทางด้านเศรษฐกิจของชีวิตแล้ว ก็อยากได้สิ่งตอบสนองความต้องการในลำดับขั้นถัดไปที่มีความเป็นนามธรรมมากขึ้น โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ?อำนาจ? ที่จะช่วยสร้างความรู้สึกมั่นคงทางสังคมและความภาคภูมิใจในตัวตนของตน ซึ่ง ?ประชาธิปไตย? จะช่วยตอบสนองความต้องการเหล่านี้ได้?? เช่น มีเสรีภาพที่จะตำหนิผู้บริหารบ้านเมืองด้วยถ้อยคำรุนแรง (อันช่วยสร้างความรู้สึกมั่นคงให้กับตัวตนของตน เพราะถึงแม้ตนจะไม่มีโอกาสได้ไปเป็นผู้บริหารบ้านเมืองแบบนักการเมืองเหล่านั้น แต่ในเมื่อตนเสรีภาพที่จะวิจารณ์นักการเมืองเหล่านั้นด้วยถ้อยคำรุนแรงเหมือนผู้ใหญ่ตำหนิเด็กได้ ก็เท่ากับตน ?มีอำนาจ? ที่เหนือกว่านักการเมืองดังกล่าว อันเป็นกลไกป้องกันตัวเองทางจิตวิทยาที่ช่วยสร้างความรู้สึกมั่นใจให้กับตัวตนของตนมากขึ้น มีศักดิ์ศรีเพิ่มขึ้น ฯลฯ) ซึ่งจะกระทำไม่ได้ภายใต้เงื่อนไขของการควบคุมสื่อต่างๆอย่างเข้มงวดในระบอบอำนาจนิยม เป็นต้น

– มองในแง่นี้ ?ระบอบอำนาจนิยม? ที่มีผู้บริหารบ้านเมืองที่ดี ถึงแม้จะช่วยตอบสนองมิติแห่งความต้องการในลำดับขั้นต้นๆของผู้คนได้ แต่ ?ระบอบประชาธิปไตย? ที่มีผู้บริหารบ้านเมืองที่ดี จะสามารถตอบสนองความต้องการของผู้คนในมิติซึ่งครอบคลุมกว้างขวาง ถึงความต้องการในลำดับขั้นท้ายๆของทฤษฎีความต้องการตามลำดับขั้นทั้ง 5 ขั้นได้ดีกว่า

ad

ณ เวลาสิบโมงเช้า (หรือ 10.00 นาฬิกาของชีวิตวัย 35 ปี)

– ตามมาตรฐานชีวิตของคนชั้นกลางระดับกลางในสังคมไทย (ซึ่งส่วนใหญ่ของคนเหล่านี้เป็นข้าราชการ พนักงานรัฐวิสาหกิจ พนักงานบริษัทเอกชน หรือเจ้าของธุรกิจขนาดเล็กถึงกลางที่เรียกว่า SMEs) เมื่อย่างเข้าสู่วัย 35 ปี ณ เวลาสิบโมงเช้าของนาฬิกาแห่งชีวิต ก็มักจะไต่เต้าขึ้นเป็นผู้บริหารระดับต้นถึงกลางที่มีลูกน้องอยู่จำนวนหนึ่ง และต้องมีพันธะความรับผิดชอบในหน้าที่การงานมากขึ้น มีปฏิสัมพันธ์กับผู้คนอันเกี่ยวข้องกับมิติทางด้านเศรษฐกิจ การเมือง และสังคมมากขึ้น ตลอดจนเริ่มยกระดับสู่การแสวงหาสิ่งตอบสนองความต้องการในมิติทางสังคม ซึ่งเป็นความต้องการลำดับขั้นที่ 3 บนเส้นทางแห่งการแสวงสิ่งตอบสนองความต้องการ 5 ลำดับขั้นของชีวิต
10

– ความต้องการทางด้านสังคมนั้นมีส่วนเกี่ยวข้องอย่างแนบแน่นกับมิติของเรื่อง ?อำนาจ? เพราะอำนาจเป็นคุณลักษณะของเงื่อนไขที่บุคคลผู้หนึ่งสามารถชักนำให้บุคคลอื่น (ในหน่วยสังคมระดับต่างๆตั้งแต่ในครอบครัว องค์กรที่ทำงาน ชุมชนท้องถิ่น จนถึงระดับประเทศ) ทำตามในสิ่งที่ตนต้องการ ทั้งนี้อำนาจเป็นสิ่งที่ปรุงแต่งสร้างขึ้นด้วยการเปรียบเทียบสถานะของบุคคลผู้หนึ่งกับคนอื่นๆที่อยู่ในสังคม โดย ?อำนาจทางเศรษฐกิจ? (ลาภ) จะนำไปสู่การมีอภิสิทธิ์ (privilege) เหนือผู้อื่น ?อำนาจทางการเมือง? (ยศ) จะนำไปสู่การมีอำนาจบังคับ (power) เหนือผู้อื่น และ ?อำนาจทางสังคม? (สรรเสริญ) จะนำไปสู่การช่วยให้ได้รับความยอมรับเชื่อถือจากผู้คน (prestige) เหนือผู้อื่น อำนาจจึงเป็นสิ่งที่ฝังตัวอยู่ระหว่าง ?ช่วงชั้น? ทางสังคม

