ณ เวลาตีห้า (หรือ 5 นาฬิกาของชีวิตวัยสิบเจ็ดปีครึ่ง)

– สำหรับผู้คนจำนวนไม่น้อยแล้ว ตีห้าของชีวิตก็คือช่วงเวลาที่จะต้องลุกจากที่นอนเพื่อเริ่มต้นทำกิจวัตรในวันใหม่ เฉกเช่นเดียวกับชีวิตของผู้คนจำนวนมากที่ต้องเริ่มทำงานรับผิดชอบหาเงินเลี้ยงตัวเองและช่วยเหลือครอบครัว เมื่อจบการศึกษาระดับมัธยมปลายหรือประกาศนียบัตรวิชาชีพในวัยประมาณสิบเจ็ดปีครึ่งนี้ แต่สำหรับคนอีกส่วนหนึ่งที่ยังมีโอกาสได้นอนต่ออย่างสุขสบาย จากการที่พ่อแม่มีเงินส่งเสียให้เรียนในระดับอุดมศึกษา ตีห้าของชีวิตก็คือชั่วโมงสุดท้ายสำหรับเวลานอน และเป็นช่วงระยะเวลาที่หลายคนกำลังเริ่มเรียนต่อปีแรกในรั้วมหาวิทยาลัย โดยอาศัยเป็นเส้นทางไต่เต้าเพื่อยกระดับ ?ช่วงชั้น? (Strata) ของสถานะทางเศรษฐกิจและสังคม ผ่านสัญลักษณ์แห่งใบปริญญาบัตรที่หวังจะได้รับจากมหาวิทยาลัย

– ตีห้าของนาฬิกาแห่งชีวิตคือช่วงเวลาที่ผู้คนจำนวนไม่น้อยเริ่มต้นแสวงหา ?ความหมายของตัวตน? และวางแผนอนาคตชีวิตให้กับตนเอง ?เราคือใคร? เราควรจะวางตำแหน่งแห่งที่ (positioning) ของตัวเองไว้ตรงจุดไหน ภายใต้ระบบสังคมที่เราเกิดมามีชีวิตและจะต้องดำรงอยู่ต่อไปอีกหลายสิบปีนี้ การเรียนรู้ในระดับมหาวิทยาลัยน่าจะถูกออกแบบมาเพื่อให้ช่วยตอบคำถามดังกล่าว โดยไม่ใช่เพียงแค่การสอนวิชาชีพต่างๆสำหรับป้อนให้กับตลาดแรงงานเท่านั้น เพราะถ้าต้องการเพียงความรู้ในการประกอบวิชาชีพ การเรียนจบระดับมัธยมแล้วเริ่มต้นทำงานควบคู่ไปกับการแสวงหาความรู้เพิ่มเติม ในเรื่องที่เกี่ยวข้องโดยตรงกับการยกระดับความรู้ความสามารถในการทำงานสาขาอาชีพนั้นๆ ก็น่าจะเป็นวิถีทางที่มีประสิทธิผลมากกว่าการเสียเวลาเรียนวิชาต่างๆมากมายในมหาวิทยาลัย ซึ่งหลายเรื่องไม่มีประโยชน์อะไรต่อเป้าหมายการประกอบอาชีพเพื่อหาเงินให้ได้มากๆ

– ถ้าปรัชญาของการศึกษาอยู่ที่ช่วยให้มนุษย์แต่ละคนได้เรียนรู้ว่า ?บรรทัดสุดท้ายของเป้าหมาย? ที่พึงไปให้ถึงในชีวิตนี้คืออะไร เพื่อจักได้กระทำ ?เหตุ? ต่างๆให้ถูกต้องเที่ยงตรง ในทิศทางที่จะนำไปสู่ ?ผล? อันเป็นที่พึงปรารถนานั้น ตลอดจน ?รู้จักตัวเอง? ว่ากำลังอยู่ ณ ตำแหน่งแห่งที่ตรงไหนบนเส้นทางชีวิต เพื่อจะได้พัฒนาเปลี่ยนแปลงแก้ไขในสิ่งที่ควรเปลี่ยนแปลงแก้ไข ยอมรับในสิ่งที่ยังเปลี่ยนแปลงแก้ไขอะไรไม่ได้ในขณะนี้ อีกทั้งมี ?สติปัญญา? ที่จะแยกแยะความแตกต่าง ระหว่างสิ่งที่เราเปลี่ยนแปลงแก้ไขได้ กับสิ่งที่เรายังเปลี่ยนแปลงแก้ไขไม่ได้ (ในปัจจุบัน) ?หากเป็นเช่นนี้แล้วการศึกษาในระดับขั้นมหาวิทยาลัยก็น่าจะต้องมีความแตกต่างอย่างมีนัยสำคัญ จากการศึกษาเพียงเพื่อผลิตแรงงานที่เชี่ยวชาญสำหรับป้อนตลาดแรงงานเท่านั้น

– แน่นอนว่าการมีความรู้ที่จะประกอบอาชีพต่างๆนั้นเป็นเรื่องสำคัญ เพราะถ้าไม่มีอาชีพที่จะสามารถหาเงินเลี้ยงตัวเองจนไม่อาจดำรงชีวิตอยู่รอดได้อย่างปรกติสุข เราย่อมไม่สามารถใช้โอกาส แห่ง ?การมีชีวิต? สำหรับเป็นเครื่องมือนำไปสู่บรรทัดสุดท้ายของเป้าหมายที่พึงปรารถนาในชีวิตนี้ได้?? ฉะนั้น?สัมมาอาชีวะ? จึงคือเงื่อนไขจำเป็น (necessary condition) ประการหนึ่งของปรัชญาทางการศึกษา แต่เป้าหมายในการมีความรู้เพื่อ ?หาเงินให้ได้เพียงพอที่จะดำรงชีวิตอย่างปรกติสุข? ย่อมแตกต่างจากเป้าหมายของการ ?หาเงินให้ได้มากขึ้นๆและมากที่สุด? แม้อาจจะดูคล้ายคลึงกันในแง่ต่างก็เป็นการหาเงินเหมือนกันก็ตาม

