ณ เวลาเที่ยงคืนของจุดจบชีวิต

– ทุกงานเลี้ยงย่อมมีวันเลิกรา? เที่ยงคืนของชีวิตวัยแปดสิบสี่ปีคือเวลาที่คุณจะต้องเข้านอนด้วยความอ่อนล้าเต็มทนของร่างกาย? หลังจากที่คุณเหน็ดเหนื่อยกับการทำงานมาทั้งวัน? ทำใจให้สบายๆ? ปล่อยวางสิ่งต่างๆ? งานที่คั่งค้าง ?คนที่คุณรัก ?อำนาจ-เกียรติยศ-ทรัพย์สินเงินทอง? ฯลฯ? ที่คุณจะต้องอำลาจากไปตลอดกาล? เพื่อไม่เก็บเอาไป ?ฝันร้าย? ด้วยความห่วงกังวล
12

– ถ้าเปรียบเทียบการควบคุม ?โลกทั้งหมดที่ถูกรู้?? กับการควบคุมความเร็วของเทหวัตถุทุกอย่างในเอกภพภายนอกยานอวกาศตามที่เราสังเกตเห็น? ด้วยวิธีควบคุมบังคับที่ความเร็วในยานอวกาศลำของเรา? สิ่งที่พระพุทธเจ้าทรงสอนทั้งหมดก็จะเปรียบได้กับการสอนวิธีควบคุมบังคับยานอวกาศลำที่เรากำลังนั่งอยู่นั่นเอง ?แน่นอนว่าไม่ใช่เรื่องง่ายที่จะสอนให้คนธรรมดาผู้หนึ่งสามารถเข้าใจเทคโนโลยีอันสลับซับซ้อนที่สุดของยานอวกาศซึ่งเคลื่อนที่ไปได้ทุกแห่งหนในเอกภพด้วยความเร็วเหนือแสงลำนี้? แต่ก็ไม่เหลือวิสัยของความเป็นไปได้ที่จะสอนให้คนธรรมดาผู้หนึ่งค่อยๆเรียนรู้วิธีควบคุมปุ่มต่างๆที่จะบังคับการเคลื่อนที่ของยานอวกาศดังกล่าว ??โดยปุ่มควบคุมสำคัญในวงจรของ ?กฎปฏิจจสมุปบาท? ก็คือ? ปุ่มควบคุมตรง ?เวทนาเป็นปัจจัยให้เกิดตัณหา?

ใน ?ญาณ 16? (ซึ่งคัมภีร์ชั้นอรรถกถาได้ขยายรายละเอียดเพิ่มจาก ?วิปัสสนาญาณ 9? ในพระไตรปิฎก) ?เริ่มต้นขั้นแรกด้วย ?นามรูปปริเฉทญาณ? (ญาณกำหนดรู้แยกแยะรูป-นามได้)? และ ?ปัจจยปริคคหญาณ? (ญาณกำหนดรู้ปัจจัยการปรุงแต่งแห่งนามรูปที่นำไปสู่การเห็นสิ่งต่างๆว่าเป็นอัตตาตัวตนที่ดำรงอยู่จริงอย่างเป็นวัตถุวิสัย)? ญาณสองขั้นแรกนี้ช่วยให้เข้าใจพื้นฐานของ ?สัจจะความจริง? ในลักษณะคล้ายกับสิ่งที่ทฤษฎีสัมพัทธภาพของไอน์สไตน์ได้ชี้ให้เห็น ?แต่เมื่อกำหนดรู้ละเอียดขึ้นสู่ญาณในลำดับขั้นต่อไปอันคือ ?สัมมสนญาณ? (ญาณกำหนดรู้ธรรมชาติแห่งไตรลักษณ์ของรูป-นามที่เกิด-ดับต่อเนื่องอยู่ทุกขณะเวลา)? และ ?อุทยัพพยญาณ? (ญาณที่กำหนดรู้ละเอียดขึ้นจนตัดกระแสสันตติที่ทำให้เห็นสรรพสิ่งเป็นตัวตนได้) ?ญาณขั้นที่ 3 และ 4 นี้จะช่วยให้เข้าใจพื้นฐานแห่งสัจจะความจริงของสรรพสิ่งในลักษณะคล้ายกับสิ่งที่ทฤษฎีกลศาสตร์ควอนตัม (Quantum Mechanic) ชี้ให้เห็น? โดยเมื่อสังเกตผ่านเครื่องมือการทดลองต่างๆเข้าไปภายในอนุภาคพื้นฐานที่เล็กที่สุดในอะตอมของสสาร? ปรากฏการณ์ที่นักวิทยาศาสตร์ค้นพบก็คือมีการดูดและคายพลังงานที่ทำให้อนุภาคพื้นฐานเหล่านี้เปลี่ยนสถานะเป็นพลังงานและเปลี่ยนกลับเป็นอนุภาคสลับไปมาอยู่ในทุกขณะเวลา? จนไม่อาจกล่าวได้ว่าอนุภาคที่เป็นองค์ประกอบพื้นฐานของ ?เอกภพที่ถูกรู้? นั้น? ดำรงอยู่จริงอย่างเป็นภววิสัยหรือวัตถุวิสัย ตำแหน่งแห่งที่ตรงไหนของอวกาศและเวลา ?เพราะทันทีที่กำหนดรู้อนุภาคนั้นๆก็สลายตัวเปลี่ยนไปในทุกๆขณะ