?พื้นที่ทางสังคม? (Social Space) เป็นตำแหน่งแห่งที่ของความสัมพันธ์ในมิติเชิงอำนาจในระบบสังคมเศรษฐกิจการเมืองหนึ่งๆ การแสวงหาความต้องการทางด้านสังคมก็คือการแสวงหาตำแหน่งที่ยืนที่มั่นคงบนพื้นที่ทางสังคม การแย่งกันที่จะยืนอยู่ในตำแหน่งแห่งที่ของ ?โครงสร้างทางสังคม? ที่ผู้คนต่างปรารถนานั้น คือสาเหตุสำคัญที่นำไปสู่ความขัดแย้งในระบบสังคมการเมืองของมนุษย์ จากการแย่งชิง ?ลาภ ยศ สรรเสริญ? ที่นำไปสู่โลกียสุขต่างๆ

– อำนาจทางเศรษฐกิจ (ลาภ) อำนาจทางการเมือง (ยศ) และอำนาจทางสังคม (สรรเสริญ) เป็นมิติสามด้านของอำนาจที่สัมพันธ์กันอย่างแนบแน่น เหมือนด้านสามด้านที่ประกอบเป็นรูปสามเหลี่ยม คนที่เข้าถึงอำนาจทางเศรษฐกิจ ถ้าไม่มีอำนาจทางการเมืองและอำนาจทางสังคมช่วยเกื้อหนุน ทรัพย์สินเงินทองจำนวนมากที่หามาได้ก็อาจลดน้อยลงเพราะถูกธุรกิจคู่แข่งแย่งเอาไปได้ ?จึงมักจะอาศัยฐานอำนาจทางเศรษฐกิจเชื่อมโยงไปสู่การสร้างสายสัมพันธ์กับอำนาจทางการเมือง (ไม่ว่าจะโดยทางตรงหรือโดยทางอ้อมก็ตาม) รวมถึงการสร้างอำนาจทางสังคมให้ผู้คนเชื่อถือ เพื่อช่วยเกื้อหนุนคุ้มครองสถานะทางเศรษฐกิจที่มีอยู่ให้มั่นคง

– คนที่เข้าถึงอำนาจทางการเมือง (ซึ่งหมายรวมถึงอำนาจที่เป็นทางการต่างๆในสังคม) แต่ถ้าไม่มีอำนาจทางเศรษฐกิจช่วยหล่อเลี้ยงบริวาร และไม่มีฐานอำนาจทางสังคมที่จะช่วยสร้างความยอมรับนับถือ อำนาจทางการเมืองที่ได้มานั้นก็ย่อมถูกคู่แข่งทางการเมืองแย่งชิงไปได้?? จึงต้องใช้อำนาจทางการเมืองที่มีอยู่ช่วยเชื่อมไปสู่การแสวงหาหรือสร้างสายสัมพันธ์กับอำนาจทางเศรษฐกิจและอำนาจทางสังคม เพื่อค้ำจุนสถานะแห่งอำนาจทางการเมืองที่ได้มานั้นให้มั่นคงยืนนาน

– ส่วนคนที่เข้าถึงอำนาจทางสังคม (หรือความเคารพเชื่อถือจากผู้คน)?? ถ้าไม่มีอำนาจทางเศรษฐกิจและอำนาจทางการเมืองช่วยสนับสนุน ก็ย่อมยากที่จะขยายความศรัทธาของผู้คนในสังคมให้กว้างขวางโดยที่ไม่ถูกคู่แข่งขันแย่งชิงความเคารพเชื่อถือไปได้ ?จึงเป็นแนวโน้มตามธรรมชาติที่จะมีการอาศัยฐานอำนาจทางสังคม เชื่อมโยงไปสู่การสร้างสายสัมพันธ์กับอำนาจทางเศรษฐกิจและอำนาจทางการเมือง ดังเช่นที่ศาสนาสำคัญต่างๆในโลกที่มีคนศรัทธานับถือจำนวนมากนั้น ล้วนแล้วแต่มีประวัติศาสตร์ความเชื่อมโยงกับฐานอำนาจทางด้านเศรษฐกิจและการเมือง จึงสามารถแผ่ขยายศาสนาออกไปแข่งขันกับศาสนาอื่นๆได้อย่างกว้างขวางทั่วโลก เป็นต้น