– การตระหนักถึง ?บรรทัดสุดท้ายของเป้าหมายในชีวิต? เป็นเรื่องที่มีความสำคัญอย่างยิ่ง เพราะจะเป็นตัวกำหนดนิยามความหมายเชิงคุณค่าของคำว่า ?ดี? หรือ ?ถูกต้อง? หรือ ?สมควร? ฯลฯ เช่น ถ้าเป้าหมายสุดท้ายของการเกิดมาเป็นมนุษย์คือการมีเงินมากๆเพื่อที่จะมีชีวิตอยู่อย่างสุขสบาย การเป็นแพทย์ในโรงพยาบาลเอกชนซึ่งได้ค่าตอบแทนสูงก็เป็นสิ่งที่ ?ดี? แต่ถ้าเป้าหมายสุดท้ายของการเกิดมาเป็นมนุษย์อยู่ที่การสร้างกุศลกรรมต่างๆติดตัว การรับราชการเป็นแพทย์เพื่อช่วยชีวิตเพื่อนมนุษย์ในชนบทห่างไกลความเจริญ ซึ่งแม้จะได้เงินเดือนค่าตอบแทนไม่มากนัก แต่มีโอกาสช่วยเหลือผู้คนที่กำลังทุกข์ร้อนได้มากกว่า ก็น่าจะเป็นวิถีชีวิตที่ ?ดีกว่า? เป็นต้น ?????????????

– บางคนอาจต้องใช้เวลาทั้งชีวิตสำหรับการหาคำตอบต่อคำถามพื้นฐานนี้ ซึ่งการศึกษาในมหาวิทยาลัยถึงแม้ว่าอาจจะไม่สามารถช่วยตอบคำถามดังกล่าวได้ แต่อย่างน้อยก็น่าจะช่วยให้นักศึกษาตระหนักถึงความสำคัญของคำถาม และสามารถ ?ตั้งโจทย์ของชีวิต? ได้อย่างถูกต้อง ถ้านิวตันไม่คิดว่าน่าจะมีแรงอะไรบางอย่างดึงให้ลูกแอปเปิ้ลหล่นลงมาใส่หัวของเขานั้นคือคำถาม หรือเป็นโจทย์ที่ต้องการหาคำตอบ จนถึงทุกวันนี้มนุษย์อาจยังไม่รู้จักแรงโน้มถ่วงของโลกเลยก็ได้

ad

ณ เวลาตีสี่ (หรือ 4 นาฬิกาของชีวิตวัยสิบสี่ปี)

– เวลาตีสี่สำหรับผู้คนส่วนใหญ่คงจะยังนอนหลับอยู่ แต่บางคนต้องตื่นขึ้นมาทำงานตั้งแต่เช้ามืดในช่วงเวลานี้แล้ว เด็กหลายคนมีโอกาสได้เรียนแค่ระดับประถมศึกษาและต้องออกมาช่วยพ่อแม่ทำงานหาเลี้ยงครอบครัว บางคนเริ่มทำงานหาเงินเพื่อสร้างฐานะตั้งแต่ในวัยสิบสี่ปี แล้วค่อยๆไต่เต้ายกระดับ ?ช่วงชั้น? (Strata) จนกลายเป็นอัครมหาเศรษฐีของเมืองไทย โดยไม่มีโอกาสได้เรียนสูงๆในระบบการศึกษาปรกติเหมือนคนทั่วไป แต่อาศัยการขวนขวายแสวงหาความรู้ต่างๆด้วยตัวเองนอกระบบการศึกษา จนประสบความสำเร็จในการสร้างฐานะทางเศรษฐกิจ การศึกษาของชีวิตจึงไม่น่าจะมีความหมายที่คับแคบ โดยเพียงแค่หมายถึงการศึกษาในระบบโรงเรียนและมหาวิทยาลัยเท่านั้น
16– ตีสี่ของนาฬิกาแห่งชีวิตเป็นหลักบอกเวลาสำคัญอีกจุดหนึ่งในความเปลี่ยนผ่านจากเด็กสู่การเป็นเยาวชนวัยรุ่น ซึ่งเป็นช่วงที่อยู่ระหว่างความเป็นเด็กกับความเป็นผู้ใหญ่ และเป็นห้วงเวลาที่สับสนมากที่สุดช่วงหนึ่งของชีวิต เพราะว่าจะเป็นเด็กที่คอยพึ่งพ่อแม่ในแทบทุกเรื่องเหมือนเดิมก็ไม่ใช่ หรือจะเป็นผู้ใหญ่ที่สามารถพึ่งพาตัวเองได้อย่างอิสระในด้านต่างๆก็ไม่เชิง แต่ทุกชีวิตรับรู้อยู่ว่าตนเองจะต้องเติบโตต่อไปเป็นผู้ใหญ่และต้องรับผิดชอบชีวิตของตัวเองด้วยตนเอง โดยจะคอยพึ่งพาพ่อแม่ตลอดไปเหมือนเด็กเล็กๆไม่ได้อย่างแน่นอน แล้วเราจะเตรียมตัวอย่างไรเพื่อเผชิญกับความเปลี่ยนแปลงอันใหญ่หลวงของชีวิต ที่กำลังจะเกิดขึ้นในอนาคตอันใกล้นี้

