บทสรุป ความลับของเวลา : นาฬิกาแห่งชีวิต

Untitled-3

– เวลาคือความเปลี่ยนแปลง เวลาหนึ่งชั่วโมงคือการเปลี่ยนตำแหน่งของเข็มนาทีบนหน้าปัดนาฬิกาครบหนึ่งรอบ เวลาหนึ่งวันคือการเปลี่ยนตำแหน่งของเข็มชั่วโมงบนหน้าปัดนาฬิกาครบสองรอบ สิ่งต่างๆที่เราไม่รู้ย่อมเป็นความลับที่มืดมนสำหรับเรา ?ความลับของเวลา? ที่แฝงอยู่ใน ?นาฬิกาแห่งชีวิตเรือนนี้? ก็คือกฎธรรมชาติที่ควบคุมอยู่เบื้องหลังวัฏฏจักรความเปลี่ยนแปลงในชีวิตที่ตัวคุณยังไม่รู้นั่นเอง (แต่ถ้าคุณรู้แล้วสิ่งเหล่านี้ก็คงไม่ใช่ความลับอะไรสำหรับคุณ)

?ความลับของเวลาที่แฝงอยู่ในนาฬิกาแห่งชีวิต? คือความลับของหนทางในการควบคุม ?อวกาศและเวลาสี่มิติในเอกภพที่คุณรับรู้? (รูป) ผ่าน ?มิติที่ห้าของจิตที่เป็นผู้รู้? (นาม) ที่แฝงอยู่ภายในตัวของคุณ เหมือนถ้าคุณรู้จักวิธีควบคุมบังคับความเร็วของยานอวกาศลำที่คุณนั่ง คุณก็จะสามารถควบคุมบังคับความเร็วของเทหวัตถุทุกอย่างในเอกภพภายนอกยานอวกาศที่คุณเห็น ไม่ว่าจะด้วยตาเปล่าหรือสังเกตผ่านเครื่องมือใดๆที่อยู่ภายในยานอวกาศของคุณก็ตาม

– แต่ถึงแม้คุณจะเข้าใจวิธีควบคุมปุ่มบังคับต่างๆที่เป็น ?hardware? ของยานอวกาศแล้วก็ตาม คุณจะต้องตั้งโปรแกรม ?software? ของคอมพิวเตอร์ที่ควบคุมยานอวกาศให้ถูกต้องด้วย ซึ่งคงไม่ใช่เรื่องง่ายและต้องใช้เวลามากกว่าการเรียนรู้แค่วิธีควบคุมปุ่มบังคับต่างๆเท่านั้น การปรับโปรแกรมการทำงานของคอมพิวเตอร์ให้ถูกต้อง ก็เหมือนกับการเปลี่ยนแท่งเหล็กให้มีคุณลักษณะเป็นแม่เหล็กอย่างถาวร โดยคุณจะต้องใช้ความพยายามในการเอาแม่เหล็กถูกับแท่งเหล็กนั้นๆในทิศทางเดียวกันอย่างเป็นระเบียบซ้ำแล้วซ้ำเล่า ด้วย ?ความถี่? (frequency) ?ห้วงเวลา? (duration) และ ?ความเข้มข้น? (concentration) ของสนามแม่เหล็กที่แรงพอ จึงจักสามารถไปเหนี่ยวนำให้โมเลกุลของแท่งเหล็กที่กระจายอย่างไม่เป็นระเบียบ เกิดการเรียงตัวใหม่โดยหันประจุขั้วบวกหรือลบไปในทางเดียวกันอย่างเป็นระเบียบและถาวรตามแบบแผนที่คุณต้องการ

?ญาณ? สี่ขั้นแรกของ ?ญาณ 16? จะช่วยให้คุณเข้าใจสัจจะความจริงแห่งธรรมชาติในลักษณะคล้ายคลึงกับสิ่งที่ทฤษฎีสัมพัทธภาพของไอน์สไตน์และทฤษฎีกลศาสตร์ควอนตัม (อันเป็นภูมิปัญญาสูงสุดสองทฤษฎีหลักทางฟิสิกส์สมัยใหม่ที่ช่วยให้มนุษย์เข้าใจธรรมชาติของเอกภพ) ได้ชี้ให้เห็น ในขณะที่วิปัสสนาญาณขั้นต่อๆไปจะเป็นเหมือนการลบโปรแกรมเก่าและดาวน์โหลดโปรแกรมใหม่ลงในเครื่องคอมพิวเตอร์ ซึ่งต้องใช้ความพยายามและสติปัญญาที่ลึกละเอียดกว่า