– สำหรับคนที่เกิดปี พ.ศ. 2500 วัย 35 ปีก็คือช่วงเวลาที่กำลังเผชิญกับสถานการณ์ความขัดแย้งรุนแรงในระบบสังคมการเมืองไทย จากเหตุการณ์พฤษภาทมิฬที่ผู้มีอำนาจสั่งให้ทหารใช้อาวุธสงครามเข้าสลายการชุมนุมของประชาชนที่เรียกร้องประชาธิปไตย (ซึ่งก็คือการเรียกร้องพื้นที่ทางสังคมของประชาชนที่จะมีส่วนแบ่งในอำนาจมากขึ้น) จนมีราษฎรบาดเจ็บล้มตายจำนวนมาก อันนับเป็นเหตุการณ์รุนแรงในระบบสังคมการเมืองไทยที่เกิดขึ้นเป็นครั้งที่ 3 ถัดจากเหตุการณ์นองเลือดกรณี 14 ตุลาคม 2516 และ 6 ตุลาคม 2519

ad

ณ เวลาเก้าโมงเช้า (หรือ 9 นาฬิกาของชีวิตวัยสามสิบเอ็ดปีครึ่ง)

– เก้าโมงเช้าน่าจะเป็นช่วงเวลาเข้าทำงานในรอบสาย โดยสำหรับผู้คนจำนวนหนึ่งอาจเพิ่งเริ่มต้นชีวิตการงานที่มั่นคงและเริ่มสร้างครอบครัวในวัยย่างเข้าเลขสามนี้ หลายคนต้องทำงานหนักเพื่อหาเงินผ่อนบ้าน ผ่อนรถ และเป็นค่าใช้จ่ายสำหรับการศึกษาของลูก การแสวงหาสิ่งตอบสนองความต้องการสองลำดับขั้นแรกเพื่อปัจจัยจำเป็นในการดำรงชีพ ตลอดจนเพื่อสร้างความมั่นคงของครอบครัว ยังคงเป็นพันธกิจหลักในช่วงเวลาเก้าโมงเช้าของนาฬิกาแห่งชีวิต
09

– หลักธรรมเรื่อง ?ทิฎฐธัมมิกัตถประโยชน์? ของพระพุทธศาสนา สอนให้รู้จักวิธีบริหารจัดการเพื่อให้ ?รายรับท่วมรายจ่าย? อย่าให้ ?รายจ่ายท่วมรายรับ? ด้วยการขยันหมั่นเพียรทำงานรวมถึงการขวนขวายหาความรู้เพื่อยกระดับศักยภาพของตนเอง (อุฎฐานสัมปทา) บริหารรักษาเงินที่หามาได้เพื่อให้มีเงินออมเหลือเก็บ (อารักขสัมปทา) คบหาสมาคมกับกลุ่มเพื่อนที่ดีและเลือกเข้าสังคมที่ดี (กัลยานมิตตตา) ตลอดจนใช้ชีวิตให้เหมาะสมกับสถานะทางเศรษฐกิจ มีน้อยใช้น้อย มีมากใช้มาก (สมชีวิตา) ถ้าได้ปฏิบัติตามกฎสี่ข้อนี้อย่างเคร่งครัด ก็น่าจะสอบผ่านการแสวงหาสิ่งตอบสนองความต้องการสองลำดับขั้นแรกดังที่กล่าวมาได้อย่างราบรื่น

– หลักการข้อสุดท้ายของ ?ทิฎฐธัมมิกัตถประโยชน์? อันคือ ?สมชีวิตา? นั้น มีความหมายกว้างขวางที่ครอบคลุมถึงการรู้จักใช้ชีวิตอย่างเหมาะสมถูกต้อง ไม่ใช่รสนิยมสูงแต่รายได้ต่ำจนต้องกู้หนี้ยืมสินมาใช้บริโภค ขณะที่คนซึ่งมีรายได้สูงก็ให้รู้จักการใช้จ่ายเงินเพื่อสร้างประโยชน์สุขในชีวิตอย่างสมฐานะ โดยไม่ใช่ตระหนี่ขี้เหนียวจนเกินเหตุ อันจะช่วยสะพัดเงินที่เก็บสะสมไว้ให้เกิดอรรถประโยชน์ต่อสังคม (social utility) และเมื่อมีสิ่งอำนวยความสุขความสะดวกสบายในชีวิตพอสมควร อีกทั้งครอบครัวก็มีหลักประกันของฐานะทางเศรษฐกิจที่มั่นคงแล้ว ก็ใช้เงินที่เหลือสร้างประโยชน์สุขให้กับสังคมส่วนรวม เพื่อยกระดับชีวิตสู่การแสวงหาความยอมรับจากสังคม (social needs) ตลอดจนการสร้างความภาคภูมิใจให้กับชีวิตของตนเองและวงศ์ตระกูลเพื่อให้ผู้คนได้จดจำ (self esteem) อันเป็นลำดับขั้นที่ 3 และ 4 ของเส้นทางเดินชีวิต โดยไม่ติดแค่การแสวงหาความต้องการอยู่ในสองลำดับขั้นแรกตามที่กล่าวมาเท่านั้น

