ณ เวลาสองทุ่ม (หรือ 20.00 นาฬิกาของชีวิตวัยเจ็ดสิบปี)

– สองทุ่มถือได้ว่าเป็นจุดเปลี่ยนผ่านสู่ช่วงกลางคืนใกล้ถึงเวลานอนของผู้คน และวัยเจ็ดสิบปีก็ใกล้อายุขัยเฉลี่ยของชายไทยเข้าไปทุกที สำหรับคนที่เกิดปี พ.ศ. 2500 ช่วงอายุเจ็ดสิบในปีพ.ศ. 2570 คนผู้นั้นจะมีโอกาสได้ร่วมกิจกรรมสำคัญในวโรกาสแห่งปีรำลึกถึงพระบรมราชสมภพครบ 100 ปีของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช พระมหากษัตริย์ที่ยิ่งใหญ่ที่สุดพระองค์หนึ่งของประวัติศาสตร์ชาติไทย08

– อันที่จริงแล้วพลังของ ?วาทกรรม? (Discourse) แห่งพระราชดำรัส ?เศรษฐกิจพอเพียง? ในพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ ที่อธิบายจากกรอบความคิดทางพุทธปรัชญา น่าจะสามารถเชื่อม ?โครงสร้างส่วนบน? ของอุดมการณ์ทางการเมืองแบบ ?ประชาธิปไตย? ให้ประสานยึดแน่นกับ ?โครงสร้างส่วนลึก? ทางด้านจริยธรรมของสังคมไทยที่มีรากฐานมาจาก ?พระพุทธศาสนา? ได้อย่างกลมกลืน (เช่นเดียวกับที่นักคิดทางตะวันตกสามารถอธิบายหลักประชาธิปไตยให้เชื่อมกับหลักคำสอนของศาสนายิว-คริสเตียน ที่เป็นรากฐานทางอารยธรรมของประเทศทางตะวันตก จนทำให้ระบบสังคมการเมืองแบบประชาธิปไตยของประเทศทางตะวันตกมีความมั่นคงเป็นปึกแผ่น) อีกทั้งช่วยทำให้ ?พระมหากษัตริย์? กับ?ประชาธิปไตย? ภายใต้ระบอบการปกครอง (political regime) แบบ ?ประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข? ที่เคยอยู่แบบเหมือนนำมาวางคู่กันเฉยๆ (juxtaposition) สามารถเชื่อมประสานเป็นเนื้อเดียวกัน (syncretism) มากขึ้น

– ในอัคคัญญสูตร ฑีฆนิกาย ปาฏิกวรรค พระพุทธเจ้าได้ตรัสเล่าเรื่องกำเนิดอำนาจรัฐด้วยคำอธิบายที่คล้ายคลึงกับทฤษฎีสัญญาประชาคมของนักคิดทางตะวันตก (แต่ชี้ให้เห็นลำดับขั้นทางตรรกะของการก่อเกิดอำนาจรัฐลึกลงไปกว่าที่ทฤษฎีสัญญาประชาคมอธิบายอีกขั้น) โดยทรงเล่าว่าในภาวะดั้งเดิมตามธรรมชาติ (state of nature) ก่อนที่จะมีอำนาจรัฐมาครอบสังคมมนุษย์นั้น เดิมทีผู้คนอยู่ร่วมกันอย่างสงบสุขท่ามกลางความอุดมสมบูรณ์ของระบบนิเวศน์ในธรรมชาติ ตอนเช้าเมื่อหิวขึ้นมาผู้คนก็พากันไปเก็บข้าวสาลีมาบริโภคในเวลาเช้า ตอนเย็นข้าวสาลีที่มีเมล็ดสุกก็งอกขึ้นแทนที่ ตอนเย็นเมื่อหิวขึ้นมาผู้คนก็พากันไปเก็บข้าวสาลีเพื่อบริโภคในเวลาเย็น ตอนเช้าข้าวสาลีที่มีเมล็ดสุกก็งอกขึ้นมาแทนที่ใหม่อย่างไม่ขาดพร่อง แต่ต่อมามีบางคนเกิดความโลภและความเกียจคร้านโดยไปเก็บข้าวสาลีส่วนที่ ?เกินความพอเพียงในการบริโภค? มาสะสมกักตุนไว้กินล่วงหน้า เมื่อคนอื่นเห็นเข้าก็พากันเลียนแบบทำตามและขยายขอบเขตการกักตุนสะสมเพิ่มมากขึ้นๆ ในที่สุดความอุดมสมบูรณ์ของระบบนิเวศน์ก็ถูกทำลายเพราะความ ?ไม่พอเพียง? ของมนุษย์