?การเลียนแบบ? (Identification) จึงเป็นกลไกป้องกันตัวเองทางจิตวิทยาอย่างหนึ่งที่วัยรุ่นมักนำมาใช้ เพื่อลดภาวะความสับสนตึงเครียดในชีวิตช่วงระยะเปลี่ยนผ่านนี้ แต่พ่อหรือแม่คงไม่ใช่สัญลักษณ์ที่มีนัยสำคัญ (significant symbols) สำหรับการเลียนแบบในกรณีดังกล่าว เพราะมีเงื่อนไขที่แตกต่างจากเราหลายอย่าง บุคคลที่วัยรุ่นจะ ?เลียนแบบ? จึงมักได้แก่คนมีชื่อเสียงในวัยที่ห่างกันไม่มากซึ่งประสบความสำเร็จในชีวิต เช่น ดารา นักร้อง หรือนักกีฬา เป็นต้น ถ้าเราแต่งกายเหมือนคนเหล่านั้น มีทรงผมเหมือนคนเหล่านั้น ฯลฯ เราก็คงจะได้รับความยอมรับจากสังคมเหมือนคนเหล่านั้นด้วย อันทำให้มีความรู้สึกมั่นใจในตัวเองมากขึ้นที่จะไปที่ไหนมาไหนได้อย่างไม่เคอะเขิน โดยไม่รู้สึกถูกมองว่าเป็นลูกแหง่ปากไม่สิ้นกลิ่นน้ำนม คล้ายกับภาษิตที่ว่า ?เดินตามผู้ใหญ่หมาไม่กัด? เพียงแต่ผู้ใหญ่ดังเช่นพ่อหรือแม่นั้นเดินทิ้งช่วงห่างจากเราไปมาก เราจึงต้องเลือกเดินตามคนข้างหน้าที่อยู่ใกล้กว่า ซึ่งมีอายุต่างจากเราไม่มากนักอันพอจะเลียนแบบได้

– เพื่อนจึงเป็นกลุ่มคนที่มีอิทธิพลต่อวัยรุ่นมาก เพราะมีหัวอกเดียวกัน อยู่ภายใต้สถานะของสภาพสังคมสิ่งแวดล้อมที่คล้ายคลึงกับตัวเรา อันสามารถจะพึ่งพาช่วยเหลือกันได้ในหลายเรื่อง การ ?เลียนแบบ? เพื่อนฝูงรอบข้าง ในสิ่งที่เป็น ?อัตลักษณ์? (Identity) ซึ่งสื่อแสดงถึงความเป็น ?คนพวกเดียวกัน? จึงเป็นพฤติกรรมปรกติอย่างหนึ่งของชีวิตช่วงนี้

ad

ณ เวลาตีสาม (หรือ 3 นาฬิกาของชีวิตวัยสิบปีครึ่ง)

– เป็นช่วงเวลาสำหรับการศึกษาความรู้พื้นฐานทั้งหลาย โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ?ภาษา? ที่จะใช้ในการติดต่อสื่อสารเพื่อสร้างปฏิสัมพันธ์กับผู้คนในสังคม และ ?ตรรกะ? ของการใช้เหตุผลเพื่อทำความเข้าใจกับปรากฏการณ์รอบตัวว่า อะไรเป็น ?เหตุ? ที่นำไปสู่ ?ผล? ของสิ่งต่างๆ
15– สมองซีกซ้ายของมนุษย์ควบคุมการทำงานในด้านการใช้เหตุผลความคิดหรือ ?ความฉลาดทางสติปัญญา? (IQ) ส่วนสมองซีกขวาจะควบคุมการทำงานในด้านของการใช้จินตนาการ ความใฝ่ฝัน และอารมณ์ความรู้สึกหรือ ?ความฉลาดทางอารมณ์? (EQ) สมองซีกซ้ายจะควบคุมด้านการใช้ ?ตรรกะ? สมองซีกขวาจะควบคุมด้านศิลปะของการใช้ ?ภาษา? โดยภาษาในที่นี้มีความหมายครอบคลุมถึงการติดต่อสื่อสารกับผู้คนต่างๆ และในกาลเทศะต่างๆ คำว่า ?ภาษา? จึงมีความหมายครอบคลุมกว้างขวางกว่าแค่การเรียนวิชาภาษาไทย ภาษาอังกฤษ ฯลฯ ตามหลักสูตรการศึกษาในชั้นเรียน เพื่อให้พูดได้และอ่านออกเขียนได้อย่างถูกต้องตามหลักไวยากรณ์เท่านั้น

– กระบวนการเรียนรู้ที่มีพลังและมีประสิทธิผล จะต้องสามารถบูรณาการการทำงานของสมองสองซีกเข้าด้วยกัน โดยมีทั้ง ?เหตุผล? ทางตรรกะ และ ?แรงบันดาลใจ? ของความใฝ่ฝันในจินตนาการ ระบบการศึกษาที่มองเด็กเป็นเสมือนก้อนดินเหนียวซึ่งนำมาใส่ใน ?แม่พิมพ์? ของการศึกษา แล้วใช้แรงกดอัดเพื่อบีบเค้นให้ก้อนดินเหนียวได้รูปทรงตามแม่พิมพ์ ผลผลิตของสินค้าการศึกษาชิ้นไหนได้รูปทรงตรงตามที่ต้องการ ก็ติดฉลากใบประกาศนียบัตรหรือใบปริญญาบัตรรับรองคุณภาพเพื่อส่งไปขายในตลาดแรงงาน ขณะที่ผลผลิตชิ้นไหนไม่ได้รูปทรงตามแม่พิมพ์ก็คัดทิ้ง เพื่อส่งไปขายเป็นสินค้ามีตำหนิในตลาดแบกะดินข้างถนน ระบบการศึกษาที่มองมนุษย์เป็นเพียงสินค้าในตลาดแรงงานเช่นนี้ จะไม่มีประสิทธิผลต่อการสร้าง ?พลังการเรียนรู้? ในชีวิต