– มีข้อน่าสังเกตว่าหลักทิฎฐธัมมิกถประโยชน์ข้อที่ 1, 2 และ 4 เป็นเรื่องที่หนักไปทางด้าน ?ปัจจัยภายใน? ที่เกี่ยวข้องกับวินัยของการทำงานเพื่อหาทรัพย์สินเงินทอง และการบริหารจัดการเพื่อรักษาทรัพย์สินที่หามาได้ให้มั่นคง ?ตลอดจนให้รู้จักการใช้จ่ายเงินอย่างเหมาะสมตามฐานะ แต่หลักการข้อที่ 3 นั้นเป็นเรื่อง ?ปัจจัยภายนอก? ของมิติทางสังคมเกี่ยวกับการมีเพื่อนฝูงลักษณะต่างๆ อันชี้ให้เห็นว่าพระพุทธศาสนาให้น้ำหนักความสำคัญกับอิทธิพลของกระบวนการเรียนรู้ในมิติทางสังคม ที่มีต่อแบบชีวิต (form of life) หรือพฤติกรรมในการใช้ชีวิตของผู้คนเป็นอย่างมาก จนถึงกับกำหนดให้เป็นหลักปฏิบัติสำคัญข้อหนึ่งของการรู้จักเลือกเข้าสังคมที่เหมาะสม

– สภาพสังคมสิ่งแวดล้อมซึ่งเกี่ยวข้องสัมพันธ์กับมิติทางด้านสังคมเศรษฐกิจและการเมืองจึงมีอิทธิพลต่อการเดินทางเพื่อไปสู่บรรทัดสุดท้ายแห่งเป้าหมายที่พึงปรารถนาในชีวิต การมีส่วนร่วมพัฒนาระบบสังคม เศรษฐกิจ และการเมือง ที่เราแต่ละคนได้อาศัยเพื่อการมีชีวิตอยู่นี้จึงน่าจะถือเป็นความรับผิดชอบและพันธกิจสำคัญส่วนหนึ่งของชีวิตด้วย

ad

ณ เวลาแปดโมงเช้า (หรือ 8 นาฬิกาของชีวิตวัยยี่สิบแปดปี)

– ช่วงเวลาแปดโมงเช้าสำหรับหลายคนคือเวลาที่ต้องมาถึงที่ทำงานและตอกบัตรเริ่มต้นทำงานในวันใหม่ อันคือการเติบโตขึ้นเป็นผู้ใหญ่เต็มตัวที่มีการงานมั่นคงและแต่งงานมีครอบครัว?? แปดโมงเช้าของนาฬิกาแห่งชีวิตจึงเป็นหลักบอกเวลาสำคัญอีกจุดหนึ่ง ในการเปลี่ยนผ่านจากชีวิตวัยหนุ่มสาวสู่ความเป็นผู้ใหญ่ที่มีวุฒิภาวะและการเริ่มต้นสร้างครอบครัว
08

– หลายชีวิตกำลังอยู่ในช่วงแสวงหาสิ่งตอบสนองความต้องการสองลำดับแรกตามทฤษฎีความต้องการตามลำดับขั้นของมาสโลว์ ซึ่งก็คือการแสวงหาความมั่นคงทางด้านเศรษฐกิจ เพราะถ้ามีเงินก็สามารถซื้อหาแลกเปลี่ยนปัจจัยที่จำเป็นต่างๆต่อการดำรงชีวิต และถ้าหากมีเงินเก็บสะสมมากพอ ก็ย่อมจะเป็นหลักประกันที่มั่นคงของครอบครัว เงินจึงกลายเป็นสิ่งสำคัญขั้นพื้นฐานที่แทบทุกชีวิตต้องการไขว่คว้าแสวงหา

– แต่คำถามก็คือเราควรจะตั้งเป้าทำงานเก็บสะสมเงินมากเท่าไรจึงจักเพียงพอต่อการสร้างความมั่นคงของชีวิต บางคนตั้งเป้าหมายว่าถ้ามีเงินซื้อบ้าน ซื้ออุปกรณ์อำนวยความสะดวกสบายต่างๆภายในบ้าน รวมถึงมีเงินเก็บสักก้อนสำหรับไว้ใช้ในยามแก่ชรา อาจจะแค่สักหนึ่งล้านบาทตามศักยภาพที่น่าจะพอหาได้ก็คง ?เพียงพอ? แต่ครั้นหาเงินเก็บได้หนึ่งล้านบาทตามเป้า ความกลัวว่าเงินหนึ่งล้านบาทอาจถูกใช้หมดไปได้ในวันใดวันหนึ่งข้างหน้า ส่งผลทำให้ความต้องการหลักประกันที่มั่นคงในชีวิตขยายตัวเพิ่ม แปรผันตามปริมาณ ?ความกลัว? ที่เพิ่มขึ้นดังกล่าว