– แนวคิดเรื่อง ?อรรถประโยชน์? (Utility) ซึ่งเป็นรากฐานของทฤษฎีเศรษฐศาสตร์กระแสหลักอันมีอิทธิพลครอบงำอารยธรรมมนุษย์ปัจจุบัน ก็มีพื้นฐานมาจากหลักคิดที่คล้ายกับการมอง ?โลกที่ถูกรู้? ในมิติที่สัมพัทธ์กับตัว ?ผู้รู้? นี้เช่นกัน โดยถึงแม้มูลค่าแลกเปลี่ยน (value in exchange) ของสินค้าหรือบริการในตลาดจะค่อนข้างคงที่ในช่วงเวลาหนึ่งๆ เพราะมือที่มองไม่เห็นของกลไกตลาดจะคอยควบคุมให้ราคาสินค้าปรับตัวเข้าใกล้มูลค่าตามธรรมชาติ แต่มูลค่าที่เป็นประโยชน์ใช้สอยจริงๆ (value in use) หรือที่เรียกว่า ?อรรถประโยชน์? นั้นจะไม่คงที่ เช่น ก๋วยเตี๋ยวชามที่ 1 ที่กินเข้าไปจะให้อรรถประโยชน์แก่เรามากที่สุด แต่เมื่อกินก๋วยเตี๋ยวชามที่ 2, 3 ต่อไป ประโยชน์สุขหรืออรรถประโยชน์ของก๋วยเตี๋ยวชามหลังสุดที่เรากินเข้าไป ซึ่งเรียกว่าเป็นอรรถประโยชน์หน่วยสุดท้าย (marginal utility) จะมีลดน้อยลงๆโดยลำดับ (สำหรับตัวเราที่กำลังกินก๋วยเตี๋ยวอยู่นั้น)

– ธนบัตร 1,000 บาทใบหลังสุดที่ได้เพิ่มมาในสังคม ถ้าหากถูกดูดเข้าไปอยู่ในกระเป๋าของเศรษฐีพันล้านซึ่งมีศักยภาพในการหาเงินที่เหนือกว่าคนอื่นๆ ธนบัตรดังกล่าวแทบจะไม่ก่อให้เกิดอรรถประโยชน์อะไรต่อสังคมโดยรวมเลย เพราะเศรษฐีพันล้านที่มีทุกอย่างหมดแล้วคงไม่รู้จะเอาธนบัตรพันบาทไปซื้อหาอะไรอีก แต่ถ้าธนบัตรใบนี้ตกอยู่ในมือคนจนที่มีเงินติดกระเป๋าแค่ 100 บาท คนจนผู้นั้นคงจะรีบนำเงินไปใช้ซื้อหาปัจจัยจำเป็นที่ช่วยให้ชีวิตอยู่รอดได้ต่อไป และทำให้ธนบัตรหนึ่งพันบาทใบนั้นสะพัดหมุนเวียนให้เกิดค่าทวีคูณ (multiplier effect) อันจะส่งผลทำให้อรรถประโยชน์โดยรวมของสังคม (social utility) เพิ่มมากขึ้นในมิติเชิงคุณภาพ แต่ถ้าใช้วิธียึดทรัพย์ของเศรษฐีมาเฉลี่ยแบ่งปันให้กับคนยากจนส่วนใหญ่ในสังคมแบบที่พรรคคอมมิวนิสต์กระทำ เพื่อเพิ่มอรรถประโยชน์ของผลิตผลมวลรวมที่มีต่อสังคมใน ?มิติเชิงคุณภาพ? ดังที่กล่าวมา คนเก่งๆที่มีศักยภาพก็คงไม่ทุ่มเททำงานเพื่อให้รัฐยึดทรัพย์สินที่ตนหามาได้เหล่านั้นไปแบ่งให้คนอื่น ซึ่งในที่สุดก็จะไปทำให้ผลิตผลมวลรวมของสังคม (GDP) ลดลง อันเท่ากับทำให้ประโยชน์สุขหรืออรรถประโยชน์โดยรวมของสังคมลดน้อยลงใน ?มิติเชิงปริมาณ? จนกลายเป็นความขัดแย้งภายในตัวเอง (paradox) ทั้งนี้จากสมการที่กล่าวมาเมื่อตอนหนึ่งทุ่มคือ ปัญหา (P) = ความต้องการ (D)/ สิ่งตอบสนองความต้องการ(S) หรือ P = D/S ถ้าต้องการเพิ่มค่า S ในมิติเชิงปริมาณเพื่อลดค่า P ในสมการ ค่า S ก็จะลดน้อยลงในมิติเชิงคุณภาพ ครั้นพยายามจะเพิ่มค่า S ในมิติเชิงคุณภาพ ค่า S ก็กลับลดลงในมิติเชิงปริมาณอีก ระบบสังคมเศรษฐกิจการเมืองของมนุษย์จึงแกว่งอยู่ระหว่างปลายสองด้านของลัทธิทางเศรษฐกิจการเมืองแบบคอมมิวนิสต์ กับลัทธิทางเศรษฐกิจการเมืองแบบทุนนิยมเสรีประชาธิปไตย ซึ่งล้วนแล้วแต่ประสบปัญหาทั้งคู่ เพราะข้อจำกัดของ ?paradox? ที่แฝงอยู่ในการแก้ปัญหา (ลดค่า P ในสมการ) ด้วยวิธีเพิ่มสิ่งตอบสนองความต้องการของสังคม (เพิ่มค่า S ในสมการไม่ว่าจะในมิติเชิงปริมาณหรือมิติเชิงคุณภาพเพื่อทำให้ค่า P ลดต่ำลง)