– แน่นอนว่าชีวิตที่เติบโตขึ้นจำเป็นต้องมีอาชีพเลี้ยงตัว มีงานทำและมีเงินซื้อหาสิ่งต่างๆที่จะตอบสนองความต้องการของชีวิต แต่การศึกษาเพื่อให้มีความรู้ที่จะไปหาเงินในตลาดแรงงานนั้น ใช่เป็นเป้าหมายใน ?บรรทัดสุดท้าย? (bottom line) ของการศึกษาหรือไม่ ถ้าจุดหมายแห่งชีวิตอยู่ที่การหาเงินให้ได้มากขึ้นและมากยิ่งๆขึ้นไปอีก ระบบการศึกษาที่ช่วยให้มีความรู้สำหรับการหาเงินให้ได้มากที่สุดก็ถูกต้องตามปรัชญาทางการศึกษานี้ และการออกแบบระบบการศึกษาของชาติในลักษณะเสมือน ?แม่พิมพ์? ที่จะผลิตสินค้าทางการศึกษา ให้ได้มาตรฐานพอสำหรับการส่งไปขายในตลาดแรงงาน ก็น่าจะเป็นระบบการศึกษาที่ถูกต้อง แต่ถ้าคำตอบต่อคำถามพื้นฐานที่ว่า ? ชีวิตเกิดมาทำไม? และ ?อะไรคือแก่นสารคุณค่าที่เป็นเป้าหมายในบรรทัดสุดท้ายของชีวิต? ไม่ใช่อยู่ที่การแข่งขันกันหาเงินให้ได้มากๆ ปรัชญาทางการศึกษา (ที่เป็นตัวกำหนดคุณลักษณะการศึกษาของชาติ ) ก็ไม่น่าจะมีความหมายเพียงแค่การศึกษาเพื่อผลิตแรงงานที่มีคุณภาพสำหรับส่งไปขายในตลาดแรงงานเท่านั้น

ad

ณ เวลาตีสอง (หรือ 2 นาฬิกาของชีวิตวัยเจ็ดขวบ)

– กระบวนการเรียนรู้ของเด็กเริ่มต้นตั้งแต่อยู่ในครรภ์มารดา และพัฒนาการอย่างต่อเนื่องรวดเร็วก่อนจะเข้าโรงเรียนอนุบาล (ซึ่งเป็นการเรียนรู้ในระบบการศึกษาที่เป็นทางการของสังคม) การเรียนรู้ในช่วงเวลา 1?2 ชั่วโมงแรกของนาฬิกาแห่งชีวิตจะมีความสำคัญมาก โดยเฉพาะอย่างยิ่งมีอิทธิพลต่อการวาง ?โครงสร้างพื้นฐานของจิตไร้สำนึก? ส่วนที่เป็น ?ซุปเปอร์อีโก้? หรือสำนึกในเรื่อง ?ความดี-ความชั่ว? ต่างๆ ถ้าหากกระบวนการเรียนรู้ของชีวิตในช่วงแรกเริ่มดังกล่าวผิดพลาด บุคคลผู้นั้นอาจเติบโตขึ้นกลายเป็นอาชญากรเลือดเย็น โดยสามารถจะก่ออาชญากรรมที่เป็นภัยร้ายแรงต่อสังคม อาทิ การฆ่าคนตายอย่างโหดร้ายทารุณ ด้วยความรู้สึกไม่สะทกสะท้านอะไรเลยต่อบาปกรรมที่กระทำลงไปนั้นๆ เป็นต้น
14

– เปรียบเหมือนสีที่แต้มลงบนแผ่นกระดาษขาวดังที่กล่าวมาแล้ว ถึงจะเอาสีอื่นมาระบายทับอีกกี่ชั้นจนมองไม่เห็นสีเดิมนั้นก็ตาม แต่สีที่แต้มลงไปครั้งแรกก็ไม่ได้หายไปไหน ถ้าลบสีที่ระบายทับในภายหลังออกด้วยยางลบ สีพื้นเดิมก็จะปรากฏตัวออกมาให้เห็นได้อีก