– ซึ่งวิธีที่ดีสำหรับการเก็บรักษาเงินหนึ่งล้านบาทนั้นให้มั่นคงยืนนานเพื่อเป็นหลักประกันความมั่นคงปลอดภัยของชีวิต ก็คือเอาเงินหนึ่งล้านบาทดังกล่าวฝากธนาคารในบัญชีประจำ แล้วหาเงินใหม่อีกหนึ่งล้านบาทสำหรับไว้ใช้สอย แต่พอหาเงินมาได้สองล้านบาทตามเป้า ความกลัวว่าหลักประกันความมั่นคงของชีวิตจากการมีเงินสองล้านบาทย่อมอาจหมดสูญไปได้เช่นกัน และวิธีที่ดีที่สุดสำหรับการสร้างหลักประกันความมั่นคงของชีวิตในระดับดังกล่าวให้ยืนนานก็คือ เก็บเงินสองล้านบาทนั้นฝากธนาคาร หรือลงทุนซื้อทรัพย์สินที่มีความมั่นคงปลอดภัยไม่มีความเสี่ยงเพื่อเก็บไว้ แล้วหาเงินก้อนใหม่อีกสองล้านบาทสำหรับไว้ใช้สอย แต่เมื่อหาเงินมาได้สี่ล้านบาทตามเป้าหมาย ความกลัวก็ขยายเพิ่มเป็นเงาตามตัวเท่ากับปริมาณเงินสี่ล้านบาทที่เพิ่มขึ้นดังกล่าว แล้วบีบคั้นให้คนผู้นั้นต้องหาเงินเพิ่มมากขึ้นๆต่อไปอีกอย่างไม่มีขอบเขตที่สิ้นสุด

– จึงไม่น่าแปลกใจที่เราจะเห็นมหาเศรษฐีบางคนซึ่งถึงแม้มีเงินเก็บสะสมนับพันนับหมื่นล้านบาทแล้วก็ยังคงขี้เหนียว สละเงินออกไปส่วนหนึ่งก็หวังผลตอบแทนกลับคืนมากยิ่งกว่าไม่ว่าจะโดยทางตรงหรือทางอ้อม เพื่อให้มีเงินส่วนเกินเหลือสะสมเพิ่มมากยิ่งๆขึ้นอีก เพราะติดอยู่ในกับดักของความกลัวที่ขยายตัวเพิ่มขึ้นเรื่อยๆด้วยกลไกตามที่กล่าวมาข้างต้น ชีวิตของคนเหล่านี้จะไม่สามารถยกระดับสู่การแสวงหาสิ่งตอบสนองความต้องการในลำดับขั้นที่สูงขึ้นถึงขั้นที่ 5 ตามทฤษฎีความต้องการตามลำดับขั้น 5 ขั้นดังที่กล่าวมาได้ เนื่องจากยังคงจมปลักอยู่กับการแสวงหาสิ่งตอบสนองความต้องการในลำดับขั้นต้นๆเท่านั้น

– ถ้าต่อให้เศรษฐีคนนั้นมีอายุยืนยาวอีกสัก 30 ปี และใช้เงินซื้อหาความสุขสบายอย่างฟุ่มเฟือยวันละ 100,000 บาททุกๆวัน ก็จะใช้เงินปีละ 365 วัน x 100,000 บาท = 36.5 ล้านบาท รวม 30 ปี = 1,095 ล้านบาท แต่กระนั้นเศรษฐีหลายคนก็รู้สึกว่าตนเองยังขาดพร่องอะไรบางอย่างเพราะถูกบีบคั้นด้วยความกลัวอยู่ลึกๆตลอดเวลา อันทำให้ต้องหาเงินเพิ่มขึ้นๆเป็นหลายพันหลายหมื่นล้านบาท ด้วยความรู้สึกนึกคิดว่า ?เงินคืออำนาจ? ที่อาจช่วยบรรเทาความกลัวดังกล่าวนั้นได้ ?แต่ครั้นหาเงินมาได้มากเท่าไร ?ความกลัวต่อการสูญเสียอำนาจ? (เพื่อบรรเทาความกลัวอันเกิดจากการมีอำนาจ) ก็กลับขยายเพิ่มขึ้นตาม เหมือนการวิ่งไล่ไขว่คว้าเงาตัวเองที่ไม่มีวันไปถึงเป้าหมาย

– ผู้คนจำนวนไม่น้อยในโลกทุกวันนี้จึงเหมือนกำลังวิ่งอยู่บนลู่กรีฑาของการแข่งขันหาเงิน เพื่อไขว่คว้า ?มายาคติของตัวเลข? (เพราะได้ใช้เงินซื้อหาทุกสิ่งทุกอย่างโดยไม่รู้จะซื้ออะไรอีกแล้ว จนเงินกลายเป็นเพียงตัวเลขในบัญชีที่ไม่ได้ถูกนำมาใช้สร้างอรรถประโยชน์อะไรจริงๆให้กับชีวิตผู้นั้น) ทุกคนต่างวิ่งแข่งกันอย่างสุดความสามารถด้วยความกลัวว่าจะอยู่ล้าหลังคนอื่น ที่สุดของการเดินทาง ล้มลงนอนด้วยความเหนื่อยอ่อน พร้อมกับความฉงนต่อสิ่งตนแสวงหาและได้มาจากความพยายามอันยาวนาน เพียงผืนดินยาววากว้างศอกสำหรับฝังกาย ?เท่านี้หรือชีวิต?