– ความขาดแคลนทำให้เกิดสถาบันกรรมสิทธิ์แห่งทรัพย์สิน (property right) ขึ้นในสังคม (เหมือนในอดีตที่มีน้ำฝนให้บริโภคอย่างเหลือเฟือก็ไม่มีใครคิดเอาน้ำมาขายกัน แต่ทุกวันนี้เมื่อขาดแคลนน้ำสะอาดเพราะน้ำฝนมีมลพิษปนเปื้อน ก็มีคนเอาน้ำดื่มมาบรรจุขวดขาย เป็นต้น) สิ่งที่เกิดตามมาจากการปักปันเขตแดนเพื่อจัดสรรกรรมสิทธิ์ในทรัพย์สินก็คือ เริ่มมีการ ?ละเมิดสิทธิ์? และการทะเลาะวิวาทถึงขั้นทำร้ายกันจนเสียชีวิต ผลที่สุดผู้มีอาวุโสในสังคมก็มาตกลงกันเพื่อสถาปนา ?อำนาจที่เป็นทางการ? (authority) ของสังคมขึ้น ด้วยการมอบหมายให้คนผู้หนึ่งมาทำหน้าที่ว่ากล่าวคนที่ควรว่ากล่าวได้โดยชอบ ขับไล่คนที่ควรขับไล่ได้โดยชอบ ฯลฯ ส่วนคนอื่นๆจะแบ่ง ?สิทธิ? ในข้าวสาลีที่หามาได้ส่วนหนึ่งมอบให้คนผู้นั้นตอบแทนเพื่อจะได้มีเวลามาทำหน้าที่นี้ได้เต็มที่ ฉะนั้นถ้าสามารถอบรมกล่อมเกลาให้ผู้คนในสังคมเข้าถึง ?ความพอเพียง? ได้มากขึ้น และเบียดเบียนแย่งชิงทรัพยากรกันลดลงได้เท่าไร ความจำเป็นต้องพึ่งพาอำนาจรัฐเพื่อจัดระเบียบการอยู่ร่วมกันในสังคมก็จะน้อยลงเท่านั้น ส่งผลทำให้ผู้คนเข้าถึง ?สิทธิเสรีภาพ? ในภาวะดั้งเดิมตามธรรมชาติได้มากขึ้น ซึ่งก็คือเป้าหมายของ ?สังคมอุดมคติในลัทธิประชาธิปไตย? นั่นเอง

– นัยแฝง (implication) ของปรัชญาแห่ง ?เศรษฐกิจพอเพียง? จึงครอบคลุมถึงมิติของทั้ง ?ประชาธิปไตย? ที่เรารับมาจากทางตะวันตก และมิติของ ?คุณธรรมจริยธรรม? อันเป็นรากฐานเดิมของสังคมไทย ซึ่งเป็นอุดมการณ์ทางการเมืองสองเรื่องที่ยังมีความแปลกแยกจากกันในระบบสังคมการเมืองไทยดังที่กล่าวมา ?ขณะที่พระมหากษัตริย์ไม่ได้มาจากการเลือกตั้งอันมีธรรมชาติที่มักจะไปแบ่งแยกประชาชนเป็นสองฝ่าย คือฝ่ายสนับสนุนกับฝ่ายที่ไม่สนับสนุนในการลงคะแนนเลือกตั้งให้ ?พระมหากษัตริย์? จึงน่าจะสามารถเป็นตัวเชื่อมประชาชนสองฝ่ายซึ่งขัดแย้งกันด้วยแนวคิดเชิงอุดมการณ์สองชุดเข้าด้วยกัน ภายใต้ ?วาทกรรมแห่งเศรษฐกิจพอเพียง? นี้ได้

ad

Leave a Reply

Your email address will not be published. Required fields are marked *