– อันที่จริงพระพุทธศาสนาเชื่อว่า ?วิญญาณธาตุ? หรือ ?ธาตุรู้? ที่แฝงอยู่ในชีวิตตั้งแต่ตอนเป็นทารกที่ปฏิสนธิอยู่ในครรภ์มารดานั้น มีคุณลักษณะบางอย่างติดตัวมาแต่เดิมอยู่แล้ว (เหมือนสีพื้นเดิมบนแผ่นกระดาษ) ที่เรียกว่าเป็น ?อนุสัยอาสวะ? คล้ายกับโปรแกรมซอฟแวร์ที่ฝังอยู่ในเครื่องคอมพิวเตอร์ แต่ในภาวะที่เครื่องคอมพิวเตอร์ปิดอยู่ โปรแกรมเหล่านั้นก็จะซ่อนตัวอยู่ในรูปของภาวะแฝง (Potentiality) อันไม่สามารถแสดงบทบาทอิทธิพลอะไร ต่อเมื่อได้เปิดเครื่องคอมพิวเตอร์ซึ่งก็คือการอุบัติของชีวิตเพื่อให้ ?วิญญาณธาตุ? หรือ ?ธาตุรู้? ได้ทำงานผ่านอายตนะต่างๆ เราจึงสามารถสังเกตเห็นบทบาทของโปรแกรมในเครื่องคอมพิวเตอร์ที่ปรากฏตัวสู่ภาวะจริง (Actuality) ตลอดจนสามารถจะเข้าไปเปลี่ยนแปลงแก้ไขโปรแกรมเดิม หรือ Download โปรแกรมใหม่ลงในเครื่องคอมพิวเตอร์ได้

– เมื่อเราเปิดเครื่องคอมพิวเตอร์ เราต้องใช้เวลาสักครู่หนึ่งสำหรับการดึงโปรแกรมต่างๆที่อยู่ในเครื่องให้ทำงานได้ฉันใด ชีวิตก็ต้องใช้เวลาสำหรับการดึงโปรแกรมใน ?วิญญาณธาตุ? ให้เริ่มทำงานเช่นเดียวกันฉันนั้น พระพุทธศาสนาจึงถือว่าต้องรอให้เด็กมีวุฒิภาวะตั้งแต่วัยเจ็ดขวบขึ้นไป ถึงจะรู้เดียงสาพอสำหรับการเรียนรู้เพื่อให้เข้าถึงธรรม ( เช่น ให้บวชเป็นสามเณรได้ เป็นต้น)

– ตีสองของนาฬิกาแห่งชีวิตวัยเจ็ดขวบ จึงเป็นหลักบอกเวลาสำคัญจุดหนึ่งเพราะเป็นช่วงเปลี่ยนผ่านจากชีวิตของเด็กลูกแหง่ สู่ชีวิตทางการศึกษาที่เด็กจะต้องเริ่มเรียนรู้การพึ่งตัวเอง เพื่อให้สามารถอยู่ในสังคมซึ่งประกอบด้วยคนแปลกหน้าต่างๆมากมายที่เกี่ยวข้องกับชีวิตของตน นอกเหนือจากพ่อแม่และคนใกล้ชิดในครอบครัวเพียงไม่กี่คนที่เห็นหน้ากันมาตั้งแต่เกิดเท่านั้น

ad

ความลับของเวลา : นาฬิกาแห่งชีวิต

– การศึกษาของสถาบันวิจัยประชากรและสังคม มหาวิทยาลัยมหิดล พบว่า ณ ปี 2556 ??อายุขัยเฉลี่ย (Life Expectancy) ของชายไทยอยู่ที่ 71.1 ปี และหญิงไทยอยู่ที่ 78.1 ปี

– ถ้าคนไทยใช้ชีวิต ? 5 อ.? ในชุมชนสุขภาพ

???????????????? อ1 ได้กิน ?อาหาร? ที่มีคุณค่าปลอดภัยไร้สารพิษ

? ? ? ? ? ? ? ? ?อ2 ได้สูด ?อากาศ? ที่บริสุทธิ์ไร้มลภาวะปนเปื้อน

???????????????? อ3 ได้ ?ออกกำลัง? จากการทำงานในแปลงเกษตรผสมผสาน

???????????????? อ4 ได้มี ?อารมณ์? ปลอดโปร่งแจ่มใสอยู่กับธรรมชาติสีเขียวที่งดงาม

5 ได้ขับถ่าย ?อุจจาระ? ของเสียในร่างกายอย่างปรกติ? ด้วยการบริโภคอาหารธรรมชาติ????????? ที่มีกากใย? พืชผักผลไม้ไร้สารพิษ? และสมุนไพรที่ช่วยการขับถ่ายตามธรรมชาติ

????????????? ???คนไทยก็น่าจะมีอายุขัยเฉลี่ยยืนยาวมากขึ้น? อาจจะถึง 84 ปี (หรือเท่ากับ 7 รอบนักษัตร)

นาฬิกาชีวิต

นาฬิกาแห่งชีวิต

– ถ้าย่นย่อเวลา 84 ปีของอายุขัยในแบบจำลอง ?นาฬิกาแห่งชีวิต?? 24 ชั่วโมง (หรือ 1 วัน)? เวลา 1 ชั่วโมงของ ?นาฬิกาแห่งชีวิต? ก็จะเท่ากับอายุ 3.5 ปี (3.5 x 24 = 84)? โดยเราจะเกิดที่เวลาเที่ยงคืน? และตายที่เวลาเที่ยงคืนของวันถัดไป

?การตาย? (จุติ) และ ?การเกิด? (อุบัติ) เป็นสิ่งที่เกิดขึ้นต่อเนื่องชั่วขณะจิต ณ ห้วงเวลาเดียวกัน? ตามคำอธิบายของหลักพุทธปรัชญา

– ถ้าการตายคือเวลาที่เรานอนหลับ? สำหรับคนที่เข้านอนก่อนเที่ยงคืน? ก็คือการตายก่อนอายุขัยที่พึงมุ่งหมายนี้? ใครที่เข้านอนตอนสองทุ่ม หรือ 20.00 น. ก็เท่ากับมีอายุขัย 70 ปี? ถ้าเข้านอนตอนสี่ทุ่ม หรือ 22.00 น.? ก็เท่ากับมีอายุขัย 77 ปี?? ?คุณจะเข้านอนและนอนหลับตอนกี่นาฬิกา??