ad

ณ เวลาเจ็ดโมงเช้า (หรือ 7 นาฬิกาของชีวิตวัยยี่สิบสี่ปีครึ่ง)

– เจ็ดโมงเช้าสำหรับหลายต่อหลายชีวิตคือช่วงเวลาของการเดินทางอยู่บนท้องถนนจากบ้านไปที่ทำงาน หลายคนคงกำลังหางานทำหรือเปลี่ยนงานใหม่ไปเรื่อยๆ โดยยังไม่ตัดสินใจที่จะปักหลักทำงานตรงจุดไหนเพื่อสร้างความมั่นคงของชีวิต บางคนเพิ่งจะมีโอกาสใช้เงินที่หามาได้ด้วยน้ำพักน้ำแรงของตัวเองเป็นครั้งแรก และมีเงินสำหรับการเที่ยวหาความสำราญอย่างอิสระตามวิถีชีวิตของคนหนุ่มสาวที่เป็นโสด
07

– หลายคนกำลังมองหาคู่ครองตามแรงขับของฮอร์โมนวัยว้าวุ่นช่วงหนุ่มสาว ทั้งนี้ทฤษฎีจิตวิเคราะห์ของฟรอยด์ (Sigmund Freud) ให้น้ำหนักความสำคัญกับเรื่องอิทธิพลของแรงขับทางเพศเป็นอย่างมาก แต่คำว่า ?Sex? ของฟรอยด์นั้นมีความหมายที่ครอบคลุมกว้างขวาง ซึ่งน่าจะตรงกับคำว่า ?กามฉันทะ? ในทางพุทธปรัชญาที่หมายรวมถึงรูป เสียง กลิ่น รส สัมผัส อันก่อให้เกิดอารมณ์ความรู้สึกพึงพอใจหรือ ?สุขเวทนา? (เพราะตั้งแต่เป็นทารกก็สังเกตเห็นพฤติกรรมต่างๆเหล่านี้ได้โดยไม่ใช่แค่การมีเพศสัมพันธ์เท่านั้น) เพียงแต่ความรู้สึกพึงพอใจในรูป เสียง กลิ่น รส สัมผัส หรือกามคุณห้า ในมิติที่เกี่ยวเนื่องสัมพันธ์กับเพศตรงข้าม (หรือแม้แต่คนเพศเดียวกัน) ซึ่งมีอิทธิพลต่อพฤติกรรมชีวิตของบุคคลหนึ่งๆ ที่เรียกโดยรวมว่าเป็นเรื่องของ ?กาม? (หรือ ?sex?) นั้น บางเรื่องจะเป็นเงื่อนปมที่ฝังอยู่ในจิตไร้สำนึกของผู้คนมาตั้งแต่เป็นทารก และมีอิทธิพลกำหนดพฤติกรรมบางอย่างของชีวิตเมื่อเติบโตเป็นผู้ใหญ่

– การแสวงหาความรู้สึกพึงพอใจในรูป รส กลิ่น เสียง สัมผัส ตามสัญชาติญาณของกิเลสตัณหาหรือ ?อิด? นั้น บางเรื่องมีเงื่อนไขข้อจำกัดทางสังคมที่มโนสำนึกหรือ ?ซุปเปอร์อีโก้? ต้องคอยห้ามปรามไม่ให้กระทำ ?อีโก้? จึงหาทางออกด้วยการอาศัยกลไกป้องกันตัวเองแบบต่างๆช่วยคลี่คลายความขัดแย้งตึงเครียดในจิตส่วนลึกดังกล่าว ซึ่งถ้าใช้กลไกเหล่านี้เกินขอบเขตความพอดี ก็อาจกลายเป็นพฤติกรรมที่ผิดปรกติจากบรรทัดฐานของสังคมนั้นๆได้ ตัวอย่างเช่น นักบวชที่มีข้อจำกัดทางสังคมในการแสวงหาความพึงพอใจกับรูป เสียง กลิ่น รส สัมผัส แต่ไม่สามารถสลายกิเลสตัณหาอุปาทานเหล่านั้นให้ลดน้อยลงได้ ก็จะใช้วิธีกดข่มความต้องการดังกล่าวด้วยกลไกทางจิตวิทยาบางอย่าง เช่น การหาสิ่งอื่นมาทดแทน (substitution) ในบางกรณีของการก่อสร้างศาสนวัตถุที่ใหญ่โต (แต่ไม่ใช่ในทุกกรณี) ซึ่งไม่มีเป้าหมายที่จะใช้สอยประโยชน์อะไรอย่างชัดเจนคุ้มค่า จึงอาจเป็นเพียงการสื่อแสดงถึงสัญลักษณ์แห่งความต้องการในทาง ?กามคุณ? (หรือ ?sex?) ที่ถูกปลดปล่อยออกมา เพื่ออาศัยการเสวยอารมณ์ความรู้สึกในความพึงพอใจที่ซับซ้อนกว่าดังกล่าว มากลบความต้องการที่หยาบกว่าอันเป็นข้อห้ามทางสังคม เหมือนเด็กที่ร้องไห้อยากได้ของเล่นชิ้นหนึ่งซึ่งพ่อแม่ไม่มีเงินซื้อหาให้ พ่อหรือแม่ก็จะใช้วิธีหาสิ่งอื่นทดแทนด้วยการซื้อขนมให้กิน เพื่อหลอกให้เด็กหยุดร้องไห้ไม่ไปคิดถึงของเล่นชิ้นนั้น เป็นต้น

