ณ เวลาหนึ่งทุ่ม (หรือ 19.00 นาฬิกาของชีวิตวัยหกสิบหกปีครึ่ง)

?แผนที่ชีวิต? เป็นสิ่งสำคัญอย่างยิ่งต่อการบอกเส้นทางที่ถูกต้องสำหรับการเดินทางสู่ ?จุดหมายที่พึงไปให้ถึง? โดยเฉพาะอย่างยิ่งสำหรับคนที่เหลือเวลาเดินทางอีกไม่มากนักในชีวิต ?อุดมการณ์ทางการเมือง? ที่เป็นเสมือน ?แผนที่ของระบบสังคมการเมือง? ก็มีคุณค่าความสำคัญดุจเดียวกัน ในขณะที่คนช่วงชั้นกลางของสังคมไทยใช้อุดมการณ์ ?จารีตนิยม? เพื่อต่อต้าน ?ระบอบทักษิณ? นั้น คงไม่ใช่เพราะคนช่วงชั้นกลางเหล่านั้นเป็น ?คนดี? ที่ห่วงใยเรื่องปัญหาจริยธรรมทางการเมืองมากกว่าคนไทยที่อยู่ฝ่ายตรงข้าม (ซึ่งถูกเรียกว่าเป็นฝ่าย ?คนเลว? เพราะอยู่ตรงข้ามกับฝ่าย ?คนดี?) แต่สาเหตุหนึ่งอาจเป็นเพราะถ้าสามารถปลูกฝังให้คนช่วงชั้นสูงและล่างมีจริยธรรมแห่ง ?ความพอเพียง? มากขึ้น ก็จะไม่มาแย่งชิง ?พื้นที่อำนาจ? ภายใต้โครงสร้างความเหลื่อมล้ำที่มีอยู่ไปจากตน (ดังสมมติฐานที่ได้กล่าวถึงในตอนบ่ายสามโมง)07

– อย่างไรก็ตามถ้าตัดเรื่องการแย่งชิงวาทกรรมแห่งการเป็นฝ่าย ?คนดี? หรือ ?คนเลว? ในเกมการต่อสู้ทางการเมือง แล้วมองปรากฏการณ์ของระบบสังคมการเมืองไทยในเชิงประจักษ์ การขาดกลไกทาง ?ศาสนาของรัฐ? ที่มีประสิทธิภาพและประสิทธิผลในการช่วยคลี่คลาย ?ความกลัว? ที่แฝงอยู่ในจิตใจของผู้คนแบบ ?win win? ?จนทำให้ต้องหันไปพึ่ง ?อำนาจ? ทั้งในมิติทางด้านเศรษฐกิจ (ลาภ) การเมือง (ยศ) และสังคม (สรรเสริญ) เพื่อช่วยเป็นหลักประกันสำหรับบรรเทาความกลัวต่อภัยคุกคามต่างๆแบบ ?zero sum? (ดังที่ได้กล่าวถึงตอนหกโมงเย็น) ก็น่าจะเป็นสาเหตุสำคัญที่ทำให้ ?ความต้องการพื้นที่ทางการเมือง? (Demand) ของผู้คนในสังคมไทยขยายเพิ่มมากขึ้นๆ จนโครงสร้างของระบบสังคมการเมืองที่มีอยู่แต่เดิมไม่สามารถจะ ?รองรับ? (Support) ความต้องการเหล่านั้นได้ (demand overload) จึงทำให้ระบบสังคมการเมืองไทยขาดเสถียรภาพดังเช่นที่เป็นอยู่ทุกวันนี้