– แล้วก่อนจะถึงเวลานอน? คุณได้เรียนรู้อะไรในแต่ละชั่วโมงของ ?นาฬิกาแห่งชีวิต? นี้บ้าง? เพื่อช่วยให้ ?นอนหลับฝันดี?

ลองคลิกไปที่เวลาแต่ละชั่วโมงของนาฬิกาแห่งชีวิตเรือนนี้ดูซิ

?ณ เวลาตีหนึ่ง (หรือ 1 นาฬิกาของชีวิตวัยสามขวบครึ่ง) ????????????

– ชีวิตของเด็กเล็กๆกำลังเริ่มเรียนรู้สิ่งต่างๆ? และซึมซับแบบอย่างที่ได้เรียนรู้จากสังคมรอบข้างอย่างรวดเร็ว? เหมือนแผ่นกระดาษขาวที่สามารถดูดซับสีซึ่งแต้มบนกระดาษ? ให้ติดแน่นเข้าไปในเนื้อกระดาษนั้นจนยากที่จะลบออกฉันใด? ทฤษฎีจิตวิทยาสมัยใหม่แทบทุกสำนักล้วนชี้ให้เห็นอิทธิพลของการเรียนรู้ในเด็กเล็กตั้งแต่ช่วงแรกเกิดเป็นต้นมาฉันนั้น? โดยเฉพาะอย่างยิ่งทฤษฎีจิตวิเคราะห์ (Psychoanalysis) ที่ชี้ให้เห็นว่า? สิ่งที่เด็กทารกได้ซึมซับจากสังคมสิ่งแวดล้อมรอบข้างนั้น? จะตกตะกอนนอนก้นอยู่ในโครงสร้างของจิตไร้สำนึก (Unconscious) ที่ตามรู้ได้ยาก? แต่มีอิทธิพลกำหนดพฤติกรรมชีวิตของคนผู้นั้นตลอดไปอย่างไม่รู้ตัว13

– อันที่จริงพระพุทธศาสนาชี้ให้เห็นว่าทารกที่อยู่ในครรภ์มารดาก็มี ?วิญญาณธาตุ? หรือจิตที่รับรู้สิ่งต่างๆแฝงอยู่แล้ว? แต่เป็น ?พลังความรับรู้? ที่ไม่เต็มศักยภาพ? เพราะว่าอายตนะทั้งหกยังทำงานได้ไม่สมบูรณ์? กระบวนการเรียนรู้จริงๆของชีวิตจึงเริ่มต้นเมื่อทารกคลอดจากครรภ์มารดา? ตาได้เห็นรูป? หูได้ยินเสียง? จมูกได้กลิ่น? ลิ้นได้สัมผัสกับรส? และกายได้สัมผัสกับความเย็นร้อนอ่อนแข็ง? ตลอดจนความรู้สึก ?เจ็บปวด? (ทุกขเวทนา) หรือรู้สึก ?สบาย? (สุขเวทนา) ต่างๆ

– มนุษย์ไม่ได้อยู่ในสุญญากาศ ?แต่ฝังตัวอยู่ภายใต้ระบบสังคมหนึ่งๆ? เหมือนต้นไม้ที่ต้องมีรากฝังอยู่ในดินจึงจักเจริญเติบโตขึ้นได้ฉะนั้น ?เมื่อสิ่งที่เด็กๆเรียนรู้ตั้งแต่ลืมตาดูโลก คือ ?สังคม? ที่ประกอบด้วยบุคคลต่างๆรอบข้าง? (อย่างน้อยก็ได้แก่คนที่ป้อนนมให้กินเมื่อหิว)? การเรียนรู้ในมิติทางสังคม (Socialization) จึงเป็นกระบวนการเรียนรู้ที่มีอิทธิพลที่สุดต่อชีวิตมนุษย์

– ทฤษฎีจิตวิเคราะห์เรียกความต้องการที่ปรารถนาการตอบสนองในทันทีทันใดว่า ?อิด? (Id) ?แต่ย่อมเป็นไปไม่ได้ในทางสังคมที่ทารกจะได้ทุกสิ่งทุกอย่างและในทุกเวลาตามที่ตนต้องการ? เพราะมีเงื่อนไขข้อจำกัดต่างๆทางสังคมมากมาย? ผู้คนรอบข้างจึงต้องค่อยๆสอนให้ทารกเรียนรู้ว่า? ?อะไรที่ทำได้?? และ ?อะไรที่ทำไม่ได้?? เพื่อการมีชีวิตอยู่รอดอย่างปรกติสุขต่อไป ภายใต้เงื่อนข้อจำกัดของสังคมนั้นๆ? (ซึ่งอาจจะไม่เหมือนกันหมดทีเดียวในบริบทของแต่ละสังคมที่แตกต่างกัน)? แบบแผนของข้อห้ามทางสังคมที่ค่อยๆซึมซับเข้าไปในจิตส่วนลึกของมนุษย์ตั้งแต่ในวัยเด็กนี้? คือสิ่งที่ทฤษฎีจิตวิเคราะห์เรียกว่า ?ซุปเปอร์อีโก้? (Superego) ?หรือมโนสำนึกที่คอยห้ามปรามไม่ให้คนๆนั้นทำอะไรตามใจตัวเองในสิ่งที่ ?ไม่ดีไม่งาม? ต่างๆ ตามบรรทัดฐานของสังคมหนึ่งๆ