– การหาคู่ครองจึงเกี่ยวเนื่องกับการแสวงหา ?รูป รส กลิ่น เสียง สัมผัส? ที่ซับซ้อนกว่าแค่ความต้องการในเรื่องเพศสัมพันธ์เท่านั้น เช่น ถ้าได้คู่ครองที่มีฐานะทางเศรษฐกิจย่อมหมายถึงการมีเงินและหลักประกันที่จะได้สิ่งตอบสนองความต้องการในรูป รส กลิ่น เสียง สัมผัส อย่างยั่งยืนมากยิ่งขึ้น (physiological needs และ safety needs) หรือถ้าได้คู่ครองที่มีรูปลักษณะสวยงามบุคลิกดีก็อาจช่วยเสริมความภาคภูมิใจให้ตัวเอง (self esteem) เป็นต้น บางคนมีเงื่อนปมค้างคาในจิตส่วนลึกของการติดพ่อหรือแม่ในวัยเด็ก ก็อาจต้องการสามีหรือภรรยาที่มีลักษณะบางอย่างคล้ายคลึงกับพ่อหรือแม่ที่ขาดหายไปในชีวิต และต้องการแสวงหาสิ่งที่จะมาเติมเต็มเพื่อสร้างความรู้สึกมั่นใจให้กับตัวเอง เสมือนได้กลับคืนสู่ความเป็นเด็กที่มีพ่อหรือแม่คอยให้ความอบอุ่นปลอดภัย ฯลฯ

ad

ณ เวลาหกโมงเช้า ( หรือ 6 นาฬิกาของชีวิตวัยยี่สิบเอ็ดปี)

?– เวลาหกโมงเช้าเมื่อดวงอาทิตย์โผล่พ้นขอบฟ้าด้านทิศตะวันออกแล้วขับไล่ความมืดให้พ้นไป? ก็ถึงเวลาที่ชีวิตส่วนใหญ่จะต้องตื่นขึ้นมาทำกิจวัตรในวันใหม่? หกโมงเช้าของนาฬิกาแห่งชีวิตจึงเป็นหลักบอกเวลาสำคัญอีกจุด06หนึ่งของการเปลี่ยนผ่านสู่ชีวิตการทำงาน? หลายคนเรียนจบมหาวิทยาลัยหรือกำลังฝึกงานในปีสุดท้าย? และเริ่มต้นชีวิตการทำงานที่ต้องรับผิดชอบหาเงินเลี้ยงตัวเอง? เมื่อหาเงินใช้เองได้โดยไม่ต้องขอจากพ่อแม่? ชีวิตก็เติบโตเป็นผู้ใหญ่ที่มีความเป็นอิสระ โดยไม่ใช่เด็กที่ต้องคอยฟังคำสั่งของพ่อแม่อีกต่อไป

– มาสโลว์ (Abraham H. Maslow) ได้สังเกตพฤติกรรมมนุษย์? และเสนอทฤษฎีจิตวิทยาเรื่องความต้องการตามลำดับขั้นของชีวิต (Hierarchy of Needs Theory)? โดยเขาชี้ให้เห็นว่ามนุษย์ทั่วไปต้องการสิ่งตอบสนองชีวิตตามลำดับขั้น ?เมื่อความต้องการขั้นแรกได้รับการตอบสนองแล้ว? มนุษย์ก็จะไขว่คว้าแสวงหาสิ่งตอบสนองความต้องการในลำดับขั้นถัดไป? จากสิ่งตอบสนองความต้องการทางด้านกายภาพของชีวิต (physiological needs)? สู่การแสวงหาเรื่องความมั่นคงปลอดภัย (safety needs)? แล้วยกระดับไปสู่การแสวงหาความยอมรับจากสังคมรอบข้าง ( social needs)? ถัดจากนั้นก็ต้องการทำสิ่งที่เป็นความภาคภูมิใจในตัวตนของตน (self esteem)? และขั้นสุดท้ายก็คือหันกลับมาแสวงหาความจริงเกี่ยวกับชีวิตของตนเอง (self ?realization)