?โลกที่ถูกรู้? จึงมีลักษณะไม่แตกต่างจากภาพแต่ละเฟรมของฟิล์มภาพยนต์ที่ถูกฉายขึ้นไปปรากฏบนจอ? ลำพังภาพแต่ละเฟรมที่ปรากฏขึ้นแล้วดับไปๆนั้นไม่มีแก่นสารความหมายอะไร?? แต่การปรุงแต่งภายใน ?จิตที่เป็นผู้รู้? ซึ่งได้เชื่อมภาพที่เห็นต่อเนื่องเป็น ?กระแสสันตติ? ดังกล่าวต่างหาก? ที่ให้ ?ความหมาย? แห่งความเป็นอัตตาตัวตนของตัวละครต่างๆซึ่งแสดงบทบาทเรื่องราวให้เรารู้สึกสุข-ทุกข์ , พอใจ-ไม่พอใจ ,หัวเราะ-ร้องไห้? ฯลฯ ความรู้สึก ?พอใจเป็นสุข? (สุขเวทนา)? และ ?ไม่พอใจเป็นทุกข์? (ทุกขเวทนา)? จึงมีสถานะเสมอกันโดยสัจจะ? เพราะล้วนแต่เป็นสิ่งที่เกิดขึ้น-ตั้งอยู่-ดับไปๆทั้งสิ้น ?อดีตเมื่อวินาทีที่แล้วคือ ?หลุมดำ? ซึ่งกลืนกินทุกสรรพสิ่งให้หายสาบสูญไปตลอดกาล? อนาคตคือความว่างเปล่าที่จับต้องอะไรไม่ได้? ??ความจริง? จะดำรงอยู่เพียงแค่ในแต่ละปัจจุบันขณะแล้วดับไปๆ? เหมือนพยับแดด? เหมือนสายฟ้า? เหมือนรอยที่ขีดลงบนผิวน้ำ ฯลฯ ?ถ้าเรามี ?สติ? (สติสัมโพชฌงค์), ?ปัญญา? (ธัมมวิจัยสัมโพชฌงค์), และ ?ความเพียร? (วิริยะสัมโพชฌงค์) ในการพยายาม ?เข้าถึง? สัจจะความจริงนี้? จนสามารถที่จะ ?วางเฉย? (อุเบกขาเวทนา) ต่อความรู้สึกอยากได้ อยากมี อยากเป็น ในสิ่งต่างๆได้ (เพราะเวทนาดับตัณหาจึงดับ)? ?สถานะ? (ภพ) ของสิ่งที่เคยมีบทบาทบีบคั้นกำหนดให้เราต้องดิ้นรนแสวงหา? ก็จะหมดอิทธิพลในการเป็นนายที่คอยควบคุมบังคับเราตลอดเวลา (เพราะตัณหาดับอุปาทานและภพจึงดับ) ?แล้วชีวิตก็จะเข้าถึงภาวะแห่ง ?อิสรเสรีภาพอันไพบูลย์? มากขึ้นๆ? สุดท้ายเมื่อ ?ตัวตนที่เกิดจากความกลัว? ถูกทำให้แตกตัวสลายลง (เพราะภพดับชาติจึงดับ)? เวลา, แรงงาน, ทรัพย์สินเงินทอง, สติปัญญา? ฯลฯ ?ซึ่งเคยถูกใช้เพื่อการแสวงหาสิ่งต่างๆมาบรรเทาความกลัวนั้นๆ? ก็จะถูกปลดปล่อยออกมาเป็น ?กัมมันตภาพแห่งความร่มเย็นเป็นสุข?? แผ่ขยายออกไปสู่สังคมของมวลหมู่มนุษย์? เหมือนพลังงานนิวเคลียร์อันไพศาลที่ถูกปลดปล่อยออกมาเมื่อสามารถทำให้อะตอมแตกตัวฉะนั้น

ad

Leave a Reply

Your email address will not be published. Required fields are marked *