– ข้อห้ามของพฤติกรรมไม่ดีไม่งามบางเรื่องซึ่งเหมือนๆกันในทุกสังคม? เช่น? การทำร้ายผู้อื่นให้บาดเจ็บล้มตาย? การขโมยสิ่งของๆคนอื่น? ฯลฯ? จึงเป็น ?หลักจริยธรรมสากล? ที่แฝงอยู่ใน ?ซุปเปอร์อีโก้? ของมนุษย์ทั่วไป

– ความขัดแย้งระหว่างความต้องการตามสัญชาตญาณดิบของ ?อิด?? กับมโนสำนึกของ ?ซุปเปอร์อีโก้? ที่คอยห้ามปรามไม่ให้คนผู้นั้นทำสิ่งที่ไม่ดีไม่งามทั้งหลาย? จะก่อให้เกิดพื้นที่ของ ?ตัวตน? ที่เรียกว่า ?อีโก้? (Ego) ขึ้น ?ซึ่งเป็นพื้นที่ของความขัดแย้งตึงเครียดในจิตอันเกิดจากการปะทะระหว่างซุปเปอร์อีโก้กับอิด? ทั้งนี้อีโก้จะอาศัย ?กลไกป้องกันตัวเอง? (defense mechanism) แบบต่างๆช่วยลดภาวะความตึงเครียดดังกล่าว? เช่น? กลไกการโทษคนอื่น (projection)? กลไกการหาเหตุผลเข้าข้างตัวเอง (rationalization) ?กลไกการหาสิ่งอื่นมาทดแทน (substitution) ฯลฯ

– ขณะที่วัฒนธรรมเป็นแบบแผนของการใช้ชีวิตร่วมกันในระบบสังคมหนึ่งๆ? ที่ได้พัฒนาปรับปรุงมาอย่างยาวนานจนลงตัว? โดยเป็นระเบียบแบบแผนที่ช่วยให้ผู้คนในสังคมนั้นๆสามารถอยู่ร่วมกันได้อย่างปรกติสุข? โครงสร้างของจิตส่วนลึกที่ทฤษฎีจิตวิเคราะห์เรียกว่า ?ซุปเปอร์อีโก้? จึงสัมพันธ์กับมิติทางวัฒนธรรมของสังคมมนุษย์? และตัวตนหรือ ?อีโก้? ของผู้คนภายใต้วัฒนธรรมหนึ่งๆ? ก็จะมีส่วนเกี่ยวเนื่องสัมพันธ์กับวัฒนธรรมของสังคมนั้นๆ

ad

ณ เวลาเที่ยงคืนของกำเนิดชีวิต

?– 0.001 น. ชีวิตใหม่อุบัติขึ้นลืมตาดูโลก? พร้อมกับเสียงร้องไห้ด้วย ?ความกลัว? ต่อภาวะความบีบคั้นเป็นทุกข์? ที่กำลังจะต้องเผชิญในวันเวลาต่อแต่นี้ไปอีก ?หนึ่งรอบวัฎจักร?
12
– พระพุทธศาสนาถือว่า ?จิตวิญญาณเป็นประธานของสิ่งทั้งหลายทั้งปวง?? จิตวิญญาณหรือ ?วิญญาณธาตุ?? คือ ?ธาตุรู้? ที่เป็นสิ่งพื้นฐานอย่างหนึ่งของเอกภพ (เช่นเดียวกับสสารและพลังงาน)? โดยมีคุณสมบัติสามารถจะ ?รับรู้? และมีความ ?รู้สึก-นึก-คิด? (เวทนา- สัญญา- สังขาร) ต่อสรรพสิ่งที่ ?ถูกรู้? (รูป) ทั้งหลายทั้งปวง

– เอกภพจึงประกอบขึ้นจากขันธ์ทั้งห้าได้แก่ ? รูป-เวทนา-สัญญา-สังขาร-วิญญาณ? หรือกล่าวโดยย่อ? เอกภพเป็นปฏิสัมพันธ์ของสัมพัทธภาพ (Relativity) แห่ง ?รูป? (อวกาศและเวลาที่ถูกรู้) กับ ?นาม? (จิตที่เป็นผู้รู้)

?ความจริง? (reality) ของเอกภพที่เรารับรู้นั้น? มิใช่สิ่งที่ดำรงอยู่จริงอย่างเป็นภววิสัยหรือวัตถุวิสัย (objective)? โดยที่ไม่ขึ้นกับการรับรู้ของใคร? เหมือนเช่นสามัญสำนึกที่เราเห็นโต๊ะตั้งอยู่ในห้องตัวนี้? ซึ่งเราเห็นมันดำรงอยู่จริงด้วยตัวของมันเองเช่นนั้น? โดยไม่ว่าจะมีใครมาเห็นหรือไม่ก็ตาม โต๊ะก็ยังคงเป็นโต๊ะที่ตั้งอยู่นิ่งๆในห้องตรงนั้นและตั้งอยู่อย่างนั้นตลอดไป? ?เป็นต้น

