ณ เวลาสิบเอ็ดโมงเช้า (หรือ 11.00 นาฬิกาของชีวิตวัยสามสิบแปดปีครึ่ง)

– หลังเหตุการณ์พฤษภาทมิฬปี 2535 ซึ่งกลุ่มชนชั้นกลางในเมืองที่เรียกกันว่า ?ม็อบมือถือ? ได้ต่อสู้เรียกร้องประชาธิปไตยจนหลุดพ้นจากเงื้อมมือของทหารเป็นผลสำเร็จแล้ว ได้เกิดกระแสเรียกร้องให้มีการปฏิรูปทางการเมืองเพื่อให้ประเทศไทยก้าวสู่วิถีทางประชาธิปไตยที่สมบูรณ์ ภายใต้โลกยุคโลกาภิวัตน์ซึ่งระบบเศรษฐกิจของประเทศต่างๆถูกเชื่อมโยงให้เป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน ภายหลังการล่มสลายของสหภาพโซเวียตเมื่อปลายปีพ.ศ. 2534 (อันถือเป็นจุดสิ้นสุดของยุคสงครามเย็นหลังสงครามโลกครั้งที่สอง)
11

– การปฏิรูปการเมืองให้เป็นประชาธิปไตย ก็คือการปรับเปลี่ยนโครงสร้างความสัมพันธ์ในเชิงอำนาจ เพื่อให้มีพื้นที่ทางสังคมการเมืองสำหรับประชาชนเพิ่มมากขึ้น โดยเฉพาะอย่างยิ่งสำหรับคนชั้นกลางในเมืองที่ออกมาเรียกร้องประชาธิปไตย คำถามก็คือทำไมกลุ่มคนชั้นกลางเหล่านี้จึงออกมาเรียกร้องการปฏิรูปทางการเมือง ทั้งๆที่ก่อนหน้านี้ไม่มีท่าทีว่าสนใจเรื่องการเมืองอะไรมากมาย การเรียกร้องประชาธิปไตยในกรณี 14 ตุลาคม 2516 ก็อาศัยนักเรียนนิสิตนักศึกษาเป็นกำลังหลัก

– คำตอบในเรื่องนี้อาจเป็นเพราะกลุ่มนักเรียนนิสิตนักศึกษาที่มีความตื่นตัวทางการเมืองจากเหตุการณ์ 14 ตุลาคม 2516 และ 6 ตุลาคม 2519 ได้เติบโตเป็นผู้ใหญ่โดยสร้างเนื้อสร้างตัวขึ้นมาเป็นกลุ่มชนชั้นกลางที่อยู่ในช่วงวัยกลางคน และออกมาร่วมต่อสู้เพื่อเรียกร้องประชาธิปไตยอีกครั้งในช่วงเหตุการณ์พฤษภาทมิฬ 2535 จึงทำให้เห็นปรากฏการณ์ที่กลุ่มคนชั้นกลางในเมืองซึ่งเรียกกันว่าม็อบมือถือออกมาขับไล่การสืบทอดอำนาจของทหารประการหนึ่ง