– การ ?เปลี่ยนกระบวนทัศน์? (shift paradigm) ของวิธีแก้ปัญหาด้วยการหันมาลดความต้องการส่วนเกินความพอเพียงหรือความโลภของมนุษย์ (ลดค่า D ในสมการ) ควบคู่กับการพัฒนาศักยภาพในการสร้างสิ่งตอบสนองความต้องการ (เพิ่มค่า S ในสมการ) จึงน่าจะเป็นทางออกสำหรับระบบสังคมเศรษฐกิจการเมืองของมนุษย์ท่ามกลางวิกฤติปัญหาการแย่งชิงทรัพยากรที่มีจำกัดของโลก ตลอดจนวิกฤติปัญหาสิ่งแวดล้อมโดยเฉพาะอย่างยิ่งความแปรปรวนของลมฟ้าอากาศอย่างสุดขั้วที่เกิดจากภาวะโลกร้อน?? ฯลฯ ขณะที่ ?ศาสนา? สามารถช่วยคลี่คลายความกลัวของมนุษย์ และลดความขัดแย้งรุนแรงจากการแก่งแย่ง ?อำนาจ? (ทั้งในมิติด้านเศรษฐกิจ การเมือง และสังคม) เพื่อบรรเทาความกลัวดังกล่าว ?ศาสนาของพลเมือง? (Civic Religion) จึงทำหน้าที่เสมือนคนเฝ้าประตู (gate keeper intermediate) ที่คอยสกัดไม่ให้ความต้องการแก่งแย่ง ?อำนาจ? (Demand) ของผู้คนในสังคม ไหลบ่าเข้ามาจนระบบสังคมการเมืองนั้นๆไม่สามารถจะรองรับ (Support) และต้องล่มสลายลง ?ในเมื่อ ?ศาสนาของรัฐ? แบบจารีตนิยมที่ผูกอยู่กับความเชื่อทางศาสนาแบบเทวนิยมและลัทธิเทวสิทธิ์แก้ปัญหาของสังคมมนุษย์ไม่ได้ เพราะไม่สอดคล้องกับหลักวิทยาศาสตร์ซึ่งมีอิทธิพลครอบงำอารยธรรมมนุษย์ปัจจุบัน จนเป็นเหตุทำให้ปัญหาของสังคมมนุษย์ขยายตัวเพิ่มมากขึ้นๆ หลักพุทธปรัชญาที่สอดคล้องกับทฤษฎีทางฟิสิกส์สมัยใหม่ตามที่กล่าวมาข้างต้น จึงอาจเป็นทางออกสำคัญสำหรับการแก้ปัญหาระบบสังคมการเมืองของมนุษย์ทุกวันนี้ก็ได้ (ดูรายละเอียดเพิ่มเติมในหนังสือเรื่อง ?เปลี่ยนกระบวนทัศน์ใหม่ประเทศไทย? ที่มูลนิธินวชีวันพิมพ์เผยแพร่)
ad

Leave a Reply

Your email address will not be published. Required fields are marked *