– ในพลสูตรเมื่อพระพุทธเจ้าได้ชี้ให้เห็น ?ความกลัวต่อภัย 5 ระดับ? ที่แฝงอยู่ในจิตใจของมนุษย์แล้ว พระพุทธองค์ได้ทรงอธิบายต่อไปถึง ?กำลัง 4 ประการ? ซึ่งจะเป็นเครื่องมือช่วยสลายความกลัวต่อภัยต่างๆดังกล่าว ได้แก่ ?กำลังที่เกิดจากปัญญา กำลังที่เกิดจากความเพียร กำลังที่เกิดจากการงานอันไม่เป็นโทษ และกำลังที่เกิดจากการสงเคราะห์ (สังคหวัตถุ)? อุปมาเหมือนเรือที่ถูกพายุพัดกระหน่ำเสียหายและลอยคออยู่กลางทะเลซึ่งเห็นแต่น้ำจรดขอบฟ้าทุกด้าน ผู้คนก็จะตกอยู่ใน ?ความกลัว? อย่างหนัก ถ้าลูกเรือสามารถซ่อมเครื่องมือบอกตำแหน่งที่ทำให้รู้พิกัดว่ากำลังอยู่ตรงจุดไหนและฝั่งอยู่ทางทิศไหน (อันเป็นเหมือนกำลังที่เกิดจากปัญญา) ความกลัวของผู้คนก็จะลดลงส่วนหนึ่ง ถ้าได้ซ่อมเครื่องยนต์จนเรือมีกำลังที่จะวิ่งต่อไปได้ (อันเป็นเหมือนกำลังที่เกิดจากความเพียร) ความกลัวของผู้คนก็จะลดลงอีกส่วนหนึ่ง ถ้าได้ประคองให้เรือค่อยๆแล่นไปสู่ฝั่งอย่างระมัดระวังใกล้เข้าๆ (ซึ่งเป็นเหมือนกำลังที่เกิดจากการงานอันไม่เป็นโทษ) ความกลัวของผู้คนก็จะยิ่งลดน้อยลงไปอีก สุดท้ายเมื่อเรือถึงฝั่งและผู้คนต่างประคับประคองกันให้ขึ้นฝั่งอย่างปลอดภัย (เพราะเมื่อหมดความกลัวที่ต้องทำเพื่อตนเอง ผู้คนก็จะสามารถสละแรงงานช่วยเหลือคนที่อ่อนแอกว่าได้อันเป็นเหมือนกำลังที่เกิดจากการสงเคราะห์) เมื่อนั้น ?ความกลัว? ก็จะหมดไปอย่างสิ้นเชิง

– อุดมการณ์ทางการเมืองชุดใดที่สามารถจะเสริมสร้างให้ผู้คนเกิดกำลังของ ?ปัญญา? โดยแก้ปัญหาต่างๆอย่างมีเหตุผล เกิดกำลังของ ?ความเพียร? ด้วยการสู้งานหนัก เกิดกำลังของ ?การงานอันไม่เป็นโทษ? โดยไม่ทำอะไรที่เป็นการเบียดเบียนตนเองและผู้อื่น ตลอดจนเกิดกำลังของ ?การสงเคราะห์? ช่วยเหลือเกื้อกูลกัน ระบบสังคมการเมืองนั้นๆก็จะมีเสถียรภาพที่มั่นคง ในทางกลับกันหากอุดมการณ์ทางการเมืองชุดใดชี้นำให้ผู้คนหลงเชื่ออะไรอย่างงมงายไร้เหตุผล เกียจคร้านหวังแต่คิดร่ำรวยทางลัด แสวงหาผลประโยชน์ด้วยหนทางทุจริต ตลอดจนอยู่กันอย่างเห็นแก่ตัว ระบบสังคมการเมืองนั้นๆก็จะไร้ซึ่งเสถียรภาพ

– ถ้าให้ปัญหา (P) = ความต้องการ (D) / สิ่งตอบสนองความต้องการ (S) โดยหากความต้องการของผู้คน (D) มีระดับสูงกว่าสิ่งตอบสนองความต้องการที่รองรับมากเท่าไร(S) ปัญหาของระบบสังคมการเมืองนั้นๆ (P) ก็จะเพิ่มมากขึ้น โดยทั้งนี้ถ้าแบ่งประเภทของอุดมการณ์ทางการเมืองเป็น 4 ประเภท (typology) ได้แก่ ?D สูง, S ต่ำ? (อุดมการณ์แบบไสยศาสตร์) ?D สูง, S สูง? (อุดมการณ์แบบทุนนิยม) ?D ต่ำ, S ต่ำ? (อุดมการณ์แบบฤาษีชีไพร) และ ?D ต่ำ, S สูง? (อุดมการณ์แบบ ?พุทธะ?) ระบบสังคมการเมืองที่ทำให้ ?D ต่ำ, S สูง? จะมีเสถียรภาพมากที่สุด

ad

Leave a Reply

Your email address will not be published. Required fields are marked *