– อีกประการหนึ่งอาจเป็นเพราะหลังการสิ้นสุดสงครามโลกครั้งที่สองพร้อมกับระเบิด ปรมาณู 2 ลูกที่ถูกทิ้งลง ณ เมืองฮีโรชิมากับนางาซากิ ทำให้โลกเริ่มตระหนักถึงความหายนะของมนุษยชาติจากแสนยานุภาพในการทำลายล้างด้วยอาวุธนิวเคลียร์สมัยใหม่ที่ควบคุมขอบเขตความเสียหายได้ยาก จนไม่คุ้มค่าความเสี่ยงที่จะใช้สงครามทางทหารเพื่อการแย่งชิงทรัพยากรจากชาติที่อ่อนแอกว่าเหมือนการแผ่ขยายอาณาจักรของชาติมหาอำนาจในอดีต เมื่อสิ้นสุดยุคสงครามเย็นในปี พ.ศ. 2534 ประเทศสหรัฐอเมริกาในฐานะผู้นำมหาอำนาจฝ่ายโลกเสรีจึงผลักดันนโยบายการจัดระเบียบโลกใหม่ ซึ่งก็คือการอาศัย ?สงครามทางเศรษฐกิจ? (ที่มีต้นทุนต่ำ) เป็นเครื่องมือแย่งชิงความมั่งคั่งจากรัฐที่อ่อนแอกว่าแทน ?สงครามทางทหาร? แบบในอดีตนั่นเอง ภายใต้กระแสการแข่งขันทางเศรษฐกิจที่เป็นไปอย่างรุนแรงเข้มข้นในโลกยุคโลกาภิวัตน์ ซึ่งกลุ่มคนชั้นกลางในเมืองกำลังยกระดับสถานะความเป็นอยู่ของตนจากโอกาสแห่งความเติบโตทางเศรษฐกิจ ถ้าหากการเมืองไทยถอยหลังกลับสู่ระบอบอำนาจนิยมอันไม่เป็นที่ยอมรับของนานาอารยประเทศทั้งหลายในโลก ก็อาจเป็นอุปสรรคต่อการเข้าถึงโอกาสต่างๆในทางเศรษฐกิจของคนชั้นกลางเหล่านี้ ฉะนั้นจึงออกมาร่วมกันต่อสู้เพื่อเรียกร้องประชาธิปไตย

– นอกจากนี้ตามทฤษฎีความต้องการตามลำดับขั้นของมนุษย์ดังที่ได้กล่าวมาแล้วนั้น เมื่อผู้คน (โดยเฉพาะอย่างยิ่งคนชั้นกลางในเมือง) มีชีวิตความเป็นอยู่ที่ดีขึ้น และมีหลักประกันความมั่นคงทางด้านเศรษฐกิจของชีวิตแล้ว ก็อยากได้สิ่งตอบสนองความต้องการในลำดับขั้นถัดไปที่มีความเป็นนามธรรมมากขึ้น โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ?อำนาจ? ที่จะช่วยสร้างความรู้สึกมั่นคงทางสังคมและความภาคภูมิใจในตัวตนของตน ซึ่ง ?ประชาธิปไตย? จะช่วยตอบสนองความต้องการเหล่านี้ได้?? เช่น มีเสรีภาพที่จะตำหนิผู้บริหารบ้านเมืองด้วยถ้อยคำรุนแรง (อันช่วยสร้างความรู้สึกมั่นคงให้กับตัวตนของตน เพราะถึงแม้ตนจะไม่มีโอกาสได้ไปเป็นผู้บริหารบ้านเมืองแบบนักการเมืองเหล่านั้น แต่ในเมื่อตนเสรีภาพที่จะวิจารณ์นักการเมืองเหล่านั้นด้วยถ้อยคำรุนแรงเหมือนผู้ใหญ่ตำหนิเด็กได้ ก็เท่ากับตน ?มีอำนาจ? ที่เหนือกว่านักการเมืองดังกล่าว อันเป็นกลไกป้องกันตัวเองทางจิตวิทยาที่ช่วยสร้างความรู้สึกมั่นใจให้กับตัวตนของตนมากขึ้น มีศักดิ์ศรีเพิ่มขึ้น ฯลฯ) ซึ่งจะกระทำไม่ได้ภายใต้เงื่อนไขของการควบคุมสื่อต่างๆอย่างเข้มงวดในระบอบอำนาจนิยม เป็นต้น

– มองในแง่นี้ ?ระบอบอำนาจนิยม? ที่มีผู้บริหารบ้านเมืองที่ดี ถึงแม้จะช่วยตอบสนองมิติแห่งความต้องการในลำดับขั้นต้นๆของผู้คนได้ แต่ ?ระบอบประชาธิปไตย? ที่มีผู้บริหารบ้านเมืองที่ดี จะสามารถตอบสนองความต้องการของผู้คนในมิติซึ่งครอบคลุมกว้างขวาง ถึงความต้องการในลำดับขั้นท้ายๆของทฤษฎีความต้องการตามลำดับขั้นทั้ง 5 ขั้นได้ดีกว่า

ad

Leave a Reply

Your email address will not be published. Required fields are marked *