– ชีวิตเริ่มต้นการแสวงหาบนเส้นทางแห่งความต้องการตามลำดับขั้น 5 ขั้นนี้? เมื่ออรุณทอแสงตอนหกโมงเช้า ?หลายชีวิตเริ่มต้นการเดินทางด้วยงานชั่วคราวที่หาได้เพื่อจะมีเงินซื้อหาปัจจัยจำเป็นสำหรับการดำรงชีวิตทางกายภาพ? เช่น? อาหาร? เสื้อผ้า? ค่าเช่าบ้านพัก? ค่ารักษาพยาบาลเมื่อเจ็บป่วย ฯลฯ? จากนั้นก็เริ่มมองหางานใหม่ที่มีความมั่นคงมากยิ่งขึ้น? ถ้าได้งานที่มีความมั่นคงมากกว่าเดิมก็พร้อมจะลาออกจากงานเดิมทันที? เมื่อมีอาชีพการงานที่มั่นคงแล้วก็อยากได้ความรักความอบอุ่นและความยอมรับจากสังคมรอบข้างต่อไป (โดยเฉพาะจากครอบครัวที่เป็นหน่วยพื้นฐานทางสังคมที่ใกล้ตัวที่สุด)? หลังจากมีอาชีพที่มั่นคง? มีเงิน? และมีเกียรติยศชื่อเสียง? ก็อยากจะทำอะไรตามแรงบันดาลใจที่อาจเป็นความใฝ่ฝันมาแต่เด็ก? เพื่อความรู้สึกภาคภูมิใจที่ได้ทำสิ่งท้าทายต่างๆ? อาทิ? เสี่ยงชีวิตไปปีนเขาบ้าง? หัดขับเครื่องบินบ้าง? ฯลฯ? แต่กว่าจะไต่เต้ามาจนถึงขั้นที่ 4 ของความต้องการตามลำดับขั้นดังที่กล่าวมานี้ได้? ชีวิตของผู้คนทั่วไปก็มักจะเดินทางมาถึงช่วงบั้นปลายที่รู้ตัวว่าคงจะเหลือเวลาอีกไม่มากแล้ว? จึงหันมาทบทวนตัวเองเพื่อแสวงหาความจริงของชีวิต? ?สำหรับเตรียมตัวสู่ความตาย?? ซึ่งไม่รู้ว่าจะต้องเผชิญกับอะไรต่อไปหลังจากนั้น ?อันเป็นลำดับขั้นแห่งความต้องการระดับสุดท้ายขั้นที่ 5 ของชีวิต

– ถ้าทฤษฎีความต้องการตามลำดับขั้น 5 ขั้นของมาสโลว์ตามที่กล่าวมาถูกต้อง? และนี่คือแผนที่การเดินทางสำหรับชีวิตผู้คนทั่วไป? คำถามก็คือ ?ขอบเขตของความต้องการในแต่ละขั้นอยู่ที่ตรงจุดไหน?? หรือพูดอีกอย่างหนึ่งคือเราต้องแสวงหาสิ่งตอบสนองความต้องการในแต่ละขั้นมากแค่ไหนถึงจะ ?พอเพียง?? แล้วยกระดับสู่การแสวงหาสิ่งตอบสนองความต้องการที่สูงขึ้นในลำดับขั้นถัดๆไป? เราจะบริหารเวลาของชีวิตที่มีจำกัดนี้อย่างไรถึงจะเกิด ?ประสิทธิผล? มากที่สุด? ไม่ใช่ปล่อยเวลาให้ผ่านพ้นไปเรื่อยๆตามกระแสของสังคมที่พัดพาไปแบบ ?Reactive?? แต่เราควรจะเข้าใจภาพรวมของแผนที่ชีวิต? เพื่อกำหนด ?จุดหมายที่ถูกต้อง? ซึ่งเป็นบรรทัดสุดท้ายของเป้าที่พึงไปให้ถึงจากการมีโอกาสเกิดมาเป็นมนุษย์ในชีวิตชาตินี้? แล้วค้นหา ?ตำแหน่งแห่งที่? ของตัวเองบนแผนที่ดังกล่าว? เพื่อจะได้เลือกเส้นทางที่สั้นที่สุดและมีอุปสรรคขัดขวางน้อยที่สุดได้อย่างเหมาะสม? สำหรับการเดินไปสู่จุดหมายที่พึงปรารถนานั้นๆแบบ ?Proactive? ??จะได้ไม่ต้องมานึกเสียใจในภายหลังที่ ?เจอไม้งามเมื่อขวานบิ่น? ?เพราะการมัวแต่เสียเวลาเดินทางผิดมาทั้งวัน จนใกล้ถึงเวลานอนของชีวิตที่จะต้องจากโลกนี้ไปอย่างที่ไม่อาจหมุนเวลาให้คืนกลับได้

ad