– ไอน์สไตน์เป็นนักวิทยาศาสตร์คนแรกที่เปิดโลกทัศน์ใหม่เกี่ยวกับความจริงของเอกภพ? โดยทฤษฎีสัมพัทธภาพได้ชี้ให้เห็นว่า? เราไม่สามารถจะแยกความจริงของโต๊ะที่ตั้งอยู่ข้างหน้านี้จากตัวผู้สังเกต? เพราะถ้าเรายืนอยู่บนพื้นโลกที่กำลังเคลื่อนที่ไปด้วยการหมุนรอบตัวเองอย่างรวดเร็ว? พร้อมกับโต๊ะ (และตัวเราก็กำลังเคลื่อนที่พร้อมกับโต๊ะด้วยความเร็วเท่ากัน อันเท่ากับความเร็วในการหมุนของโลก) ?เราจะสังเกตเห็น ?ความจริง? ของโต๊ะเป็นอย่างหนึ่ง? คือเป็นสิ่งที่ตั้งอยู่นิ่งๆในห้อง? แต่ถ้าเราออกไปอยู่ในยานอวกาศนอกโลกที่จอดนิ่ง (โดยไม่ได้เคลื่อนที่ไปตามการหมุนของโลก) เราก็จะสังเกตเห็นโต๊ะในห้องกำลังเคลื่อนที่ด้วยความเร็วสูงมาก? ซึ่งเท่ากับความเร็วในการหมุนของโลก ????แล้ว ?ความจริง? ของโต๊ะตัวนี้คืออะไรกันแน่? มันกำลังเคลื่อนที่หรือตั้งอยู่นิ่งๆ

– ถ้าใครไปถามคำถามนี้กับพระพุทธเจ้าว่าโต๊ะกำลังเคลื่อนที่หรือตั้งอยู่นิ่งๆ? พระพุทธองค์จะไม่ทรงตอบอย่างใดอย่างหนึ่ง? แต่จะยืนยันในสัจจะความจริงที่ทรงเรียกว่ากฎ? ?อิทัปปัจจยตา? อันคือ ?เมื่อสิ่งนี้มี ?สิ่งนี้จึงมี,? เพราะสิ่งนี้เกิดขึ้น? สิ่งนี้จึงเกิดขึ้น,? เมื่อสิ่งนี้ไม่มี? สิ่งนี้ก็ไม่มี,? เพราะสิ่งนี้ดับไป? สิ่งนี้ก็ดับ(ด้วย)? ??เช่น เพราะเรายืนอยู่บนพื้นโลก ?และเรากำลังเคลื่อนที่ไปพร้อมกับโต๊ะตัวนี้ด้วยความเร็วที่เท่ากัน (?เมื่อสิ่งนี้มี? )? เราจึงสังเกตเห็นโต๊ะตั้งอยู่นิ่งๆ (?สิ่งนี้จึงมี?) ?แต่ถ้าเราไปอยู่บนยานอวกาศนอกโลก? โดยไม่ได้ยืนอยู่บนพื้นผิวของโลกซึ่งกำลังหมุนรอบตัวเองเช่นนี้? ?(?เมื่อสิ่งนี้ไม่มี? ) เราก็จะสังเกตเห็นว่าโต๊ะไม่ได้ตั้งอยู่นิ่งๆอีกต่อไป (?สิ่งนี้ก็ไม่มี? )? เป็นต้น

?เวลา? คือการเปลี่ยนแปลงของสิ่งต่างๆที่เกิดขึ้นในอวกาศ? เช่น? เวลาหนึ่งชั่วโมงคือความเปลี่ยนแปลงของเข็มนาทีที่หมุนรอบหน้าปัดนาฬิกาครบหนึ่งรอบ? เวลาหนึ่งวันคือความเปลี่ยนแปลงของดวงอาทิตย์ที่โผล่พ้นขอบฟ้าทางทิศตะวันออก? ตกทางทิศตะวันตก? แล้วโผล่พ้นขอบฟ้าในวันใหม่? ฯลฯ

?อวกาศ? เป็นความสัมพันธ์ระหว่างตำแหน่งแห่งที่ของสิ่งต่างๆ? เช่น? อวกาศหรือที่ว่างภายในแก้วน้ำ? เกิดจากตำแหน่งความสัมพันธ์ของโครงสร้างที่ประกอบขึ้นเป็นแก้วน้ำนั้น ?โดยถ้าไม่มีโครงสร้างของแก้วน้ำ? ก็จะไม่มีอวกาศหรือที่ว่างภายในแก้ว ?เป็นต้น

– เวลาเท่ากับระยะทางหารด้วยความเร็ว? หรือเท่ากับระยะห่างของความเปลี่ยนแปลงจากจุดหนึ่งสู่อีกจุดหนึ่งในอวกาศ? ที่สัมพันธ์กับความเร็วของการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นในความรับรู้ของเรา? ?อวกาศสามมิติ? บวกมิติที่สี่ของเวลา รวมกับมิติที่ห้าของความรับรู้? จึงประกอบขึ้นเป็น ?เอกภพห้ามิติ? ( ที่ถูกรับรู้โดยจิตที่เป็นธาตุรู้ในตัวมนุษย์แต่ละคน)

– การอุบัติขึ้นของชีวิตเพื่อมารับรู้โลก? จึงมีความหมายเท่ากับเป็นกำเนิดของ ?เอกภพที่ ถูกรู้โดยมนุษย์? (ภายใต้วัฎจักรหนึ่งๆ) ?ในโรหิตัสสสูตร จตุถกนิบาต อังคุตตรนิกาย? พระพุทธเจ้าจึงตรัสแก่โรหิตัสส์เทวบุตรว่า? ?เราย่อมบัญญัติโลก? เหตุเกิดแห่งโลก? ความดับแห่งโลก? ปฏิปทาเครื่องให้ถึงความดับแห่งโลก? ในอัตภาพอันมีประมาณวาหนึ่ง (ของร่างกายมนุษย์)? ที่มีสัญญา (ความจำได้หมายรู้)? และมีใจ (จิตที่เป็นผู้รู้) เท่านั้น?

ad