ณ เวลาตีสาม (หรือ 3 นาฬิกาของชีวิตวัยสิบปีครึ่ง)

– เป็นช่วงเวลาสำหรับการศึกษาความรู้พื้นฐานทั้งหลาย โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ?ภาษา? ที่จะใช้ในการติดต่อสื่อสารเพื่อสร้างปฏิสัมพันธ์กับผู้คนในสังคม และ ?ตรรกะ? ของการใช้เหตุผลเพื่อทำความเข้าใจกับปรากฏการณ์รอบตัวว่า อะไรเป็น ?เหตุ? ที่นำไปสู่ ?ผล? ของสิ่งต่างๆ
15– สมองซีกซ้ายของมนุษย์ควบคุมการทำงานในด้านการใช้เหตุผลความคิดหรือ ?ความฉลาดทางสติปัญญา? (IQ) ส่วนสมองซีกขวาจะควบคุมการทำงานในด้านของการใช้จินตนาการ ความใฝ่ฝัน และอารมณ์ความรู้สึกหรือ ?ความฉลาดทางอารมณ์? (EQ) สมองซีกซ้ายจะควบคุมด้านการใช้ ?ตรรกะ? สมองซีกขวาจะควบคุมด้านศิลปะของการใช้ ?ภาษา? โดยภาษาในที่นี้มีความหมายครอบคลุมถึงการติดต่อสื่อสารกับผู้คนต่างๆ และในกาลเทศะต่างๆ คำว่า ?ภาษา? จึงมีความหมายครอบคลุมกว้างขวางกว่าแค่การเรียนวิชาภาษาไทย ภาษาอังกฤษ ฯลฯ ตามหลักสูตรการศึกษาในชั้นเรียน เพื่อให้พูดได้และอ่านออกเขียนได้อย่างถูกต้องตามหลักไวยากรณ์เท่านั้น

– กระบวนการเรียนรู้ที่มีพลังและมีประสิทธิผล จะต้องสามารถบูรณาการการทำงานของสมองสองซีกเข้าด้วยกัน โดยมีทั้ง ?เหตุผล? ทางตรรกะ และ ?แรงบันดาลใจ? ของความใฝ่ฝันในจินตนาการ ระบบการศึกษาที่มองเด็กเป็นเสมือนก้อนดินเหนียวซึ่งนำมาใส่ใน ?แม่พิมพ์? ของการศึกษา แล้วใช้แรงกดอัดเพื่อบีบเค้นให้ก้อนดินเหนียวได้รูปทรงตามแม่พิมพ์ ผลผลิตของสินค้าการศึกษาชิ้นไหนได้รูปทรงตรงตามที่ต้องการ ก็ติดฉลากใบประกาศนียบัตรหรือใบปริญญาบัตรรับรองคุณภาพเพื่อส่งไปขายในตลาดแรงงาน ขณะที่ผลผลิตชิ้นไหนไม่ได้รูปทรงตามแม่พิมพ์ก็คัดทิ้ง เพื่อส่งไปขายเป็นสินค้ามีตำหนิในตลาดแบกะดินข้างถนน ระบบการศึกษาที่มองมนุษย์เป็นเพียงสินค้าในตลาดแรงงานเช่นนี้ จะไม่มีประสิทธิผลต่อการสร้าง ?พลังการเรียนรู้? ในชีวิต

– แน่นอนว่าชีวิตที่เติบโตขึ้นจำเป็นต้องมีอาชีพเลี้ยงตัว มีงานทำและมีเงินซื้อหาสิ่งต่างๆที่จะตอบสนองความต้องการของชีวิต แต่การศึกษาเพื่อให้มีความรู้ที่จะไปหาเงินในตลาดแรงงานนั้น ใช่เป็นเป้าหมายใน ?บรรทัดสุดท้าย? (bottom line) ของการศึกษาหรือไม่ ถ้าจุดหมายแห่งชีวิตอยู่ที่การหาเงินให้ได้มากขึ้นและมากยิ่งๆขึ้นไปอีก ระบบการศึกษาที่ช่วยให้มีความรู้สำหรับการหาเงินให้ได้มากที่สุดก็ถูกต้องตามปรัชญาทางการศึกษานี้ และการออกแบบระบบการศึกษาของชาติในลักษณะเสมือน ?แม่พิมพ์? ที่จะผลิตสินค้าทางการศึกษา ให้ได้มาตรฐานพอสำหรับการส่งไปขายในตลาดแรงงาน ก็น่าจะเป็นระบบการศึกษาที่ถูกต้อง แต่ถ้าคำตอบต่อคำถามพื้นฐานที่ว่า ? ชีวิตเกิดมาทำไม? และ ?อะไรคือแก่นสารคุณค่าที่เป็นเป้าหมายในบรรทัดสุดท้ายของชีวิต? ไม่ใช่อยู่ที่การแข่งขันกันหาเงินให้ได้มากๆ ปรัชญาทางการศึกษา (ที่เป็นตัวกำหนดคุณลักษณะการศึกษาของชาติ ) ก็ไม่น่าจะมีความหมายเพียงแค่การศึกษาเพื่อผลิตแรงงานที่มีคุณภาพสำหรับส่งไปขายในตลาดแรงงานเท่านั้น

ad

Leave a Reply

Your email address will not be published. Required fields are marked *